การดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชน

เคารพและปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2567


ซีพีแรม ได้รับรางวัลในฐานะองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2567 ระดับดีเด่น ประเภทองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ ต่อเนื่องปีที่ 4 จากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม

ของ FTE พื้นที่ดำเนินการและกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทได้รับการประเมินความเสี่ยงและ
ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน

ของ FTE พื้นที่ดำเนินการที่มีความเสี่ยงมีมาตรการจัดการความเสี่ยง

ของพนักงานใหม่ผ่านหลักสูตร
“พื้นฐานสำหรับพนักงานใหม่”

ของสโตร์พาร์ทเนอร์รายใหม่ และคู่ค้ารายใหม่ ได้รับการให้ความรู้และประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน

ของพนักงานปัจจุบันทุกระดับได้รับการให้ความรู้และสอบผ่านการวัดผลความรู้ความเข้าใจ หลักสูตร “สิทธิมนุษยชนกับภาคธุรกิจ”

ของพื้นที่เป้าหมายตามแผนงานได้รับการรับรองมาตรฐานสากลเพื่อการจัดการอาชีวอนามัย
และความปลอดภัย ISO45001:2018

การดำเนินงานที่สำคัญปี 2567


ซีพีแรม เข้าร่วมประเมินองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ปี 2567

จัดทำ ทบทวน ติดตามมาตรการป้องกัน บรรเทา และเยียวยาของความเสี่ยงที่ต้องบริหารจัดการก่อน

ประเมิน ทบทวนความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนจากกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน

จัดกิจกรรมรณรงค์ส่งส่งเสริม DEI คือ ความหลากหลาย ความเท่าเทียม การอยู่ร่วมกัน ผ่านกิจกรรม ALL PRIDE 2024 เพื่อสนับสนุนความหลากหลาย เท่าเทียม และการอยู่ร่วมกัน

สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน


SDG 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย

3.4 ลดการตายก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อ ผ่านทางการป้องกัน การรักษา สนับสนุนสุขภาพจิต และความเป็นอยู่ที่ดี
3.6 ลดจำนวนการตายและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน

SDG 5 บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศและให้อำนาจของผู้หญิงและเด็กหญิงทุกคน

5.1 ยุติการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบที่มีต่อผู้หญิงและเด็กหญิงในทุกที่

SDG 8 ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องและยั่งยืน การจ้างงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน

8.5 บรรลุการจ้างงานเต็มที่และมีผลิตภาพและการมีงานที่สมควรสำหรับหญิงและชายทุกคน รวมถึงเยาวชนและผู้มีภาวะทุพพลภาพ และให้มีการจ่ายที่เท่าเทียมสำหรับงานที่มีคุณภาพเท่าเทียมกัน
8.8 ปกป้องสิทธิแรงงานและส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและมั่นคงสำหรับผู้ทำงานทุกคน รวมถึงผู้ทำงานต่างด้าว โดยเฉพาะผู้หญิงต่างด้าว และผู้ที่ทำงานเสี่ยงอันตราย

SDG 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ

10.3 สร้างหลักประกันว่าจะมีโอกาสที่เท่าเทียมและลดความไม่เสมอภาคของผลลัพธ์ รวมถึงโดยการขจัดกฎหมายนโยบาย และแนวปฏิบัติที่เลือกปฏิบัติ และส่งเสริมการออกกฎหมาย นโยบาย
และการกระทำที่เหมาะสม

SDG 16 ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรม และสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผล รับผิดชอบและครอบคลุมในทุกระดับ

16.3 ส่งเสริมนิติธรรมทั้งในระดับชาติและระหว่างประเทศ และสร้างหลักประกันว่าจะมีการเข้าถึงความยุติธรรมอย่างเท่าเทียมแก่ทุกคน

ผลการดำเนินงานเทียบเป้าหมาย


ผลการประเมินประเด็นด้านความยั่งยืนแบบ
“ทวิสารัตถภาพ”

มิติด้านความยั่งยืน

  • มิติธรรมาภิบาล และเศรษฐกิจ

ระดับผลกระทบเพื่อนำมาประยุกต์ใช้
ในการดำเนินธุรกิจ

  • สำคัญมาก (Critical Material Topics)

เป้าหมายระยะสั้น ระยะยาว และความก้าวหน้าเทียบกับเป้าหมาย

ดำเนินการให้เกิด “การประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน” อย่างต่อเนื่องตามแนวทางขององค์การสหประชาชาติ ทั้งในขอบเขตการดำเนินงานของบริษัท และคู่ค้าความเสี่ยงสูง

สรุปผลการดำเนินงาน ปี 2567

การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

พื้นที่ดำเนินการและกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัท

ร้อยละ 100

ของ FTEs ได้รับการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน

ร้อยละ 54.77

ของ FTEs มีความเสี่ยงสูงที่สำคัญด้านสิทธิมนุษยชน

ร้อยละ 100

ของ FTEs ที่ถูกระบุว่ามีความเสี่ยงมีมาตรการบรรเทา
ผลกระทบและดำเนินการแก้ไข

คู่ค้าลำดับที่ 1 ของบริษัท

ได้รับการสื่อสาร

คู่ค้าที่มีความเสี่ยง

คู่ค้าที่มีความเสี่ยงมีมาตรการบรรเทาผลกระทบ

ประเด็นความเสี่ยงสูงที่สำคัญ

ความปลอดภัยและสุขภาพของพนักงาน ร้าน 7-Eleven และ 24Shopping

ประเด็นอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติงาน ได้แก่ อุบัติเหตุจากการจัดส่งสินค้า ลื่นหรือตกจากบันได สิ่งของหรือสินค้าตกจากที่สูง อุบัติเหตุจากรถยกพุ่งชน มีดบาด

ประเด็นอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล (PPE) ไม่เหมาะสม เช่น รองเท้านิรภัย
ชุดคลุมปฏิบัติงาน ห้องควบคุมอุณหภูมิ เป็นต้น


การฝึกอบรม

พนักงานได้รับการฝึกอบรม

สโตร์พาร์ตเนอร์ (พันธมิตรทางธุรกิจ) ได้รับการฝึกอบรม

คู่ค้าลำดับที่ 1 ของบริษัทได้รับการฝึกอบรม

ข้อร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชน

การละเมิดสิทธิมนุษยชน

การเลือกปฏิบัติ

การล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเทศ

การละเมิดสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง

มาตรการบรรเทาผลกระทบและการดำเนินการแก้ไข

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) รับรองว่าจะมีการดำเนินการแก้ไขอย่างเหมาะสม ในกรณีที่เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน ผ่านการติดตาม ตรวจสอบ วางแผนมาตรการป้องกัน บรรเทา และรายงานผลอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งดำเนินการพิจารณรการชดเชยและเยียวยาทุกรูปแบบ เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ถือครองสิทธิ์ที่ได้รับผลกระทบจากกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้รับการเยียวยาอย่างเหมาะสม และเพื่อบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมหรือดีขึ้น อาทิ การแสดงความขอโทษ การชดใช้ความเสียหาย การฟื้นฟูสมรรถภาพ การชดเชยในรูปแบบของตัวเงินหรือไม่ใช่ตัวเงิน การลงโทษ และการป้องกันอันตราย เช่น คำสั่งห้าม หรือการรับประกันไม่ให้เกิดกรณีซ้ำ เป็นต้น

การส่งเสริมโอกาสที่เท่าเทียม และความหลากหลายของบุคลากร

การส่งเสริมขีดความสามารถของพนักงานหญิงในองค์กร


การจ้างงานผู้พิการในองค์กร

เสรีภาพในการสมาคม

ร้อยละ 100

การดำเนินงานของคณะกรรมการสวัสดิการของบริษัทครอบคลุมพนักงาน

ความเสี่ยงและโอกาส


สิทธิมนุษยชนเป็นประเด็นสำคัญที่ได้รับความสนใจในระดับสากล โดยเฉพาะปัญหาการใช้แรงงานที่ไม่เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชน อาทิ การบังคับใช้แรงงาน การทำงานในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม การกีดกันสิทธิในการจัดตั้งสหภาพแรงงาน และการจำกัดการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีภาพ โดยองค์กรสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (UNGP) ได้กำหนดแนวทางมาตรฐานการดำเนินงานที่คำนึงถึงสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อยกระดับการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ และลดความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

ปัจจุบันแรงงานยังคงเป็นกำลังสำคัญขับเคลื่อนธุรกิจในกระบวนการต่างๆ อาทิ กระบวนการจัดซื้อวัตถุดิบ กระบวนการผลิต กระบวนการขนส่งและการบริการ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งแรงงานและผู้ปฏิบัติงานอาจเสี่ยงต่อการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น การเลือกปฏิบัติต่อแรงงาน การคุกคามทางเพศ การใช้แรงงานเด็ก และการบังคับใช้แรงงาน เป็นต้น บริษัทควรกำหนดมาตรการและแนวทางการป้องกันผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ผ่านการติดตามและประเมินความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานขององค์กรสอดคล้องกับหลักการคุ้มครองสิทธิมนษยชนสากล และกฎหมายของประเทศ รวมถึงส่งเสริมการตระหนักรู้ด้านสิทธิมนุษยชนในการดำเนินธุรกิจตลอดห่วงโซ่คุณค่า นอกจากเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีและสร้างความเชื่อมั่นต่อองค์กรแล้ว ยังเป็นการสร้างการยอมรับและสนับสนุนผลิตภัณฑ์และบริการในสังคมอีกด้วย

แนวทางการดำเนินงาน


บริษัทกำหนดการดำเนินงานตามนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงาน ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของการดำเนินธุรกิจ รวมถึงคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งสอดคลองตามหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ และสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ รวมทั้งกฎหมายแรงงานของแต่ละประเทศที่บริษัทเข้าไปดำเนินธุรกิจ ซึ่งครอบคลุมประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ เช่น การเลือกปฏิบัติและการคุกคามทางเพศการใช้แรงงานเด็ก การใช้แรงงานบังคับ เป็นต้น

ทั้งนี้ บริษัทมีกระบวนการประเมินประเด็นสำคัญ ผลกระทบ และความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนเป็นประจำทุก 3 ปี ในทุกพื้นที่ดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจขององค์กร และครอบคลุมการวิเคราะห์กระบวนการทำงาน โดยเฉพาะในหน่วยงานที่มีความเสี่ยงพร้อมกำหนดมาตรการป้องกันและลดผลกระทบของประเด็นที่เสี่ยงสูงแบบบูรณาการ ผ่านกระบวนการด้านสิทธิมนุษยชน ดังนี้

การประเมินสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน

การประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน

การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนขององค์กร

พร้อมกันนี้ บริษัทมุ่งเน้นการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการเคารพและปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนสากลในพนักงานทุกระดับ รวมถึงพันธมิตรทางธุรกิจและคู่ค้าสำคัญลำดับที่ 1 โดยมีการดำเนินโครงการที่หลากหลายเพื่อสนับสนุน นอกจากนี้บริษัทดำเนินงานเรื่องความเท่าเทียมค่าครองชีพและปัจจัยการจ้างงานให้สอดคล้องกับนโยบายการกำหนดค่าตอบแทนและผลประโยชน์ โดยมีการประเมินค่าครองชีพของพนักงานและคู่ค้าสำคัญลำดับที่ 1 เพื่อให้ได้รับค่าตอบแทนอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม โดยตั้งเป้าหมายให้ครอบคลุมพนักงานทั้งหมด ร้อยละ 100 ภายในปี 2568 และมีแผนที่จะขยายการประเมินไปยังคู่ค้าและผู้รับเหมา

พร้อมกันนี้ ดำเนินการประเมินประเด็นความเสี่ยงด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในทุกพื้นการดำเนินงาน นอกจากนี้ ยังได้จัดทำโครงการสนับสนุนสุขภาพชีวิตที่ดี ให้แก่พนักงานและครอบครัว ผ่านสวัสดิการต่างๆ เช่น การสนับสนุนการศึกษาของบุตรหลาน การช่วยเหลือด้านการรักษาสุขภาพ และการทำงานแบบยืดหยุ่น เป็นต้น

กระบวนการตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน

บริษัทมีกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านที่มีประสิทธิภาพ และการมีการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนเป็นประจำทุกๆ 3 ปี เพื่อกำหนดประเด็นความเสี่ยงที่สำคัญที่ต้องบริหารจัดการก่อนของกลุ่มผู้ถือครองสิทธิ์ที่ได้รับผลกระทบครอบคลุมทุกพื้นที่การดำเนินงานธุรกิจของบริษํท ไปจนถึงคู๋ค้า ผู้จัดหา ผู้รับเหมา กิจการร่วมค่า และกิจการควบรวมและกิจการเข้าซื้อ โดยบริษัทพิจารณาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ การใช้แรงงานบังคับ การค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเด็ก สิทธิและเสรีภาพในการสมาคิม สิทธิในการรวมตัว และเจรจาต่อรองการให้ค่าตอบแทนที่เท่าเทียม การเลือกปฏิบัติและการคุกคามทางเพศ และอื่นๆ รวมถึงความมั่นคง ปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และสิทธิลูกค้า ผ่านการรับฟังความคิดเห็นและประเด็นจากผู้มีส่วนได้เสียที่มีความเสี่ยงต่อการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ได้แก่ พนักงาน ชุมชนและคนในท้องถิ่น คู่ค้า ผู้จัดหา ผู้รับเหมา ลูกค้าและผู้บริโภค ซึ่งครอบคลุมถึงกลุ่มเปราะบาง อาทิ ผู้หญิง เด็ก ชนพื้นเมือง แรงงานต่างด้าว แรงงานที่ว่าจ้างผ่านบุคคลที่สาม ผู้พิการ ผู้สูงอายุ เพศทางเลือก เพื่อให้แน่ใจว่าการดำเนินธุรกิจของบริษัทจะไม่ส่งผลให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ความมุ่งมั่น

1

ปลูกฝังในองค์กร

2

นโยบายสิทธิมนุษยชน

ประเมินผลกระทบ

3

การบูรณาการ

4

  • ระบุประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในการดำเนินธุรกิจ ทั้งที่เกิดขึ้นแล้วและอาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต
  • ระบุผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมถึงพิจารณาสถานะของผู้ที่อยู่ในกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้หญิงและเด็ก แรงงานอพยพ บุคคลทุพพลภาพและผู้สูงอายุ
  • การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
  • การประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน

ติดตามประสิทธิผล

5

การสื่อสาร

6

  • ออกแบบมาตรการป้องกันและลดผลกระทบความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
  • นำมาตรการในเบื้องต้นไปปฏิบัติใช้สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ติดตามผลและทบทวนกระบวนการ

มีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย

7

มีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก เช่น พนักงาน ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาคประชาสังคม เพื่อสื่อสารผลลัพธ์การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท

การเยียวยาและรับข้อร้องเรียน

8

  • การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชน
  • การจัดตั้งกลไกรับข้อร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชน

การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

บริษัทจัดทำการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนเป็นประจำทุก 3 ปี โดยการระบุประเด็นสำคัญและกลุ่มผู้ถือครองสิทธิ์ที่ได้รับผลกระทบตลอดห่วงโซ่คุณค่า ภายใต้กระบวนการตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านครอบคลุม 8 หน่วยงานธุรกิจหลัก โดยคิดเป็นร้อยละ 100 ของพื้นที่ดำเนินธุรกิจ และคิดเป็นร้อยละ 100 ของกิจกรรมทางธุรกิจ ซึ่งประกอบไปด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ Employees Practice, Community Rights, Custoner Rights, Supplier & Contractor Rights

จากการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนครั้งล่าสุดในปี 2567 บริษัทพิจารณาประเด็นความเสี่ยงเดิม ประเด็นความเสี่ยงในปัจจุบัน และความเสี่ยงที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในอนาคต ได้แก่ ประเด็นสิทธิของพนักงาน คู่ค้าและผู้รับเหมา สิทธิชุมชน และสิทธิลูกค้า หรือผู้บริโภค ประเด็นสภาพการทำงาน ประเด็นด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ประเด็นด้านการเลือกปฏิบัติและการคุกคาม ประเด็นด้านการใช้แรงงานผิดกฎหมาย ประเด็นด้านมาตรฐานการครองชีพ และประเด็นด้านข้อมูลและความเป็นส่วนตัว บริาัทระบุประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญในกลุ่มธุรกิจร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven, คลังสินค้า CP ALL, CPRAM และ 24Shopping ได้แก่ 1) อาชีวอนามัยและความปลอดภัยของพนักงาน 2) การเลือกปฏิบัติและการคุกคามทางเพศ 3) อาชีวอนามัยและความปลอดภัยของคู่ค้า 4) สุขภาพและความปลอดภัยของชุมชน 5) มาตรฐานการครองชีพของชุมชน 6) สุขภาพและความปลอดภัยของลูกค้า (ความปลอดภัยด้านอาหารและความเป็นอยู่ที่ดี)

พร้อมกันนี้ บริษัทดำเนินงานการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในคู่ค้าลำดับที่ 1 ทั้งหมด ซึ่งครอบคลุมคู่ค้าจำนวน 2,412 ราย โดยประเด็นสำคัญที่มีการประเมิน ได้แก่ ประเด็นการจัดอบรมด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ประเด็นการตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ในการทำงานและอุปกรณ์เกี่ยวกับการระงับเหตุ การซ้อมหนีไฟ นอกจากนี้ บริษํทส่งเสริมให้คู่ค้าจัดทำแนวทางการป้องกันและแก้ไขสำหรับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นอย่างครบถ้วนครอบคลุมคู่ค้าลำดับที่ 1 ทั้งหมด ในกรณีที่เกิดประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน บริษัทพร้อมรับมือประเด็นดังกล่าวตามมาตรการป้องกันและลดผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนของประเด็นที่มีความเสี่ยงสูงแบบบูรณาการ ผ่่านการดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ และรายงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ถือครองสิทธิ์ที่ได้รับผลกระทบจากกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชน มั่นใจว่าจะได้รับการชดเชยและเยียวยาอย่างเหมาะสม รวมไปถึงบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมหรือดีขึ้น เช่น การแสดงความขอโทษ การชดใช้ความเสียหา การฟื้นฟูสมรรถภาพ การชดเชยในรูปแบบของตัวเงินหรือไม่ใช่ตัวเงิน การลงโทษและการป้องกันอันตราย เช่น คำสั่งห้าม หรือการรับประกันไม่ให้เกิดกรณีซ้ำ

การปฏิบัติของพนักงาน แนวทางปฏิบัติของชุมชน แนวทางปฏิบัติของลูกค้า แนวปฏิบัติของคู่ค้าและผู้รับเหมา
  • สภาพการทำงาน
  • สุขภาพและความปลอดภัย
  • การเลือกปฏิบัติและการล่วงละเมิด
  • การใช้แรงงานผิดกฎหมาย
  • เสรีภาพในการสมาคมและสิทธิเพื่อการเจรจาต่อรองร่วมกัน
  • สุขภาพและความปลอดภัย
  • มาตรฐานการครองชีพ
  • สุขภาพและความปลอดภัย
  • การเลือกปฏิบัติ
  • ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล
  • สภาพการทำงาน
  • สุขภาพและความปลอดภัย
  • การเลือกปฏิบัติ
  • การใช้แรงงานผิดกฎหมาย

การประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน

จากกระบวนการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน บริษัทมีการประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจในประเด็นความเสี่ยงที่ต้องบริหารจัดการก่อนผ่านการเก็บข้อมูล การสำรวจความคิดเห็นของผู้ถือครองสิทธิ์ครอบคลุมจำนวนพนักงานทั้งหมดในทุกพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสำคัญ และมีความเสี่ยงสูงที่ต้องบริหารจัดการก่อน โดยมีการประเมิน 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1) สายปฏิบัติการร้าน 7-Elelven 2) ศูนย์กระจายสินค้า ซีพี ออลล์ 3) สายงานการผลิตและโลจิสติกส์ ซีพีแรม 4) พนักงาน ซีพี รีเทลลิงค์ เมื่อพบผลกระทบที่เกิดขึ้น บริษัทจะดำเนินการยกระดับมาตรป้องกัน บรรเทาและเยียวยาผลกระทบและสื่อสารการปฏิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียมตามหลักการด้านสิทธิมนุษยชนภายใจองค์กร ผ่านการสื่อสารในหลายรูปแบบ อาทิ Infographic การเดินรณรงค์ รวมถึงการส่งสารจากผู้บริหารระดับสูงผ่านการจัดทำตัวบันทึกถึงพนักงานทั้งองค์กร การให้ความรู้ด้านความปลอดภัย ใช้กล้อง CCTV ตรวจจับพฤติกรรมการขับขี่ของพนักงาน ใช้เทคโนโลยีการบริหารจัดการข้อมูล Rider เป็นต้น

นอกจากนี้ ในปี 2568 บริษัืยังมีแผนประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนในประเด็นสำคัญและความเสี่ยงสูง ซึ่งได้จากการประเมินความเสี่ยงในปี 2567 ได้แก่ พนักงานร้าน 7-Eleven, พนักงานศูนย์กระจายสินค้า ซีพี ออลล์, พนักงานสายงานผลิตและโลจิสติกส์ ซีพีแรม, พนักงานซีพี รีเทลลิงค์ และลูกค้าของร้าน 7-Eleven

มาตรการป้องกันและลดผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนของประเด็นที่เสี่ยงสูงแบบบูรณาการ

ภายใต้ขอบเขตความรับผิดชอบของบริษัท สโตร์พาร์ทเนอร์ (พันธมิตรทางธุรกิจ)

ผู้ถือครองสิทธิ ประเด็นที่มีความเสี่ยงสูง มาตรการป้องกันและลดผลกระทบ การบูรณาการมาตรการ
พนักงานร้าน 7-Eleven พนักงานศูนย์กระจายสินค้า ซีพี ออลล์, ซีพีแรม และ 24Shopping
  • ประเด็นอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติงาน ได้แก่ อุบัติเหตุจากการจัดส่งสินค้า
  • ประเด็นการล่วงละเมิอทางเพศ ได้แก่ พนักงานถูกเพื่อนในที่ทำงานล่วงละเมิดทางเพศภายในร้าน
  • ประเด็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นภายในศูนย์กระจายสินค้าและอุบัติเหตุบนท้องถนนระหว่างการส่งสินค้า
  • ประเด็นอุบัติเหตุในระหว่างปฏิบัติงาน ได้แก่ พนักงานถูกเครื่องจักหนีบ, การถูกชนกระแทกจากการเคลื่อนย้าย
  • ประเด็นมลพิษทางอากาศจากควันไอเสียของรถบรรทุกโลจิสติกส์
  • ประเด็นสุขภาพรถขนส่งกีดขวางการจอดรถที่ป้ายรถเมล์
  • ประเด็นสุขภาพและความปลอดภัยของชุมชน ได้แก่ อุบัติเหตุทางถนนในการขนส่ง
  • คู่มือความปลอดภัย
  • ดำเนินการวิเคราะห์ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
  • ใช้เทคโนโลยีการบริหารจัดการข้อมูล Rider
  • ใช้กล้อง CCTV ตรวจจับพฤติกรรมการขับขี่ของพนักงานร้าน
  • คลินิกขับขี่ปลอดภัยสำหรับพนักงานไม่ปฏิบัติตามกฎจราจรและเกิดอุบัติเหตุ
  • ใบรับรอง ISO45001/มอก.18001
  • อบรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยสำหรับพนักงาน
  • อบรมการขับขี่อย่างปลอดภัยบนท้องถนนสำหรับพนักงาน
  • จัดหาอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล และเครื่องทุ่นแรงสำหรับพนักงาน
  • ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน
  • กำหนดบทลงโทษ
  • มีประกาศการปฏิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียม
  • มีการสื่อสาร การปฏิบัติต่อกันอย่างเท่าเ ียม และการห้ามล่วงละเมิด ผ่านช่องทาง เช่น กลุ่มไลน์, CPALL Connect, ประชุม FC Conference, OPT-Meeting
  • จัดทำบันทึกขอให้ปฏิบัติต่อกันอย่างเหมาะสม เพื่อความสุขในการทำงานร่วมกัน ติดหลังร้าน 7-Eleven ให้พนักงานได้รับทราบ
  • ประเมินผลกระทบความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน กลุ่มพนักงาน
  • ตรวจสอบอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลประจำเดือน โดยคณธกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และตรวจอสบทุกครั้งก่อนใช้งาน โดยผู้จัดการสายงาน
  • กำหนดมาตรฐานการยกเคลื่อนย้าย และสอนวิธีการปฏิบัติงาน
  • ตรวจสอบการปฏิบัติของพนักงานทุกวัน
  • อบรมพนักงานขนส่งที่เกิดอุบัติเหตุใหม่อีกครั้งเพื่อเตรียมความพร้อมในการทำงาน และขับขี่อย่างปลอดภัย
  • กำหนดตารางการตรวจสภาพรถขนส่ง
  • นโยบายองค์กร (เช่น นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมการทำงาน นโยบายสิทธิมนุษยชน เป็นต้น)
  • กฎระเบียบสำหรับสถานที่ปฏิบัติงาน
  • คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  • ประกาศเป้าหมายการดำเนินงานความปลอดภัยยานยนต์
  • มาตรฐานการปฏิบัติงาน

กลไกรับข้อร้องเรียนและการแก้ไขเยียวยา

การสร้างความตระหนักด้านสิทธิมนุษยชน

การอบรมหลักสูตร นโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงาน และ ESG Quiz

เพื่อสร้างความเข้าใจและส่งเสริมการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนอย่างเหมาะสม รวมถึงป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนภายใจและภายนอกองค์กร บริษัทจัดอบรมหลักสูตร “นโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงาน” ผ่านระบบ e-Learning หลักสูตรความยั่งยืนและธรรมาภิบาล หรือเรียกว่า ESG Quiz ภายใต้หัวข้อดังนี้

1

นโยบายและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและแรงงาน

2

นโยบายความหลากหลาย ความเท่าเทียมและการอยู่ร่วมกัน

3

นโยบายการไม่เลือกปฏิบัติและการต่อต้านการคุกคาม

4

นโยบายสรรหาแรงงานต่างด้าว

5

แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน

6

วัฒนธรรมองค์กรกับการเคารพสิทธิมนุษยชน

ในปี 2567 มีผู้ได้รับการอบรมผ่านระบบ e-Learning หลักสูตรความยั่งยืนและธรรมาภิบาล หรือเรียกว่า ESG Quiz จำนวน 116,179 คน และอบรม “นโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนและหลักสูตรการปฏิบัติด้านแรงงาน” สำหรับผู้บริหารเข้าใหม่ จำนวน 1,430 คน ทั้งนี้ บริษัทมีแผนขยายขอบเขตการสร้างความตระหนัก และสร้างความเข้าใจให้แก่พนักงานทุกระดับในทุกพื้นที่ รวมถึงคู่ค้า และสโตร์พาร์ทเนอร์ (พันธมิตรทางธุรกิจ) ผ่านระบบออนไลน์ ครบร้อยละ 100 ภายในปี 2568

นอกจากนี้ พนักงานยังสามารถเข้าถึงความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนผ่านพอร์ทัลของบริษัท “CPALL Connect” การอบรมสัมมนาออนไลน์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หน้าจอคอมพิวเตอร์ของพนักงาน การประชุมเตรียมพร้อมก่อนการทำงาน และสื่อการเรียนรู้ต่างๆ อาทิ สื่อดิจิทัล วิดีโอ โปรสเตอร์ ป้ายประกาศ มาสคอตสัญลักษณ์ตัวแทน รวมถึงกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริม เช่น กิจกรรมส่งเสริมความหลากหลาย “ALL Pride 2024” เป็นต้น

การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม

บริษัทคำนึงถึงสิทธิแรงงาน และการปฏิบัติงานอย่างเป็นธรรมของพนักงาน โดยยึดตามหลักกฎหมายและนโยบายต่างๆ ภายใต้พระราชบัญติคุ้มครองแรงงานไทยและสากล นอกจากนี้ บริษัทยังคำนึงถึงความเหมาะสมด้านการจ้างงาน ค่าจ้าง ชั่วโมงการทำงาน วันหยุด และสวัสดิการ รวมถึงสถานที่ปฏิบัติงานที่มีความปลอดภัย และมีสภาพแวดล้อมที่ดี บริษัทมอบสวัสดิการสำหรับพนักงาน ได้แก่

สวัสดิการ สิทธิตามกฎหมายกำหนด สิทธิที่บริษัทมอบให้พนักงาน
วันลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร สำหรับพนักงานหญิง 98 วัน 120 วัน
วันลาเพื่อดูแบบุตรที่คลอดใหม่ สำหรับพนักงานชายโดยได้รับค่าจ้าง 0 วัน 7 วัน
วันลาเพื่อดูแลบุตรบุญธรรมสำหรับพนักงานที่มีความหลากหลายทางเพศ 0 วัน 7 วัน
วันหยุดนักขัตฤกษ์ ไม่น้อยกว่าปีละ 13 วัน 14-18 วัน
วันหยุดประจำปี ไม่น้อยกว่าปีละ 6 วัน 6-12 วัน
วันลากิจ 3 วัน 3-7 วัน
วันลากิจธุระส่วนตัว เพื่อสร้างสมดุลในชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว 1 วัน ลาโดยได้รับค่าจ้างและไม่นับรวมวันหยุดที่คั่นกลางระหว่างการลา

นอกจากสวัสดิการที่ยึดตามหลักกฎหมายและนโยบายต่างๆ แล้ว บริษัทยังมอบสวัสดิการที่ครอบคลุมและหลากหลายแก่พนักงาน เพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีในระหว่างการปฏิบัติร่วมกับบริษัท อาทิ สวัสดิการเงินกู้ฉุกเฉิน จากสถาบันการเงินด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ เงินช่วยเหลือค่าเช่าบ้านพัก เงินช่วยเหลือกรณีปฏิบัติงานประจำสำนักงานต่างจังหวัด (เบี้ยกันดาร) รวมไปถึงสวัสดิการด้านความมั่นคงของชีวิต เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันชีวิตจากโรคและอุบัติเหตุ และประกันสุขภาพกลุ่มภาคสมัครใจที่ให้ความคุ้มครองพนักงานรวมถึงครอบครัวพนักงาน สวสดิการเงินยืมฉุกเฉินสำหรับพนักงานและครอบครัว และเงินช่วยเหลือกรณีประสบภัยพิบัติต่างๆ เป็นต้น

บริษัทใส่ใจสุขภาพของพนักงานเป็นสำคัญ โดยมอบบริการศูนย์สุขภาพ และศูนย์ออกกำลังกายสำหรับพนักงาน ฝึกสอนด้วยผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายด้าน และส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีของพนักงานบริการตรวจวัดสุขภาพโดยเภสัชกรด้ายเครื่องมือที่ทันสมัยในโครงการ “Exercise My Way” และจัดกิจกรรม Good Health & Happy Family CP ALL 2024

หมายเหตุ: พื้นที่สำคัญในการดำเนินการให้การสนับสนุน ครอบคลุมพนักงานที่ปฏิบัติงานในพื้นที่สำนักงาน พื้นที่ศูนย์กระจายสินค้า และพื้นที่ปฏิบัติการร้าน 7-Eleven

เสรีภาพในการสมาคม

บริษัทเคารพเสรีภาพในการแสดงออกความคิดเห็นและข้อกังวลของพนักงานทุกระดับ ผ่านช่องทางรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย อาทิ จดหมายอิเล็กทรพนิกส์ ศูนย์แจ้งข้อมูล สื่อออนไลน์ของบริษัท ระบบ Voice of Employee รวมทั้งผ่านคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการ (คสส.) ที่ถูกจัดตั้งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ปัจจุบันมีพนักงา่นตัวแทนคณะกรรมการสวัสดิการ จำนวน 1,472 คน คิดเห็นร้อยละ 100 ของพนักงานทั้งหมด โดยกำหนดให้มีการประชุมหารือร่วมกันทุกไตรมาส ในปี 2567 มีประเด็นข้อเสนอแนะที่ได้รับการอนุมัติดำเนินการเพิ่มเติมดังนี้

การส่งเสริมโอกาสที่เท่าเทียม และความหลากหลายของบุคลากร

บริษัทให้ความสำคัญกับความหลากหลายและความแตกต่างขอบคุลากรบนพื้นฐานที่ไม่แบ่งแยกทางเชื้อชาติ ศาสนา เพศ สีผิว ภาษา อายุ รวมถึงผู้พิการ โดยปฏิบัติกับพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียม ส่งเสริมให้พนักงานทุกคนได้รับการจ้างงาน พัฒนาศักยภาพ และก้าวหน้าในสายอาชีพอย่างเท่าเทียม บริษัทได้สนับสนุนการสร้างอาชีพ โดยการจ้างงานบุคคลทุพพลภาพให้เป็นพนักงานในตำแหน่งที่เหมาะสม นอกจากนี้ บริษัทจัดกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมอย่างต่อเนื่องเพื่อเปิดโอกาสให้พนักงานได้มีส่วนร่วม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ส่งเสริมความเท่าเทียมและความหลากหลาย สนับสนุนให้บุคลากรทุกกลุ่มสามารถแสดงศักยภาพของตนได้อย่างเต็มที่ รวมถึงการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนลดความเหลื่อมล้ำ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ผ่านการรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายจากกลุ่มคนในสังคม อันจะช่วยลดปัญหาการเลือกปฏิบัติและการคุกคามในทุกรูปแบบในกระบวนการดำเนินธุรกิจ

ในปี 2567 บริษัทจัดงาน ALL PRIDE 2024 : หลากหลาย เท่าเทียม ยั่งยืน ภายใต้แนวคิด ความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการมีส่วนร่วม โดยภายในงานมีกิจกรรมขบวนพาเหรด การสัมมนาแบ่งปันแนวคิด ประสบการณ์การใช้ชีวิตจากอินฟลูเอนเซอร์ การประกวดนำเสนอชุดและไอเดียที่สะท้อนแนวคิด “หลากหลาย เท่าเทียม และมีส่วนร่วม” บูธจำหน่ายสินค้าจากคู่ค้า นอกจากนี้ บริษัทร่วมกับ Teayii หรือ เตยยี่-ประภัสสร กาจนสูตร ออกแบบผลิตภัณฑ์ “Pride Collection” ในร้าน 7-Eleven ทุกสาขาทั่วประเทศในช่วงเดือน Pride Month เช่น กระเป๋าผ้าแคนวาส จาก 7-Eleven x Teayii กระบอกน้ำ ร่ม ถุงเท้า เป็นต้น โดยรายได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย บริษัทนำไปร่วมสมทบทุนเพื่อมอบให้กับสภากาชาิไทย 3.5 ล้านบาท

ค่าครองชีพ

บริษัทให้ความสำคัญกับพนักงานซึ่งเป็นเสาหลักสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ เพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานจะได้รับการดูแลที่เหมาะสม บริษัทมอบสวัสดิการ บรรยากาศในการทำงานที่ดี และสถานที่ทำงานที่ปลอดภัย รวมทั้งได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม ผ่านการกำหนดนโยบายและวางแนวทางการจัดการค่าตอบแทนและผลประโยชน์ พร้อมทั้งพิจารณาเงินเดือนและสวัสดิการสำหรับพนักงานและพันธมิตรทางธุรกิจ (สโตร์พาร์ทเนอร์) ในแต่ละพื้นที่อย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม โดยปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งกำหนดค่าตอบแทนที่สอดคล้องและสามารถแข่งขันได้เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน พร้อมกันนี้ บริษัทให้เงินสนับสนุน และค่าตอบแทนที่สูงกว่าค่าจ้างขันต่ำที่กำหนดหมายกำหนด มอบเงินเพิ่มเติมสำหรับค่าใช้จ่าย เช่น ค่าทำงานนอกเวลา ค่าเดินทาง เบี้ยพิเศษ ค่าเช่าบ้าน ค่าอาหาร เบี้ยขยัน เป็นต้น เพื่อให้พนักงานได้รับค่าจ้างที่เหมาะสมกับการดำรงชีพ

บริษัทได้กำหนดให้มีการประเมินค่าตอบแทนและสวัสดิการ โดยร่วมมือกับบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลกได้แก่ บริษัท เฮย์กรุ๊ป จำกัด (Korn Ferry Hay Group) และสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) เป็นสมาคมวิชาชีพการบริหารทรัพยากรบุคคลชั้นนำในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังมีการวิเคราะห์ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของค่าครองชีพและปัจจัยด้านการจ้างงานในแต่ละแง่มุมของธุรกิจ โดยตั้งเป้าหมายให้ครอบคลุมพนักงานทั้งหมด ร้อยละ 100 ภายในปี 2568 พร้อมทั้งวางแผนขยายการประเมินไปยังคู่ค้าและผู้รับเหมาในอนาคตเพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทจ่ายค่าตอบแทนและผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมและแข่งขันได้

นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง

นโยบายด้านสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงานดาวน์โหลด
คู่มือการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนดาวน์โหลด

เว็บไซต์ cpall.co.th มีการเก็บคุกกี้ซึ่งเป็นการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน้า นโยบายการใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า