การสนับสนุนการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2566
ส่งมอบโอกาสทางการศึกษาให้กับเยาวชนโรงเรียนในโครงการ CONNECT ED
พัฒนาทักษะอาชีพให้กับเด็ก เยาวชน และกลุ่มเปราะบาง
สนับสนุนทุนการศึกษา
28520 ทุนมูลค่า
1394 ล้านบาทสนับสนุนการศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับพนักงาน
1466 รายมูลค่า
65.63 ล้านบาทนักเรียน นักศึกษา ที่ได้รับการฝึกงาน
การดำเนินงานที่สำคัญปี 2566
โครงการต่อเนื่อง ขยายผลพัฒนาโรงเรียน CONNEXT ED เพิ่ม 69 แห่งทั่วประเทศ
โครงการต่อเนื่องคืนคนดีสู่สังคมปีที่ 5
โครงการต่อเนื่อง เครือข่ายสร้างสุข สู่ปลายด้านขวานสำหรับกลุ่มเปราะบางปีที่ 4
โครงการต่อเนื่อง พีไอเอ็ม ส่งรอยยิ้มสู่ยอดดอยสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ปีที่ 6
โครงการ Creative AI Club จัดกิจกรรม Creative AI Club Hackathon
ผู้มีส่วนได้เสียหลักที่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ
สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
SDG 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่
1.4 สร้างหลักประกันว่าชายและหญิงทุกคน โดยเฉพาะที่ยากจนและเปราะบาง มีสิทธิเท่าเทียมกันในทรัพยากรทางเศรษฐกิจ รวมถึงการเข้าถึงบริการพื้นฐาน
SDG 4 สร้างหลักประกันการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
4.3 ให้ชายและหญิงทุกคนเข้าถึงการศึกษาวิชาเทคนิค อาชีวศึกษา อุดมศึกษา รวมถึงมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ
4.4 เพิ่มจำนวนเยาวชนและผู้ใหญ่ที่มีทักษะที่จำเป็น รวมถึงทักษะทางเทคนิคและอาชีพ สำหรับการจ้างงาน การมีงานที่ดี และการเป็นผู้ประกอบการ
ผลการดำเนินงานเทียบเป้าหมาย
เป้าหมายปี 2573
500000สนับสนุนเด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่ รวมถึงกลุ่มเปราะบาง ให้เข้าถึงการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ ให้มีทักษะทางเทคนิคและอาชีพที่จำเป็นต่อการทำงาน รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ความก้าวหน้าเทียบกับเป้าหมาย
สรุปผลการดำเนินงาน ปี 2566
ส่งเสริมและสนับสนุนการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ
นักเรียน นักศึกษา ที่อยู่ในระบบ
นักเรียน นักศึกษา ที่อยู่ในระบบสำเร็จการศึกษา
นักเรียน นักศึกษา ที่ทำงานกับบริษัทหลังสำเร็จการศึกษา
สนับสนุนทุนการศึกษา
มูลค่าสนับสนุนทุนการศึกษา
พัฒนาทักษะอาชีพที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ
เด็ก เยาวชน กลุ่มเปราะบาง ที่ได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพ
นักศึกษาจากวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ได้รับโอกาสเข้าร่วมทำงานกับบริษัท
นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันปัญญาภิวัฒน์ได้รับโอกาสพิเศษในการเข้าร่วมเป็นเจ้าของร้าน 7-Eleven ประเภทร่วมลงทุน
สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ภายใต้โครงการ "สานอนาคตการศึกษา (CONNEXT ED)"
โรงเรียน CONNEXT ED ที่บริษัทร่วมดูแล
โรงเรียนประชารัฐที่บริษัทร่วมพัฒนา
จิตอาสาเพื่อการพัฒนา
จำนวนจิตอาสา
ชั่วโมงจิตอาสาเพื่อการพัฒนาการศึกษา
งบประมาณสนับสนุนในการพัฒนาโรงเรียน
ความเสี่ยงและโอกาส
ปี 2566 การเลิกจ้างงานในหลายอุตสาหกรรมทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ รวมไปถึงตลาดแรงงานที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความก้าวหน้าทางธุรกิจตั้งอยู่บนโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม ซึ่งครอบคลุมถึงปัจจัยในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐาน และความพร้อมต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี และการปรับตัวต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงของโลก จึงเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นที่ต้องการอย่างมากในกการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน เพื่อเตรียมรับมือการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มความสามารถในการล้มและลุก ในภาวะที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว บริษัทมุ่งมั่นส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของพนักงาน พร้อมทั้งเปิดโอกาสทางสังคมให้แก่ชุมชน เด็ก และเยาวชน รวมถึงกลุ่มเปราะบาง ได้เข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างเท่าเทียมทั้งในระบบและนอกระบบผ่านโครงการทางการศึกษาของบริษัท
แนวทางการดำเนินงาน
บริษัทมุ่งสนับสนุนโอกาสทางการศึกษาและผลักดันให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยสนับสนุนให้พนักงานของบริษัท ชุมชน เด็ก รวมไปถึงเยาวชนให้มีทักษะใหม่ สร้างทัศนคติที่ดี และมีความสามารถในการรับมือการเปลี่ยนแปลงใหม่ได้ตลอดเวลา บริษัทร่วมมือกับหน่วยงานหลายภาคส่วนจัดตั้งสถาบันการศึกษาและส่งมอบองค์ความรู้ในรูปแบบการเรียนรู้จากในห้องเรียนควบคู่กับการปฏิบัติงานจริง พร้อมทั้งปรับรูปแบบการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับแนวโน้มที่เปลี่ยนแปลงไปของโลก เช่น การเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ การปรับพื้นที่สถานศึกษาตามมาตรฐานด้านความปลอดภัย เป็นต้น นอกจากนี้ บริษัทยังมอบทุนการศึกษาภายใต้เส้นทางการพัฒนาอาชีพอย่างยั่งยืนตั้งแต่ปี 2538 เพื่อสร้างโอกาสทางอาชีพ สร้างรายได้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับบุคลากร เยาวชน ชุมชน และคนในสังคม
โปรแกรมส่งเสริมและสนับสนุนการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ
บริษัทดำเนินงานด้านการศึกษาเพื่อสังคมมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 16 ปี ผ่านการจัดตั้งสถาบันการศึกษา และก่อตั้งสถาบันที่เปิดโอกาสให้เยาวชนสามารถเข้าถึงการศึกษาได้ผ่านระบบออนไลน์ ได้แก่
นอกจากนี้ บริษัทยังส่งเสริมและสนับสนุนการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ โดยมอบโอกาสทางการศึกษาเป็นทุนสนับสนุนนักเรียนไทย ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาถึงระดับอุดมศึกษาเป็นประจำทุกปี โดยในปี 2566 มีการสนับสนุนสถาบันการศึกษาและการมอบทุนการศึกษา ดังนี้
1.1 วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ (PAT)
บริษัทจัดตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ (PAT) เปิดโอกาสทางการศึกษาด้านวิชาชีพในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สำหรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้ความรู้ภาคทฤษฎีตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ ควบคู่กับการปฏิบัติจริง อีกทั้งผู้เรียนสามารถเข้าฝึกงานแบบมีค่าตอบแทนที่ร้าน 7-Eleven ภายใต้ "มีทุนการศึกษา มีรายได้ระหว่างเรียน จบแล้วมีงานทำ" ซึ่งมีหลักสูตรการเรียนมาสอนทั้งหมด 3 หลักสูตร ดังนี้
หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวส.)
สาขาธุรกิจค้าปลีก
สาขาไฟฟ้ากำลัง
หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
สาขางานธุรกิจค้าปลีกร้านสะดวกซื้อ
สาขาเทคนิควิทยาการนาฬิกา
สาขาแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์
บริษัทได้จัดตั้งและยังดำเนินงานศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ที่กระจายตามพื้นที่ชุมชนต่างๆ รวม 20 ศูนย์ รวมถึงการลงนามร่วมมือกับสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน และสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กว่า 180 แห่ง ในการเปิดสอนหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก ปัจจุบันมีจำนวนนักเรียนในระบบกว่า 12,000 ราย พร้อมทั้งจัดทำกิจกรรมและโครงการต่างๆ เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานองค์กร ดังนี้
โครงการบริการวิชาการวิชาชีพ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 19
นักเรียน นักศึกษา สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก และสาขาไฟฟ้ากำลังของวิทยาลัยฯ ดำเนินกิจกรรมจิตอาสา บริการวิชาการ และวิชาชีพด้านธุรกิจค้าปลีกและด้านไฟฟ้า แก่ชุมชนและสังคมในจังหวัดนนทบุรี โดยบูรณาการความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียนในการเผยแพร่ความรู้ผ่านกิจกรรม ดังนี้
สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก
การสอนทำบัญชี
ครัวเรือน
การร่วมมือกันทำความสะอาดชุมชน
การให้ความรู้ผ่านสื่อออนไลน์เกี่ยวกับธุรกิจค้าปลีก
การสร้างอาชีพชุมชน
การสร้างชุมชนในการจัดทำแผนธุรกิจ
ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ
ผู้เรียนที่เข้าร่วมโครงการ
ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจไม่ต่ำกว่า
สร้างอาชีพ สร้างธุรกิจให้คนในชุมชน
สร้างองค์ความรู้ด้านการจัดการธุรกิจค้าปลีกให้ชุมชน
สาขาไฟฟ้ากำลัง
งานไฟฟ้า
การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ
การบำรุงรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้า
ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ
เพิ่มทักษะสำหรับประกอบอาชีพให้นักเรียนของโครงการ
สร้างความรู้เพื่อการประกอบอาชีพและช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการบำรุงรักษาเครื่องไฟฟ้าให้ชุมชน
ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุที่อาจเกิด และการใช้ไฟฟ้าเกินความจำเป็นจากการขาดการบำรุงรักษาและความรู้พื้นที่ในงานไฟฟ้า
สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อชุมชน
ที่เข้าร่วมและรับบริการวิชาการวิชาชีพ
ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจไม่ต่ำกว่า
โครงการคืนคนดีสู่สังคม ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5
ซีพี ออลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ ศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ ร่วมกับกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกระทรวงยุติธรรม มอบโอกาสให้กับเด็กและเยาวชนทั่วประเทศที่กระทำความผิด โดยการสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อการแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู ให้โอกาสด้านการศึกษา ได้ศึกษาต่อที่สถาบัน ในหลักสูตรธุรกิจค้าปลีก และหลักสูตรการจัดการธุรกิจค้าปลีก ในรูปแบบทวิภาคี โดยเรียนภาคทฤษฏีที่สถานศึกษา สลับกับการฝึกอาชีพที่ร้าน 7-Elelven เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือน พร้อมได้รับรายได้ระหว่างเรียน และเป็นหลักประกันการมีงานทำหลังจากสำเร็จการศึกษา ฝึกอบรมอาชีพ อีกทั้งยังมีการสนับสนุนอุปกรณ์และเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กับสถานสงเคราะห์เด็กหญิงอุดรธานี สถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านราชสีมา นครราชสีมา ในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และโรงเรียนวัดสันติการามวิทยา ในพระบรมราชานุเคราะห์ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ
เด็กและเยาวชนเข้าร่วมโครงการ
มอบทุนการศึกษา
มูลค่าการสนับสนุน
สนับสนุนอุปกรณ์และคอมพิวเตอร์
มูลค่าสนับสนุนอุปกรณ์และคอมพิวเตอร์
โครงการ Business for Young Program
เพื่อส่งเสริมและสร้างความเข้าใจให้กับเยาวชนในการเลือกเรียนและเข้าทำงานในสายอาชีพทางด้านธุรกิจค้าปลีก ของศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ทั้ง 20 แห่ง สำหรับเป็นทางเลือกในการตัดสินใจศึกษาต่อของนักเรียน โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเล่นปนเรียน Learn and Play และจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ Workshop เข้าฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับสายอาชีพด้านธุรกิจค้าปลีก 5 หัวข้อ ได้แก่ ฐานที่ 1: มาตรฐานการให้บริการ ฐานที่ 2: บุคลิกภาพกับการให้บริการ ฐานที่ 3: การบัญชีเบื้องต้น ฐานที่ 4: การจัดแสดงสินค้า หรือการจัดเรียงสินค้า ฐานที่ 5: การออกแบบโลโก้และผลิตภัณฑ์ รวมถึงการศึกษาดูงานร้านค้าปลีกและมีการจัดรูปแบบออนไลน์เพื่อสร้างความเข้าใจ และสร้างทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการศึกษาต่อในสายอาชีพ ตลอดจนการให้ความสำคัญกับสายอาชีพด้านธุรกิจค้าปลีกมากขึ้น
ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ
เพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ
ช่วยลดความเสี่ยงในการไม่เข้าใจระบบการเรียนการสอนระบบทวิภาคี
ผู้เข้าร่วมโครงการมีแรงบันดาลใจในการศึกษาต่อสายอาชีพ
นักศึกษาและเยาวชนเข้าร่วมโครงการ
สถานศึกษาเข้าร่วมโครงการ
โครงการต่อเนื่อง อาชีวไร้ถัง ปีที่ 3
วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ ดำเนินโครงการอาชีวไร้ถังเพื่อปลูกฝังสร้างจิตสำนัก บ่มเพาะนักเรียน นักศึกษาในวิทยาลัยฯ ให้มีส่วนร่วมในการจัดการขยะในชีวิตประจำวันตั้งแต่ต้นทาง ลดและเลิกการใช้สิ่งที่กำลังจะกลายมาเป็นขยะภายในวิทยาลัยฯ จัดกิจกรรมการคัดแยกวัสดุ ธนาคารคุ้มค่า ส่งผลให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ ความเข้าใจในการจัดการขยะในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่ลดการใช้ การนำมาใช้ซ้ำ และรีไซเคิล ตั้งแต่ปี 2564 ต่อเนื่องถึงปี 2566 และขยายเครือข่ายการดำเนินงานอาชีวไร้ถังให้ความรู้การจัดการขยะ แนวทางการดำเนินงานและสนับสนุนอุปกรณ์ โดยในปีการศึกษา 2566 มีสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการอาชีวไร้ถังจำนวน 30 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยอาชีวศึกษา จำนวน 4 วิทยาลัย โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 16 โรงเรียน และศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ กรุงเทพฯ จำนวน 10 ศูนย์การเรียน รวมผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 1,881 ราย
1.2 สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม : PIM)
สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) สถาบันสำหรับนักเรียนที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อาชีวศึกษา หรือเทียบเท่า เพื่อส่งมอบโอกาสศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี และสามารถต่อยอดไปยังปริญญาโท ปริญญาเอก ผ่านระบบการเรียนการสอนที่เรียกว่า Work-based Education (WBE) ภายใต้ 3 จุดแข็ง ในการเชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฏีเข้ากับภาคปฏิบัติแก่นักศึกษา ดังนี้
ความรู้เชิงวิชาการจากอาจารย์ผู้เชียวชาญ ผ่านความร่วมมือที่มีเครือข่ายอยู่ทั่วโลกทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ภายในประเทศและต่างประเทศ
ประสบการณ์การทำงานโดยตรงจากบริษัทในเครือและพันธมิตรทางธุรกิจ ที่สอดประสานไปกับการเป็น Corporate University หรือมหาวิทยาลัยแห่งองค์กรธุรกิจไปพร้อมกับการเป็น Network University
การพัฒนาองค์ความรู้ของอาจารย์และนักศึกษา โดยใช้ดจทย์จริงในองค์กรกลับมาสู่การเรียนการเสอนในห้องเรียน เพื่อให้พร้อมนำไปใช้ในทางปฏิบัติโดยตรง และอาจเกิดเป็นผลงานนวัตกรรมที่มีประโยชน์ต่อองค์กร
โครงการเครือข่ายสร้างสุข สู่ปลายด้านขวาน ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4
บริษัทตระหนักถึงเหตุการณ์ความรุนแรงใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ส่งผลให้คนในพื้นที่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้มีรายได้ลดลง ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ขาดโอกาสทางการศึกษา รายได้ลดลง ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ขาดโอกาสทางการศึกษา ซีพี ออลล์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) และศูนย์อำนวยการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมมือกันขยายโอกาสทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษาให้กับเยาวชนในพื้นที่ โดยมอบทุนการศึกษา และสนับสนุนค่าครองชีพและค่าที่พักระหว่างเรียน 4,500 บาทต่อเดือน และมีรายได้ระหว่างฝึกงาน 10,500 บาทต่อเดือน นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษากลับไปประกอบอาชีพในพื้นที่บ้านเกิดของตัวเอง กระตุ้นการจ้างงานและเกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจในพื้นที่ยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตให้กับชุมชน
ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ
มอบทุนการศึกษา
นักศึกษาในโครงการสำเร็จการศึกษา
นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาแล้วมีงานทำ
นักศึกษามีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ย
สร้างผู้ประกอบการชุมชน
โครงการ พีไอเอ็ม (PIM) ส่งรอยยิ้มสู่ยอดดอย ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6
ซีพี ออลล์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค: NECTEC) และบริษัท ช้อยส์มินิสสโตร์ จำกัด ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสที่เท่าเทียมพัฒนาศักยภาพของเยาวชนในพื้นที่ มอบทุนการศึกษาในระดับอุดมศึกษาแก่เยาวชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงมุ่งเน้นสร้างทักษะ (Work-based Education: WBE) ด้านนวัตกรรม การนำผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่มีเอกลักษณ์มาปรับปรุงพัฒนา เพื่อยกระดับสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนด้วยระบบการศึกษาทางไกล (Distance Learning) และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน (Teacher-Student Relationship)
ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ
มอบทุนการศึกษา
นักศึกษาในโครงการสำเร็จการศึกษา
นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาแล้วมีงานทำ
นักศึกษามีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ย
สร้างผู้ประกอบการชุมชน
กองทุนเพื่อชีวิตแห่งการเรียนรู้
สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) จัดตั้ง "กองทุนเพื่อชีวิตแห่งการเรียนรู้" หรือ PIM SMART เพื่อสนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งเป็นทุนที่ไม่มีข้อผูกมัดใดๆ
ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ
ปัจจุบันมีบัณฑิตจากกองทุน
ช่วยเหลือนักศึกษาแล้ว
คิดเป็นมูลค่า
1.3 โรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (สาธิตพีไอเอ็ม)
บริษัทจัดตั้งโรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (สาทิตพีไอเอ็ม) เพื่อมอบโอกาสการศึกษาให้แก่เยาวชนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ผ่านการเรียนรู้แบบ Active Learning ส่งเสริมการเรียนรู้ตามความสนใจและความถนัดเฉพาะทางของผู้เรียน โดยมีการเรียน การสอนเป็นภาษาอังกฤษใน 3 รายวิชาหลัก ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ รวมถึงมีการสอนภาษาจีนเป็นภาษาที่ 3 เพิ่มเติม ตลอดจนสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมต่อการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพในรูปแบบ Digital Class Room พร้อมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ความรับผิดชอบและความมีวินัย เพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนเก่งและคนดีในสังคม ปัจจุบันมีนักเรียนกว่า 938 ราย และสำเร็จการศึกษาแล้ว 1 รุ่น 125 ราย
1.4 การมอบโอกาสทางการศึกษา
บริษัทสนับสนุนการศึกษาพัฒนาเยาวชน ภายใต้กลยุทธ์ด้านสังคม "7 Go Together" โดยให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนไทยระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ระดับอาชีวศึกษา (ปวช. และ ปวส.) และระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรีขึ้นไป) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 15 โดยในปี 2566 บริษัทได้สนับสนุนทุนการศึกษาไปแล้วทั้งสิ้น 28,520 ทุน คิดเป็นมูลค่า 1,394 ล้านบาท และมีผู้สำเร็จการศึกษาทุกหลักสูตรทั้งสิ้น 11,646 ราย
นอกจากนี้ บริษัทยังให้โอกาสแก่นักศึกษา โดยให้ทุนเพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาโทในกลุ่มสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และโอกาสในการเข้าทำงานกับบริษัท โดยผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษาสามารถเข้าทำงานตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการ และผู้ที่จบการศึกษาในระดับอุดมศึกษาสามารถเข้าทำงานในตำแหน่งผู้จัดการร้าน 7-Eleven ได้ทันที อีกทั้งยังมีโอกาสในการร่วมลงทุนเป็นเจ้าของร้าน 7-Eleven (Store Business Partner: SBP) ซึ่งในปีการศึกษานี้มีจำนวนบัณฑิตที่จบการศึกษาเข้าร่วมงานกับบริษัท จำนวน 3,286 ราย
โปรแกรมสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต
การเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นอีกหนึ่งการดำเนินงานของบริษัทที่ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านสถาบันการศึกษา นอกเหนือจากองค์ความรู้พื้นฐาน บริษัทมุ่งผลักดันความสามารถและความสนใจเฉพาะทาง รวมถึงเติมเต็มทักษะที่จำเป็นสำหรับอนาคต ให้เยาวชน ชุมชน และบุคลากรของบริษัทสามารถตอบสนองต่อความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ โดยในปี 2566 มีโครงการที่โดดเด่นดังนี้
โครงการสานอนาคตการศึกษา CONNEXT ED เฟส 5
โครงการสานอนาคตการศึกษา CONNEXT ED ดำเนินการภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ 5 ด้าน ผนวกกับกรอบความยั่งยืนในการสร้างโรงเรียนที่พึ่งพาตนเองได้ ให้โรงเรียนและชุมชนมีทักษะความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) ให้โรงเรียนและโครงการของโรงเรียนเดินหน้าต่อไปได้สามารถสร้างรายได้ในระยะยาว มีการบูรณาการความรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรและแกนกลางสู่หลักสูตรสถานศึกษาหรือหลักสูตรท้องถิ่น โดยในปีการศึกษา 2566 บริษัทยังดำเนินโครงการต่อเนื่องในเฟส 5 ร่วมพัฒนาโรงเรียนเพิ่มเติมอีก 69 โรงเรียน สนับสนุนงบประมาณ องค์ความรู้ อุปกรณ์การศึกษา วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นพร้อมทั้งส่งบุคลากรของบริษัทที่ผ่านกรพัฒนาทักษะและมีจิตสาธารณะเข้าไปเป็นผู้นำรุ่นใหม่ เพื่อเป็นคู่คิดช่วยเหลือโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในบริบทที่แตกต่างกัน ผ่านการดำเนินโครงการย่อยต่างๆ ในด้านวิชาชีพ ด้านเกษตรกรรม ด้านวิชาการ ด้านศิลปวัฒนธรรม และด้านสิ่งแวดล้อมกว่า 100 โครงการ ซึ่งบริษัทได้บูรณาการองค์ความรู้ดังกล่าว เพื่อยกระดับเนื้อหาการเรียนการสอนโมเดลความสำเร็จของโรงเรียนต้นแบบสู่โรงเรียนอื่นๆ ในปี 2566 บริษัทยังคงพยายามต่อ ยอดให้โรงเรียนดำเนินโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือ Best Practice สามารถพัฒนาขึ้นมาจนเป็นโรงเรียนต้นแบบหรือ School Model ใน 4 ด้านหลัก ได้แก่ 1. ด้านไอซีทีและวิชาการ 2. ด้านวิชาชีพ 3. ด้านการเกษตร และ 4. ด้านสิ่งแวดล้อม มีโรงเรียนต้นแบบที่เป็นโมเดลในการส่งมอบโอกาสดีๆ ให้แก่โรงเรียนต่างๆ อาทิ
ด้านไอทีและวิชาการ | |
---|---|
โครงการต่อเนื่อง "ห้องปฏิบัติการปัญญาประดิษฐ์ (AI Lab)" โรงเรียนบ้านหนองแสงโคกน้อย จังหวัดขอนแก่น |
พัฒนาหลักสูตรด้านเทคโนโลยีวิทยาการสมัยใหม่ทั้งหุ่นยนต์หรือ Robotics, AI (Artificial Intelligence Lab) และ IoT (Internet of Things) อย่างง่าย ส่งผลให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงาน อาทิ เครื่องจ่ายเจลล้างมืออัตโนมัติ ราวตากผ้าอัตโนมัติ ถังขยะอัจฉริยะ ซึ่งเป็นผลงานที่สามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวัน |
"ศูนย์การเรียนรู้ การจัดการเกษตรทันสมัย "Water Smart Model" โรงเรียนชุมชนบ้านทะเลทรัพย์ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร |
ใช้เทคโนโลยี IoT Cloud Computing และ Big Data มาปรับประยุกต์ใช้กับเครื่องมือควบคุมระบบน้ำอัจฉริยะ ตามปัจจัยความชื้น อุณหภูมิ แสงสว่าง ในการปล่อยน้ำรดน้ำต้นไม้ในแปลงพื้นที่เกษตรต่างๆ สามารถนำไปจำหน่ายให้บริการแก่ชุมชนโดยรอบ |
ด้านอาชีพ | |
โครงการต่อเนื่อง "ร้านกาแฟสร้างอาชีพ" โรงเรียนโสตศึกษา จังหว้ดนนทบุรี และโรงเรียนบ้านนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ส่งเสริมการลงมือปฏิบัติจริงและการสร้างอาชีพของนักเรียนและชุมชน โดยใช้ทักษะที่จำเป็นอย่าง 3R8C มาใช้สร้างร้านกาแฟ |
โครงการต่อเนื่อง "ท่องโลกกล้วย" โรงเรียนวัดชมพูประดิษฐ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช |
นำปาล์มกล้วยมาแปรรูป และบูรณาการเข้ากับกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระ ยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นให้สามารถเลี้ยงชีพคนในชุมชน โดยร่วมกับปราชญ์ชาวบ้านและคนในชุมชนร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์จากปาล์มกล้วยเป็นผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมูลค่า เช่น เชือกกล้วยหูหิ้วถ้วยกาแฟ ถาดใส่อาหารจากใบตอง กระถางต้นไม้จากใยกล้วย เป็นต้น พร้อมเสริมทักษะการคำนวณต้นทุน ผลผลิต การคิดราคาจำหน่าย การใช้สื่อออนไลน์ในการขายสินค้า สร้างอาชีพและรายได้กลับคืนสู่ชุมชน |
ธุรกิจท่องเที่ยว Happy School โรงเรียนบ้านเขาเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดพังงา |
จากพื้นที่รกร้าง หญ้าขึ้นรกเป็นแหล่งเลี้ยววัวของชาวบ้าน โรงเรียนได้งบประมาณสนับสนุนจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเช็คอินแห่งใหม่ของจังหวัดพังงาในชื่อ "อุทยานการเรียนรู้ Happy School" ซึ่งประกอบไปด้วย แปลงเกษตร พืชผักสวนครัว ห้องเรียนธรรมชาติในดงกล้วย จุดเช็คอินอาคารเรียนศิลปะโคโลเนียล ร้านกาแฟ Happy School แปลงผักปลอดสารพิษ และจุดเช็คอินที่เป็นแลนด์มาร์คต่างๆ ภายในพื้นที่ |
โครงการมหัศจรรย์ผ้าทอมือชนเผ่าปะกาเกอะญอ โรงเรียนบ้านแม่ยางห้า อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ |
ยกระดับ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผ้าทอมือชนเผ่าชาวเขาปะกาเกอะญอ หรือชนเผ่ากะเหรี่ยง ซึ่งเป็นมรดกตกทอดทางภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น เป็นงานศิลปะที่แฝงไว้ด้วยวัฒนาธรรมประเพณี ถือเป็นมรดกอันทรงคุณค่า โดยบูรณาการองค์ความรู้จากงานหัตศิลป์สู่ความรู้เชิงวิชาการตามหลักสูตรแกนกลาง เพื่อเปิดมุมมองกระตุ้นให้เด็กนักเรียนเห็นความสำคัญของผ้าทอพื้นเมือง การเรียนรู้วัฒนาธรรมประเพณีอันทรงคุณค่า การเตรียมเส้นใยผ้า การม้วนใยผ้า การขึ้นโครง การทอ การปักลาย การแปรรูป จนกระทั่งถึงการจัดจำหน่าย |
ด้านเกษตร | |
โครงการต่อเนื่อง "ศูนย์การเรียนรู้ข้าวหอมมะลินิลผักสวนครัว" ภายใต้ความคิด Smart Farmer โรงเรียนบ้านโคกมะเมียน จังหวัดสุรินทร์ |
สอดแทรกเนื้อหา Smart Farmer เข้าไปใจการเรียนการสอนทุกรายวิชา ให้นักเรียนและคนในชุมชนมีความเข้าใจภาคเกษตรกรรมในทุกมิติ ได้แก่ การบริหารจัดการด้านธุรกิจ และด้านเทคโนโลยี เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญให้ภาคเกษตรกรรมของไทย พร้อมทั้งสร้างผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลินิลให้โรงเรียนและชุมชนมีรายได้ |
โครงการการสร้างนวัตกรรมเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร โรงเรียนบ้านศรีบุญเรือง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ |
สร้างนวัตกรรมเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร สร้างงาน สร้างอาชีพให้กับเด็กนักเรียน |
โครงการผักอะควาโพนิกส์ โรงเรียนวัดบ้านอ้อ อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
โครงการปลูกผ้กไร้ดินด้วยระบบอะควาโพนิกส์ โดยใช้หลักปุ๋ยอินทรีที่ได้จากมูลปลาที่ผสมในบ่อเลี้ยงปลาทับทิม ผ่านบ่อเติมแร่ธาตุจากหินภูเขาไฟ เข้าไปหล่อเลี้ยงผักที่นำมาจากแปลงเพาะเมล็ดเรียบร้อยแล้ว ดูดกินแร่ธาตุและสารอาหารจากธรรมชาติ (มูลปลา) จนเติบโตได้ขนาดแล้วตัดนำไปบริโภคในโครงการอาหารกลางวัน ผลผลิตส่วนเกินนำไปจำหน่ายสร้างรายได้เสริมอาชีพและแนวคิดให้กับนักเรียน น้ำที่ใช้แล้วจะถูกปล่อยออกไปยังบ่อบำบัดผ่านกระบวนการกรอง 3 ชั้นกรองหยาบ กรองละเอียด ไปจนถึงการใช้อีเอ็มบอล ปรับสภาพน้ำจนสะอาด เหมาะสมแล้วดูดกลับเข้าไปเลี้ยงปลาใหม่อีกครั้ง ทำให้รูปแบบการปลูกผักไร้ดินแบบนี้ได้ทั้งผลผลิตผักสด และปลาควบคู่กันไป ดำเนินการในระบบโรงเรือนปิด มีการปรับอุณหภูมิความชื้นให้เหมาะสม ใกล้เคียงกับผักเมืองหนาวด้วยระบบไอน้ำระเหยผ่านรวงผึ้งกระดาษ ทำให้มีอุณหภูมิเฉลี่ยเพียง 25 องศาเซลเซียส โดยระบบทั้งหมดใช้แผงโซล่าเซลในการผลิตกระแสไฟฟ้าป้อนโครงการ |
ด้านสิ่งแวดล้อม | |
โครงการต่อเนื่อง "หูหิ้วถ้วยกาแฟ เส้นกก สายใยรักษ์โลก" โรงเรียนวัดประดู่หอม (สุขประชาสรรค์) จังหวัดพัทลุง |
เพิ่มมูลค่าและต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้กับ "ต้นกก" และ "กระจูด" ซึ่งเป็นท้องถิ่น ซึ่งสามารถสร้างรายได้กลับคืนสู่ชุมชน เช่น หลักสูตร "หูหิ้วถ้วยกาแฟ เส้นกกสายใยรักษ์โลก" โดยนำเทคนิคฝีมือด้านหัตถกรรมมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบสายหูหิ้วถ้วยกาแฟ เป็นต้น โดยบริษัทสนับสนุนงบประมาณในโครงการ พร้อมทั้งสนับสนุนผลิตภัณฑ์มาใช้กับ ออลล์ คาเฟ่ (All Cafe) ในร้าน 7-Eleven สาขาในพื้นที่ท้องถิ่น ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระยะทดลองและพิจารณาขยายผลไปยังร้าน 7-Eleven ที่มีบริการกาแฟและเครื่องดื่มจาก |
"ศูนย์เพาะพันธุ์กล้าไม้ และร้านต้นกล้าคาเฟ่ โรงเรียนบ้านมาบฟักทอง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี |
พัฒนาและต่อยอดแนวคิด "เศรษฐกิจสีเขียว" หรือ "Green Economy" ให้เกิดขึ้นภายในโรงเรียนทำหน้าที่ในการเพาะ อนุบาลกล้าไม้ เพื่อส่งต่อไปปลูกยังโครงการต่างๆ พร้อมทั้งบูรณาการองค์ความรู้จากการเพาะกล้าไม้เป็นหลักสูตรท้องถิ่น ปลูกฝังให้เด็กๆ ได้เห็นคุณค่าและความสำคัญของต้นไม้ ป่าไม้ ธรรมชาติ รวมถึงใช้ความเขียวชะอุ่มของแปลงเพาะกล้าไม้เป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวของอำเภอบางละมุง โดยเฉพาะคนที่มาเที่ยววัดญานสังวรารามให้แวะมาอุดหนุนร้านกาแฟในชื่อว่า "ต้นกล้าคาเฟ่" ที่ปลูกฝังเสริมสร้างวิชาชีพการบริหารจัดการร้านกาแฟให้กับเด็กได้อีกทางหนึ่ง จึงนับเป็นการริเริ่มและยังประดยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้ การเรียนการสอน การปลูกฝังวิชาชีพ การปลูกฝังทักษะชีวิตไปในขณะเดียวกัน |
"ทับสะแก กรีนคาเฟ่ รักษ์โลก" โรงเรียนอนุบาลทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ |
ต่อยอดความสำเร็จโรงเรียนด้านการจัดการขยะ สู่การสร้างร้านกาแฟกรีนดีไซน์จากวัสดุรีไซเคิล-อัปไซเคิล ภายใต้แนวคิดด้านสิ่งแวดล้อม 5 ด้าน ได้แก่ |
ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ
สนับสนุนงบประมาณพัฒนาโรงเรียน CONNEXT ED สะสมจนถึงเฟส 5
มูลค่าการสนับสนุนงบประมาณพัฒนาโรงเรียน CONNEXT ED
จำนวนเด็ก เยาวชน และครูที่ได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพ
ส่งเสริมให้นักเรียน ครู และชุมชน เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
- หลักสูตรท้องถิ่น 19 หลักสูตร และเกิดศูนย์การเรียนรู้ชุมชน 30 ศูนย์
- สร้างโรงเรียนต้นแบบ หรือ School Model จำนวน 13 โรงเรียน
- โรงเรียนที่ดำเนินโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือ Best Practice จำนวน 25 โรงเรียน
- โรงเรียนในโครงการร่วมพัฒนา หรือ Partnership School จำนวน 9 โรงเรียน
สร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้แก่ชุมชน
โครงการต่อเนื่อง Creative AI Camp และ Creative AI Club
บริษัทให้ความสำคัญกับการส่งเสริมเยาวชนในทุกมิติ ทั้งในด้านการเพิ่มพูดทักษะความรู้ ด้านเทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์ (AI) ด้านธุรกิจรวมไปถึงด้านปรัชญาความคิด อีกทั้งสร้างเวทีให้เยาวชนได้แสดงศักยภาพในการสร้างสรรค์ผลงานด้าน AI เพื่อเป็นก้าวสำคัญในการสร้างทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืนผ่านโครงการ Creative AI Camp (CAI Camp) และ Creative (CAI Club) โดยมี 3 วัถุประสงค์ ดังนี้
New Learning Space
สร้างพื้นที่การเรียนรู้ พร้อมอำนวยความสะดวกในการต่อยอดความรู้ด้าน AI
New Creative Community
สร้างชุมชนเพื่อแบ่งปันความรู้สร้างสรรค์ผลงานด้าน AI และสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ของเยาวชนที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า
New Innovations & Solutions
สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ คิดและพัฒนาวิธีการแก้ไขปัญหาแนวทางใหม่ๆ ด้วยความรู้ AI โดยสมาชิกในคลับ
ในปี 2566 บริษัทดำเนินโครงการค่าย Creative AI Camp ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 ภายใต้แนวคิด "AI as a Human Being ???" เพื่อให้ความรู้ไปพร้อมๆ กับยกระดับทักษะ AI ให้เยาวชนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ปวช. ปวส. และอุดมศึกษาไม่เกินปีที่ 2 โดยมุ่งเน้นทั้งการประยกต์ใช้ AI ในเชิงธุรกิจและสร้างทักษะเชิงลึกด้านเทคโนโลยีให้ตอบโจทย์ประเด็นต่างๆ ในสังคมและมีผลงานที่โดดเด่น ดังนี้
ผลงานที่โดดเด่นภายใต้โครงการ Creative AI Camp | |
---|---|
รางวัลชนะเลิศ : CONALYSIS (CO-NA-LY-SIS) |
|
รางวัลรองชนะเลิศ : AI FOR 7-ELEVEN'S PREVENTIVE MAINTENANCE TASK PHOTO INSPECTION VIA WEB |
|
รางวัลรองชนะเลิศ : ผลงาน ALL FOR U |
|
รางวัล The Best Innovation : SMART UPPORT SYSTEM, AI-BOOSTED KNOWLEDGE HUB |
ในปี 2566 Creative AI Club ได้จัดกิจกรรม Creative AI Club Hackthon 2023 ซึ่งเป็นกิจกรรมอาสาที่ส่งเสริมให้เยาวชนกล้าคิด กล้าลงมือ สนับสนุนเยาวชนให้เติบโตและร่วมส่งต่อความรู้ให้เยาวชนรุ่นต่อๆ ไปอย่างไม่มีสิ้นสุด โดยจัดเป็นการแข่งขันพัฒนา AI แบบมาราธอนให้กับเยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อุดมศึกษา (มหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 1-2) ปวช. ปวส. ภายใต้แนวคิด "Spark the Pebbles" โดยดำเนินการร่วมกับการสนับสนุนจากหลายภาคส่วนทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ สถาบันอุดมศึกษา และศิษย์เก่าจากโครงการ Creative AI Camp จากการจัดกิจกกรมเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการได้แสดงออกทางความคิดอย่างสร้างสรรค์โดยการนำ AI มาแก้ปัญหาที่เป็นเพียงปัญหาเล็กๆ แต่สามารถส่งกระทบได้ในระยะยาว คณะกรรมได้ร่วมพิจารณาแนวทางที่นำเสนอ รวมถึงความเป็นไปได้ในการนำมาประยุกต์ใช้ได้จริง โดยมีไอเดียที่น่าสนใจ อาทิ
ผลงานที่โดดเด่นภายใต้โครงการ Creative AI Club | |
---|---|
รางวัลชนะเลิศ : ทีม "กำหมัดจบ AI" กับผลงาน "I CAN SEE YOUR VOICE" |
|
รางวัลรองชนะเลิศ : ทีม "HackperMinute" กับผลงาน "MHOR TEXT" |
|
รางวัลชมเชย : ทีม "Cool" กับผลงาน "LYSEN" |
|
รางวัลชมเชย : ทีม "Fengshui" กับผลงาน "FENG SHUI" |
ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ
เยาวชนร่วมโครงการและได้รับการพัฒนาทักษะสะสม
มูลค่าการสนับสนุนงบประมาณกิจกรรม
พัฒนาทักษะทั้งด้านเทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์ ความรู้ทางธุรกิจ รวมถึงปรัชญาชีวิตจากหมากล้อม
สร้างเครือข่ายของผู้มีความรู้ ความสามารถรุ่นใหม่ๆ
เป็นศูนย์รวมทรัพยากรและความรู้ในด้านเทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์อีกด้วย
โครงการ เปิดโลกกว้าง สร้างรอยยิ้ม
โลตัส ร่วมกับ มูลนิธิเมเจอร์ แคร์ เดินหน้าสร้างสรรค์สิ่งดีดีเพื่อชุมชนพร้อมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนทั้งในด้านการศึกษาและส่งเสริมด้านโภชนาการ นำเด็กนักเรียนจากโรงเรียนใกล้เคียงสาขาของโลตัสไปชมภาพยนตร์ฟรีเพื่อสร้างโอกาสและเปิดโลกทัศน์การเรียนรู้นอกห้องเรียนที่โรงภาพยนตร์เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ในโลตัส ปี 2566 สนับสนุนพื้นที่และนำเด็กนักเรียนกว่า 700 ราย จากโรงเรียนในชุมชนโดยรอบสาขามาร่วมกิจกรรมดีดี ดูหนังฟรีกับโรงหนังเมเจอร์ที่ห้างโลตัส นำร่องในโลตัส สาขายโสธร, โลตัส สาขาพิบูลมังสาหาร และสาขาเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีแผนจะจัดกิจกรรมอีกในโลตัส 54 สาขาทั่วประเทศ สอดคล้องกับความมุ่งมั่นของโลตัสในการเป็น SMART Community Center ศูนย์รวมการใช้ชีวิตอัจฉริยะของทุกคนในชุมชนที่เป็นพื้นที่ของคนทุกกลุ่มในสังคม