สร้างสรรค์คุณค่าเพื่อสังคมส่วนรวม

การสร้างคุณค่าทางสังคมและสนับสนุนในระบบเศรษฐกิจ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2566


เอสเอ็มอี (SMEs) ที่ได้รับการพัฒนาทักษะทางอาชีพสร้างงานเพิ่มรายได้

197862 ราย

เกษตรกรในห่วงโซ่อุปทานที่ได้รับกรพัฒนาทักษะทางอาชีพ สร้างงานเพิ่มรายได้

13154 ราย

กลุ่มเปราะบางที่ได้รับการพัฒนาทักษะทางอาชีพ สร้างงานเพิ่มรายได้

9691 ราย

จ้างงานแรงงานท้องถิ่น (เฉพาะพนักงานที่ปฏิบัติงานในร้าน 7-Eleven)

65528 ราย (ร้อยละ 79.40)

จ้างงานผู้สูงอายุท้องถิ่น

1995 ราย

มูลค่าการรับซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน

18830 ล้านบาท

มอบให้กับเยาวชนและผู้ด้อยโอกาส

65528 ทุน มูลค่า 1394 ล้านบาท

ชุมชนและหน่วยงานภาคประชาสังคมได้รับการช่วยเหลือบรรเทาสาธารณภัย เช่น เหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติ การป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ เป็นต้น

35869 ราย

ซีพี ออลล์ รับรางวัลองค์กรที่สนับสนุนงานด้านคนพิการดีเด่น ประจำปี 2566 ในระดับดีเยี่ยมจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)

ซีพีแรม รับรางวัลเกียรติยศ CSR-DIW to COVID-19 Relief และ CSR-DIW Continuous โครงการส่งเสริมโรงงานอุตสาหกรรมให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน เพื่อเป้าหมายการฟื้นฟูและยกระดับเศรษฐกิจและสังคม และโครงการส่งเสริมโรงงานอุตสาหกรรมให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืน

การดำเนินงานที่สำคัญปี 2566


ศูนย์ 7 สนับสนุนเอสเอ็มอี ดำเนินงานต่อเนื่อง ให้บริการคำปรึกษา ให้ความรู้เพิ่มศักยภาพ พัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต ให้โอกาสช่องทางขาย สนับสนุนการเติบโตสู่ตลาด Modern Trade อย่างมั่นคง


ดำเนินการโครงการความร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตร ในการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพให้กับ SMEs ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน เกษตรกร อาทิ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หอการค้าไทย สภาหอการค้าไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่น

ดำเนินการโครงการตลาดนัดชุมชน สนับสนุนช่องทางการขายทั้งภายในและภายนอกของบริษัท อาทิ โครงการ ALL SME MARKET PLACE ของ ซีพี ออลล์ โครงการตลาดนัดโชห่วยของแม็คโคร โครงการตลาดนัดส่งเสริมอาชีพอิสระของโลตัส

ศูนย์ปฏิบัติการทดสอบ ซีพี ออลล์ ช่วยเหลือผู้ประกอบการลดภาระค่าใช้จ่ายด้วยการทดสอบผลิตภัณฑ์ด้านต่างๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการมีศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน


ผู้มีส่วนได้เสียหลักที่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ


สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน


SDG 1 ขจัดความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่

1.2 ลดสัดส่วนชาย หญิง และเด็กใทุกช่วงวัย ที่อยู่ภายใต้ความยากจนในทุกมิติ
1.3 ดำเนินการให้เป็นผลตามะบบและมาตรการคุ้มครองทางสังคมที่เหมาสม และให้ครอบลุมถึงกลุ่มที่ยากจนและเปราะบาง

SDG 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร และยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน

2.3 เพิ่มผลิตภาพทางการเกษตรและรายได้ของผู้ผลิตอาหารรายเล็ก โดยเฉพาะผู้หญิง คนพื้นเมือง เกษตรกรแบบครอบครัว คนเลี้ยงปศุสัตว์ ชาวประมง โดยรวมถึงการเข้าถึงที่ดินทรัพยากร และปัจจัยนำเข้าในการผลิต ความรู้ บริการทางการเงิน ตลาด และโอกาสสำหรับการเพิ่มมูลค่าและการจ้างเงิน
2.4 สร้างหลักประกันว่าจะมีระบบการผลิตอาหารที่ยั่งยืนและดำเนินการตามแนวปฏิบัติทางการเกษตรที่มีภูมิคุ้มกัน ที่จะเพิ่มผลิตภาพและการผลิต ซึ่งจะช่วยรักษาระบบนิเวศ เสริมขีดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาวอากาศรุนแรง ภัยแล้ง อุทกภัย และภัยพิบัติอื่นๆ และจะช่วยพัฒนาที่ดินและคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

SDG 8 ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องและยั่งยืน การจ้างงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน

8.3 ส่งเสริมนโบายที่มุ่งการพัฒนาที่สนับสนุนกิจกรรมที่มีผลิตภาพ การสร้างงานที่สมควร ความเป็นผู้ประกอบการ ความสร้างรรค์และนวัตกรรม และส่งเสริมการเกิดและการเติบโตของวิสาหกิจรายย่อย ขนาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่งรวมถึงผ่านทางการเข้าถึงบริการทางการเงิน

SDG 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ

10.1 ให้บรรลุอย่างต่อเนื่องและคงการเติบโตของรายได้ในกลุ่มประชากรที่ยากจน

SDG 11 ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความครอบคลุม ปลอดภัย มีภูมิต้านทางและยั่งยืน

11.5 ลดจำนวนการตายและจำนวนคนที่ได้รับผลกระทบ และลดการสูญเสียโดยตรงและเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของโลกที่เกิดจากภัยพิบัติ ซึ่งรวมถึงภัยพิบัติที่เกี่ยวกับน้ำ โดยมุ่งเป้าปกป้องคนจนและคนที่อยู่ในสถานการณ์ที่เปราะบาง

ผลการดำเนินงานเทียบเป้าหมาย


เป้าหมายปี 2573

  

พัฒนาทักษะ ส่งเสริมอาชีพเพื่อสร้างรายได้สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดย่อม ผู้ประกอบการรายย่อย เกษตรกรรวมถึงกลุ่มเปราะบางตลอดห่วงโซ่อุปทาน

ความก้าวหน้าเทียบกับเป้าหมาย

*หมายเหตุ: ตั้งแต่ปี 2565 ข้อมูลที่รายงานครอบคลุมธุรกิจค้าปลีก และกลุ่มบริหารพื้นที่เช่าในศูนย์การค้าภายใต้ชื่อ "โลตัส"

สรุปผลการดำเนินงาน ปี 2566

การส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้

จำนวน SMEs

จำแนกตามกลุ่ม

กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค
39569 
กลุ่มบริการ ผู้รับเหมา
84284 
กลุ่มโชห่วยผู้ประกอบการรายย่อยในชุมชน
65560 
กลุ่มอื่นๆ
8449 

*หมายเหตุ: กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค ครอบคลุม สินค้าเกษตร สินค้าเกษตรแปรรูป

มูลค่าการรับซื้อ

  

จำนวนเกษตรกร

จำแนกตามกลุ่ม

กลุ่มผัก
4221 
กลุ่มผลไม้
487 
กลุ่มอื่นๆ
8446 

มูลค่าการรับซื้อ

  

จำนวนกลุ่มเปราะบาง

จำแนกตามกลุ่ม

กลุ่มผู้สูงอายุ
1995 
กลุ่มผู้พิการ
2871 
กลุ่มแรงงานข้ามชาติ
3924 
กลุ่มอื่นๆ
901 

มูลค่าการจ้างงานและส่งเสริมรายได้

  

ประเภทการสนับสนุน

 

การบริจาคเพื่อการกุศล

 

การร่วมลงทุนทางสังคม

 

กิจกรรมเชิงพาณิชย์


รูปแบบการสนับสนุน

 

งบประมาณสนับสนุน

 

มูลค่าจำนวนชั่วโมงจิตอาสาพนักงานได้รับค่าจ้าง

 

สิ่งของ

 

ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ


การจ้างงานในท้องถิ่น

 

การจ้างงานแรงงานท้องถิ่น

 

การสร้างงานชุมชน

 

การจ้างงานผู้สูงอายุท้องถิ่น


ทุนการศึกษาสำหรับเยาวชนและผู้ด้อยโอกาสในชุมชน


จำนวนผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชน และมูลค่าการสนับสนุน

2564 2565 2566
ผู้ประกอบการรายย่อยผลิตภัณฑ์ชุมชน

100 

223 

376 

มูลค่าการรับซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน

0.47 

14.92 

18830 

 หมายเหตุ : ความหมาย/ขอบเขต "ชุมชน" ตามที่บริษัทกำหนด หมายถึง คณะบุคคล ผู้ประกอบการ เยาวชน กลุ่มเปราะบาง ที่อยู่โดยรอบพื้นที่ดำเนินการสำคัญของบริษัท
1) รอบร้าน 7-Eleven ภายในรัศมีไม่เกิน 5 กิโลเมตร
2) ศูนย์กระจายสินค้า ภายใจรัศมี 5-10 กิโลเมตร
3) ศูนย์กระจายสินค้าแม็คโคร โลตัส สถานประกอบการผลิตภายในรัศมี 5-10 กิโลเมตร

ความเสี่ยงและโอกาส


ประชากรทั่วโลกต่างเผชิญการเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลันและซับซ้อน ทั้งนวัตกรรมทางธุรกิจ เทรนด์การตลาดสมัยใหม่ การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและสภาพภูมิอากาศ จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น การย้ายถิ่นฐาน รวมไปถึงคุณภาพและสุขภาวะ ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยเฉพาะประชากรกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มเปราะบางไม่สามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา แหล่งทุน หรือปัจจัยในการประกอบอาชีพ สิ่งแวดล้อมของแหล่งที่อยู่อาศัยที่ดี รวมถึงการเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ ซึ่งระดับความเหลื่อมล้ำจะยิ่งมีแนวโน้มสูงขึ้น หากภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมดำเนินงานโดยไม่เคารพสิทธิขั้นพื้นฐานของชุมชนโดยรอบห่วงโซ่อุปทาน อาทิ ธุรกิจการจำหน่ายสินค้ารูปแบบค้าปลีกและค้าส่ง มีการวิเคราะห์และการตัดสินใจทางการตลาด โดยไม่ตระหนักถึงบริบทและผลกระทบเชิงสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การตัดราคาขายสินค้า การไม่ควบคุมมลพิษที่เกิดจากการผลิตหรือการขนส่ง เป็นต้น สามารถสร้างข้อกังวลข้อขัดแย้งระหว่างบริษัทกับธุรกิจขนาดเล็กหรือวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ตลอดจนสูญเสียความเชื่อมั่น และความร่วมมือจากชุมชนอย่างยั่งยืน

บริษัทจึงมุ่งเป็นส่วนหนึ่งในการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม องค์กรจำเป็นต้อมี "การเปลี่ยนแปลงระดับรากฐาน หรือการปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจให้ควบคู่ไปกับการรับฟังความคิดเห็น ตระหนักถึงกิจกรรมทางธุรกิจที่ส่งผลกระทบหรือมีความเสี่ยงที่อาจละเมิดคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน ซึ่งนอกจากเป็นการเพิ่มโอกาสในการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจที่มีทักษะและภูมิปัญญาท้องถิ่นยังสามารถนำมาสู่โมเดลธุรกิจใหม่ๆ ได้ บริษัทเชื่อมั่นว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมจึงต้องอาศัยการขับเคลื่อนร่วมกัน ทั้งภาคธุรกิจ ภาครัฐ และภาคประชาสังคม เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถเดินหน้าและรับมือกับทุกการเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกันในระยะยาว

แนวทางการดำเนินงาน


บริษัทมุ่งสนับสนุนสถานะความเป็นอยู่ที่ดีของชุชน ตามกลยุทธ์ 3 ให้ "ให้ช่องทางการขาย ให้ความรู้ การพัฒนา และให้การเชื่อมโยง" ภายใต้ "นโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคม" แนวทางปฏิบัติเป้าหมายตัวชี้วัดของบริษัทผ่านการสนับสนุนองค์ความรู้ทักษะที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ ช่องทางในการสร้างรายได้ที่หลากหลาย ตลอดจนการบริหารจัดการพื้นที่และสิ่งแวดล้อมที่ดี ลดผลกระทบและความเสี่ยงเชิงลบครอบคลุมทั้งกลุ่มเกษตรกรกลุ่ม SMEs รวมถึงกลุ่มเปราะบางทางสังคมและก่อให้เกิดผลลัพธ์เชิงบวกกับชุมชนทั้งในระยะสั้นและระยะยาวอย่างต่อเนื่อง เช่น การจัดตั้งศูนย์ 7 สนับสนุน SMEs การส่งเสริมระบบบริหารแบบบูรณาการตลอดวงจนของการเป็นผู้ประกอบการ การสนับสนุนผลิตภัณฑ์เกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชน ผ่านการจัดซื้อ จัดหาช่องทางการขาย สนับสนุนพื้นที่ขาย ส่งเสริมกิจกรรมกระตุ้นยอดขาย สัมมนาถ่ายทอดความรู้ เป็นต้น

นอกจากนี้ บริษัทสนับสนุนการจ้างงานในท้องถิ่น พร้อมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมบรรเทาทุกข์ ตลอดจนการรับฟังเสียงจากชุมชนผ่านช่องทางรับเรื่องร้องเรียนขององค์กร เพื่อสร้างสัมพันธ์ ลดข้อกังวลและสร้างคุณค่าร่วมกัน ให้มีความเข้มแข็งและสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างยั่งยืน

บริษัทสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งมีกระบวนการติดตามและทบทวนผลการดำเนินงานด้านสร้างคุณค่าทางสังคม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายระยะสั้นและสามารถบรรลุเป้าหมายระยะยาว ปี 2573 สามารถรวบรวมเป็นฐานข้อมูลสำหรับการพัฒนานโยบายบริษํท แผนการดำเนินงานในอนาคต เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินธุรกิจ สามารถสร้างคุณค่าทางสังคมและสนับสนุนระบบเศรษฐกิจให้กับชุมชนได้อย่างแท้จริง

เพิ่มทักษะ ขยายโอกาส สร้างรายได้ แก่ SMEs วิสาหกิจชุมชน เกษตรกร และกลุ่มเปราะบาง

บริษัทดำเนินงานตามแผน "Giving and Sharing" เพื่อลดช่องว่างและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีมากขึ้น ผ่านการสนับุสนุน SMEs เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และกลุ่มเปราะบางอย่างต่อเนื่อง ภายใต้กลยุทธ์ "ให้ช่องทางการขาย" "ให้ความรู้ การพัฒนา" และ "ให้การเชื่อมโยง" ตลอดจนการร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน "ให้ความช่วยเหลือบรรเทาสาธารณภัย" แก่สังคมและชุมชน โดยในปี 2566 มีการดำเนินโครงการ ดังนี้

แนวคิดกลยุทธ์ "3 ให้"

"ให้ช่องทางการขาย"

  • ส่งเสริมและกระตุ้นให้พนักงาน กล้าที่จะแสดงความเห็นอย่างสร้างสรรค์ และเป็นไปตามกรอบของกฎหมายที่กำหนดไว้ในประเทศที่บริษัทไปดำเนินธุรกิจ
  • ขยายโอกาสผ่านการทำ Business Matching ภายใต้ชื่อโครงการ Big Match เป็นความร่วมมือกับทางหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

"ให้ความรู้ การพัฒนา"

  • สนับสนุนให้ SMEs ผู้ประกอบการรายย่อย วิสาหกิจชุมชน รวมถึงเกษตรกร สามารถเข้าถึงองค์ความรู้ที่สำคัญและจำเป็นต่อการประกอบธุรกิจ อาทิ การพัฒนาคุณภาพสินค้าและการผลิต การออกแบบผลิตภัณฑ์ การตลาด การจัดการต้นทุน ความรู้เฉพาะทางตามประเภทธุรกิจ ช่วยเพิ่มพัฒนาศักยภาพและความสามารถในการแข่งขัน ภายใต้กลยุทธ์ "ให้ความรู้ การพัฒนา" ผ่านการดำเนินงานจัดสัมมนาประจำปีถ่ายทอดความรู้ และการให้คำปรึกษาแนะนำ ด้วยโปรแกรมการพัฒนาที่เหมาะสม สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการตลอดวงจรของการเป็นผู้ประกอบการ

"ให้การเชื่อมโยง"

  • เชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน หรือหน่วยงานอื่นๆ เพิ่มเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการในการเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบสำคัญ แหล่งเงินทุน นวัตกรรม และเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สามารถขยายธุรกิจไปยังตลอดโลกได้ ผ่านการดำเนินการในรูปแบบต่างๆ อาทิ ความร่วมมือกับสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ All Food Tech ศูนย์ปฏิบัติการทดสอบ FoodInnoPolis กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย SME D Bank ธนาคารกรุงเทพ

1. ให้ช่องทางการขาย : เพิ่มโอกาสการขาย ขยายโอกาสการเติบโต

โครงการสรรหา SME และวิสาหกิจชุมชนที่มีศักยภาพเข้าสู่ช่องทางจำหน่ายแบบออฟไลน์และออนไลน์ร้าน 7-Eleven

ซีพี ออลล์ ร่วมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชนที่มีศักยภาพให้เข้าสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด ให้คำปรึกษาเชิงลึก และจับคู่ธุรกิจ สัมมนาออนไลน์ด้านการเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการ อาทิ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ การสร้างและออกแบบบรรจุภัณฑ์ การกำหนดราคา และนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างโอกาสในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในร้าน 7-Eleven ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

 

ผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชนเข้าร่วมโครงการ

 

จำนวนผลิตภัณฑ์ที่บริษัทส่งเสริมช่องทางการขายทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์

 

รวมมูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น

กรณีศึกษา

บริษัท เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์ จำกัด
บริษัท เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์ จำกัด เป็นพาร์ตเนอร์กับ ซีพี ออลล์ มายาวนาน บริษํทร่วมพัฒนาและผลิตสินค้าใหม่ๆ ที่ไม่ได้เน้นเพียงแค่รสชาติที่อร่อยแต่เป็นผู้สร้างรสชาติแห่งความสุข จึงเป็นที่มาของการพัฒนาสินค้ากลุ่มขนมปังและแป้งพิซซ่า จนมาสู่แซนด์วิชกึ่งสำเร็จรูปหรือแซนด์วิชอบร้อนซึ่งเป็นสินค้าหลักของเอ็นเอสแอล ถือเป็นหนึ่งในผู้ขายหลักให้กับร้าน 7-Eleven ทำให้กิจการของ NSL เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว สร้างยอดขายแซนด์วิชอบร้อนได้มากกว่า 4,010 ล้านบาท เติบโตขึ้นกว่า 30 เท่า

บริษัท โทฟุซัง จำกัด
บริษัท โทฟุซัง จำกัด เปิดตัวธุรกิจด้วยนมถั่งเหลืองออร์แกนิค แบบสเตอริไลส์ในขวดแก้วราคา 30 กว่าบาท เพื่อให้สอดคล้องกับฐานลูกค้า 7-Eleven "โทฟุซัง" จึงเปลี่ยนวัตถุดิบ มาใช้ถั่วเหลือในประเทศ แต่ยังเป็นถั่วเหลือคุณภาพสูง ช่วยลดต้นทุนในการผลิต ทำให้สามารถปรับราาคาสินค้าที่ทำให้ลูกค้าเข้าถึงได้ง่ายขึ้น รวมถึงพัฒนาหลากหลายรสชาติ อาทิ รสออริจินัล รสหวานน้อย รสผสมเม็ดแมงลัก และรสผสมบุก-ธัญพืช และการพัฒนาสินค้านมถั่วเหลืองแบบพาสเจอร์ไร หลาย Pack Size เจาะช่องทางการขายที่แตกต่างกันสร้างการเติบโตอย่างก้าวกระโดดด้วยยอดขาย 850 ล้านบาท เติบโตขึ้นกว่า 77 เท่า โดยที่สัดส่วนยอดขายร้อยละ 40 จำหน่ายในร้าน 7-Eleven และร้อยละ 60 มาจากซุปเปอร์มาร์เก็ตและร้านสะดวกซื้ออื่นๆ

บริษัท สยามรุ่งเรืองฟู้ด แอนด์ เบเกอรี่ จำกัด
"ปังสยาม" สามารถยืดหยัดครองใจผู้บริโภคมาได้ถึง 50 ปี เพราะเรียนรู้ที่จะปรับตัวและพัฒนาสินค้าอย่างต่อเนื่อง แต่ยังสามารถคงไว้ซึ่งคุณภาพที่หวนให้นึกถึง วัยเด็กได้อย่างสมบูรณ์ โดยสินค้าที่ถือเป็นไฮไลน์ของปี 2566 คือ เค้กโบราณ (เค้กถ้วยหน้าแยมส้ม) เป็นการพัฒนาเค้โบราณที่เป็นที่นิยม แต่หาทานยาก ผลิตเป็น Mass Product ปรับรสชาติให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เนื้อเค้นุ่ม ราดด้วยแยมส้มรสชาติหอมหวาน แต่งหน้าด้วยครีม ตามแบบฉบับของเค้กโบราณ เค้กไข่นุ่มสูตรโบราณ และเค้กชิฟฟ่อนเนื้อนุ่ม หอมกลิ่นใบเตย


โครงการต่อเนื่อง "ส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน เกษตรกรและรายย่อย"

ซีพี ออลล์ สนับสนุนสินค้าและผลิตภัณฑ์จากเกษตรกรและชุมชนสร้างโอกาสในการขาย เพิ่มรายได้ให้กับชุมชน โดยผ่านแพลตฟอร์ม ALL SME MARKET PLACE คือ โครงข่าย SAFETY NET เป็นพื้นที่พิเศษเพื่อ SMEs ไทย ที่เปิดโอกาสให้ช่องทางการจำหน่ายสินค้าแก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกร กลุ่ม SMEs กลุ่มเปราะบาง และกลุ่มสถาบันการศึกษา โดยเป็นแหล่งรวมสินค้าของชุมชนต่างๆ ภายในประเทศ เพื่อเพิ่มการกระจายรายได้ในกลุ่มเศรษฐกิจฐานราก เช่น สินค้า OTOP สินค้า GI สินค้าประจำถิ่น สินค้าเกษตร เป็นต้น รวมถึงสนับสนุนและส่งเสริมพัฒนาความรู้ผู้ประกอบการ โดยมุ่งยกระดับจากสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น สู่สินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานสากล เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ตลอดวงกว้างอย่างยั่งยืน ทั้งเป็นการส่งเสริมสินค้าชุมชนและสินค้าเกษตรให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ผ่านการดำเนินการต่างๆ ดังนี้

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

  

ผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชนเข้าร่วมโครงการ

  

ผลิตภัณฑ์ที่บริษัทส่งเสริมช่องทางการขาย ทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์

 

มูลค่าการรับซื้อ


โครงการต่อเนื่อง สนับสนุนผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นในร้านโลตัส

โลตัสเป็นช่องทางการกระจายสินค้าวิสาหกิจชุมชนและ SMEs จาก 200 ชุมชนทั่วประเทศ ผ่านร้านสาขาของโลตัสและช่องทางแพลตฟอร์มออนไลน์ ในปี 2566 มีผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นจำหน่ายในร้านสาขาโลตัส 25,891 ผลิตภัณฑ์ ใน 2,300 สาขา คิดเป็นมูลค่าการใช้จ่ายกับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของโลตัส 18,800 ล้านบาท


โครงการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืนด้วย “กล้วยหอมทอง”

โครงการสนับสนุนสินค้าจากผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลางด้วยการเพิ่มช่องทางกระจายสินค้ากล้วยหอมทองสู่ผู้บริโภคผ่านร้านเซเว่นอีเลฟเว่น และส่งเสริมให้มีการเพาะปลูก กระบวนการหลังการเก็บเกี่ยวให้มีมาตรฐาน สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ มีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาและลดการเน่าเสีย นอกจากนี้ บริษัท ซีพีแรม จำกัด ยังมีการนำกล้วยไปผลิตเป็นเค้กกล้วยหอมและบริษัทยังมีการทำสื่อการสอนเพื่อให้ความรู้กับเกษตรกรในการปลูกกล้วยหอมทอง

ความเป็นมา/ปัญหาความเดือดร้อนหรือระดับคุณภาพชีวิต

ด้วยบริษัทตระหนักถึงความสำคัญในการสนับสนุนสินค้าจากผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลางรวมไปถึงความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป หรือระดับของผู้บริโภคที่เน้นการรับประทานอาหารที่สะดวกและดีต่อสุขภาพ บริษัทจึงริเริ่มทำการศึกษาในเรื่องการจัดการผลผลิตของกล้วยหอมทอง ตั้งแต่การเก็บเกี่ยวจนถึงการคัดบรรจุ และในปี 2556 สามารถส่งกล้วยหอมทองสู่ผู้บริโภคผ่านร้าน 7-Eleven โดยเป็นการทำงานร่วมกันหลายภาคส่วน ทั้งสหกรณ์กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยแต่เดิมการจำหน่ายกล้วยหอมทองมีเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลเท่านั้น เนื่องจากพื้นที่ปลูกส่วนมากอยู่ในบริเวณ จังหวัดปทุมธานีและเพชรบุรีเป็นหลักส่วนในพื้นที่ต่างจังหวัดไกลๆ นั้นยังไม่มีการจำหน่ายกล้วยหอมทองผลเดี่ยวและยังมีการปลูกกล้วยกันน้อยมากจึงมีความคิดริเริ่มโครงการส่งเสริมการปลูกกล้วยหอมทองไปยังต่างจังหวัดมากขึ้นเพื่อให้มีสินค้าจำหน่ายในพื้นที่นั้นๆ รวมถึงช่วยแก้ไขปัญหาสังคม เช่น

  • เกษตรกรจังหวัดเพชรบุรีทำสวนมะนาวมาก่อนแต่ต้องมาใส่ปุ๋ยฉีดยาเพิ่มขึ้นทุกปี เพราะมะนาวปลูกในพื้นที่ซ้ำ ๆ นานหลายปีมีโรคสะสมเปลือกจะหนาแข็งเป็นไตมีน้ำน้อยหลังเปลี่ยนสวนมะนาวมาปลูกกล้วยหอมทองแทบไม่ต้องลงทุนอะไรเลย เพราะกล้วยไม่ต้องใช้สารเคมี
  • อุบัติการณ์ราคาผลผลิตตกต่ำเช่นยางพารามัน สำปะหลัง ข้าวโพด อ้อย ปาล์ม ข้าวยาสูบกระเทียม เป็นต้น เกษตรกรเกิดการรวมกลุ่มเพื่อปรับตัวและเปลี่ยนมาปลูกกล้วยหอมทองซึ่งมีแนวโน้มการตลาดที่ดีมีอนาคตไกล

วัตถุประสงค์ของโครงการ

  • เพื่อสร้างงานให้ชุมชนชุมชนมีความเข้มแข็ง และลดการสูญเสียของผลผลิต
  • เพื่อดูแลระบบนิเวศน์โดยการลดการใช้สารเคมีในแปลงปลูก
  • เพื่อถ่ายทอดนวัตกรรม / องค์ความรู้การบ่มกล้วยให้อร่อยแก่โรงคัดบรรจุ (โรงบ่ม) ทุกภูมิภาคทั่วประเทศและลดการนำสินค้าเข้ามาสู่ส่วนกลางและเป็นการต่อยอดนวัตกรรมการจำหน่ายกล้วยหอมทองไปทั่วประเทศอีกด้วย และโครงการนี้จะเป็นต้นแบบของกล้วยน้ำว้าและผลไม้อื่น ๆ ต่อไป

เป้าหมายของโครงการ

  • เพิ่มเกษตรกรรายย่อยหลังเข้าร่วมมากกว่า 1,000 ราย  และมีพื้นที่เพาะปลูกกว่า10,000 ไร่
  • กำหนดมาตรฐาน เพื่อลดและควบคุมการใช้สารเคมี (สำหรับกำจัดวัชพืชและปุ๋ยเคมี)
  • พัฒนาและขยายโรงคัดบรรจุ (โรงบ่ม) และถ่ายทอดนวัตกรรม / องค์ความรู้การบ่มกล้วยมากกว่า 10 โรงคัดบรรจุทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ

การดำเนินโครงการ

  • สร้างงานและอาชีพให้กับชุมชน ทีมงานสินค้าเกษตรของ 7-Eleven เข้าไปสอนเทคนิคการจัดการปลูกแปลง ให้กับทีมส่งเสริมของโรงคัดบรรจุให้สามารถประเมินและพัฒนาลูกสวนอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น แหล่งน้ำพื้นที่ปลูกการจัดการสารเคมีทางการเกษตรการจัดกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวการบันทึกข้อมูลเอกสารต่าง ๆ เพื่อสืบย้อนกลับและการขนส่งวัตถุดิบจากวิธีการที่ชัดเจนนี้ทำให้ได้ผลผลิตมีคุณภาพและความปลอดภัยตรงตามมาตรฐานที่รับซื้อและขยายลูกสวนได้อย่างรวดเร็วรวมถึงการขึ้นทะเบียนเกษตรเพื่อสามารถสืบย้อนกลับได้อย่างมีระบบ
  • เกษตรกรมีการจัดการสารเคมีที่เหมาะสมและปลอดภัย ทีมงานสินค้าเกษตรของเซเว่นอีเลฟเว่น มีการศึกษาสารเคมี และการออกฤทธิ์ให้เหมาะสมกับพืชและสอดคล้องตามกฎหมายกำหนด โดยมีการกำหนดประเภทสารเคมีที่ใช้ได้ สัดส่วนการใช้งานเป็นมาตรฐานรวมถึงการจัดเก็บวัตถุอันตรายทางการเกษตรสภาพแวดล้อม (การจัดการซากขยะอันตราย) ถ่ายทอดองค์ความรู้นี้ให้กับทีมส่งเสริมของโรงคัดบรรจุเพื่อสอนและติดตามให้ลูกสวนที่ขึ้นทะเบียนมีความเข้าใจและใช้ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยรวมถึงการส่งเสริมให้ใช้ปุ๋ยชีวภาพ / ปุ๋ยพืชสดและชีวภัณฑ์
  • เพิ่มช่องทางการจัดจําหน่าย ทีมงานสินค้าเกษตรของเซเว่นอีเลฟเว่นเข้าไปพัฒนาโครงสร้างสถานที่ผลิตบุคลากรที่เกี่ยวข้องและกระบวนการผลิต ได้แก่
    – การคัดเลือกวัตถุดิบเช่นระดับความแก่ของกล้วยการยอมรับตำหนิของผิวกล้วยการกำหนดน้ำหนักต่อหวี
    – การบ่มซึ่งมีการควบคุมสภาวะในการบ่ม ได้แก่ อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ระยะเวลาในการบ่มเทคนิคนี้สามารถกำหนดระดับความสุกให้มีช่วงความอร่อยพร้อมรับประทานเมื่อถึงร้านสาขาพอดีรสชาติจะหวานพอดีมีความเหนียวนุ่ม เนื้อไม่เละและมีความโดดเด่นแตกต่างจากกล้วยหอมทองตามท้องตลาด ที่เนื้อจะเละเสื่อมสภาพเร็ว
    – การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับข้อมูลทางสรีรวิทยาของกล้วยหอมทองที่ช่วยยืดอายุให้อยู่นานขึ้น พัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ดูทันสมัยและรักษาคุณภาพได้ดียิ่งขึ้นเอื้อต่อการจัดจําหน่ายร้านสะดวกซื้อทั่วประเทศส่งผลให้สามารถวางจําหน่ายกล้วยหอมทองได้ 4 วันซึ่งช่วยลดการสูญเสียได้เป็นอย่างมาก
    – การขนส่งกล้วยหอมทองนั้นมีการกำหนดรูปแบบรถขนส่งทั้งแบบควบคุมอุณหภูมิและไม่ควบคุมอุณหภูมิเพื่อลดต้นทุนให้กับโรงคัดบรรจุขนาดเล็กที่เริ่มต้นธุรกิจและโรงคัดบรรจุสามารถจัดส่งสินค้าที่คลังสินค้า (BDC) ใกล้เคียงตามภูมิภาคทั่วประเทศไม่ต้องจัดส่งมายังส่วนกลางกรุงเทพฯ และปริมณฑล

การพัฒนาข้างต้นทีมงานได้ใช้ Packing house เป็นศูนย์กลางเชื่อมระหว่างเกษตรกรและซีพีออลล์ มีการคาดการณ์ยอดส่งสินค้าส่งให้ packing house เพื่อส่งต่อให้เกษตรกรในการวางแผนปลูกเพื่อลดการล้นตลาดของกล้วยหอมทองรวมทั้งให้คำปรึกษาและให้ความรู้ตั้งแต่ก่อนเก็บเกี่ยวจนถึงหลังเก็บเกี่ยวแล้วยังส่งเสริมให้มีการทำกล้วยปอกเพื่อส่งโรงงานเบเกอรี่ (เค้กกล้วยหอม CPRAM) และทำปุ๋ยชีวภาพ / ปุ๋ยพืชสดเพื่อลดการสูญเสียให้ได้มากที่สุด

มูลค่าทางสังคม

  • สร้างงานและอาชีพให้กับชุมชน ผลลัพธ์: สามารถเพิ่มเกษตรกรรายย่อยหลังเข้าร่วมโครงการเป็น 2,515 รายและมีพื้นที่เพาะปลูก 18,165 ไร่ (ก่อนเริ่มโครงการมีเกษตรกรรายย่อย 479 ราย และมีพื้นที่เพาะปลูก 3,868 ไร่) ทำให้โรงคัดบรรจุในแต่ละภูมิภาคสามารถรับวัตถุดิบกล้วยหอมทองโดยตรงจากเกษตรกรในพื้นที่โดยไม่ต้องเสียเวลาขนวัตถุดิบกล้วยหอมทองมายังส่วนกลางเช่นกล้วยหอมทางภาคใต้ก็จะใช้กล้วยในพื้นที่ชุมพร สุราษฎร์ สงขลา พัทลุงและสตูล เป็นต้น ซึ่งเป็นการสร้างงานให้ชุมชนและสร้างความมีส่วนร่วมกับชุมชนเกษตรกรไม่ต้องวิ่งหาที่จําหน่ายวัตถุดิบไกล ๆ ผลผลิตไม่เสียหายและสร้างความพึงพอใจให้เกษตรกร รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนอีกด้วย
  • เกษตรกรมีการจัดการสารเคมีที่เหมาะสมและปลอดภัย ผลลัพธ์: จากผลการศึกษาข้างต้นหลังเข้าร่วมโครงการสามารถใช้สารเคมีที่เหมาะสมในปริมาณที่ปลอดภัยส่งเสริมการใช้ปุ๋ยชีวภาพและชีวภัณฑ์ ทำให้การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยเคมีลดลงกว่าร้อยละ 40.7 สามารถลดต้นทุนให้กับเกษตรกร 786.5 บาทต่อไร่
  • เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย ผลลัพธ์: การพัฒนาช่องทางการจำหน่ายข้างต้นสามารถขยายโรงคัดบรรจุจาก 3 เป็น 22 โรงงาน ครอบคลุมทุกภูมิภาค และสามารถส่งกล้วยหอมทองได้ครอบคลุมร้าน 7-Eleven จำนวน 14,545 สาขาทั่วประเทศ คิดเป็นมูลค่ารับซื้อกว่า 677 ล้านบาท ส่งผลให้การรวมกลุ่มของเกษตรกรมีความเข้มแข็ง มีคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้นสะท้อนผ่านรายได้ที่มั่นคงและมีความสามารถในการแข่งขันในตลาดมากยิ่งขึ้น (SMEs ผู้ปลูกกล้วยหอมทอง ขายในตลาดกลางหรือตลาดทั่วไป จะมีรายได้เฉลี่ย 2,228,653 บาทต่อปี เมื่อเข้าร่วมโครงการแล้ว จะมีรายได้เฉลี่ย 4,531,842 บาทต่อปี)

มูลค่าทางเศรษฐกิจ

  • ปี 2566 จำหน่ายผลผลิตกล้วยหอมทอง 109 ล้านลูก เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 10.11
  • สร้างยอดขายให้บริษัท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 21.78
  • คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 994 ล้านบาท

นอกจากนี้ บริษัทยังได้ขยายผลการดำเนินงานไปยังเกษตรกรกลุ่มผลไม้ตามฤดูกาล กลุ่มผลไม้ตัดแต่งกลุ่มผักพร้อมปรุง กลุ่มผักสวนครัว กลุ่มธัญพืช และกลุ่มผักสลัดเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร มีตลาดที่แน่นอน และกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

  

เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ

  

จำนวนพื้นที่เพาะปลูก

  

เพิ่มความหลากหลายให้กับสินค้าที่จำหน่าย
ในร้าน 7-Eleven


โครงการต่อเนื่อง "แม็คโคร เคียงข้างเกษตรกรไทย" สนับสนุนเกษตรกรและผลผลิตจากกลุ่มเกษตรกร

แม็คโครสนับสนุนสินค้าและผลิตผลทางการเกษตรจากกลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อยในท้องถิ่น พร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพของคู่ค้า ยกระดับการผลิตอาหารที่ได้มาตรฐาน สินค้ามีคุณภาพและปลอดภัย ตลอดจนส่งเสริมการมีรายได้ที่มั่นคงยั่งยืน

แนวทางการสนับสนุนผลผลิตทางการเกษตร

เนื้อสัตว์ชนิดต่างๆ

  • สนับสนุนเนื้อสัตว์และสินค้าโปรตีนทางเลือกกว่า 571.16 ตัน ยอดสนับสนุน 119 ล้านบาท

เนื้อไก่ ไข่ไก่ และนม

  • รับซื้อเนื้อและไข่ไก่ออร์แกนิกกว่า 1344.60 ตัน
  • ยอดสนับสนุน 98 ล้านบาท

ผลไม้ฤดูกาล เช่น ทุเรียน เงาะ มังคุด ลำไย ลองกอง มะม่วง และอื่นๆ

  • รับซื้อผลไม้ตามฤดูกาลกว่า 11165.29 ตัน
  • ยอดเงินรับซื้อกว่า 652 ล้านบาท

ผัก และผักพื้นบ้าน

  • รับซื้อผักและผักพื้นบ้านกว่า 26794.95 ตัน
  • ยอดเงินสนับสนุน 652 ล้านบาท

สัตว์น้ำ และอาหารทะเล

  • รับซื้อสัตว์น้ำ และอาหารทะเลกว่า 6858.19 ตัน
  • ยอดเงินสนับสนุน 650 ล้านบาท

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

 

สนับสนุนเกษตรกรตลอดทั้งปี

  

ยอดสนับสนุน


โครงการต่อเนื่อง สนับสนุนผลผลิตจากเกษตรกร ช่วงฤดูกาลผลไม้ออกสู่ตลาด

โลตัสช่วยเหลือเกษตรกรไทยลดปัญหาผลผลิตล้นตลาดหรือราคาตกต่ำ และสร้างรายได้ที่ยั่งบยืน สนับสนุนนโยบายการบริหารจัดการผลไม้เชิงรุก ปี 2566 ของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ร่วมเป็นช่องทางกระจายผลไม้ตามฤดูกาลที่มีคุณภาพให้กับเกษตรกรชาวสวน ผ่านสาขาของโลตัสกว่า 2,300 แห่งทั่วประเทศ รวมถึงช่องทางออนไลน์

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

    

รับซื้อผลไม้ฤดูกาลกว่า

  

ระบายผลไม้ตามฤดูกาลให้เกษตรกรชาวสวนมากกว่า

  

สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรกว่า


โครงการรับซื้อผลผลิตโดยตรงจากเกษตรกร (โนนเขวาโมเดล)

โครงการรับซื้อผลผลิตโดยตรงจากเกษตรกร เป็นโครงการที่สร้างรายได้ที่เป็นธรรมและมั่นคงให้แก่เกษตรกร อีกทั้งยังยกระดับมาตรฐานการเพาะปลูกพืช ผ่านความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ อาทิ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่น โดยมีเป้าหมายให้กลุ่มเกษตรกรสามารถบริหารจัดการการเพาะปลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพมีความเข้มแข็ง มีอำนาจในการต่อรอง ด้วยการสนับสนุนให้เกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงรวมตัวกันตามนโยบายเกษตรแปลงใหญ่ของภาครัฐ ในปี 2561 กลุ่มเกษตรกรบ้านโนนเขวา ตำบลดอนหัน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ได้รวมตัวกันภายใต้โนนเขวาโมเดลใช้หลักการตลาดนำการผลิตมีผู้จัดการฟาร์มของโลตัส ทำงานอย่างใกล้ชิดกับเกษตรกรและหน่วยงานภาครัฐ ในการยกระดับมาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าเกษตร มีการวางแผนการเพาะปลูกและจัดการรับซื้อล่วงหน้าตามนโยบายการตลาดนำการผลิตรวมไปถึงการสนับสนุนโอกาสในการส่งสินค้าเกษตรภายในเครือข่าย โลตัส อีกด้วย ในปัจจุบันโลตัสมีแปลงปลูกผักในรูปแบบ Farm Model 4 แหล่งหลัก ในทั้ง 4 ภูมิภาคของประเทศไทย สร้างอาชีพรายได้ที่เป็นธรรม และมั่นคง ให้กับเกษตรกรกว่า 1,700 ครัวเรือน การทำงานโดยใกล้ชิดกับกลุ่มเกษตรกรในรูปแบบ Farm Model ทำให้ความสามารถคบคุมและกำกับดูแลมาตรฐานด้านความปลอดภัยและคุณภาพสินค้า ทราบถึงแหล่งที่มา ส่งต่อผักสดคุณภาพสูงให้ลูกค้าได้

ปัจจุบันโลตัสรับซื้อผัก 25 ชนิด จากเกษตรกรบ้านโนนเขวากว่า 153 ครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่กว่า 400 ไร่ ในปริมาณกว่า 15 ตันต่อปี สร้างรายได้เสริมต่อครัวเรือน 0.78 ล้านบาทต่อเดือน

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

 

จำนวนเกษตรกรทุกภูมิภาคที่เข้าร่วมโครงการ

 

ปริมาณการรับซื้อผลิตผลทางการเกษตร

 

มูลค่าการรับซื้อ


โครงการหลวงรับซื้อผลผลิตต่อเนื่อง

โลตัสขยายความร่วมมือมูลนิธิโครงการหลวงต่อเนื่องกว่า 28 ปี ส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้เกษตรกรชาวเขา รวมถึงช่วยลูกค้าและประชาชนเข้าถึงสินค้า ผัก และผลไม้สดคุณภาพสูงในราคาที่เอื้อมถึง

  • รับซื้อผลผลิตจาก "ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง แม่เหียะ แม่แฮ และเลอตอ" ส่งจำหน่ายที่สาขาของโลตัสทั่วประเทศและช่องทางออนไลน์
  • จำหน่ายสินค้าโครงการหลวงกว่า 700 รายการ ในโลตัส ไฮเปอร์มาร์เก็ต 220 สาขา สร้างรายได้กว่า 100 ล้านบาท
  • สนับสนุนระบบน้ำ มอบถังเก็บน้ำจำนวน 45 ถัง พร้อมระบบน้ำเพื่อการผลิต มูลค่ารวม 300,000 บาท

โครงการ ซีพี ออลล์ เปิดพื้นที่สร้างโอกาส

ซีพี ออลล์ จัดสรรพื้นที่หน้าร้าน 7-Eleven ให้แก่องค์กรคนพิการและกลุ่มเปราะบางที่มีศักยภาพ มีความพร้อม และมีผลิตภัณฑ์โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 เพื่อเป็นช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากกลุ่มคนพิการ ผู้ดูแลคนพิการ และกลุ่มเปราะบาง นำมาสู่การสร้างรายได้และการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน นำมาสู่การสร้างรายได้และการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน โดยในปี 2566 จัดสรรพื้นที่หน้าร้านให้กับองค์กรคนพิการและกลุ่มเปราะบางสะสมรวม 12 แห่ง และมีจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการสะสม 5,041 ราย


โครงการตลาดนัดส่งเสริมอาชีพอิสระ

โลตัสร่วมกับกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน จัดกิจกรรมตลาดนัดส่งเสริมอาชีพอิสระ ณ โลตัส สาขาพัทยาใต้ จังหวัดชลบุรี สนับสนุนสร้างโอกาสการมีอาชีพ เสริมรายได้ จุดประกายความคิดในการประกอบอาชีพเพื่อขับเคลื่อนมาตรการส่งเสริมกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้านได้ มีช่องทางการจำหน่ายสินค้า เพื่อช่วยสร้างรายได้ สามารถพึ่งพาตนเองและมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยกิจกรรมดังกล่าว โลตัสได้สนับสนุนพื้นที่จำหน่ายสินค้าให้แก่กลุ่มรับงานไปทำที่บ้าน 5 กลุ่ม คือ

  • บ้านคนพิเศษ วิสาหกิจเพื่อสังคม BY ออทิสติก ชลบุรี
  • วิสาหกิจชุมชน กลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และอายุวัฒนะ บ้านเนินแสนสุข
  • กลุ่มบ้านโป่งดินดำ
  • ศูนย์เทคโนโลยีการเกษตรคนพิการ
  • กลุ่มสินค้าจิปาถะ

โดยช่วยเหลือกลุ่มผู้รับงาานไปทำที่บ้าน จำนวน 30 ราย มูลลค่าการใช้จ่าย 5,000 บาท

2. ให้ความรู้ การพัฒนา : พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการที่เหมาะสม สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการ

วงจรของการเป็นผู้ประกอบการ

เพื่อใหม่

(ผู้ประกอบการทั่วไป)

  • ระบบการตรวจประเมินผู้ประกอบการที่สามรถทำให้คู่ค้ากลุ่มเพื่อนใหม่กลายเป็นคู่ค้าธุรกิจได้ในอนาคต
  • ระบบจับคู่ธุรกิจ ภายใต้ฐานข้อมูลของผู้ประกอบการ

เพื่อนสนิท

(ผู้ประกอบการที่เป็นคู่ค้าธุรกิจแล้ว)

  • ส่งเสริมการเตรียมตัวสู่โมเดิร์นเทรด หรือการตลาดค้าปลีกแบบใหม่ที่เปิดรับสินค้าใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ
  • ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพหลากหลายด้าน เช่น ยกระดับคุณภาพสินค้าและการผลิตเพื่อให้ได้มาตรฐาน การออกแบบ พัฒนาสินค้าให้ตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนไปของลูกค้าและการพัฒนาบรรจุภัณฑ์

เพื่อนแท้

(ผู้ประกอบการคู่ค้าธุรกิจที่มีการเติบโตและมีความพร้อมสูง)

  • ส่งเสริมการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอให้กับคู่ค้าของบริษัทที่มีอัตราการเติบโตสูง
  • ส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้สำหรับผู้ประกอบการและชุมชนที่บริษัทเข้าไปดำเนินธุรกิจผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ศูนย์ความรู้ SME การสัมมนาวิชาการ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน SME คลับเฮาส์

โครงการต่อเนื่อง ศูนย์ 7 สนับสนุน SMEs

ซีพี ออลล์ ขับเคลื่อนโครงการศูนย์ 7 สนับสนุน SMEs มุ่งพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในหลากหลายด้าน เพื่อสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับผู้ประกอบการให้เติบโตอย่างยั่งยืน ดังนี้

1

ด้านคน

องค์ความรู้หลักสูตรการพัฒนาในกระบวนการผลิต

2

ด้านโครงสร้างธุรกิจ

ยกระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้าชุมชนสู่ผู้ประกอบการ

3

ด้านเทคโนโลยี

เชื่อมเครือข่ายหน่วยงานในเครือมหาวิทยาลัยที่มีความพร้อมของเครือมือ/อุปกรณ์สนับสนุน

4

ด้านสินค้าและช่องทางการขาย

สนับสนุนสินค้ากลุ่มอื่นๆ ที่ขึ้นชื่อ สู่ช่องทางการขายใหม่ๆ

โดยในปี 2566 โครงการศูนย์ 7 สนับสนุน SMEs พร้อมด้วยสำนักพัฒนาและประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ ร่วมกับฝ่ายพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐ เครือเจริญโภคภัณฑ์ จังหวัดน่าน ลงพื้นที่เยี่ยมชมกลุ่มผู้ผลิตสินค้าแปรรูปทางการเกษตร และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยเยี่ยมชมแหล่งวัตถุดิบ รวมถึงสถานที่ผลิตสินค้า ตลอดจนแนะนำและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ รวมถึงมุมมองในการดำเนินงาน พร้อมรับฟังปัญหาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาสินค้าและแก้ไขปัญหาร่วมกัน ซึ่งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสามารถเข้ารับการสนับสนุนพัฒนาและเข้าร่วม รับคำปรึกษาจากศูนย์ฯ และศึกษาดูงานผ่านโครงการพัฒนา SMEs สู่ความยั่งยืน (เพาะต้นกล้า)

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

 

จำนวนเกษตรกรและผู้ประกอบการที่ได้รับการสนับสนุนตามโครงการ

 

มูลค่าการสนับสนุนกว่า


ศูนย์ปฏิบัติการทดสอบ ซีพี ออลล์

เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพสินค้าของ SMEs ผ่านการรับรองคุณภาพ เพิ่มโอกาสในการขาย ศูนย์ปฏิบัติการทดสอบ ซีพี ออลล์ พร้อมเคียงข้างผู้ประกอบการด้วยบริการตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ ดำเนินงานภายใต้มาตรฐาน ISO/IEC 17025: 2017 ซึ่งเป็นมาตรฐานของห้องปฏิบัติการที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ภายใต้การบริหารงานของสำนักพัฒนาและประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ ซีพี ออลล์ โดยดำเนินตามเกณฑ์ข้อกำหนด ดังนี้

ความเป็นกลางและรักษาความลับของลูกค้า

บุคลากรปฏิบัติงานอย่างเป็น
กลางและมีความสามารถและปฏิบัติงานตามระบบบริหาร

มาตรฐานควบคุมและเฝ้าระวัง และมีการทบทวนแผนเป็นระยะเพื่อป้องกันอย่างเหมาะสม

ทดสอบความใช้ได้ของวิธี และเลือกใช้วิธีที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ตัวอย่าง

เครื่องมือที่ทันสมัยและได้มาตรฐาน มีผลการสอบเทียบอย่างสม่ำเสมอ

การทดสอบความชำนาญอย่างสม่ำเสมอ

การควบคุมคุณภาพของผลการทดสอบ

การควบคุมผลการทดสอบและได้รับการอนุมัติก่อนออกผลทุกครั้ง

ปัจจุบันศูนย์ปฏิบัติการทดสอบ ซีพี ออลล์ ให้บริการใน 4 ด้าน ได้แก่

ศูนย์ปฏิบัติการทดสอบ

ให้บริการทดสอบทางด้านจุลินทรีย์และเคมี เช่น ตรวจสอบสารเคมีตกค้างในผลิตภัณฑ์




Food Ingredient Innovation Center (FIIC)

ศูนย์พัฒนาและให้คำปรึกษาด้านวัตถุดิบและสินค้าครบวงจร และให้คำปรึกษาด้านพัฒนาเมนูอาหาร



ศูนย์ที่ปรึกษาด้านพัฒนาสูตรอาหาร

โดยทีมงาน Chef ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการพัฒนาสูตรอาหารระดับภาคอุตสาหกรรมทั้งสูตรเฉพาะ ทั้งอาหารไทย จีน และนานาชาติ


Sensory Evaluation Center

ให้บริการทดสอบทางประสาทสัมผัสสำหรับผลิตภัณฑ์อาหาร รวมถึงให้บริการให้คำปรึกษาด้านต่างๆ ตามความต้องการของผู้ประกอบการ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักกากรผลิตทางด้าน GMP และความปลอดภัยอาหาร

รวมถึงบริการแนะนำด้านการศึกษาอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ และบริการปรึกษาด้านสุขภาพอนามัยสถานประกอบการที่สำคัญมุ่งเน้นเพื่อช่วยผู้ประกกอบการในด้านต่างๆ โดยมีส่วนช่วยในการลดภาระค่าใช้จ่าย ด้านการทดสอบผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ผู้ประกอบการมีศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพและอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังมีบริการให้คำแนะนำทางด้านสุขลักษณะในสถานประกอบการ เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย ได้มาตรฐาน ออกสู่ท้องตลาดได้อย่างมั่นใจ เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความมั่นคงและธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ในปี 2566 ผู้ประกอบการที่เข้าร่วม 114 ราย

การส่งเสริม พัฒนาศักยภาพและให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการ SMEs

โครงการต่อเนื่อง Business Accelerator

บริษัทร่วมมือกับหอการค้าไทย สภาหอการค้าไทย เตรียมความพร้อมผู้ประกอบการ ขยายสู่ช่องทางโมเดิร์นเทรด ผ่านระบบประชุมทางไกล โดยมีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำ ส่งมอบองค์ความรู้จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจเป็นระยะเวลา 4 เดือน ตลอดจนกิจกรรมนำเสนอความคิดเพื่อโน้มน้าวผู้ลงทุน เพื่อซักซ้อมการนำเสนอสินค้าเสมือนจริงกับโมเดิร์นเทรดต่างๆ ถือเป็นโครงการที่จะสร้างความเข้มแข็ง สร้างโอกาสในการขยายตลาด ขยายเครือข่ายพันธมิตรให้กับสมาชิกผู้ประกอบการ โดยรุ่นที่ 3 มีผู้ประกอบการเข้าร่วม 60 ราย


โครงการต่อเนื่อง พี่ช่วยน้อง ปีที่ 7

โครงการพี่เลี้ยงทางธุรกิจร่วมกับหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย พร้อมหน่วยงานพี่เลี้ยงกว่า 22 หน่วยงาน สนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง ผ่าน

  • การดูแลแบบรวม 54 ราย เช่น การประชุมกับผู้บริหาร เยี่ยมพื้นที่ปฏิบัติการ ห้องเรียนด้านการเงิน และการสร้างแรงบันดาลใจเกี่ยวกับกลยุทธ์ธุรกิจ เป็นต้น
  • การดูแลแบบเข้มข้น (เฉพาะผู้ประกอบการที่ผ่านคัดเลือก 3 ราย ลงพื้นที่ปฏิบัติงานจริง ประเมินหาโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ

โครงการปีที่ 7 ได้รวบรวมผลลัพธ์จากบริษัทที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 54 บริษัท จากการเข้าร่วมโครงการพบว่าผู้ประกอบการ 39 ราย (ร้อยละ 72) สามารถประเมินเป็นมูลค่าของรายได้และกำไรที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจรวมทั้งสิ้น 961.72 ล้านบาท


โครงการต่อเนื่อง ให้คำปรึกษา SMEs

โครงการเปิดให้ผู้ประกอบการ ผู้ผลิตสินค้าซักถามข้อสงสัยและปรึกษาเกี่ยวกับกระบวนการผลิต เงินทุน และองค์ความรู้ในการพัฒนาธุรกิจ ในปี 2566 ให้คำปรึกษาแก่ SMEs ผ่านโครงการ SMEs DBank โครงการ SME Biz Up โครงการ DIPROM และโครงการ SME Service Solution Center รวม 50 ราย

  • บริการให้คำปรึกษาเบื้องต้นแก่ผู้ประกอบการที่ต้องการเสนอสินค้า
  • วิเคราะห์ทดสอบคุณสมบัติและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อาทิ ส่วนผสม การทำสูตรอาหาร การประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส การตรวจเชื้อในอาหาร
  • การปรับปรุงกระบวนการผลิต
  • พัฒนาบรรจุภัณฑ์ การตลาดและประชาสัมพันธ์ แนะนำการใช้สื่อที่เหมาะสมกับช่องทางขาย
  • จับคู่กับผู้ผลิตสินค้า
  • จัดหาแหล่งเงินทุน ให้คำปรึกษาด้านการเขียนแผนธุรกิจจับคู่กับแหล่งเงินทุน
  • จัดอบรมและสัมมนาสมาชิก

นอกจากนี้ บริษัทให้บริการเชื่อมโยงทั้งหน่วยงานภายในและภายนอก เพื่อสนับสนุน SMEs อาทิ โครงการอุดหนุนจากทางกรมส่งเสริมอุสาหกรรม (กสอ.) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) โปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ รวมถึงส่วนลดค่าบริการพิเศษจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) CPALL Food Tech All Now และพีไอเอ็ม Food Academy เป็นต้น


โครงการต่อเนื่อง ตลาดนัดโชห่วย

แม็คโครให้ความสำคัญพันธกิจส่งเสริมสนับสนุนธุรกิจค้าปลีก รายย่อยและ SMEs ในทุกด้าน โดยเฉพาะโชห่วยที่เป็นกำลังสำคัญของเศรษฐกิจไทย ตลอดระยะเวลา 34 ปี เราได้พัฒนให้ความรู้และสร้างโชห่วยยุคใหม่ผ่านโครงการมิตรแท้โชห่วย ซึ่งเราได้ทำงานร่วมกับร้านค้าปลีกรายย่อยหรือโชห่วยกว่า 500,000 ราย ทั่วประเทศ ในการเป็นศูนย์รวมองค์ความรู้และเทคโนโลยี รวมทั้งเทคนิคการบริหารร้านค้าให้พัฒนาขึ้นเป็น สมาร์ตโชห่วย ร้านจึงตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ยังคงเสน่ห์ความเป็นศูนย์กลางชุมชนไว้ได้ดังเดิม รวมถึงยังนำเสนอทางเลือกการทำร้านค้าปลีกแบบสำเร็จรูปที่ง่าย มีประสิทธิภาพ และเพิ่มผลกำไร ผ่านโมเดลร้านค้าปลีกชุมชน ร้านมิตรแท้โชห่วย โดยในปี 2566 การจัดงานตลาดนัดโชห่วยภายใต้แนวคิด "่มิตรแลนด์ ดินแดนสมาร์ตโชห่วย" โดยรวบรวมองค์ความรู้ที่จะให้โชห่วยประสบความสำเร็จได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ผ่านกลยุทธ์ 3 ส. ได้แก่

  • สมาร์ต คือ พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการให้ดำเนินธุรกิจได้สมาร์ตหรือทันสมัยขึ้น ให้คุณเป็นมืออาชีพด้วย "แม็คโครโปร" Super App ที่ช่วยโชห่วยให้ สั่ง ขาย คุ้มในแอปเดียว พร้อมสิทธิพิเศษจากแม็คโครโปรพอยต์
  • สร้างกำไร สินค้าขายดีที่โชห่วย ต้องมีติดร้าน จากแบรนด์ชั้นนำกว่า 200 แบรนด์ ในราคาพิเศษที่พบได้เฉพาะในงาน
  • ใส่ใจทุกความสำเร็จ เคล็ดลับการเปลี่ยนโชห่วยธรรมดาให้เป็นโชห่วยสุดสมาร์ตด้วยเวิร์กชอป แนะเทคนิคสร้างกำไรและการพัฒนาร้านค้า

ในปี 2566 มีผู้ประกอบการโชห่วยเข้าร่วมงาน 36,483 ราย


โครงการต่อเนื่อง MAKRO HORECA ACADEMYH (MHA) เพื่อนคู่คิดแบบครบวงจรสำหรับผู้ประกอบการร้านอาหาร

บริษัทสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย ภายใต้พันธกิจหลักของโครงการ MHA เป็นเพื่อคู่คิดผู้ประกอบการรายใหม่ และสร้างการเติบโตในกลุ่มธุรกิจ HORECA-โรงแรม ร้านอาหาร และธุรกิจจัดเลี้ยง ผ่านการให้ความรู้ด้านการบริหารจัดการและทักษะการประกอบอาหารอย่างมืออาชีพ ทั้งระบบออฟไลน์และออนไลน์ รวมถึงอบรมหลักสูตรการทำอาหารครอบคลุมทุกขั้นตอน ตั้งแต่การจัดกเตรียมวัตถุดิบ ปรุงสูตร การบริหารการเงิน ตลอดจนเทคนิคการตลาดและการโฆษณา เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้เข้าร่วมสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา พร้อมมอบสิทธิประโยชน์เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้แก่ผู้ประกอบการ

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

 

สมาชิกผู้ประกอบการ HORECA ที่เข้าร่วมโครงการกว่า

 

ยอดผู้ติดตามสะสมใน Facebook กว่า

 

ผู้รับชม VDO ทุกช่องทาง มียอดสะสมกว่า

 

มียอดการเข้าเรียนหลักสูตรออนไลน์


โครงกาารยกระดับผู้ประกอบการ Lotus's SMART SME ติวเข้ม SME สู่เถ้าแก่แฟรนไชส์

โลตัสร่วมกับบริษัท พีเอ็มจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด ออกแบบหลักสูตรพิเศษ Lotus's SMART SME ติวเข้ม SMEs สู่เถ้าแก่แฟรนไซส์ เพื่อยกระดับความรู้ด้านการขยายธุรกิจแฟรนไชส์ พร้อมสนับสนุนพื้นที่เช่าสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยในโลตัสกว่า 2,300 สาขาทั่วประเทศ รวมทั้งช่องทางออนไลน์ สนับสนุนให้ผู้มีประกอบการเข้าสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด เปิดโอกาสให้เข้าร่วมกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจ นอกจากนี้ ยังร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนสร้างเครือข่ายในการพัฒนาผู้ประกอบการแบบรอบด้าน สอดคล้องกับความมั่นคงของโลตัสในการเป็นแพลตฟอร์มแห่งโอกาสสำหรับผู้ประกอบการ SME ให้เติบโตไปด้วยอย่างยั่งยืน

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

    

ผู้ประกอบการผ่านการอบรมหลักสูตร Lotus's SMART
SME ติวเข้ม SME สู่เถ้าแก่แฟรนไชส์

 

สนับสนุนพื้นที่เช่าสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยในโลตัสกว่า


โครงการยกระดับมาตรฐานการผลิตกลุ่มสินค้าเกษตร

ซีพี ออลล์ จัดสัมนาออนไลน์แก่ผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มสินค้าเกษตร เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิต ด้วยการให้ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อต่างๆ ดังนี้

  • การจัดการผลผลิตในสภาพอากาศแปรปรวน
  • การสร้างแบรนด์ เพื่อยกระดับภาพลักษณ์กลุ่มสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน
  • ต้นแบบการพัฒนาระบบการตรวจสอบย้อนกลับสินค้าเกษตร
  • การยกระดับด้านคุณภาพกลุ่มผู้ประกอบการสินค้าเกษตร

โดยในปี 2566 จำนวนเกษตรกรกและผู้ประกอบการที่เข้าร่วม จำนวน 200 ราย


โครงการ "เรียนรู้ คู่ชุมชน" ภายใต้กิจกรรมศึกษาดูงานด้านการเกษตร

บริษัท ซีพีแรม จำกัด โดยศูนย์วิชาการเกษตร ร่วมส่งเสริมความรู้และอาชีพให้กับกลุ่มเกษตรกรและชุมชน ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ลำพูน ขอนแก่น และสุราษฎร์ธานี โดยการสนับสนุนการศึกษาดูงานเกี่ยวกับจุดเรียนรู้ไม้เศรษฐกิจ การปลูกพืช 9 ระดับ สวนไม้ผล การเลี้ยงปศุสัตว์ โรงตัดแต่ง-ตัด-บรรุ และโรงเพาะกล้า ตามหลักปัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นการเพิ่มองค์ความรู้ด้านการเพาะปลูก การจัดการสวน และการคัดบรรจุผลผลิตให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ซึ่งกลุ่มเกษตรกรสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ และต่อยอดให้เหมาะสมในอนาคต ในปี 2566 มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 97 ราย


โครงการปลูกรัก

บริษัท ซีพีแรม จำกัด โดยศูนย์วิชาการเกษตร ส่งมอบแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตร เพื่อใช้เป็นแหล่งการเรียนรู้วิชาการเกษตร เพิ่มพูนความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพให้กับชุมชน ภายใต้ โครงการปลูกรัก จากการถ่ายทอดความรู้ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมปลูกผักปลอดภัย และกิจกรรมปลูกพืชไม่ใช้ดิน ในชุมชนพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ขอนแก่น ลำพูน และสุราษฎร์ธานี เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านการเกษตร เพิ่มทักษะวิธีการปลูก โดยในปี 2566 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 115 ราย

3. ให้การเชื่อมโยง

โครงการต่อเนื่อง จับคู่ธุรกิจ และโครงการจับคู่โมเดลธุรกิจ

โครงการมีการส่งเสริมการจับคู่โมเดลธุรกิจ เพื่อช่วยเหลือ SMEs ให้มีโอกาสเติบโตและยกระดับสินค้าสู่ระดับประเทศ โดยคัดเลือก SMEs ที่มีความมุ่งมั่นต้องการพัฒนาสินค้าของตนเข้าร่วมโครงการ เพื่อพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยของกระบวนการผลิต มาตรฐานโรงงาน พัฒนาสูตรสินค้าให้มีอายุวางขายยาวนานขึ้น รวมถึงพัฒนาบรรจุภัณฑ์และสนับสนุนการกระจายสินค้าผ่านร้าน 7-Eleven ทั่วประเทศ

ในปี 2566 บริษัทสนับสนุน SMEs ในการต่อยอดธุรกิจ สร้างโอกาสให้คำแนะนำ ให้โอกาสผ่อนการจับคู่ธุรกิจ มีสินค้าเข้าร่วมในการจับคู่ธุรกิจกว่า 300 รายการ อาทิ การจับคู่ธุรกิจระหว่างวิสาหกิจบ้านดอนทอง จับมือ วี ฟาร์ม และ 7-Eleven ดำเนินการร่วมพัฒนาสูตรเฉพาะที่อร่อย มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ผลิตเป็นสินค้าตรา วี ฟาร์ม กล้วยหอมทองทอด สร้างธุรกิจเกื้อกูลสำหรับ SMEs ดันสินค้าโอทอป 5 ดาว จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านดอนทองปั่นกล้วยหอมทองทอดกรอบ เข้าตลาดขนมขบเคี้ยวท้องถิ่น

ยืนหยัดเคียงข้างชุมชนและสังคมไทย เสมือน เพื่อที่ห่วงใย ใกล้ๆ คุณ

โครงการต่อเนื่อง "จิตสาธารณะ ร่วมพัฒนาและสร้างสัมพันธ์กับชุมชน"

บริษัทสนับสนุนการมีส่วนร่วมขอชุมชนด้วยหลัก 3 ประโยชน์ รับฟัง และวิเคราะห์ความต้องการของชุมชนรอบร้านในพื้นที่รัศมีไม่เกิน 5 กิโลเมตร และตอบสนองความต้องการผ่านกิจกรรมหลัก 6 ด้าน ประกอบด้วย

  • กิจกรรมสนับสนุนวันสำคัญต่างๆ ของชุมชน
  • กิจกรรมส่งเสริมการแบ่งปันและสร้างความสะดวกให้ชุมชน อาทิ ตลาดนัดชุมชน ศูนย์รวมสุขภาพดีของชุมชน เป็นสะพานบุญร่วมรับบริจาคเพื่อส่งต่อธารน้ำใจให้ผู้ด้อยโอกาสในชุมชน สร้างอาชีพเพิ่มรายได้ให้กับไรเดอร์ชุมชน
  • กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาเยาวชน อาทิ สนับสนุนอุปกรณ์การเรียน การสอน มอบทุนการศึกษา ปรับปรุงสภาพแวดล้อมโรงเรียน
  • กิจกรรมด้านสาธารณประโยชน์โดยพนักงานร้าน 7-Eleven และพนักงานจิตสาธารณะของ ซีพี ออลล์
  • กิจกรรมด้านส่งเสริมศาสนาซึ่งเป็นศูนย์กลางยึดเหนี่ยวจิตใจของชุมชน
  • กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชน อาทิ การปลูกต้นไม้ การจัดการขยะชุมชน ซึ่งแนวทางดังกล่าวครอบคลุมถึงพื้นที่ดำเนินการที่สำคัญของบริษัท ได้แก่ ศูนย์กระจายสินค้า ศูนย์จำหน่ายแม็คโคร โลตัส โรงงานผลิตอาหาร ซีพีแรม เป็นต้น

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

 

จำนวนพนักงานที่เข้าร่วมโครงการ

 

จำนวนชั่วโมงรวมจิตอาสา

 

จำนวนคนในชุมชนเข้าร่วมโครงการ

 

งบประมาณสนับสนุนจิตอาสา


โครงการบุญนิธิแสตมป์เซเว่นเพื่อสาธารณกุศลทุกภูมิภาค

ซีพี ออลล์ จัดแคมเปญ "แสตมป์ 7-Eleven ป่วนสนุก BROWN & MINIONS" โดยแสตมป์ 7-Eleven นอกจากนำมาใช้เป็นส่วนลดแทนเงินสดแลกสินค้าพรีเมียมแล้ว สามารถนำไปทำบุญส่งต่อสิ่งดีๆ ให้สังคมชุมชน ทำดีทำบุญ 24 ชั่วโมง ผ่าน "โครงการบุญนิธิแสตมป์เซเว่นเพื่อสาธารณกุศลทุกภูมิภาค" จากการติดแสตมป์ที่โปสเตอร์ในร้าน 7-Eleven หรือ บริจาค M-Stamp ผ่านทางแอปพลิเคชัน 7App เพื่อนำไปช่วยเหลือสาธารณกุศล 4 ด้าน ได้แก่

  • วัดและโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร
  • เด็กด้อยโอกาส
  • ครูและบุคลากรทางการศึกษา
  • สงเคราะห์สัตว์

โดยในปี 2566 ยอดบริจาคแสตมป์เพื่อสาธารณกุศล เป็นจำนวนเงินกว่า 6.01 ล้านบาท


โครงการต่อเนื่อง สร้างสัมพันธ์และบรรเทาสาธารณภัยให้กับชุมชน

  • โครงการส่งกำลังใจให้ "My Hero" ในการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของหน่วยงานกู้ภัยและกู้ชีพมอบอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ที่จำเป็นสำหรับช่วยเหลือประชาชนให้กับหน่วยงานกู้ภัยและกู้ชีพ อาทิ อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล เพื่อสนับสนุนการทำงานของหน่วยกู้ภัย กู้ชีพ ที่มีอุปกรณ์ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติหน้าที่ในการใช้ดูแลความปลอดภัยให้กับชุมชน
  • การเข้าร่วมระงับเหตุภัยพิบัติต่างๆ อาทิ ไฟไหม้ น้ำท่วม ช่วยเหลือกู้ภัยที่ประสบเหตุได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต รวมถึงช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุภัยพิบัติต่างๆ พร้อมทั้งมีกองเรือเจ็ตสกีอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในเหตุการณ์น้ำท่วม
  • ให้ความรู้เรื่องดับเพลิงขั้นต้น และฝึกซ้อมอพยพหนีไฟให้กับชุมชน กลุ่มเปราะบาง หน่วยงานราชการ รวมถึงทีมกู้ภัย กู้ชีพ
  • มอบอาหารและน้ำดื่มให้กับผู้อพยพหรือผู้ประสบภัย รวมถึงทีมกู้ชีพ กู้ภัย
  • มอบเงินช่วยเหลือให้กับทีมกู้ภัย กู้ชีพที่ได้รับบาดเจ็บในกรณีเข้าเผชิญเหตุ
  • มอบทุนการศึกษาให้กับบุตร ธิดาของทีมกู้ภัย กู้ชีพที่เสียชีวิตจนเรียนจบมหาวิทยาลัย

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

 

จำนวนผู้ได้รับการฝึกอบรม

    

หน่วยงานกู้ภัย กู้ชีพที่ได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์

 

จำนวนผู้ประสบภัยที่เข้าถึงอาหารและน้ำ

 

งบประมาณสนับสนุน

นอกจากนี้ บริษัท ซีพีแรก จำกัด บริษัทในกลุ่ม ซีพี ออลล์ ร่วมกับเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ และโรงเรียนบ้านหนองปรือ (ชลบุรี) จัดโครงการปฏิบัติการสร้างความปลอดภัยในโรงเรียน "CPRAM Safety to School" เพื่อสร้างความรู้ให้กับคณะครูและนักเรียนในการดับเพลิงเบื้องต้น การป้องกันอัคคีภัย และการอพยพหนีไฟ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดเหตุอัคคีภัยในโรงเรียน รวมถึงสร้างความตระหนักด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน จากการจัดบูธให้ความรู้ด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม โดยในปี 2566 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 1,176 ราย


โครงการต่อเนื่อง Heart of Hearing เอื้อกัน ปันโอกาส

บริษัทดำเนินโครงการฝึกอบรมอาชีพ และสนับสนุนทักษะการชงกาแฟ ให้แก่นักเรียนผู้พิการทางการได้ยินในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อให้นักเรียนจากห้องเรียนกาแฟสามารถเพิ่มทางเลือกในการประกอบอาชีพในอนาคตอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 4

ในปี 2566 โครงการต่อยอดการจัดอบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ หลักสูตรการชงกาแฟเบื้องต้นให้แก่นักเรียนและครูโรงเรียนโสตศึกษา จำนวน 203 ราย และส่งเสริมการต่อยอดทักษะอย่างต่อเนื่อง โดยการจัดการแข่งขันโครงการ YOUNG BARISTA CAMP 2566 ให้กับผู้บกพร่องทางการได้ยิน โดยมีตัวแทนจากนักเรียนโรงเรียนโสตศึกษาที่เคยได้รับการอบรมจำนวน 4 โรงเรียน โรงเรียนละ 7 คน เข้าร่วมการแข่งขันดังกล่าว


โครงการต่อเนื่อง ก้าวที่พลาด สู่โอกาสสายอาชีพ

เป็นการเปิดโลกอาชีพด้านกาแฟและเบเกอรี่ให้กับผู้ก้าวพลาดในชีวิตที่ศูนย์สร้างโอกาสกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม จำนวน 6 แห่ง เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนกลับเข้าสู่สังคมและโครงการ A Better Life สร้างชีวิตเพื่อสังคม ส่งน้องกลับบ้าน รับน้องร่วมงาน โดยการสร้างร้านต้นแบบเป็นศูนย์ฝึกเอกชน ได้แก่ ร้านเบลลินี่ สาขากระทรวงยุติธรรม เพื่อฝึกอาชีพเยาวชนกรมพินิจต่อเนื่องเป็นรุ่นที่ 7 โดยในปี 2566 ได้จัดขึ้นทั้งหมด 3 รุ่น รุ่นละ 2 ราย และบรรจุเข้าทำงาน ณ ร้านสาขาของบริษัท และได้ขยายโอกาสไปยังร้านเบลลินี่ สาขาเชียงใหม่ โดยจะรับเข้าฝึกงานจำนวน 2 ราย ในปี 2567


โครงการต่อเนื่อง CPRAM We Care ใส่ใจห่วงใยชุมชน

บริษัท ซีพีแรม จำกัด (ลาดกระบัง) ส่งมอบความเป็นอยู่ที่ดี โดยส่งมอบถุงยังชีพให้กับกลุ่มเปราะบาง ผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มผู้มีรายได้น้อยในเขตชุมชนที่อยู่บริเวณรอบโรงงาน ตลอดจนจัดกิจกรรม "จิตสาธารณะ" พัฒนาและทำนุบำรุงบริเวณศาสนสถาน พร้อมทั้งเลี้ยงอาหารกลางวันแก่นักเรียน และชุมชนโดยรอบต่อเนื่องเป็นปีที่ 4

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

 

จำนวนกลุ่มเปราะบางในชุมชนที่ได้รับการบริจาค

 

จำนวนพนักงานเข้าร่วมโครงการ

 

งบประมาณในการสนับสนุน


โครงการต่อเนื่อง "เสริมอาชีพ สร้างรายได้สู่ชุมชน" ปี 4

บริษัท ซีพีแรม จำกัด (ลาดกระบัง) เปิดพื้นที่จำหน่ายสินค้าให้กับชุมชนผ่านโครงการ "เสริมอาชีพ สร้างรายได้สู่ชุมชน" ปีที่ 4 เพื่อให้ชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง จำนวน 7 ชุมชน มาร่วมจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ของชุมชน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ชุมชนนำมาจำหน่าย เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทางซีพีแรมสนับสนุน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้สู่ชุมชนตลอดระยะเวลา 4 ปี ที่ผ่านมา ซีพีแรม ลาดกระบัง จัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น และเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้า อีกทั้งยังเป็นการเปิดฮกาสให้กับพนักงานในองค์กร พนักงานบริษัทข้างเคียง และประชาชนโดยรอบ ได้เลือกซื้อสินค้าจากชุมชน นอกจากนี้ ยังเป็นการช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน และบริษัทรอบข้าง ในปี 2566 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 400 ราย สามารถสร้างรายได้แก่ชุมชนมากกว่า 49,300 บาท


โครงการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมกลุ่มเปราะบาง

บริษัท ซีพีแรม จำกัด (ขอนแก่น) ร่วมกับ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และบริษัท ทรู คอร์เปเรชั่น จำกัด (มหาชน) จัดอบรมให้ความรู้ด้าน GMP และการจัดการวัตถุดิบทางการเกษตรก่อนส่งมอบ เช่น พริกขี้หนูแดง หอมแดง กระเทียมไทย และต้นหอม ให้ได้มาตรฐาน GMP ให้กับกลุ่มคนเปราะบาง ณ สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย (สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง) ซึ่งวัตถุดิบทางการเกษตรดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ต่อในกระบวนการผลิตอาหารพร้อมรับประทานของ ซีพีแรม เช่น ข้าวกะเพราหมู ข้าวกะเพราไก่ไข่ดาว ข้าวเหนียวลาดหมู ปลาผัดพริกสด และเส้นใหญ่ผัดซีอิ้วหมู ฯลฯ ที่จำหน่ายในร้าน 7-Eleven ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยในปี 2566 มีปริมาณการจัดซื้อวัตถุดิบ 134 ตัน รวมมูลค่าการจัดซื้อ 13.8 ล้านบาท


โครงการ สร้างงาน สร้างอาชีพ

แม็คโครมุ่งเน้นให้เกิดการจ้างแรงงาน ผ่านกลยุทธ์ในการสนับสนุน 3 ด้าน 1) จ้างงานผ่านทุกส่วนในธุรกิจของแม็คโคร 2) การสร้างงานให้กลุ่มเปราะบาง เช่น กลุ่มคนพิการและผู้ต้องขัง 3) การสร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกร และ SMEs รวมถึงผู้ประกอบการรายย่อยที่แม็คโครจัดกิจกรรมรับสมัครงานและฝึกอบรมอาชีพอิสระให้แก่

  • ทหารกองประจำการใกล้ปลดประจำการ กองทัพเรือ: ที่มีความพร้อมและเข้าร่วมงานกับบริษํท 65 ราย มูลค่าการจ้างงาน 650,000 บาท และมีทหารกอบประจำการเข้าร่วมพัฒนาความรู้ ทักษะทางอาชีพกว่า 510 ราย
  • ผู้พิการ: แม็คโครร่วมกับกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ จัดอบรมหลักสูตรทำธุรกดิจอาหารด้วยเงินลงทุนน้อย เมนูทำงาน ขายคล่อง ส่งมอบโอกาสให้คนพิการ ศูนย์ส่งเสริมอาชีพคนพิการ โรงงานปีคนพิการสากล จังหวัดนนทบุรี ย้านศรีวนาไล จังหวัดอุบลราชธานี ศูนย์หยาดฝน จังหวัดเชียงใหม่ และศูนย์พัฒนาศักยภาพและอาชีพคนพิการ จังหวัดนครศรีธรรมราช ทั่วไทยมีอาชีพและรายได้ที่ยั่งยืน ผู้พิการเข้าร่วมอบรมหลักสูตร 200 ราย

โครงการ สร้างสุขวัยเก๋า

โลตัสร่วมกับกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดกิจกรรม "สร้างสุขวัะยเก๋า" เพื่อขยายโอกาสให้ผู้สูงอายุทั่วประเทศได้รับการฝึกอาชีพ สร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว รวมไปถึงใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ปี 2566 จัดกิจกรรมจำนวน 5 ครั้ง ได้แก่ โลตัส สาขาหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อาคารกีฬาเวสน์ 5 ศูนย์เยาวชน (ไทย-ญี่ปุ่น) โลตัส สาขาพัทยาใต้ จังหวัดชลบุรี โลตัส สาขาหางดง โดยภายในงานได้มีวิทยากรให้ความรู้ พร้อมกิจกรรมเวิร์กชอปให้กับกลุ่มผู้สูงอายุ อาทิ คอร์สเครื่องดื่มสุขภาพ และคอร์สอาหารสุขภาพ

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

 

สนับสนุนกลุ่มผู้สูงอายุ

สร้างทักษะและฝึกอาชีพให้ผู้สูงอายุสามารถนำไปประกอบอาชีพได้

 

มูลค่าค่าใช้จ่าย

เว็บไซต์ cpall.co.th มีการเก็บคุกกี้ซึ่งเป็นการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน้า นโยบายการใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า