อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ผลการดำเนินงานเทียบเป้าหมาย


สรุปผลการดำเนินงาน ปี 2566

อัตราการบาดเจ็บที่บันทึกทั้งหมดของพนักงาน

อัตราการบาดเจ็บที่บันทึกทั้งหมดของผู้รับเหมา

อัตราการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานจากการทำงาน (LTIFR) ของพนักงาน

อัตราการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานจากการทำงาน (LTIFR) ของผู้รับเหมา

อัตราการบาดเจ็บรุนแรงสูง (ไม่รวมเสียชีวิต) ของพนักงาน

อัตราการบาดเจ็บรุนแรงสูง (ไม่รวมเสียชีวิต) ของผู้รับเหมา

จำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดจากการทำงานของพนักงาน

จำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดจากการทำงานของผู้รับเหมา

แนวทางการดำเนินงาน


โครงสร้างการบริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

บริษัทมีการปฏิบัติตามกฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด โดยมีการแต่งตั้ง 1) คณะกรรมการความปลอดภัยฯ (คปอ.) ระดับพื้นที่ ที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของพนักงานโดยการเลือกตั้งตัวแทนจากนายจ้างและลูกจ้าง ตามสัดส่วนที่กฎหมายกำหนดและมีการประชุมเป็นประจำทุกเดือน นอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดแล้ว บริษัทมีการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ครอบคลุมทุกพื้นที่การดำเนินการของบริษัท โดยจัดให้มี 2) คณะอนุกรรมการความปลอดภัยฯ ระดับสายงาน มีวาระและการคัดสรรคณะกรรมการทุก 2 ปี มีหน้าที่ในการพิจารณาประเด็นปัญหาจากคณะกรรมการความปลอดภัยฯ (คปอ.) ระดับพื้นที่ รวมถึงพิจารณาอนุมัติงบประมาณ ซึ่งดำเนินงานภายใต้การกำกับดูแลของ 3) คณะกรรมการนโยบายความปลอดภัยฯ ซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้ประกาศและถ่ายทอดนโยบายให้แต่ละสายงานนำไปปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกัน ครอบคลุมพนักงานทุกระดับในองค์กร รวมไปถึงผู้รับเหมาและคู่ค้าตลอดห่วงโซ่คุณค่าของบริษัท

นอกจากนี้ บริษัทยังมีการนำผลการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานมาปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงาน พื้นที่การทำงาน การอบรมพนักงาน รวมถึงปรับปรุงอุปกรณ์ในร้านเซเว่นอีเลฟเว่น

ยกระดับอาชีวอนามัย สร้างความปลอดภัยน่าทำงาน

บริษัทให้ความสำคัญในการเคารพสิทธิด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในระหว่างปฏิบัติงานของพนักงาน รวมถึงผู้รับเหมาที่เข้ามาปฏิบัติในพื้นที่ของบริษัทผ่านการกำหนดนโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวมทั้งการบริหารจัดการพื้นที่ปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมให้มีความปลอดภัยตามาตรฐานสากลและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เพื่อก้าวสู่องค์กรที่ปราศจากอุบัติเหตุภายในปี 2573 ทั้งนี้ บริษัทจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และภภาพแวดล้อมในการทำงาน กลุ่มธุรกิจการตลาดและการจัดจำหน่าย ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย แนวทางการดำเนินงาน และแผนการพัฒนาระบบอาชีอนามัยและความปลอดภัย พร้อมทั้งจัดตั้งคณะกรรมการตรวจประเมินประสิทธิผลการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ เพื่ออจัดตั้งคณะกรรมการป้องกันอุบัติเหตุร้ายแรงและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) เป็นประจำทุกปี ตลอดจนยกระดับการจัดการให้เทียบเคียงระดับสากล เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กร และเพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานทุกคนดำเนินงานภายใต้สภาพการทำงานที่ปลอดภัย

การประเมินความเสี่ยง โดยการระบุสิ่งที่อาจก่อให้เกิดอันตรายในสถานที่ทำงาน

ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยง

  • งานที่ทำเป็นประจำ (Routine)
  • งานที่ทำเป็นครั้งคราว (Non-Routine)
  • กิจกรรมหรืองานจากพื้นที่ภายนอกที่มีความเสี่ยง (Out side Workplace)
  • กิจกรรมหรืองานที่เกี่ยวกับผู้รับเหมา/หน่วยงานอื่น (Contractor)
  • สภาพแวดล้อม (Environmental)
  • เครื่องจักร/เครื่องมือ/อุปกรณ์ (Equipment)
  • วัสดุ/วัตถุดิบ (Materials)
  • การกระทำหรือพฤติกรรม (Human Behavior)
  • สภาพการทำงาน (Condition)
  • คน (เกิดจากตัวพนักงานเอง)
  • ปัจจัยทางสังคม
ความรุนแรง/โอกาสเกิด L (น้อย) M (ปานกลาง) H (สูง)
L (น้อย) ความเสี่ยงเล็กน้อย (1) ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (2) ความเสี่ยงปานกลาง (3)
M (ปานกลาง) ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (2) ความเสี่ยงปานกลาง (3) ความเสี่ยงสูง (4)
H (สูง) ความเสี่ยงปานกลาง (3) ความเสี่ยงสูง (4) ความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ (5)
ระดับความเสี่ยง การดำเนินการ
ยอมรับไม่ได้ (5) หยุดการทำงานในกิจกรรมงานทันที แล้วแก้ไขให้ระดับความเสี่ยงลดลงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ โดยต้องมีการตรวจสอบการแก้ไขดังกล่าวก่อนอนุญาตให้ปฏิบัติงาน พร้อมจัดทำเป็นมาตรการควบคุม ทั้งนี้ต้องมีหลักฐานพร้อมให้ตรวจสอบตลอดระยะเวลาดำเนินการ
สูง (4) ลดระดับความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ โดยทบทวนมาตรการควบคุมที่มีอยู่/ยกเลิก/จัดทำมาตรการใหม่/จัดทำวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และโครงการ ทั้งนี้ต้องมีหลักฐานพร้อมให้ตรวจสอบตลอดระยะเวลาดำเนินการ
ปานกลาง และยอมรับได้ (2,3) ทบทวนความเหมาะสมของมาตรการควบคุมที่มีอยู่ เพื่อควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้อย่างต่อเนื่องและตรวจสอบการปฏิบัติการโดยหัวหน้างานอย่างเข้มงวด
เล็กน้อย (1) ตรวจสอบการทำงานเป็นประจำโดยหัวหน้างาน,จป.,คปอ.

คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) มอบหมายให้ผู้บริหารระดับแผนกหรือเทียบเท่าของแต่ละพื้นที่ประเมินความเสี่ยงระบุกิจกรรม/พื้นที่/ลักษณะงาน อาทิ การขับขี่ยานยนต์/มอเตอร์ไซต์ สารเคมี แสง เสียง โดยพิจารณาจากงานที่ทำงานจากพื้นที่ภายนอกที่มีความเสี่ยง รวมถึงงานที่เกี่ยวกับผู้รับเหมา รวมถึงทบทวนความเสี่ยงกรณีเกิดการเปลี่ยนแปลงการควบคุม วัตถุดิบ / กิจกรรม / กระบวนการ / ผลิตภัณฑ์ใหม่ /ผังของกระบวนการทำงาน รวมถึงกรณีมีกฎหมายใหม่ / พบข้อร้องเรียน / การเกิดอุบัติเหตุ และการพิจารณาลดระดับความเสี่ยง ปีละครั้ง โดยการประเมินความเสี่ยงครอบคลุมทั้งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำปกติ และสถานการณ์ไม่ปกติของการทำงานที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว ควบคู่ไปกับการประเมินความเสี่ยงของพฤติกรรมที่มีผลต่อกิจกรรมการทำงาน พร้อมทั้ง ชี้บ่งอันตรายและประเมินหานัยสำคัญของลักษณะปัญหาความปลอดภัย ภายใต้กรอบการพิจารณาทั้ง 7 หมวด ประกอบด้วย 1) สภาพแวดล้อม (Environmental) 2) เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ (Equipment) 3) วัสดุ / วัตถุดิบ (materials) 4) การกระทำหรือพฤติกรรม (Human behavior) 5) สภาพการทำงาน (Condition) 6) ตัวพนักงาน 7) ปัจจัยทางสังคม

จากนั้นร่วมกันประเมินความเสี่ยงโดยใช้หลักเกณฑ์การพิจารณา 1) พิจารณาถึงโอกาสที่จะเกิดความสูญเสียของอันตราย 2) พิจารณาถึงความรุนแรงจากความสูญเสียของอันตราย จากนั้นจัดทำทะเบียนความเสี่ยงเพื่อนำไปพิจารณาจัดลำดับความสำคัญ และพิจารณามาตรการควบคุมความเสี่ยง

การจัดลำดับความสำคัญและบูรณาการแผนปฏิบัติการกับเป้าหมายเชิงปริมาณเพื่อจัดการความเสี่ยง

ผู้รับผิดชอบของแต่ละพื้นที่พิจารณาจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยง เพื่อพิจารณากำหนดมาตรการการจัดการ ความเสี่ยง และเสนอขอการอนุมัติจากคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

ระดับความเสี่ยง การดำเนินการ
ยอมรับไม่ได้ (5) หยุดการทำงานในกิจกรรมงานทันที แล้วแก้ไขให้ระดับความเสี่ยงลดลงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ โดยต้องมีการตรวจสอบการแก้ไขดังกล่าวก่อนอนุญาตให้ปฏิบัติงาน พร้อมจัดทำเป็นมาตรการควบคุม ทั้งนี้ต้องมีหลักฐานพร้อมให้ตรวจสอบตลอดระยะเวลาดำเนินการ
สูง (4) ลดระดับความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ โดยทบทวนมาตรการควบคุมที่มีอยู่/ยกเลิก/จัดทำมาตรการใหม่/จัดทำวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และโครงการ ทั้งนี้ต้องมีหลักฐานพร้อมให้ตรวจสอบตลอดระยะเวลาดำเนินการ
ปานกลาง และยอมรับได้ (2,3) ทบทวนความเหมาะสมของมาตรการควบคุมที่มีอยู่ เพื่อควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้อย่างต่อเนื่องและตรวจสอบการปฏิบัติการโดยหัวหน้างานอย่างเข้มงวด
เล็กน้อย (1) ตรวจสอบการทำงานเป็นประจำโดยหัวหน้างาน,จป.,คปอ.

และมอบหมายไปยังผู้เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำโครงการ แผนปฏิบัติการ พร้อมกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายเชิงปริมาณและผู้รับผิดชอบ เสนอคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานพิจารณาอนุมัติโครงการและแผนงาน อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการได้ที่ —> รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ปี 2566 (หน้า 158)

ตัวอย่างโครงการวัตถุประสงค์และเป้าหมาย

ตัวอย่างแผนงานอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

นอกจากนี้ บริษัทจัดทำช่องทางให้พนักงานรายงานอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น และกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูง พร้อมกำหนดขั้นตอนการสืบสวนอุบัติเหตุ โดยมีคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนและวิเคราะห์อุบัติเหตุ ตลอดจนวางแนวทางการแก้ไขที่เหมาะสม จากการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของพนักงานและผู้รับเหมา พบกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูงทั้งหมด 5 กิจกรรม ได้แก่ การส่งสินค้าเดลิเวอรี่ การทำงานของผู้รับเหมาขนส่งสินค้า การทำงานของผู้รับเหมาซ่อมสร้าง การขับรถโฟล์คลิฟท์ การทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร โดยในปี 2566 มีอุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิตจากกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูง 2 กิจกรรม ได้แก่่ การทำงานของผู้รับเหมาขนส่งสินค้า การส่งสินค้าเดลิเวอรี่ โดยสามารถสรุปผลการสอบสวนได้ ดังนี้

กิจกรรมความเสี่ยงสูง (สาเหตุ) สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย (สาเหตุ) การกระทำที่ไม่ปลอดภัย แนวทางแก้ไข/ป้องกัน

การทำงานของผู้รับเหมาขนส่งสินค้า

  • ฝนตกถนนลื่น
  • ถนนมีแสงสว่างไม่เพียงพอ
  • ถนนทางแยกทางร่วม
  • ไม่สังเกตสิ่งรอบข้าง
  • ขับรถเร็ว ไม่เว้นระยะห่างจากคันหน้า
  • พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • อบรมการขับขี่อย่างปลอดภัย
  • Reward ให้กับผู้ขับขี่อย่างปลอดภัย
  • ประเมินความเสี่ยงเส้นทางวิ่งรถ
  • กำหนดจุดพักรถสำหรับทางขนส่งระยะไกล

การส่งสินค้าเดลิเวอรี่

  • ถนนมีแสงสว่างไม่เพียงพอ
  • ถนนเป็นทางโค้ง มีเศษหิน เศษทราย
  • สภาพถนนหลวง มีรถหนาแน่น
  • ขับขี่รถจักรยานใช้ความเร็วเกินกำหนด (50 กม./ชม.)
  • ไม่ชะลอความเร็วบริเวณทางแยก, ทางโค้ง
  • ไม่เล็กสายรัดคางหมวกกันน็อค/ใช้หมวกกันน๊อกไม่เต็มใบ
  • สภาพร่างกายไม่พร้อมปฏิบัติงาน
  • ไม่เปิดไฟส่งสว่างขณะขับขี่

ปฏิบัติตามมาตรการ 7 ต้อง 11 ห้าม

  • (ต้อง) สวมหมวกกันน็อก และล็อกสายรัดคาง
  • (ต้อง) เตรียมร่างกายให้พร้อมต่อการขับขี่
  • (ต้อง) ศึกษาเส้นทางจราจร และสภาพอากาศ
  • (ห้าม) ขับรถเร็วเกิน 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • (ห้าม) ขับรถเร็วเมื่อขับผ่านทางแยก, ทางโค้ง
  • (ห้าม) ขับรถใกล้จุดบอดรถหรือตามหลังกระชั้นชิด

แผนการพัฒนาระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ปี 2566

บริษัทพัฒนาการจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในพื้นที่ปฏิบัติงานของพนักงาน ครอบคลุมไปถึงผู้รับเหมาะที่อยู่ภายใต้การดูแลของบริษัทอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งจัดทำแนวทางเพื่อพิจารณาคัดเลือกพื้นที่ที่มีความพร้อมเพื่อยืนขอรับการรับรอง ตรวจประเมินโดยผู้ตรวจสอบภายนอก และเตรียมพร้อมก่อนรับการตรวจจริง รวมถึงตรวจประเมินประจำปี เพื่อรักษามาตรฐานของระบบ ในปี 2566 บริษัทได้รับการรับรอง ISO 45001: 2018 เพิ่ม 5 พื้นที่ คือ ศูนย์กระจายสินค้า RDC ชลบุรี, ศูนย์กระจายสินค้า CDC ชลบุรี, ศูนย์กระจายสินค้า RDC นครสวรรค์, ศูนย์กระจายสินค้า CDC นครสวรรค์ และศูนย์กระจายสินค้า CDC นครราชสีมา ส่งผลให้พื้นที่เป้าหมายของบริษัทได้การรับรองครอบคลุมร้อยละ 80 และมีแผนขยายผลในปี 2567 จำนวน 2 พื้นที่ คือ ศูนย์กระจายสินค้า CDC ภูเก็ต และ ศูนย์กระจายสินค้า All Complex

แผนยกระดับมาตรฐานการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ISO 45001 : 2018

2562 (Phase1)

  • อบรมให้ความรู้
  • นำมาตรฐาน ISO 45001 : 2018 ประยุกต์ใช้ในทุกพื้นที่
  • วิเคราะห์ช่องว่าง (Gap) ระบบปัจจุบันเทียบ ISO 45001 : 2018
  • จัดทำแผนยกระดับรายพื้นที่
  • คัดเลือกพื้นที่เป้าหมาย (ระยะที่ 1)





2563-2564

  • ขอการรับรองเพิ่ม 10 พื้นที่
  • Pr-Audit โดยหน่วยงานภายนอก
  • ตรวจประจำปี (Surveillance Audit) Maintain Certification ISO 45001 : 2018 7 พื้นที่
  • ตรวจติดตามโดยผู้ตรวจประเมินภายใน (Internal Audit)




2565 (Phase 2)

  • คัดเลือกพื้นที่เป้าหมาย (ระยะที่ 2)
  • ขอการรับรองเพิ่ม 8 พื้นที่
  • Pre-Audit โดยหน่วยงานภายนอก
  • ตรวจประจำปี (Surveillance Audit) Maintain Certification ISO 45001 : 2018 7 พื้นที่
  • ตรวจติดตามโดยผู้ตรวจประเมินภายใน (Internal Audit)
  • ต่ออายุใบรับรอง 10 พื้นที่

2566

  • ขอการรับรองเพิ่ม 5 พื้นที่
  • Pre-Audit โดยหน่วยงานภายนอก
  • ตรวจประจำปี (Surveillance Audit) Maintain Certification ISO 45001: 2018
  • ตรวจติดตามโดยผู้ตรวจประเมินภายใน (Internal Audit)






2567

  • ขอการรับรองเพิ่ม 2 พื้นที่
  • Pre-Audit โดยหน่วยงานภายนอก
  • ตรวจประจำปี (Surveillance Audit) Maintain Certification ISO 45001: 2018
  • ตรวจติดตามโดยผู้ตรวจประเมินภายใน (Internal Audit)






ประเมินและติดตามผล สุขภาพ ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดี โดยองค์กรอิสระภายนอก

แผนการตรวจ SCA สายงานกระจายสินค้า ปี 2565

2565 : ใบรับรองใหม่ 16 พื้นที่

DC BB

CDC BB

RDC ST

DC SB

CDC SB

RDC BR

RDC KK

CDC KK

CDC ST

DC MC

CDC MC

RDC LP

Logistics

FDC ST

RDC HY

CDC HY

2566 : ขยายเพิ่ม 5 พื้นที่

RDC CB

RDC NS

CDC NR

CDC CB

CDC NS

นโยบาย เป้าหมาย และการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

บริษัทกำหนดนโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พร้อมทั้งตั้งเป้าหมายสู่การดำเนินธุรกิจที่มีจำนวนและอัตราผู้เสียชีวิตอันเนื่องมาจากการทำงานของพนักงานและผู้รับเหมาทั้งหมด และอัตราการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานจากการทำงานลดลงร้อยละ 40 และเป็นศูนย์ ในปี 2573 ทั้งนี้ บริษัทดำเนินการประเมินความเสี่ยงจากการระบุสิ่งที่อาจก่อให้เกิดอัตราในสถานที่ปฏิบัติงานซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ 1) ระบุกิจกรรม พื้นที่ และลักษณะงาน 2) ชี้บ่งอันตราย 3) ประเมินความเสี่ยวง 4) จัดทำทะเบียนความเสี่ยง รวมทั้งจัดลำดับความสำคัญและบูรณาการแผนปฏิบัติการกับเป้าหมายเชิงปริมาณ เพื่อกำหนดมาตรการการจัดการความเสี่ยง และนำเสมอให้คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) พิจารณาอนุมัติโครงการและดำเนินแผนงานประจำเดือนและประจำปี ตลอดจนเปิดโอกาสให้พนักงานรายงานอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นหรือมีความเสี่ยงสูงผ่านช่องทางต่างๆ เพื่อลด ควบคุมและป้องกันอุบัติเหตุใดๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น

การบูรณาการการดำเนินงานเพื่อเตรียมพร้อมและตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน

บริษัทมีการบูรณาการดำเนินการ เพื่อเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน

ตัวอย่างการดำเนินการ

ตัวอย่างตารางฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินประจำปี

โปรแกรมการประเมินความก้าวหน้าในการลด/ป้องกันปัญหาสุขภาพ/ความเสี่ยงต่อเป้าหมาย

คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ประเมินและติดตามความคืบหน้าของโครงการและแผนงานทุกเดือน ทั้งในเชิงคุณภาพ (Qualitative) เชิงปริมาณ (Quantitative) เชิงรุก (Proactive) อาทิ การตรวจสภาพแวดล้อมในการทำงาน การตรวจความปลอดภัยตามแผนการตรวจสอบเครื่องจักร อุปกรณ์ การบำรุงรักษาเครื่องจักร อุปกรณ์ การตรวจสุขภาพ พร้อมทั้งมีการทบทวนวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการปีละครั้ง

ตัวอย่างการติดตามเชิงปริมาณเพื่อวัดความก้าวหน้าของวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย ปี 2566

ตัวอย่างการติดตามเชิงรุกความปลอดภัยของสายปฏิบัติการร้าน 7-Eleven โดยหน่วยงานตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานร้าน (Quality Store Standard Inspector) เดือนละครั้ง

ตัวอย่างการติดตามเชิงรุกตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง

โปรแกรมการตรวจประเมินภายใน

บริษัทกำหนดให้มีกระบวนการตรวจประเมินภายในอย่างเป็นระบบ เพื่อให้มั่นใจว่าระบบการจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัยขององค์กรได้มีการนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิผล โดยร่วมกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ จัดทำโครงการตรวจประเมินประสิทธิผลการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (SHE) เพื่อป้องกันอุบัติเหตุร้ายแรงและลดผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยคณะกรรมการกลางปีละ 1 ครั้ง ภายใต้เกณฑ์การตรวจประเมินประสิทธิผลด้าน SHE  ดังนี้

บริษัทมีการบูรณาการการดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน และดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตลอดจนส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่พนักงานในองค์กร ผ่าน 3 โปรแกรมหลัก ดังนี้

1. โปรแกรมสนับสนุนพนักงานและครอบครัวพนักงานเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี

โครงการจัดรูปแบบการทำงานแบบยืดหยุ่น

บริษัทส่งเสริมสร้างความสมดุลให้กับพนักงานระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัว (Work-left Balance) โดยพนักงานประจำสำนักงานสามารถเลือกเวลาทำงานให้สอดคล้องกับรูปแบบการใช้ชีวิตของตนเองได้ ตามช่วงเวลาที่บริษัทกำหนดได้แก่

ช่วงเวลา

07.30-17.00 น.

08.00-17.30 น.

08.30-18.00 น.

09.00-18.30 น.

09.30-19.00 น.

ทั้งนี้ บริษัทกำหนดนโยบาย และแนวทางให้พนักงานสามารถเลือกทำงาน ณ สถานที่ใดก็ได้ รวมทั้งมีทางเลือกให้พนักงานสามารถทำงานที่บ้านได้ จำนวนสูงสุด 3 วัน ต่อสัปดาห์ ตลอดจนสนับสนุนระบบการทำงานที่รองรับการทำงานแบบเลือกทำงาน ณ สถานที่ใดก็ได้ เพื่อให้พนักงานสามารถติดต่อสื่อสารและเข้าถึงระบบในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ระบบ การประชุมออนไลน์ ระบบการสื่อสารผ่าน CPALL Connect และ True Virtual Connect เป็นต้น


โครงการสวัสดิการเพื่อครอบครัวพนักงาน

บริษัทเริ่มโครงการทดลองเกี่ยวกับสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลกรณีคนไข้ในสำหรับ บิดา มารดา เพื่อเป็นทางเลือกให้พนักงานที่โสดหรือไม่ใช้ค่ารักษาพยาบาลสำหรับคู่สมรส ใช้สวัสดิการรักษาพยาบาลสำหรับครอบครัว เพื่อช่วยเหลือ แบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายพยาบาล และสร้างขวัญกำลังใจให้พนักงาน

นอกจากนี้ บริษัทให้ความสำคัญสำคัญกับการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีและความสัมพันธ์ที่ดีของทั้งพนักงานและครอบครัวของพนักงาน เพื่อลดความวิตกกังวลของพนักงาน และสร้างความผูกพันที่ดีต่อองค์กร โดยบริษัทมุ่งสนับสนุนสวัสดิการสำหรับคุณภาพที่ดีของครอบครัวพนักงาน ดังนี้


กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติมสำหรับบุตรหลานของพนักงาน

เพื่อแบ่งเบาภาระของผู้ปกครอง สร้างประสบการณ์การเรียนรู้และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ อาทิ

  • กิจกรรม “SPIM Active Learning Science” ผ่านกิจกรรมการทดลองออนไลน์กับคุณครูชีววิทยาระดับประเทศ พร้อมอุปกรณ์การทดลองส่งตรงถึงบ้านแบบไม่มีค่าใช้จ่าย
  • กิจกรรมการอบรมหลักสูตร “หุ่นยนต์ละโค้ดดิ้ง”
  • กิจกรรมสำหรับบุตรหลานบุคลากร PIM “ค่ายการ์ตูนหรรษาฯ All Art for Kids”

บริการวิเคราะห์ศักยภาพและบุคลิกภาพเด็กและเยาวชนในโครงการเด็กทุนลูกเหรียง
  • โครงการ “ค้นหาตัวตน ค้นพบศักยภาพ เพื่อวางแผนอนาคต”
    ให้ความสำคัญกับการค้นหา เข้าใจศักยภาพและบุคลิกภาพของตนเองเพื่อประโยชน์ในด้านการวางแผนด้านการเรียน การประกอบอาชีพ รวมถึงการสื่อสาร การเลี้ยงดูที่เหมาะสมสำหรับผูปกครองเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกในครอบครัว

โครงการ “มุมนมแม่”

บริษัทให้สวัสดิการสำหรับพนักงานหญิงเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นคุณแม่ ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ คลอดบุตร จนถึงการเลี้ยงดูบุตรให้เติบโต ผ่านโครงการต่างๆ อาทิ การจัดอบรมให้ความรู้เรื่องนมแม่ สำหรับคุณแม่ครั้งครรภ์ กิจกรรมเยี่ยมคุณแม่หลังคลอด การจัดสถานที่ให้คุณแม่สำหรับให้นมบุตร ภายในพื้นที่ปฏิบัติงานศูนย์กระจายสินค้า ซีพี ออลล์

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

ลดอัตราการลาออกของพนักงานหญิงหลังจากคลอดบุตร

ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนายจ้าง และลูกจ้าง

  

ความพึงพอใจของพนักงาน


โครงการ Health for ALL

บริษัทให้ความสำคัญต่อการเคารพสิทธิด้านสุขภาพของพนักงาน จึงสนับสนุนให้พนักงานร่วมกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพ รวมทั้งสนับสนุนการออกกำลังกาย เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคต่างๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน เป็นต้น ปัจจุบันมีพนักงานเข้าร่วมโครงการ 800 ราย

  • บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ดำเนินกิจกรรมที่หลากหลาย อาทิ Fit From Home เชิญชวนพนักงานออกกำลังกาย และสนับสนุนให้ส่งผลการเผาผลาญแคลรี่เพื่อร่วมรับของรางวัลกิจกรรมออกกำลังกายตามกรุ๊ปเลือดที่ให้ส่งภายถ่ายขณะออกกำลังกายพร้อมระบุเหตุผลที่เลือกการออกกำลังกายนั้นๆ
  • บริษัท ซีพีแรม จำกัด ดำเนินกิจกรรม "รักษ์สุขภาพ" ต่อเนื่องกว่า 4 ปี ให้แก่พนักงาน โดยมีการวัดผลสมรรถภาพร่างกายทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ ค่าระดับน้ำตาบในเลือด การเผาผลาาญโดยการออกกำลังกาย การลดลงของน้ำหนัก สัดส่วนไขมันในร่างกายและระยการเดินและวิ่ง ปัจจุบันมีพนักงานเข้าร่วมโครงการกว่า 766 ราย สะสมกว่า 370 ราย
  • จัดตั้งกลุ่มคนสุขภาพดี เพื่อร่วมสร้างสังคมสุขภาพดี โดยสมาชิกสามารถรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวบาญด้านสุขภาพ ร่วมกิจกรรมสุขภาพ และเข้าถึงข้อมูลสุขภาพต่างๆ ได้

2. โปรแกรมลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

โครงการส่งเสริมความปลอดภัยในการขับขี่สำหรับพนักงานร้าน 7-Eleven

บริษัทกำหนดมาตรการสำหรับพนักงานจัดส่งสินค้า ทุกคนให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด อาทิ สวมหมวกกันน็อก มีใบขับขี่ มี พ.ร.บ. มีประกันภาคสมัครใจ ผ่านการอบรมขับขี่ปลอดภัย โดยพนักงานมีการทบทวนและสื่อสารด้านความปลอดภัยในการขับขี่ในขณะปฏิบัติงาน ดังนี้


1. ปรับปรุงมาตรการความปลอดภัยในการใช้ยานยนต์
  • 7 ข้อปฏิบัติ และ 11 ข้อห้ามปฏิบัติของพนักงาน สำหรับร้าน 7-Eleven
  • การตรวจสอบความพร้อมของยานยนต์
  • ข้อร้องเรียน บทบาทผู้เกี่ยวข้องและบทลงโทษ

2. สร้างนวัตกรรมการขับขี่ปลอดภัย
  • อบรมให้ความรู้เรื่อง "ขับขี่ปลอดภัย"
  • การสื่อสารเชิงรุกด้วยสื่อรณรงค์ที่เข้าใจง่ายสำหรับพนักงานร้าน 7-Eleven ทั่วประเทศ อาทิ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Books) คลิปวิดีโอ โปรสเตอร์ 7 ต้อง 11 ห้าม และการวัดผลการรับรู้ข่าวสารของพนักงานเป็นรายสัปดาห์

3. สนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันอุบัติเหตุ
  • อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลขณะขับขี่ สำหรับพนักงานจัดส่งสินค้า (Rider) อาทิ เสื้อพนักงานติดแถบสะท้อนแสงชุดจับมือถือจักรยานยนต์

4. เพิ่มความเข้มข้นมาตรการการกำกับดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติงานของพนักงานจัดส่งสินค้า (Rider)
  • กำหนดมาตรการความปลอดภัยในการใช้ยานยนต์ สำหรับร้าน 7-Eleven
  • จัดทำทะเบียนพนักงานจัดส่งสินค้า
  • ตรวจสอบข้อมูลพนักงานจัดส่งสินค้า และวัดผลการรับรู้ข้อมู ล "ขับขี่ปลอดภัย"
  • พนักงานจัดส่งสินค้าตรวจสอบความพร้อมก่อนขับขี่ด้วยตนเองและโดยหัวหน้างาน ตามหัวข้อในแบบบันทึกข้อมูล ขับขี่ปลอดภัย
  • สุ่มตรวจสอบพฤติกรรมการขับขี่ไม่ปลอดภัย พร้อมหลักฐานการขับขี่จากกล้อง CCTV โดยหน่วยงานประกันคุณภาพมาตรฐานร้านทุกเดือน
  • รายงานอุบัติเหตุผ่านระบบ Call Center ภายใน 15 นาที และไต่สวนอุบัติเหตุภายใน 5 วัน
  • ติดตั้ง Application Last Mile สำหรับตรวจสอบพฤติกรรมการขับขี่ของพนักงานจัดส่งสินค้า รวมถึงแจ้งเตือนล่วงหน้า 30 วัน ก่อนใบขับขี่ ภาษีรถจักรยายนต์ และ พ.ร.บ. หมดอายุ
  • ร่วมมือกับกรุงเทพมหาจครเพื่อกำกับดูแล และแก้ไขปัญหา Rider ไม่ให้กระทำผิดกฎหมายจราจร เช่น นำรถจักรยานยนต์มาขับขี่บนทางเท้า ฝ่าฝืนสัญญาณจราจร เป็นต้น

5. ทดลองใช้รอมอร์เตอร์ไซค์ไฟฟ้าร้อยละ 100

จำกัดความเร็วไม่เกิน 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อควบคุมความเร็ว ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ อีกทั้งยังช่วยลดมลพิษให้กับชุมชน ปัจจุบันอยู่ระหว่างทดลองใช้ในร้าน 7-Eleven จำนวน 1,746 คัน

บริษัทติดตามรางงานการเกิดอุบัติเหตุอย่างสม่ำเสมอ โดยในปี 2566 สำนักปฏิบัติการ 4-BS ของบริษัทร่วมมือกับศูนย์ฝึกขับขี่ฮอนด้า โดยมีอาจารย์ผู้ฝึกสอน ผู้เชี่ยวชาญด้านการขับขี่ปลอดภัย จัดอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติบนสนามฝึกที่เป็นมาตรฐานให้แก่พนักงาน ส่งผลให้พื้นที่สำนักปฏิบัติการ 4-BS ไม่มีอุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิต และบาดเจ็บรุนแรง ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าหมายให้พนักงานทุกคนทั่วประเทศได้รับการอบรมตามมาตรฐาน เพื่อลดสถิติอุบัติเหตุให้เป็นศูนย์


โครงการบริหารความปลอดภัยการขนส่งสินค้า

ซีพี ออลล์ มุ่งลดความเสี่ยงด้านอุบัติเหตุในการทำงานให้กับผู้รับเหมาขนส่ง ผ่านโครงการบริหารความปลอดภัยการขนส่งสินค้า เพื่อ 1) สร้างมาตรฐานความปลอดภัยของการขนส่งสินค้า 2) สร้างความตระหนักรู้ด้านความปลอดภัยต่อผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ พนักงาน หน่วยบงานจัดส่งสินค้า ผู้ประกอบการขนส่งสินค้า ตลอดจนพนักงานขนส่งสินค้า อย่างต่อเนื่อง ปลูกจิตสำนึกในการขับขี่อย่างปลอดภัย ป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับรถขนส่ง 3) ลดความสูญเสียากอุบัติเหตุรถขนส่ง ทั้งต่อชีวิต และทรัพย์สิน โดยลดอุบัติเหตุรถขนส่งได้ และการลดการส่งสินค้าล่าช้าจากอุบัติเหตุรถขนส่ง 4) ตอบสนองต่อเป้าหมายยุทธศาสตร์ความยั่งยืนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ "อุบัติเหตุเป็นศูนย์" ภายในปี 2573 ครอบคลุมศูนย์กระจายสินค้าทั่วประเทศ ดังนี้

TRAIN-THE-TRAINER
ซีพี ออลล์ สร้างวิทยาการด้านมาตรฐานความปลอดภัยในการขับขี่ของพนักงานขนส่ง ด้วยรูปแบบ TRAIN-THE-TRAINER เพื่ออบรมให้ความรู้ด้านการขับขี่รถขนส่งอย่างปลอดภัยให้กับผู้รับเหมาขนส่ง และตรวจสอบมาตรฐานของรถขนส่ง และวิเคราะห์อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในศูนย์กระจายสินค้าเพื่อหาแนวทางป้องกันแก้ไข

DRIVING CONTEST
เป็นการแข่งขันการขับขี่อย่างปลอดภัยและประหยัดของพนักงานขนส่ง โดยการติดตามและบันทึกข้อมูลของระบบ GPS ติดตามรถขนส่ง เพื่อ 1) กระตุ้นพฤติกรรมการขับขี่ที่ปลอดภัย และประหยัด อย่างต่อเนื่องในกลุ่มพนักงานขนส่ง 2) ใช้เทคโนโลยี 3) ลดอุบัติเหตุและความสูญเสียที่เกิดจากอุบัติเหตุของรถขนส่ง ทั้งนี้ได้ให้รางวัลแก่พนักงานขนส่งที่มีพฤติกรรมการขับขี่ที่ดี

DRIVING BEHAVIOR MONITORING
การยกระดับการติดตามพฤติกรรมการขับขี่ของพนักงานขนส่ง ด้วยระบบ GPS โดยจะมีการตรวจสอบพฤติกรรมการขับขี่ของพนักงานขนส่งด้วยระบบ GPS และมีระบบออกใบเตือนอัตโนมัติ กรณีตรวจพบความเร็วเกินมาตรฐานกำหนด และการได้รับใบเตือนจะมีผลต่อการประเมินการจัดซื้อจัดจ้างเมื่อครบสัญญาและการปรับอัตราค่าจ้าง เนื่องจากมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเเกิดอุบัติเหตุและทำให้บริษัทเสียหาย

การดำเนินการได้มีการกำหนดจุดพักรถขนส่งเส้นทางไกลสำหรับผู้รับเหมาขนส่งสินค้าในเส้นทางขนส่งระยะไกล ที่มีระยะทางมากกว่า 250 กิโลเมตร หรือใช้เวลาในการเดินทางมากกว่า 4 ชม. ติดต่อกัน และต้องเป็นพื้นที่จอดรถได้อย่างปลอดภัยเพื่อให้ผู้รับเหมาขนส่งได้พักร่างกายลดความเมื่อยล้าจากการขับขี่


โครงการฝึกอบรมการเรียนรู้ความปลอดภัยสำหรับพนักงานในสายการผลิต

บริษัท ซีพีแรม จำกัด มุ่งสร้างความเข้าใจและสร้างพฤติกรรมความปลอดภัยให้กับพนักงานทุกคนเพื่อลดความเสี่ยงด้านอุบัติเหตุในการททำงาน ผ่านการฝึกอบรมในทุกสาขาภูมิภาค โดยเครื่องตจำลองอุบัติเหตุ เช่น สถานการแต่งตัว การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล สถานีอันตรายจากลื่นล้ม เป็นต้น เป็นการจัดสถานที่ฝึกอบรมให้เป็นศุนย์กลางการเรียนรู้ด้านคลวามปลอดภัยอย่างสมบูรณ์ โดยจัดตั้งสถานีจำลองแสดงความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุจากสถานการณ์ต่างๆ เป็นโครงการสนับสนุนเป้าหมายลดอุบัติเหตุจากการทำงานเป็นศูนย์ ภายในปี 2573

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

  

อัตราการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานจากการทำงานลดลง


โครงการฝึกอบรมพนักงานรักษาความปลอดภัย

ซีพี ออลล์ กำหนดให้บริษัทรักษาความปลอดภัยจัดฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติงานภมยใต้ข้อกำหนดด้านสิทธิมนุษยชน ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานตามหน้าที่ให้แก่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทุกคนก่อนเริ่มปฏิบัติงาน ในปี 2566 ไม่พบข้อร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของบริษัท

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

  

พนักงานรักษาความปลอดภัยสัญญาจ้างจากบริษัทภายนอกได้รับการฝึกอบรม

3. โปรแกรมลดความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ และการจัดการความเครียด

โครงการศูนย์สุขภพ CPAL Health Care Center

บริษัทจัดโครงการศูนย์สุขภาพ Health Care Center เพื่อส่งเสริมสุขภาพของพนักงานที่ดีอย่างต่อเนื่อง โดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งทีมแพทย์ พยาบาล และนักกายภาพบำบัด จากโรงพยาบาลรามาธบดี โดยมีการดูแลผ่านบริการ 5 ด้านหลัก ดังนี้ 1) ตรวจรักษาโรคทั่วไป 2) ตรวจรักษาโรคเฉพาะทาง อาทิ โรคกระดูก โรคผิวหนัง โรคตา-หู-คอ-จมูก ฯลฯ 3) กายภาพบำบัด (ตามดุลยพินิจของแพทย์) 4) เตียงสังเกตอาการหรือพักฟื้น และ 5) ให้บริการช่วยเหลือกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือวิกฤต ตลอดจน สวัสดิการอื่นๆ อาทิ ใบสั่งยาสำหรับพนักงานที่มีใบสั่งยาหรือใบรับรองแพทย์ โดยพนักงานไม่ต้องสำรองจ่าย และสามารถเลือกรักยาได้จากที่บ้านหรือที่ทำงาน ทั้งนี้ บริษัทยังส่งเสริมการเข้าถึงวัคซีนตามสิทธิให้กับพนักงานทุกระดับ ให้บริษัทบำบัดฟื้นฟูอาการออฟฟิศซินโดรม พร้อมทั้งจัดบริการให้คำปรึกษาและดูแลสุขภาพ โดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ในปี 2566 มีพนักงาน และผู้บริหาร เข้าร่วมโครงการ จำนวน 12,500 ราย


โครงการต่อเนื่อง ยืดเหยียดลดโรค

โครงการยืดเหยีดลดโรคในรูปแบบออนไซด์ และออนไลน์ ดำเนินงานต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกายภาพบำบัด และแพทย์แผนไทยของ eXta Health & Wellness มาให้ความรู้ทางด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคออฟฟิศซินโดรมแก่ผู้บริหารและพนักงาน พร้อมคำแนะนำเรื่องท่าทางการทำงานที่ถูกต้องเพื่อป้องกันการปวดกล้ามเนื้อ ในปี 2566 มีพนักงานและผู้บริหารเข้าร่วม จำนวน 166 ราย


โครงการส่งเสริมสุขภาพดีวัยทำงาน "กิจกรรมนวดเพื่อสุขภาพ"

โครงการส่งเสริมสุขภาพดีวัยทำงาน "กิจกรรมนวดเพื่อสุขภาพ" เพื่อให้พนักงานได้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ลดปัญหาออฟฟิศซินโดรม และมีสุขภาพที่ดีขึ้น โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก พนักงานที่มีปัญหาปวดเมื่อย กล้ามเนื้อ และมีความเสี่ยงต่อการเป็นออฟฟิศซินโดรม จำนวนผู้เข้าร่วม 132 ราย

นอกจากนี้ บริษํท ซีพีแรม จำกัด (ขอนแก่น) โดยหน่วยงานความปลอดภัย ร่วมกับแผนกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลสิรินธรเข้าให้บริการนวดเพื่อสุขภาพ จัดกระดูก และให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพเดือนละ 2 ครั้ง ส่งผลให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อดีขึ้นร้อยละ 98

ขั้นตอนการตรวจสอบการบาดเจ็บ การเจ็บป่วย โรคและเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน

การตรวจสอบการบาดเจ็บจากการทำงาน

การตรวจสอบการบาดเจ็บจากการทำงาน กลุ่ม Rider

การตรวจสอบโรคทั่วไป / โรคจากการทำงาน

การฝึกอบรม OHS ที่จัดให้กับพนักงานและ/หรือฝ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความตระหนักและลดเหตุการณ์ด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

บริษัทให้ความสำคัญกับการพัฒนาความรู้ ความสามารถของบุคลากร สร้างความตระหนัก การสื่อสารข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นให้กับผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงวิเคราะห์หาความจำเป็นในการฝึกอบรม และดำเนินการอบรม ให้ความรู้ในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม ปลอดภัยสำหรับการปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยง ผ่านโครงการที่หลากหลาย ดังนี้

โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการความปลอดภัย มุ่งสู่อุบัติเหตุเป็นศูนย์

โครงการอบรมระบบการจัดการด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาบุคลากร

โครงการอบรมเพิ่มทักษะขับขี่ปลอดภัยให้กับพนักงานสายปฏิบัติการร้าน 7-Eleven

โครงการสร้างความตระหนัก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านความปลอดภัยให้กับพนักงานศูนย์กระจายสินค้าและผู้รับเหมาขนส่ง (Kiken Yochi Training : KYT)

โครงการอบรมสอบใบขับขี่รถ PT รถ Fork Lift ชั่วคราว ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ให้กับผู้ขับขี่

โครงการอบรมผู้รับเหมาก่อสร้างเรื่องมาตรฐานความปลอดภัย ก่อนเข้าทำงานในร้าน 7-Eleven และพื้นที่ศูนย์กระจายสินค้า และพื้นที่โรงงาน ซีพี แรม

โครงการอบรมผู้รับเหมาขนส่ง หลักสูตรการขับรถบรรทุกอย่างมืออาชีพ

การนำเกณฑ์ OHS มาใช้ในการจัดซื้อจัดจ้างและข้อกำหนดตามสัญญา

บริษัทตระหนักถึงสิทธิด้านความมั่นคงปลอดภัยของ โดยมุ่งเป็นองค์กรที่ปราศจากอุบัติเหตุ ภายในปี 2573 รวมถึงมอบความสุข และคุณภาพชีวิตที่ดีแก่พนักงาน บริษัทจึงดำเนินการจัดสภาพแวดล้อม และพื้นที่การทำงานให้ปลอดภัยตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยกำหนดคณะกรรมการตรวจประเมินประสิทธิผลการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย แนวทางการดำเนินงาน และแผนการพัฒนาระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัย พร้อมทั้งดำเนินตลอดจนยกระดับการจัดการให้เทียบเคียงระดับสากล เพื่อดูแลพนักงานให้มีสภาพการทำงานที่ปลอดภัย และไม่ส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายใน และภายนอกองค์กร

ข้อมูลอื่นๆ


ผลการดำเนินงานด้านการดูแลความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

มาตรฐาน GRI ข้อมูล หน่วย 2562 2563 2564 2565
ชาย หญิง ชาย หญิง ชาย หญิง ชาย หญิง
พนักงาน
403-9 (a) 2018 - จำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดจากการทำงาน ราย 0 2 5 0
0 0 2 0 2 3 0 0
- อัตราผู้เสียชีวิต กรณี/1,000,000 ชั่วโมงการทำงาน 0 0.008 0.013 0
0 0 0.02 0 0.013 0.013 0 0
- จำนวนผู้บาดเจ็บทั้งหมดที่มีความรุนแรงสูง (ไม่รวมเสียชีวิต) ราย 0 1 3 2
0 0 0 1 2 1 1 1
- อัตราผู้บาดเจ็บทั้งหมดที่มีความรุนแรงสูง (ไม่รวมเสียชีวิต) กรณี/1,000,000 ชั่วโมงการทำงาน 0 0.004 0.01 0.01
0 0 0 0.01 0.01 0.004 0.01 0.004
- จำนวนผู้บาดเจ็บที่บันทึกทั้งหมด ราย 272 539 771 720
170 102 252 287 351 420 366 354
- อัตราการบาดเจ็บที่บันทึกทั้งหมด กรณี/1,000,000 ชั่วโมงการทำงาน 1.22 2.14 2.00 1.93
2.27 0.69 3.02 1.99 2.23 1.84 2.74 1.49
- อัตราการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานจากการทำงาน กรณี/1,000,000 ชั่วโมงการทำงาน 0.71 1.66 1.69 1.65
1.28 0.43 2.21 1.38 1.80 1.62 2.22 1.29
- จำนวนชั่วโมงการทำงานรวม ชั่วโมง 222,630,585 251,718,321 386,155,115 372,331,111
74,829,447 147,801,138 83,430,837 168,287,484 157,467,972 228,687,144 135,490,551 236,840,560
403-10 (a) 2018 - จำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคจากการทำงาน ราย 0 0 0 0
0 0 0 0 0 0 0 0
- จำนวนกรณีที่เจ็บป่วยจากการทำงานทั้งหมด กรณี 0 0 1 0
0 0 0 0 1 0 0 0
- อัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคจากการทำงานทั้งหมด (OIFR) กรณี/1,000,000 ชั่วโมงการทำงาน 0 0 0.003 0
0 0 0 0 0.01 0 0 0
ผู้รับเหมา
403-9 (b) 2018 - จำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดจากการทำงาน ราย 0 3 9 12
0 0 2 1 8 1 7 5
- อัตราผู้เสียชีวิต กรณี/1,000,000 ชั่วโมงการทำงาน 0 0.01 0.03 0.05
0 0 0.02 0.01 0.05 0.01 0.07 0.03
- จำนวนผู้บาดเจ็บทั้งหมดที่มีความรุนแรงสูง (ไม่รวมเสียชีวิต) ราย 0 0 2 1
0 0 0 0 1 1 0 1
- อัตราผู้บาดเจ็บทั้งหมดที่มีความรุนแรงสูง (ไม่รวมเสียชีวิต) กรณี/1,000,000 ชั่วโมงการทำงาน 0 0 0.007 0.004
0 0 0 0 0.01 0.01 0 0.01
- จำนวนผู้บาดเจ็บที่บันทึกทั้งหมด ราย 96 120 306 267
68 28 71 49 186 120 153 114
- อัตราการบาดเจ็บที่บันทึกทั้งหมด กรณี/1,000,000 ชั่วโมงการทำงาน 1.51 0.52 1.00 1.01
20.2 0.93 .080 0.34 1.16 0.82 1.42 0.72
- อัตราการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานจากการทำงาน กรณี/1,000,000 ชั่วโมงการทำงาน 0.99 0.37 0.74 0.80
1.28 0.67 0.52 0.28 0.73 0.75 1.10 0.59
- จำนวนชั่วโมงการทำงานรวม ชั่วโมง 63,698,344 232,938,058 306,063,307 264,671,376
33,717,995 29,980,349 88,997,868 143,940,189 160,289,943 145,773,363 107,389,032 157,282,344
403-10 (b) 2018 - จำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคจากการทำงาน ราย 0 0 0 0
0 0 0 0 0 0 0 0
- จำนวนกรณีที่เจ็บป่วยจากการทำงานทั้งหมด กรณี 0 0 1 0
0 0 0 0 1 0 0 0
- อัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคจากการทำงานทั้งหมด (OIFR) กรณี/1,000,000 ชั่วโมงการทำงาน 0 0 0 0
0 0 0 0 0 0 0 0

หมายเหตุ
1) ประเภทของการบาดเจ็บเกี่ยวเนื่องจากอุบัติเหตุ กรณีของการบาดเจ็บรุนแรงสูง ของพนักงาน และผู้รับเหมาปี 2565 ประกอบด้วย
- พนักงาน จำนวน 2 เคส ประเภท ทุพพลภาพ (สูญเสียอวัยวะ แขน ขา)
- ผู้รับเหมา จำนวน 1 เคส ประเภท ทุพพลภาพ (สูญเสียอวัยะ แขน ขา)
2) ปี 2565 ขยายของเขตการรายงานข้อมูลพนักงาน ครอบคลุมบริษัทย่อย ดังนี้
- บริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด เริ่มรายงานข้อมูล ตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป
- บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ขยายของเขตครอบคลุม พื้นที่สายการศึกษา และบริษัท ซีพีแรม จำกัด รายงานครอบคลุมทุกพื้นที่
3) ปี 2565 ขยายขอบเขตการรายงานข้อมูลกลุ่มผู้รับเหมา ดังนี้
- บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) รายงานข้อมูลของผู้รับเหมาลากสินค้าภายในศูนย์กระจายสินค้า
- บริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด รายงานข้อมุลของผู้รับเหมางานก่อสร้าง ผู้รับเหมาจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก (Facility Management) เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (รปภ.) แม่บ้าน พนักงานแนะนำสินค้าที่สาขา (PC) พนักงานร้านขายอาหารสำหรับพนักงาน พนักงานร้านค้าเช่า และพนักงานขนส่งสินค้า
- บริษัท ซีพีแรม จำกัด รายงานข้อมูลของผู้รับเหมาจำหน่ายอาหารในโรงงาน พยาบาล และผู้ส่งสินค้า
4) สูตรคำนวณข้อมูลความปลอดภัย ปี 2565 ดังนี้
- อัตราผู้บาดเจ็บทั้งหมดที่มีความรุนแรงสูง (ไม่รวมเสียชีวิต) = จำนวนราย (กรณี) ของผู้ปฏิบัติงานที่บาดเจ็บจากอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่ส่งผลให้ได้รับบาดเจ็บ โดยที่ผู้ปฏิบัติงานไม่สามารถฟื้นตัวสูสถานะก่อนการเกิดบาดเจ็บภายใน 6 เดือน (ในช่วงเวลาที่รายงานผล) X 1,000,000 (ชั่วโมงการทำงาน) / จำนวนชั่วโมงการทำงานรวม (ในช่วงเวลาที่รายงานผล)
- อัตราการบาดเจ็บที่บันทึกทั้งหมด = จำนวนราย (กรณี) ของผู้ปฏิบัติงานที่บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจากการทำงาน (นับรวมตั้งแต่ ได้รับการรักษามากกว่าปฐมพยาบาล หรือ ถูกจำกัดการทำงาน หรือถูกโอนย้ายไปปฏิบัติงานในหน้าที่อื่นชั่วคราว แต่ไม่หยุดงาน, หยุดงานตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป, หยุดงานตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป, ทุพพลภาพ จนถึงเสียชีวิต) (ในช่วงเวลาที่รายงานผล) X 1,000,000 (ชั่วโมงการทำงาน) / จำนวนชั่วโมงการทำงานรวม (ในช่วงเวลาที่รายงานผล)
- อัตราการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานจากการทำงาน = จำนวน (กรณี) ของการบาดเจ็บจนถึงขั้นหยุดงานอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุจากการทำงาน (ในช่วงเวลาที่รายงานผล) X 1,000,000 (ชั่วโมงการทำงาน) / จำนวนชั่วโมงการทำงานรวม (ในช่วงเวลาที่รายงานผล)
- อัตราการเจ็บป่วยจากการทำงานทั้งหมด = จำนวนราย (กรณี) ที่เจ็บป่วยจากการทำงาน จำนวนชั่วโมงการทำงานรวม (ในช่วงเวลาที่รายงานผล) X 1,000,000 (ชั่วโมงการทำงาน) / จำนวนชั่วโมงการทำงานรวม (ในช่วงเวลาที่รายงานผล)

นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง

นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมการทำงาน ดาวน์โหลด
ประกาศเจตนารมณ์การนำระบบ ISO45001:2008 ดาวน์โหลด

เว็บไซต์ cpall.co.th มีการเก็บคุกกี้ซึ่งเป็นการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน้า นโยบายการใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า