ความผูกพันกับผู้มีส่วนได้เสีย
ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2566
ซีพี ออลล์ ได้รับผลโหวดในฐานะบริษัทยอดเยี่ยม รวมถึงมีผล Top โหวดในหมวดหมู่ Best CEO, Best CFO, IR Program, IR Professional, ESG และ Company Board ในกลุ่มธุรกิจ Consumer/Staples ของกลุ่มประเทศ Rest of Asia (Ex-China and Japan) โดยได้รับความไว้วางใจจากผู้บริกองทุนและนักวิเคราะห์ทั้งไทยและต่างประเทศกว่า 6,500 ราย
ซีพีแรม รับรางวัลดีเด่นองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ปี 2566
ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3
แม็คโคร และโลตัสได้รับรางวัลระดับสากล “HR Asia Best Companies to Work for in Asia 2566”
ร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ ผู้ประกอบการ SMEs และเกษตรกรช่วยลดภาระ
ค่าครองชีพจากการปรับลดราคาสินค้าและบริการให้กับประชาชนได้มากกว่า
การดำเนินงานที่สำคัญปี 2566
ยกระดับกระบวนการสร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้เสีย
ร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ ผู้ประอบการ SMEs และเกษตรกร ปรับลดราคาสินค้าและบริการ รวมทั้งสิ้น 151,676 รายการ ในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม หมวดของใช้จำเป็น หมวดปัจจัยการเกษตร หมวดบริการทางการแพทย์ หมวดบริการซ่อมและบำรุงรักษารถยนต์ และหมวดบริหารขนส่งสินค้า/พัสดุ
ผู้มีส่วนได้เสียหลักที่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ
สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
SDG 8 ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องและยั่งยืน การจ้างงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน
8.8 ปกป้องสิทธิแรงงานและส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและมั่นคงสำหรับผู้ทำงานทุกคน รวมถึงผู้ทำงานต่างด้าว โดยเฉพาะผู้หญิงต่างด้าว และผู้ที่ทำงานเสี่ยงอันตราย
SDG 16 ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรมและสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผล รับผิดชอบ และครอบคลุมในทุกระดับ
16.7 สร้างหลักประกันว่าจะมีกระบวนการตัดสินใจที่มีความรับผิดชอบ ครอบคลุม มีส่วนร่วมและมีความเป็นตัวแทนที่ดีในทุกระดับการตัดสินใจ
16.10 สร้างหลักประกันว่าสาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและมีการปกป้องเสรีภาพขั้นพื้นฐาน โดยเป็นไปตามกฎหมายภายในประเทศและความตกลงระหว่างประเทศ
ผลการดำเนินงานเทียบเป้าหมาย
เป้าหมายปี 2573
80ระดับความผูกพันของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม
ความก้าวหน้าเทียบกับเป้าหมาย
ความเสี่ยงและโอกาส
การดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจค้าปลีกประเภทสะดวกซื้อ อาจนำไปสู่การละเมิดคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ประกอบการร้านค้าภายในชุมชนโดยรอบ รวมถึงสร้างข้อกังวลและความขัดแย้งระหว่างชุมชนและองค์กร ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษ์ขององค์กรและการหยุดชะงักทางธุรกิจ ทั้งนี้ หากบริษัทมีการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสียอย่างมีประสิทธิภาพ โดยยึดหลักความโปร่งใสในการกำกับดูแลกิจการคำนึงถึงความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย สนับสนุนการแสดงออกทางความคิด และปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมตามหลักสิทธิมนุษยชน จะช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีและยกระดับความเชื่อมั่นจากสังคม ชุมชน และผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มตลอดห่วงโซ่คุณค่า นำมาซึ่งการพัฒนาและเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กร
แนวทางการดำเนินงาน
บริษัทประยุกต์ใช้หลักการตามมาตรฐาน AA1000 SES เป็นกรอบในการกำหนดกระบวนการสร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้เสียเพื่อรับทราบความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้เสียต่อการดำเนินธุรกิจ ทั้งภาวะปกติและภาวะวิกฤต ผ่านการสัมภาษณ์ ช่องทางรับข้อเสนอแนะ และช่องทางการรับข้อร้องเรียน ครอบคลุมประเด็นความยั่งยืนทั้ง 3 มิติ ซึ่งช่วยให้บริษัทสามารถกำหนดกรอบการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งนำมาใช้เป็นแนวทางในการจัดทำรายงานความยั่งยืน โดยผู้มีส่วนได้เสียสามารถแบ่งเป็น 9 กลุ่มหลัก ได้แก่
ลูกค้า
คู่ค้า ครอบคลุมผู้ส่งมอบสินค้าหรือบริการ
และเจ้าหนี้ทางการค้า
สังคม ชุมชน ครอบคลุมกลุ่มเปราะบาง
พนักงานและครอบครัวพนักงาน
ผู้นำทางความคิด ครอบคลุมสื่อมวลชนและองค์กรพัฒนาเอกชน
พันธมิตรธุรกิจ ครอบคลุมผู้ให้เช่าสถานที่
และสโตร์พาร์ตเนอร์
ภาครัฐ ครอบคลุมทั้งหน่วยงานระดับประเทศ
และระดับท้องถิ่น
ผู้ถือหุ้นและนักลงทุน
ผู้ให้สิทธิ์ใช้เครื่องหมายทางการค้า
การเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับทุกภาคส่วน ระดับประเทศ และ ระดับสากล
บริษัทเข้าร่วมเครือข่ายความร่วมมือขององค์กรระดับประเทศและระดับสากล เพื่อร่วมขับเคลื่อนป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน และส่งเสริมการบริหารจัดการปรเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของบริษัท ผ่านการแลกเปลี่ยนข้อมูล การเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น การร่วมยกร่างมาตรฐาน การร่วมวางแผน การร่วมขับเคล่อนโครงการหรือกิจกรรม รวมถึงการร่วมประเมินผล ซึ่งมีการรายงานความคืบหน้า ดังนี้
ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ธรรมาภิบาลและการต่อต้านการทุจริต | แนวปฏิบัติการใช้แรงงาน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (เคารพและปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล) | การพัฒนาทุนมนุษย์ | การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ | การสร้างคุณค่าทางสังคมและการสนับสนุนในระบบเศรษฐกิจ | การเสริมสร้างสุขภาพและสุขภาวะที่ดี | การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ | ประสิทธิภาพการใช้พลังงานและทรัพยากร | การจัดการบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน | การจัดการของเสียและอาหารส่วนเกินอย่างยั่งยืน | |
UN Global Compact |
|
|
|
|
||||||
CDP |
|
|||||||||
สมาคมเครือข่ายโกลลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย |
|
|
|
|
||||||
สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย |
|
|||||||||
แนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย |
|
|||||||||
หอการค้าและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย | ||||||||||
มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์ อีดี |
|
|
|
|||||||
เครือข่ายอุดมศึกษา เครือข่ายอาชีวศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน |
|
|
||||||||
เครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย |
|
|||||||||
ภาคีเครือข่ายกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
|
|||||||||
มูลนิธิรักษ์อาหาร |
|
|||||||||
มูลนิธิ VV Share Foundation |
|
|||||||||
สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย |
|
การสร้างการมีส่วนร่วม ตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
บริษัทกำหนดรูปแบบการสื่อสารและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียทั้ง 9 กลุ่ม ดังนี้
1. ลูกค้า
รูปแบบการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย | ตัวอย่างความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย | ตัวอย่างแนวทางการตอบสนองของบริษัท |
---|---|---|
• การรับฟังความคิดเห็นผ่านช่องทางต่างๆ เช่น - ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ 7-Eleven (Call Center) โทร 0 2711 7744 - เว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์ - ร้าน 7-Eleven • สำรวจความคิดเห็นและสัมภาษณ์ลูกค้า |
• นวัตกรรมและมาตรฐานการให้บริการ - Service การบริการของพนักงานความใส่ใจในการบริการ และให้ความช่วยเหลือ - Assortment การคัดเลือกสินค้าให้ตรงความต้องการของลูกค้า - Value การจัดทำสื่อ โปรโมชัน เพื่อเสนอประโยชน์และให้ความคุ้มค่า - Environment การจัดการสภาพร้าน - Quality สินค้าคุณภาพสดใหม่ - Cleanliness ความสะอาด |
• ยกระดับการเข้าถึงสินค้าสำหรับผู้บริโภคที่ง่ายยิ่งขึ้น โดยการพัฒนาช่องทางการจำหน่ายจากออฟไลน์สู่ออนไลน์ โดยมีระบบขนส่งและช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย • สร้างบรรยากาศที่ดีภายในร้าน • โครงการ Signature Service และ Greeting Service • พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพตามมาตรฐานและปลอดภัยที่ได้รับการยอมรับทั้งระดับท้องถิ่นและสากล • ตรวจสอบมาตรฐานร้าน ศูนย์จำหน่ายสินค้าและพื้นที่ปฏิบัติงาน |
• ผลิตภัณฑ์ที่ร่วมสนับสนุนชุมชน อาทิ สินค้าชุมชน | • สนับสนุนสินค้าเกษตร สินค้าเกษตรชุมชน สินค้าชุมชน สินค้าวิสาหกิจชุมชนหรือผลตภัณฑ์ท้องถิ่น | |
• การมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมสังคม | • โครงการจิตสาธารณะ ร่วมพัฒนาและสร้างสัมพันธ์กับชุมชน • กิจกรรม "แค่ไม่รับ = ปลูกต้นไม้" |
|
• การดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี | • สื่อสารและให้ข้อมูลเกี่ยวกับโภชนาการ การใช้ผลิตภัณฑ์ รวมถึงการแสดงฉลากโภชนาการ และฉลากแสดงค่าพลังงาน ไขมัน น้ำตาล และโซเดียมแบบจีดีเอ • เรียกคืนผลิตภัณฑ์ กรณีตรวจพบสินค้าไม่ได้มาตรฐาน |
|
• การเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าไม่ให้รั่วไหล เช่น ข้อมูลติดต่อลูกค้า และข้อมูลความลับ โดยพนักงานที่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล | • กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล • โครงการสร้างความตระหนักในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล |
2. คู่ค้า ครอบคลุมผู้ส่งมอบสินค้า หรือบริการ และเจ้าหนี้ทางการค้า
รูปแบบการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย | ตัวอย่างความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย | ตัวอย่างแนวทางการตอบสนองของบริษัท |
---|---|---|
คู่ค้า ผู้ส่งมอบสินค้า หรือบริการ: • การสำรวจความพึงพอใจคู่ค้าทางธุรกิจปีละครั้ง • การจัดประชุมสัมมนาและการแถลงทิศทางนโยบายขององค์กร • การเยี่ยมเยียนคู่ค้า พร้อมรับฟังความคิดเห็นหรือข้อร้องเรียน • การประเมินผลงาน การให้คำปรึกษา และการพัฒนาศักยภาพ • การจัดสัมมนาแบ่งปันความรู้กับคู่ค้าทุกกลุ่มในด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน • ศูนย์คู่ค้าสัมพันธ์ โทร 0 2826 7771 |
• มีการสื่อสารเป้าหมาย ระบบ ระเบียบ และแผนธุรกิจในการทำงานร่วมกันอย่างชัดเจนเพื่อสร้างการเติบโตไปด้วยกัน | • สื่อสารนโยบายแนวทางปฏิบัติการจัดหาอย่างยั่งยืน จริยธรรม และแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้า ให้คู่ค้าทุกกลุ่มรับทราบ • Joint Business Plan: จัดทำแผนธุรกิจร่วมกับคู่ค้าเชิงกลยุทธ์ |
• ดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใสตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน จัดซื้อจัดจ้างอย่างเป็นธรรม รวมไปถึงการเจรจาสัญญา ราคา และเงื่อนไขการชำระเงินอย่างเป็นธรรม | • กำหนดนโยบายด้านการจัดหาอย่างยั่งยืนและแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้าทางธุรกิจ • อบรม ให้ความรู้หัวข้อ การดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบ • กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินศักยภาพและคุณสมบัติในการคัดเลือกคู่ค้ารายใหม่ครอบคลุมความสำคัญทางธุรกิจ และเกณฑ์ด้านความยั่งยืน • โครงการส่งเสริม ให้ความรู้ และสนับสนุน SMEs ร่วมประกาศเจตนารมณ์ในการต่อต้านทุจริตกับสถาบันแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย |
|
เคารพและปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน • สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมที่ดี เอื้ออำนวยต่อการขนส่ง • สิทธิในการจ้างงาน ค่าตอบแทนที่เป็นธรรมเพียงพอต่อการครองชีพ |
• โครงการบริหารความปลอดภัยการขนส่งสินค้า • โปรแกรมสนับสนุนด้านเทคนิคเชิงลึกเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยสำหรับผู้รับเหมาด้านการขนส่ง • การส่งเสริมให้มีการประเมินค่าครองชีพผ่านโปรแกรมการประเมินความเสี่ยงคู่ค้า |
|
• การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้านการแข่งขัน การเติบโต เพิ่มช่องทางการจำหน่าย การเข้าถึงเทคโนโลยี นวัตกรรม และการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบตามแนวคิด ESG | • โครงการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพและให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการ SMEs • โครงการศูนย์ 7 สนับสนุน SMEs • "MAKRO HORECA ACADEMY (MHA) เพื่อนคู่คิดแบบครบวงจรสำหรับผู้ประกอบการร้านอาหาร" • โปรแกรม 3 ให้ ให้ช่องทางการขาย ให้ความรู้การพัฒนา และให้การเชื่อมโยง |
|
• การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ ESG ควบคู่ไปกับการบริหารต้นทุนที่เหมาะสม | • การคัดกรองและประเมินความเสี่ยงด้าน ESG • การพัฒนาคู่ค้าเพื่อยกระดับผลการดำเนินการด้าน ESG • การจัดการอุปสงค์และห่วงโซ่อุปทานแบบบูรณาการ • พัฒนา ร่วมสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ บริการ และนวัตกรรมใหม่ร่วมกับพันธมิตร/คู่ค้า เพื่อเพิ่มความหลากหลายและประสิทธิภาพการดำเนินงาน |
|
• การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เพื่อให้สามารถปฏิบัตตามนโยบาย กฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับของภาครัฐ | • โครงการอบรมหลักสูตรธรรมาภิบาลการบริหารธุรกิจผ่านระบบ e-Learning | |
• ความร่วมมือเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่อุปทาน ทั้งในกระบวนการผลิต ส่งมอบ และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ | • โครงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม • โครงการนำบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ใหม่ • โครงการสรรหาและพัฒนาผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ • โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน • โครงการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน • โครงการเพิ่มสัดส่วนการใช้รถไฟฟ้าในระบบการขนส่ง |
|
เจ้าหนี้ทางการค้า: การประชุมหารือร่วม | • ชำระหนี้ตรงตามเวลาและครบถ้วน | • ชำระตามงวด หรือตามเครดิตเทอมที่เป็นไปตามเงื่อนไข ยึดหลักความถูกต้อง โปร่งใส ตรงเวลา |
3. สังคม ชุมชน
รูปแบบการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย | ตัวอย่างความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย | ตัวอย่างแนวทางการตอบสนองของบริษัท |
---|---|---|
• การรับฟังความคิดเห็นและข้อกังวลผ่านช่องทางต่างๆ อาทิ - ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ 7-Eleven (Call Center) โทร 0 2711 7744 - เว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์ - ร้าน 7-Eleven - ตู้รับความคิดเห็นหน้าองค์การบริหารส่วนตำบล ศูนย์กระจายสินค้า • การสำรวจความน่าเชื่อถือและไว้วางใจจากกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ปีละครั้ง |
• การเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม ในประเด็นความปลอดภัย สุขภาพของลูกค้า การจัดการขนส่ง | • โครงการบริหารความปลอดภัยการขนส่งสินค้า • พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับทั้งในระดับท้องถิ่นและสากล • การตรวจสอบมาตรฐานร้านและเรียกคืนสินค้า กรณีตรวจพบสินค้าไม่ได้มาตรฐาน • การตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายในและนอกร้าน |
• การสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ลดความเหลื่อมล้ำให้กับชุมชนและสังคม รวมถึงการสร้างโอกาสในความร่วมมือกับธุรกิจท้องถิ่น ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของชุมชน | • โครงการ "ส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน เกษตรกร และรายย่อย" • โครงการหลวงรับซื้อผลผลิต • โครงการรับซื้อผลผลิตโดยตรวจจากเกษตร (โนนเขวาโมเดล) • การจ้างงานท้องถิ่นและผู้รับเหมาท้องถิ่น • โครงการสรรหา SME และวิสาหกิจชุมชนที่มีศักยภาพเข้าสู่ช่องทางการจำหน่ายแบบออฟไลน์และออนไลน์ร้าน 7-Eleven • โครงการจิตสาธารณะ ร่วมพัฒนาและสร้างสัมพันธ์กับชุมชน • โปรแกรมสร้างสัมพันธ์และบรรเทาสาธารณภัยให้กับชุมชน • โครงการ A Better Life (สร้างชีวิตเพื่อสังคม) |
|
• พัฒนา ส่งเสริมผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อให้ผู้บริโภค และคนในสังคม ชุมชน มีสุขภาพ โภชนาการและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมถึงกลุ่มเปราะบางสามารถเข้าถึงอาหารและน้ำที่ปลอดภัย | • โครงการศูนย์สุขภาพดีชุมชน • โครงการผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ Chef Cares Ready Meal • โครงการต่อเนื่อง วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภคที่ห่วงใยสุขภาพ • โครงการอาหารผู้สูงอายุ • พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพและความปลอดภัยตามมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับทั้งในระดับท้องถิ่นและสากล • โครงการซีพีแรม "เคียงข้างคนไทย ห่วงใยไม่ห่าง" • โครงการคนดีซีพีแรม X ครัวรักษ์อาหาร SOS • โครงการต่อเนื่อง อาหารดีพี่ให้น้อง • โครงการบริจาคอาหารส่วนกินผ่านมูลนิธิ |
|
• สนับสนุนการเข้าถึงการศึกษาของผู้ด้อยโอกาส พัฒนาทักษะทางอาชีพ | • โครงการให้ทุนการศึกษาคืนคนดีสู่สังคม • โครงการสานอนาคตการศึกษา • โครงการมอบทุนการศึกษาให้กับเยาวชนได้เข้าศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ |
|
• ร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อสภาพความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน อาทิ การจัดการขยะและของเสีย รักษาและฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ | • โครงการต้นกล้าไร้ถัง • โครงการปลูกป่า ปลูกอนาคร • โครงการปันน้ำให้ชาวนา • โครงการเพิ่มสัดส่วนการใช้รถไฟฟ้าในระบบการขนส่ง |
4. พนักงานและครอบครัวพนักงาน
รูปแบบการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย | ตัวอย่างความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย | ตัวอย่างแนวทางการตอบสนองของบริษัท |
---|---|---|
• การสื่อสารสองทาง อาทิ การสัมมนาพนักงานในระดับต่างๆ ได้แก่ พลังทีม Get Together ฯลฯ • การสื่อสารทางเดียว ระบบ Intranet วารสารภายใน การแจ้งข่าวประจำวันผ่านช่องทางดิจิทัล ได้แก่ CP ALL Connect • การรับความคิดเห็นและรับเรื่องร้องเรียนผ่านช่องทางต่างๆ เช่น - ช่องทางการเคาะระฆัง 748 ครั้ง - ช่องทางการ รับเรื่องราวร้องทุกข์ เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ไปรษณีย์ ศูนย์แจ้งข้อมูล สื่อออนไลน์ของบริษัท เป็นต้น • การสำรวจความพึงพอใจและความผูกพันประจำปี • การสำรวจความสุขของพนักงานระดับผู้จัดการร้าน • การมีส่วนร่วมผ่านเวทีการนำเสนอผลงานนวัตกรรม การประกวด การระบุ และประเมินความเสี่ยง • การดำเนินงานของคณะกรรมการสวัสดิการของบริษัทครอบคลุมพนักงานร้อยละ 100 |
• การดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส มีหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน รวมถึงความปลอดภัยข้อมูลลูกค้า | • โครงการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ด้านธรรมาภิบาล Mister & Miss Godd Governance • โครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทยประจำปี 2566 • โครงการสื่อสารให้ความรู้และสร้างกิจกรรมรณรงค์สร้างความตระหนัก |
• การให้ความรู้ การพัฒนาศักยภาพ และความก้าวหน้าในงาน รวมถึงความสามารถที่จำเป็นในอนาคต | • หลักสิทธิมนุษยชนใช้เป็นแนวปฏิบัติต่อพนักงานส่งเสริมโอกาสที่เท่าเทียมและความหลากหลาย • เตรียมความพร้อมและพัฒนาผู้นำ รวมถึงอบรมให้ความรู้ ทักษะที่เหมาะสม และตรงตามความสนใจ • โครงการพัฒนาศักยภาพและรักษาพนักงานที่มีศักยภาพ อาทิ - โครงการปรับปรุงระบบความก้าวหน้าในสายอาชีพ โปรแกรมการเพิ่มผลผลิต • ปรับปรุงระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน |
|
• กระบวนการทำงานที่ช่วยเพิ่มความสามารถและประสิทธิผลในการทำงาน และการให้บริการ รวมถึงลดเวลาการทำงานที่ไม่จำเป็นของพนักงาน และกระบวนการสื่อสารระหว่างหัวหน้างานและทีมงาน | • พัฒนานวัตกรรมการบริการ • โครงการประกวดนวัตกรรม • โปรแกรมการเพิ่มผลผลิต • การปรับเปลี่ยนนวัตกรรมองค์กร • การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลปรับปรุงกระบวนการทำงาน เช่น O2O, IT Platform, ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นต้น |
|
• สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัย การมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี และมีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการทำงานและการให้บริการ | • ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและกำหนดมาตรการจัดการความเสี่ยง • โครงการส่งเสริมความปลอดภัยในการขับขี่สำหรับพนักงานส่งสินค้า • จัดเตรียมสถานประกอบการและพื้นที่ปฏิบัติงานตามมาตรฐานแรงงาน พร้อมผลักดันการดำเนินงานตามแนวปฏิบัติด้านแรงงานที่ดี • โครงการยกระดับการพัฒนาดูแลสุขภาวะแบบองค์รวม • ศูนย์สุภาพ CPALL Health Care Center • โครงการยืดเหยียดลดโรค |
|
• การให้รางวัล สิ่งจูงใจในการทำความดี การสร้างความประทับใจ ใส่ใจในการบริการให้กับลูกค้า | • กำหนดสิทธิวันลาและสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของพนักงานและครอบครัว • โครงการ DNA ความดี 24 ชั่วโมง • โครงการ Reward & Recognition |
|
• การมีส่วนร่วมในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและลดภาวะโลกร้อน | • โครงการเสื้อพนักงานจากขวดพลาสติก • โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานร้าน 7-Eleven ศูนย์กระจายสินค้า โรงงาน • โครงการ "WE GROW for ALL เราปลูกเพื่อทุกคน" • โครงการ "รักษ์เกาะ 24 ชั่วโมง" เกาะพะงันและเกาะเต่า |
5. ผู้นำทางความคิด ครอบคลุมสื่อมวลชน องค์กรพัฒนาเอกชน
รูปแบบการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย | ตัวอย่างความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย | ตัวอย่างแนวทางการตอบสนองของบริษัท |
---|---|---|
องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) และองค์กรภาคประชาสังคม (CSOs): • รับฟังและแลกเปลี่ยนมุมมองผ่านเวทีการประชุมหารือ และร่วมกันทำงานในกิจกรรมต่างๆ • สนับสนุนกิจกรรม หรือโครงการขององค์กรในประเด็นที่สอดคล้องตามกรอบการแบ่งปันและสร้างสรรค์โอกาส และเป้าหมายความยั่งยืนของบริษัท • การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ผ่านการเข้าพบ หารือและแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูล |
• พัฒนาทักษะการผลิตและขยายโอกาสทางการตลาดแก่กลุ่ม SMEs และวิสาหกิจชุมชนต่างๆ • เพิ่มความหลากหลายสินค้า SMEs ในร้าน 7-Eleven มากขึ้น • สนับสนุนความร่วมมือภาคประชาสังคมและภาคธุรกิจ เพื่อความยั่งยืนด้านการลดก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ การจัดการขยะของชุมชนอย่างครบวงจรการเกษตรกรรมยั่งยืน • สร้างความเข้าใจและรับฟังประเด็นปัญหาจากชุมชนและภาคประชาสังคม ผ่านการสื่อสารให้ข้อมูลที่ถูกต้อง รวมทั้งจัดช่องทางรับฟังความคิดเห็น เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที • ส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการศึกษากลุ่มเปราะบางต่างๆ |
• ร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคมพัฒนาศักยภาพของเกษตรกร เพื่อการผลิตและการกระจายสินค้าที่สอดคล้องกับความจำเป็น • สนับสนุนการกระจายผลผลิตและผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างรายได้แก่เกษตรกรและกลุ่มเปราะบางต่างๆ เช่น โครงการแบ่งปันพื้นที่ขายของหน้าร้าน 7-Eleven • ร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคมและชุมชนดำเนินโครงการด้านการจัดการขยะครบวงจรในพื้นที่นำร่อง • โครงการเกษตรกรรมยั่งยืน • สนับสนุนเวทีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการจัดทำแผนการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเครือข่ายภาคประชาสังคมในระดับจังหวัด • เปิดรับข้อสงสัย ร้องเรียน ข้อแนะนำโดยตรงจากองค์กรภาคประชาสังคม เพื่อการชี้แจงข้อมูลหรือแก้ปัญหาทันท่วงทีก่อนการขยายผลลุกลาม • โปรแกรมส่งเสริมและสนับสนุนการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ |
สื่อสารมวลชน: • สนับสนุนและมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสื่อมวลชน • มอบทุนการศึกษาแก่สายวิชาชีพสายสื่อสารมวลชน หลักสูตรนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ • โครงการส่งเสริมกิจกรรมสื่อประจำปี - รางวัลข่าวดิจิทัลยอดเยี่ยมแห่งปี - รางวัลคนดีประเทศไทย สาขาสื่อมวลชนสร้างสรรค์สังคม - รางวัล "Anti-corruption Awards" ส่งเสริมการต่อต้านคอร์รัปชัน • ให้สัมภาษณ์และให้ข้อมูลกับสื่อมวลชน • จัดโครงการ Co Project with Media/Influencer • นำคณะสื่อสารมวลชน ผู้มีอิทธิพลทางความคิดลงพื้นที่เยี่ยมชมการดำเนินงานธุรกิจของ SMEs และเกษตรกร รวมถึงร่วมทำกิจกรรมเพื่อสังคม • สัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม • แลกเปลี่ยนความรู้ผ่านการจัดสัมมนาเพื่อพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารร่วมกัน • สนับสนุนโครงการที่ส่งเสริมสื่อออนไลน์คนรุ่นใหม่ |
• ส่งเสริมการเกษตรยั่งยืนและการจัดการของเสียจากการเพาะปลูก หรือปศุสัตว์ | • โปรแกรมเกษตรกรรมยั่งยืน |
• การพัฒนาชุมชนหรือกิจกรรมร่วมกับชุมชน | • โครงการจิตสาธารณะ ร่วมพัฒนาและสร้างสัมพันธ์กับชุมชน | |
• การสื่อสาร สร้างความเข้าใจ และลดข้อขัดแย้งกับสังคมชุมชน ในการแก้ปัญหาเจาะจงอย่างทันท่วงที | • สื่อสารให้ข้อมูลที่ถูกต้องผ่านสื่อทุกช่องทาง ทั้งสื่อสังคมออนไลน์ สื่อมวลชน และช่องทางออนไลน์ขององค์กร รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มและพนักงาน | |
• ดูแลและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งส่งเสริมการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน | • โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการลดใช้พลังงานและการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในร้าน 7-Eleven ศูนย์กระจายสินค้า และโรงงาน | |
• เคารพต่อสิทธิมนุษยชนและปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม ในการจัดการควบคุมธุรกิจอย่างมีจริยธรรมและความรับผิดชอบ | • ส่งเสริมให้สถานประกอบการดำเนินงานตามมาตรฐานแรงงาน พร้อมทั้งผลักดันการดำเนินงานตามแนวปฏิบัติด้านแรงงานที่ดี • ยึดหลักสิทธิมนุษยชนเป็นแนวปฏิบัติต่อพนักงาน รวมทั้งส่งเสริมความหลากหลายและเปิดโอกาสให้พนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียม |
|
• การจัดการบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐสามารถหมุนเวียนเอากลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด | • ประกาศใช้นโยบายด้านบรรจุภัณฑ์ครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบและคัดเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การลดและทดแทน ณ ขั้นตอนการบริโภค และการจัดการหลังการบริโภคโดยคำนึงถึงวรจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ภายใต้กลยุทธ์ "7 Go Green" | |
• ดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส มีหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีต่อต้านการทุจริต และปฏิบัติตามหลัก ESG • คำนึงถึงความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล |
• กำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการ และการปฏิบัติตามนโยบายอย่างเคร่งครัด • คำนึงถึงความเท่าเทียมของผู้ถือหุ้น และรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นและนักลงทุน |
|
• การมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย มีคุณภาพมาตรฐาน และมีการบริการที่ดี ตอบสนองความต้องการ • การดำเนินการส่งมอบผลิตภัณฑ์และโลจิสติกส์ที่ยั่งยืน |
• คัดสรรและพัฒนาสินค้าเพื่อสุขภาพ • ปรับปรุงและพัฒนาการบริการอย่างสม่ำเสมอ • พัฒนาสู่การค้าออนไลน์ โดยมีระบบขนส่งและช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย ช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้าสะดวกมากขึ้น |
6. พันธมิตรทางธุรกิจ ครอบคลุมผู้ให้เช่าสถานที่ สโตร์พาร์ตเนอร์ และผู้รับสิทธิ์ช่วงอาณาเขต
รูปแบบการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย | ตัวอย่างความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย | ตัวอย่างแนวทางการตอบสนองของบริษัท |
---|---|---|
ผู้ให้เช่าสถานที่ • ช่องทางการสื่อสารและรับเรื่องร้องเรียน - การให้ข้อมูลและรับเรื่องร้องเรียน ผ่านหน่วยงานรับข้อร้องเรียน Call Center 1,168 ครั้ง • การสำรวจความพึงพอใจประจำปี • การประชาสัมพันธ์ข่าวสารผ่านทาง SMS อีเมล • เยี่ยมเยียนเจ้าของสถานที่อย่างน้อยไตรมาสละครั้ง • ส่ง SMS อวยพรเนื่องในโอกาสต่างๆ และมอบของขวัญช่วงเทศกาลปีใหม่ • สนับสนุนกิจกรรมต่างๆ • ส่ง SMS แจ้งเรื่องค่าเช่าล่วงหน้า • ส่ง SMS แจ้งวันที่จะได้รับเงินค่าภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง • เชื่อม แอปพลิเคชัน 7-Eleven เพื่อให้บริการลูกบ้านแต่ละโครงการอสังหาริมทรัพย์ • สนับสนุนกิจกรรมต่างๆ |
• การดำเนินธุรกิจร่วมกันอย่างต่อเนื่องตามหลักธรรมาภิบาล • การประชาสัมพันธ์และชี้แจ้งข่าวสารนโยบายบริษัท |
• มีระบบดูแล ติดตาม และแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียน • ยกระดับการสำรวจความพึงพอใจของเจ้าของสถานที่ที่มีต่อบริษัท • เยี่ยมเยียนเพื่อสร้างวความสัมพันธ์กับเจ้าของสถานที่อย่างน้อยไตรมาสละครั้ง • การประชาสัมพันธ์ข่าวสารผ่านทาง SMS และอีเมล • สนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของเจ้าของสถานที่กลุ่มทำเลพิเศษ คู่ค้ากลยุทธ์ |
• ได้รับค่าเช่าตรงเวลา | • จัดทำระบบสำหรับการจ่ายค่าเช่าภายในเวลาที่กำหนด | |
• การดูแลสถานที่ให้เช่าให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยทั้งระหว่างอายุสัญญาเช่าและหลักจากยกเลิกสัญญา • การดูแลสภาพแวดล้อมรอบๆ ร้าน และชุมชน |
• มีมาตรการดูแลสถานที่เช่า และสภาพแวดล้อมบริเวณสถานที่เช่า | |
สโตร์พาร์ทเนอร์ • การสำรวจความผูกพันประจำปี • ช่องทางการสื่อสารและรับเรื่องร้องเรียน เช่น - การให้ข้อมูลและรับเรื่องร้องเรียนผ่าน Call Center 729 ครั้ง - การสำรวจความพึงพอใจผ่านเว็บไซต์รายไตรมาส • วารสาร (รายเดือน) • ช่องทางเว็บไซต์ SBP MALL • ช่องทาง CP All Connect • การประชุม สัมมนา และกิจกรรม • งานประกาศนโยบายและทิศทางของบริษัทไปถึงสโตร์พาร์ทเนอร์ |
• การดำเนินธุรกิจร่วมกันอย่างต่อเนื่องตามหลักธรรมาภิบาล • ความมั่นคงทางธุรกิจ ขยายธุรกิจ และดำเนินธุรกิจร่วมกันอย่างต่อเนื่อง • การได้รับความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างรวดเร็ว |
• การสื่อสารแนวทางและหลักปฏิบัติทางด้านธรรมาภิบาลและจริยธรรมธุรกิจ |
• ส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันและการบริหารจัดการธุรกิจ • การให้ความรู้และสร้างความตระหนักด้านการบริหารธุรกิจตามกรอบแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต • การประชาสัมพันธ์ ชี้แจงข่าวสารและนโยบายของบริษัท |
• ส่งเสริม ดูแล ฝึกอบรมผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อเพิ่มความสามารถในการบริหารจัดการ • บริหารจัดการต้นทุนสินค้าและการดำเนินการ • เพิ่มความหลากหลายของสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาด • แบ่งปันสารสนเทศและข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์ |
|
• การบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ มีการสื่อสารที่ชัดเจน มีการสนับสนุนเพื่อการเติบโตร่วมกัน • การพัฒนานวัตกรรมเพื่อลูกค้าและสังคม และปรัปปรุงองค์กรให้มีความคล่องตัวและทันต่อสถานการณ์โลก |
• การสนับสนุนสโตร์พาร์ทเนอร์ให้มีผู้สืบทอดทางธุรกิจ เพื่อความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจร่วมกัน • การพัฒนาแพลตฟอร์มธุรกิจ • นวัตกรรมการบริการทางการเงินใกล้ชุมชน • การพัฒนาต่อเนื่องแอปพลิเคชัน "ALL PharmaSee" สำหรับคนรักสุขภาพ |
|
• การส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันและการบริหารจัดการธุรกิจ อาทิ การสร้างยอดขายการให้บริการดิจิทัลสู่แพลตฟอร์ม O2O | • การอบรมให้ความรู้ หลักสูตร "เถ้าแก่ขายเป็น" และหลักสูตร "เสน่ห์ร้านสั่งตัด" เพื่อรองรับกลยุทธ์ O2O ของบริษัท |
7. ภาครัฐ ครอบคลุมทั้งหน่วยงานระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น
รูปแบบการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย | ตัวอย่างความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย | ตัวอย่างแนวทางการตอบสนองของบริษัท |
---|---|---|
ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ผ่านการ • สนับสนุนโครงการ/กิจกรรม ความร่วมมือและการช่วยเหลือต่างๆ กับหน่วยงานภาครัฐ • การเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการในโครงการภาครัฐ ร่วมแสดงความคิดเห็น และสร้างสัมพันธภาพที่ดีอย่างเปิดเผย • การติดต่อประสานงานขอรับบริการภาครัฐ และการรับการตรวจเยี่ยมกิจการ • การมีส่วนร่วมในการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากขยะพลาสติกร่วมกับคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติผ่านโครงการ "ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน" |
• การปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียนปฏิบัติที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดตามหลักสิทธิมนุษยชน | • ศึกษา สร้างความเข้าใจ เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียนปฏิบัติที่มีความจำเพาะกับพื้นที่หรือกฎหมายท้องถิ่น พร้อมทั้งนำมาประยุกต์ใช้ให้มีความสอดคล้องกับการประกอบธุรกิจ • ปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้องตามหลักสิทธิมนุษยชน |
• การดำเนินธุรกิจที่เป็นธรรมกับคู่ค้า | • กำหนดนโยบายการทำรายการระหว่างกันและป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างชัดเจน | |
• เป็นตัวอย่างแก่ภาคธุรกิจในการแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม • การพัฒนาร่วมกับชุมชนและสนับสนุนการศึกษาให้เด็กนักเรียน |
• นำเสนอมุมมองผ่านสมาคม การรวมกลุ่มทางการค้าต่างๆ • สนับสนุนการตรวจประเมินเบื้องต้นของภาครัฐและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มการพัฒนาความยั่งยืน • โครงการ "จิตสาธารณะ" ร่วมพัฒนาและสร้างสัมพันธ์กับชุมชน • สนับสนุนการศึกษา สร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ • โครงการสร้างสัมพันธ์และบรรเทาสาธารณภัยให้กับชุมชน |
|
• พัฒนา ส่งเสริมผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อให้ผู้บริโภคและคนในสังคม มีสุขภาพ โภชนาการและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น | • โครงการพัฒนาและคัดสรรสินค้าเพื่อสุขที่มีการเพิ่ม หรือลด หรือปราศจากสารอาหารตามที่กฎหมายหรือมาตรฐานที่ยอมรับ • การแสดงฉลากคุณค่าทางโภชนาการ • โครงการศูนย์สุขภาพดีชุมชน |
|
• ส่งเสริมอาชีพและรายได้ให้กับเกษตรกร SMEs พร้อมทั้งสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ลดความเหลื่อมล้ำให้กับชุมชนและสังคม | • โครงการ 7-Eleven เคียงข้างเกษตรกรไทย • โครงการส่งเสริมและสนับสนุน SMEs • โครงการ Business Accelerator รุ่นที่ 3 • โครงการ Big Brother Season 7 |
|
• การจัดการบรรจุภัณฑ์พลาสติกให้สามารถหมุนเวียนเอากลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด • การผลิตที่เป็นนวัตกรรม ในการดำเนินธุรกิจตามนโยบายการผลิตที่ยั่งยืน สร้างการรับรู้เพื่อปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ |
• โครงการ "ลดและทดแทนพลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง • โครงการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่นำเข้ามาใช้ซ้ำ • โครงการบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล • โครงการ "Eco-design" • โปรแกรมการนำบรรจุภัณฑ์หลังการอุปโภค บริโภคกลับมาใช้ใหม่ • โครงการร้านกาแฟที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม • โครงการต้นกล้าไร้ถัง ขยายผลสู่โรงเรียนเครือข่ายชุมชน ผู้ประกอบการ |
8. ผู้ถือหุ้น และนักลงทุน
รูปแบบการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย | ตัวอย่างความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย | ตัวอย่างแนวทางการตอบสนองของบริษัท |
---|---|---|
• บรรยายสรุปผลการดำเนินงานต่อนักวิเคราะห์ ทุกไตรมาส • บรรยายสรุปผลการดำเนินงานต่อนักลงทุนต่างประเทศ ทุกไตรมาส • บรรยายสรุปผลการดำเนินงานร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย "Set Opportunity Dat" ต่อนักลงทุนทั่วไปทุกไตรมาส • รายงานคำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการทุกไตรมาส • ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี • แสดงงบการเงิน • แบบ 56-1 One Report รายงานประจำปี • รายงานการพัฒนาความยั่งยืน • หนังสือชี้ชวน เอกสาร สื่อสารสนเทศ • สื่อสารข้อมูลผ่านช่องทางต่างๆ เช่น เว็บไซต์ โทรศัพท์ อีเมล โทรสาร และจดหมาย • กิจกรรมโรดโชว์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ • การลงพื้นที่เยี่ยมชมร้านค้า โรงงาน และคลังสินค้าของบริษัท • รับประเมินโดยหน่วยงานอิสระจากภาพนอกเพื่อแสดงว่าบริษัทเป็นหลักทรัพย์ที่มีคุณภาพ มีคุณค่าและมีความยั่งยืนทั้งในระดับชาติและระดับโลก เช่น IOD, สถาบันส่งเสริมผู้ลงทุนไทย, SET, DJSI, FTSE Russell, MSCI เป็นต้น • รับการประเมินอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้ของบริษัท โดย Credit Rating Agency • ให้ข้อมูลต่อหน่วยงานด้านสถิติและเศรษฐกิจของรัฐ |
• ผลการดำเนิงานและการเติบโตของธุรกิจมีเสถียรภาพ มั่นคง และได้รับการยอมรับจากสังคม | • บริหารจัดการธุรกิจให้เติบโต ลดความเสี่ยงและเพิ่มความโปร่งใส |
• มีความโปร่งใสในการดำเนินงาน การเปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงานของธุรกิจครบถ้วน เพียงพอ และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถช่วยนักลงทุนในการตัดสินใจลงทุนได้ดี ทั้งข้อมูล Financial และ Non-Financial | • รับฟังความคิดเห็นจากผู้ถือหุ้นและนักลงทุน เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาในการกำหนดกลยุทธ์และแนวทางการดำเนินงานของบริษัท • กำหนดนโยบายการทำรายการระหว่างกันและป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างชัดเจน |
|
• การกำกับดูแลกิจการที่ดี และคำนึงถือผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย และมีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคและผู้มีส่วนได้เสีย | • กำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการและการปฏิบัติตามนโยบายอย่างเคร่งครัด • การให้ความเท่าเทียมของผู้ถือหุ้น และรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นและนักลงทุน |
|
• ได้รับการประเมินการกำกับดูแลในระดับดีเลิศ โดย IOD และสถาบันส่งเสริมผู้ลงทุนไทย • ได้รับการคัดเลือกเป็นสมาชิกชั้นนำของประเทศและของโลก เช่น รายชื่อหุ้นยั่งยืน, DJSI, FTSE4Good Index, MSCI เป็นต้น |
• ยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานตามหลัก ธรรมาภิบาล • ปรับปรุงแก้ไขกฎบัตร นโยบายแนวปฏิบัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลกิจการ การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ความยั่งยืน สิ่งแวดล้อม และสังคมให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล |
|
• หลักทรัพย์ของบริษัทอยู่ในความต้องการของตลาด มีการซื้อขายในตลาดรอง อีกทั้งมูลค่าหลักทรัพย์ในตลาดรองสะท้อนถือราคายุติธรรมเป็นอย่างน้อย | • จัดตั้งหน่วยงานลงทุนสัมพันธ์ทำหน้าที่รับผิดชอบการให้ข้อมูลข่าวสารแก่นักลงทุนและนักวิเคราะห์ทั้งไทยและต่างประเทศ มีการเขียนบทวิเคราะห์เพื่อให้หลักทรัพย์ของบริษัทอยู่ในความต้องการของตลาดเสมอ | |
• มีการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ครอบคลุมด้านสิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมาภิบาลและเศรษฐกิจ (ESG) |
• การกำหนดกรอบแนวทาง เป้าหมาย ตัววัดและโครงการกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน | |
• สื่อสารการดำเนินงานอย่างโปร่งใส | • จัดประชุม "CP ALL : Analysts' Meeting" ผ่านระบบ VDO CONFERENCE เพื่อรายงานผลประกอบการของบริษัทและบริษัทในกลุ่มซีพี ออลล์ ให้กับนักวิเคราะห์หลักทรัพย์และนักลงทุน • จัดประชุมผู้ถือหุ้นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์และประกาศที่เกี่ยวข้องรวมทั้งจำกัดจำนวนกรรมการ ผู้บริหารและผู้จัดประชุม ณ สถานที่ทำการถ่ายทอดสด |
9. ผู้ให้สิทธิ์ใช้เครื่องหมายทางการค้า
รูปแบบการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย | ตัวอย่างความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย | ตัวอย่างแนวทางการตอบสนองของบริษัท |
---|---|---|
• ประชุมหารือร่วมเมื่อได้รับการร้องขอ • สิ่งพิมพ์ จดหมาย สื่อสารสนเทศ |
• ปฏิบัติตามสัญญาและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด • สร้างความแข็งแกร่งของตราสินค้าผ่านสินค้าและบริการ รวมถึงการสร้างประสบการณ์ที่ดีในด้านต่างๆ ตามความคาดหวังหรือเหนือความคาดหวังของลูกค้า • ความร่วมมือในการดำเนินการด้านความยั่งยืน • การแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้ทางธุรกิจ • ยอดขาย ผลกำไร และการเติบโตของธุรกิจ |
• ปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญาเบื้องต้นหน่วยงานต้นสังกัดรับผิดชอบดูแลบริหารจัดการให้เป็นไปอย่างถูกต้อง โดยมีฝ่ายกฎหมายกำกับดูแล • จ่ายชำระค่าสิทธิตรงตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา • แลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีระหว่างผู้รับสิทธิ์ทางการค้าและเจ้าของสิทธิ์ทางการค้าในการประชุมต่างๆ ที่จัดขึ้นหรือทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ • สร้างภาพลักษณ์ รักษาชื่อเสียงทางเครื่องหมายการค้าให้ดีอย่างต่อเนื่อง • สร้างสัมพันธ์ทางธุรกิจอันดี สนับสนุนกิจกรรมและการให้ความช่วยเหลือต่างๆ ผ่านโครงการความร่วมมือด้าน ESG |