การจัดการขยะอย่างยั่งยืน
ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2566
ปริมาณของเสียที่นำกลับไปใช้ประโยชน์จากปริมาณของเสียทั้งหมด
ร้อยละ 63.83ปริมาณอาหารส่วนเกินหรือเหลือทิ้งทั้งหมดที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ และนำไปใช้ประโยชน์ในวัตถุประสงค์อื่นๆ จากปริมาณของเสียทั้งหมด
ร้อยละ 25.6760 ชุมชนเครือข่าย และ 2 สำนักงาน
ร่วมโครงการ "ต้นกล้าไร้ถัง"
คัดแยกขยะส่งเข้าสู่กระบวนการจัดการที่เหมาะสมได้
32.49 ตัน
การดำเนินงานที่สำคัญปี 2566
โครงการลดการตัดจ่ายสินค้าอาหารแบบบูรณาการ ลดปริมาณอาหารส่วนเกินหรือเหลือทิ้งได้
ให้กับ 520 ชุมชน
โครงการบริจาคอาหารส่วนเกิน
โครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิต ลดปริมาณการสูญเสียอาหารในกระบวนการผลิต
โครงการต่อเนื่องต้นกล้าไร้ถัง ขยายผลไปยังโรงเรียน ชุมชนเครือข่าย
ผู้ประกอบการ และสำนักงาน
ผู้มีส่วนได้เสียหลักที่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ
สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
SDG 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย
3.9 ลดจำนวนการตายและการป่วยจากสารเคมีอันตราย และจากการปนเปื้อนและมลพิษทางอากาศ น้ำ และดิน ให้ลดลงอย่างมาก
SDG 6 สร้างหลักประกันว่าจะมีการจัดให้มีน้ำและสุขอนามัยสำหรับทุกคน และมีการบริหารจัดการที่ยั่งยืน
6.3 ยกระดับคุณภาพน้ำโดยลดมลพิษ ขจัดการทิ้งขยะและลดการปล่อยสารเคมีและวัสดุอันตราย
SDG 11 ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความครอบคลุม ปลอดภัย มีภูมิต้านทานและยั่งยืน
11.6 ลดผลกระทบทางลบของเมืองต่อสิ่งแวดล้อมต่อหัวประชากร โดยรวมถึงการให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อคุณภาพอากาศและการจัดการของเสียของเทศบาลและอื่นๆ
SDG 12 สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
12.3 ลดขยะเศษอาหารในระดับค้าปลีกและผู้บริโภค และลดการสูญเสียอาหารจากกระบวนการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน
12.4 การจัดการสารเคมีและของเสียทุกชนิดตลอดวงจรชีวิตของสิ่งเหล่านั้นด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศที่ตกลงกันแล้ว และลดการปลดปล่อยสิ่งเหล่านั้นออกสู่อากาศ น้ำ และดิน อย่างมีนัยสำคัญ เพื่อจะลดผลกระทบทางลบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
125 ลดการผลิตของเสียโดยการป้องกัน การลด การแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ และการนำมาใช้ซ้ำ
ผลการดำเนินงานเทียบเป้าหมาย
เป้าหมายปี 2573
ร้อยละ 100ลดปริมาณอาหารส่วนเกินหรืออาหารเหลือที่ต้องนำไปทิ้งและลดปริมาณขยะที่เกิดจากการดำเนินงานของบริษัทที่ต้องนำไปสู่การฝังกลบ
ความคืบหน้าเทียบกับเป้าหมาย
ลดปริมาณอาหารส่วนเกินหรืออาหารเหลือที่ต้องนำไปทิ้งที่เกิดจากการดำเนินงานของบริษัทที่ต้องนำไปสู่การฝังกลบ
สรุปผลการดำเนินงาน ปี 2566
ปริมาณของเสียทั้งหมด
หมายเหตุ : รวมปริมาณของเสียอันตรายและของเสียไม่อันตราย
ปริมาณของเสียทั้งหมดต่อรายได้
หมายเหตุ : รวมปริมาณของเสียอันตรายและของเสียไม่อันตราย
ปริาณของเสียที่นำไปใช้ประโยชน์
หมายเหตุ : รวมปริมาณของเสียอันตรายและของเสียไม่อันตราย
ปริมาณของเสียที่นำไปกำจัด ด้วยวิธีฝังกลบ
หมายเหตุ : รวมปริมาณของเสียอันตรายและของเสียไม่อันตราย
ความครอบคลุมของข้อมูลปริมาณการกำจัดของเสีย
หมายเหตุ : รวมปริมาณของเสียอันตรายและของเสียไม่อันตราย
ปริมาณสูญเสียอาหารและขยะอาหารทั้งหมด
หมายเหตุ : รวมปริมาณของเสียอันตรายและของเสียไม่อันตราย
ความเข้มข้นของการสูญเสียอาหารและขยะอาหารทั้งหมดเปรียบเทียบกับยอดขายสินค้ากลุ่มอาหาร
ปริมาณสูญเสียอาหารและขยะอาหารทั้งหมด จำแนกตามกิจกรรมธุรกิจหรือวงจรชีวิต
การสูญเสียอาหารและขยะอาหาร จำแนกตามหมวดอาหาร
ปริมาณขยะอาหารที่นำกลับไปใช้ประโยชน์
ปริมาณขยะอาหารที่นำกลับไปใช้ประโยชน์ จำแนกตามวิธีกำจัด
ประเภทโครงการ | ชื่อโครงการ |
---|---|
โครงการวัดปริมาณสูญเสียอาหาร ขยะอาหาร และของเสีย |
|
โครงการลดปริมาณการสูญเสียอาหาร ขยะอาหาร และของเสีย |
|
โครงการลดปริมาณการสูญเสียอาหาร ขยะอาหาร ของเสีย กลับมาใช้ใหม่ |
|
ความเสี่ยงและโอกาส
สถาบันทรัพยากรโลกพบว่าการเพิ่มของของประชากรและการเติบโตของเศรษฐกิจในอนาคต ทำให้ความต้องการวัตถุดิบจากธัญพืชและสัตว์เพื่อใช้เป็นอาหารของมนุษย์เพิ่มขึ้น ซึ่งใช้ทรัพยากรที่มากในกระบวนการผลิต เช่น การปศุสัตว์ที่เพิ่มขึ้น การทำลายป่าเพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตร เป็นต้น นอกจากนี้ การใช้ทรัพยากรที่มากยังสร้างขยะอาหารระหว่างห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่กระบวนการเก็บเกี่ยวไปจนถึงผู้บริโภค ที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมาก ส่งผลกระทบเชิงลบต่อระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติและส่งผลให้เกิดมลพิษทางน้ำและอาหาศ เช่น น้ำชะมูลฝอย ก๊าซไข่เน่า และก๊าซมีเทน เป็นต้น อีกทั้งยังส่งผลต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของชุมชนในระยะยาว
บริษัทจึงดำเนินธุรกิจที่ตระหนักถึงการจัดการขยะอาหารและมีนโยบายลดปัญหาขยะอาหารที่เกิดขึ้นจากการผลิตอาหารที่มากเกินความจำเป็นรวมถึงการสูญเสียอาหารในขั้นตอนการขนส่ง การจัดจำหน่าย และการจัดเก็บอาหาร ซึ่งช่วยบรรเทาปัญหาขยะอาหารที่ทำลายระบบนิเวศโดยรอบพื้นที่การดำเนินงานของบริษัท นำไปสู่สุขภาพที่ดีของชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง อีกทั้งยังบริหารจัดการของเสียมาใช้เป็นวัตถุดิบทางเลือกอื่นๆ เพื่อสร้างมูลค่าให้กับเศรษฐกิจและเป็นแนวทางการแก้ปัญหาขยะอาหารได้อย่างยั่งยืน
แนวทางการดำเนินงาน
บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ("บริษัท") ให้ความสำคัญกับการจัดการของเสียและขยะอาหารอย่างยั่งยืน เพื่อลดความเสี่ยงของปัญหาด้านมลพิษทางอาหาร มลพิษทางน้ำ รวมไปถึงมลพิษในดิน ที่อาจกระทบต่อสุขภาพของชุมชนใกล้เคียง โดยบริษัทมีนโยบายการจัดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร มีเป้าหมายในการลดการจัดการของเสียด้วยวิธีฝังกลบให้เป็นศูนย์ ภายในปี 2573 และร่วมขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ เป้าหมายที่ 12 ผ่านการดำเนินโครงการร่วมกับคู่ค้าในการบริหารจัดการอาหารส่วนเกิน การสูญเสียอาหาร และขยะอาหาร รวมถึงของเสียประเภทอื่นๆ ที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ โดยนำแนวทาง "1P3Rs" ขององค์การอาหารและเกษตรฯ มาประยุกต์ใช้ คือ 1) การป้องกัน 2) การลดใช้เพิ่มประโยชน์ 3) การนำมาผลิตเพื่อใช้ซ้ำ และ 4) การนำมาใช้ใหม่ เพื่อลดความเสี่ยงการใช้ทรัพยากรเกินจำเป็นในกระบวนการผลิต
บริษัทบริหารจัดการขยะอย่างครอบคลุม โดยจัดทำฐานข้อมูลซึ่งจำแนกตามกิจกรรมทางธุรกิจต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ตั้งแต่ขั้นตอนการแปรรูปและผลิต การขนส่งและกระจายสินค้า การจัดจำหน่าย ตลอดจนถึงมือผู้บริโภค เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลของเสียและขยะอาหาร รวมไปถึงประเมินปริมาณทรัพยกรที่ถูกใช้และปริมาณขยะที่เกิดขึ้นได้ทั้งภายในและภายนอกบริษัท อีกทั้งยังสามารถวิเคราะห์สัดส่วน องค์ประกอบและประเภทของเสียและขยะอาหาร นำไปสู่การกำหนดกลยุทธ์และมาตรการลดการสูญเสียตลอดห่วงโซ่อุปทาน
วัตถุดิบ
การแปรรูปและผลิตภัณฑ์
การขนส่งและกระจาย
ขายส่งและขายปลีก
ลูกค้าและผู้บริโภค
ลดการสูญเสียอาหาร และการจัดการขยะอาหาร
บริษัทนำแนวทางการบริหารจัดการอาหารเพื่อลดปริมาณขยะอาหารขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (The Food an Agriculture Organization of United Nation: FAO) ร่วมกับ โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจของบริษัท ผ่านการดำเนินโครงการต่างๆ ในปี 2566 ดังนี้
มาตรการป้องกันไม่ให้เกิดขยะอาหาร และของเสียตั้งแต่ต้นทาง
โครงการลดการตัดจ่ายสินค้าอาหารแบบบูรณาการ
บริษัทวิเคราะห์ข้อมูลยอดขายสินค้าย้อนหลังกับสินค้าที่ขายดีและคงเหลือผ่านการใช้อุปกรณ์ "หน้าจอสำหรับสั่งสินค้า (GOT: Graphic Ordering Terminal)" เพื่อช่วยให้พนักงานร้าน 7-Eleven สามารถตรวจสอบยอดและบริหารจัดการ รวมถึงแก้ไขยอดสั่งสินค้าให้เหมาะสมได้ตามสถานการณ์ เช่น การจัดสินค้าโปรโมชั่นในช่วงพิเศษ เป็นต้น โดยในปี 2566 บริษัทสามารถลดปริมาณการสูญเสียจากการตัดจ่ายได้ร้อยละ 1.80 คิดเป็นมูลค่า 925 ล้านบาท
โครงการลดของเสียในกระบวนการผลิต ภายใต้โครงการหลัก Zero Waste to Landfill
ซีพีแรม ให้ความสำคัญในการพัฒนากระบวนการและอุปกรณ์ในกระบวนการผลิต เพื่อช่วยลดการสูญเสียอาหาร และลดการใช้วัตถุดิบ ในปี 2566 ได้ดำเนินการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ใช้วัตถุดิบได้คุ้มค่ามากยิ่งขึ้น เช่น ลดปริมาณการสูญเสียจากการตัดแต่งวัตถุดิบ ลดการสูญเสียด้วยเครื่องตัดแต่งด้วยพลังงานอัตราโซนิค (Ultrasonic) และการพัฒนาเครื่องจักรเพื่อลดปริมาณการสูญเสียจากสินค้าหล่นพื้น เป็นต้น
มาตรการลดการใช้เพิ่มประโยชน์
โครงการต่อเนื่อง Food to Merit
ซีพี ออลล์ ร่วมมือกับมูลนิธิต่างๆ ในการส่งมอบอาหารส่วนเกินจากร้าน 7-Eleven โดยนำอาหารส่วนเกินมอบให้ชุมชน องค์กรเพื่อสังคม องค์กรการกุศลและผู้ยากไร้ โดยทางบริษัทได้ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพอาหารก่อนส่งมอบอย่างรอบคอบ เช่น ความสมบูรณ์ของสภาพอาหาร ความสดใหม่ คุณภาพอาหารที่ดี ตลอดจนมีการรับรองด้วยตราสัญลักษณ์ อย. พร้อมระบุวันหมดอายุบนสินค้าอย่างชัดเจน เป็นต้น โดยอาหารที่ส่งมอบให้ชุมชน ได้แก่ ขนมปัง แซนด์วิช นม ผัก อาหารกึ่งสำเร็จรูป ผลไม้ และอาหารปรุงสุก ในปี 2566 ส่งมอบอาหารส่วนเกินจากร้าน 7-Eleven รวม 344 สาขา ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประจวบคีรีขันธ์ ภูเก็ต ชลบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี เชียงใหม่ เชียงราย และนนทบุรี กว่า 511.84 ตัน ให้กับมูลนิธิต่างๆ เพื่อส่งมอบ 2,149,712 มื้ออาหาร ให้กับ 520 ชุมชน ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
โครงการต่อเนื่อง กินได้ไม่ทิ้งกัน
โลตัสร่วมกับมูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ ต่อยอด โครงการกินได้ไม่ทิ้งกัน บริจาคอาหารที่จำหน่ายไม่หมดแต่ยังมีคุณภาพดีและสามารถรับประทานได้ จากโลตัส โก เฟรช จังหวัดเชียงใหม่ และจากพันธมิตรองค์กรเอกชนอื่นๆ รวมกว่า 40 บริษัท มอบให้กับนักศึกษาในหอพักมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน อย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการครองชีพของนักศึกษากว่า 200 กิโลกรัม รวมถึงส่งมอบอาหารที่จำหน่ายไม่หมดแต่ยังมีคุณภาพดีและสามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัย จากโลตัส โก เฟรช กว่า 350 สาขา ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายรักษาความสะอาดในเขตการปกครองกรุงเทพฯ รวม 50 เขต กว่า 113 ตันต่อปี ปันความอิ่มท้อง ลดภาระค่าใช้จ่าย ลดการเกิดขยะสู่หลุมฝังกลบ พร้อมสนับสนุนการแยกขยะโดยแยกขยะอาหารจากโลตัส โก เฟรช ให้เจ้าหน้าที่นำไปจัดการขยะอย่างถูกประเภท และนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป เช่น ทำปุ๋ยบำรุงต้นไม้ในพื้นที่สาธารณะ และมีแผนขยายผลไปยังจังหวัดอุดรธานีและขอนแก่น นอกจากนี้ ส่งต่อส้มโอที่ความหวานยังไม่ได้มาตรฐานของโลตัส แต่ยังคุณภาพดี กว่า 25,000 ลูก ให้แก่ มูลนิธิรักษ์อาหาร, เกษตรกรเพาะเลี้ยงแมลงโปรตีน และสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าทั่วประเทศ สำหรับใช้ประโยชน์ต่อไปในด้านต่างๆ อาทิ แปรรูปเป็นเมนูอาหาร รวมไปถึงสามารถเป็นอาหารสัตว์ เพื่อช่วยลดต้นทุนอาหารเลี้ยงสัตว์ ลดปริมาณขยะอาหารสู่การฝังกลบ 30,000 ตันต่อปี
โครงการต่อเนื่อง เพาะเลี้ยงแมลงโปรตีน
โลตัสขยายความร่วมมือกับภาครัฐ ลงนามบันทึกข้อตกลงกับสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือเบโด้ สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขยายผลการถ่ายทอดองค์ความรู้โครงการเพาะเลี้ยงแมลงโปรตีน ซึ่งถือเป็นแมลงเศรษฐกิจ ใช้ทดแทนอาหารสัตว์สำเร็จรูป สามารถช่วยเกษตรกรลดต้นทุนค่าอาหารเลี้ยงสัตว์และร่วมบริจาคอาหารที่จำหน่ายไม่หมดจากสาขา เพื่อใช้เป็นอาหารพาะเลี้ยงแมลงโปรตีน ให้กับเครือข่ายเกษตรกรเพิ่มใน 10 จังหวัด ได้แก่ อุดรธานี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ศรีสะเกษ อยุธยา ปทุมธานี กาญจนบุรี จันทบุรี สุราษฏร์ธานี และเพชรบูรณ์ ซึ่งมีสาขาของโลตัสทั้งไฮเปอร์มาร์เก็ต ซุปเปอร์มาร์เก็ต และมินิซูเปอร์มาร์เก็ตตั้งอยู่กว่า 400 สาขา ในปี 2566 ส่งมอบอาหารที่จำหน่ายไม่หมดกว่า 495 ตันต่อปี
โครงการ "Zero Food Waste to Landfill (นำไปแปรรูปเป็นอาหารสัตว์ Feed Animals)"
แม็คโครและโลตัส ลงนามบันทึกข้อตอลงความร่วมมือทางอาหารเพื่อสัตว์ป่า ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืชนำผัก ผลไม้ หรือผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป เบเกอรี่ ที่จำหน่ายไม่หมดแต่ยังสามารถรับประทานได้ จากศูนย์จำหน่ายสินค้าส่งต่อไปยังศูนย์ช่วยเหลือสัตว์และสวนสัตว์ จำนวน 17 แห่ง ที่อยู่ภายใต้การดูแลของกรมอุทยานฯ เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ลดปริมาณขยะ ช่วยแบ่งเบาภาระงบประมาณประจำปีด้านอาหารและสวัสดิการของสัตว์ป่า ในปี 2566 ส่งมอบอาหารให้กับศูนย์ช่วยเหลือสัตว์และสวนสัตว์ทั้งหมด 1,428.32 ตัน
มาตรการนำมาผลิตเพื่อใช้ซ้ำ
โครงการเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิต
บริษัท ซีพีแรม จำกัด (ลาดกระบัง) ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการการสูญเสียในกระบวนการผลิต และการเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบส่วนเกิน โดยการนำวัตถุดิบส่วนเกินเหล่านั้นมาเพิ่มมูลค่าเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งจะช่วยลดการเกิดความสูญเปล่าทางอาหาร ตัวอย่างของการดำเนินการเพื่อเพิ่มมูลค่า เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมปังกระเทียมจากขอบขนมปัง และพัฒนาผลิตภัณฑ์บลูเบอรี่ชีสพาย เป็นต้น
ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ
ลดปริมาณการสูญเสียในกระบวนการผลิต
ค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะอาหาร
เพิ่มมูลค่าสินค้า สร้างยอดขาย
มาตรการการนำมาใช้ใหม่ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมดเวียน
โครงการ ZERO Waste to Landfill
บริษัท ซีพีแรม จำกัด ดำเนินโครงการบริหารจัดการขยะและวัสดุเหลือใช้ที่เกิดจากกระบวนการผลิต ตามแนวทางการบริหารจัดการของเสีย 3Rs (Reduce Reuse Recycle) แบบผสมผสาน ผลการดำเนินงานโครงการพบว่าของเสียที่เกิดขึ้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ร้อยละ 100 โดยของเสียดังกล่าวแบ่งตามประเภทได้ ดังนี้
ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ
กำจัดขยะด้วยกระบวนการฝังกลบ
สร้างรายได้จากขยะและวัสดุเหลือใช้เฉลี่ย
ประเภทของเสีย | ปริมาณทั้งหมด | การนำไปใช้ประโยชน์ |
---|---|---|
เศษขนมปัง | ผลิตอาหารสัตว์ | |
ขยะอาหาร | ผลิตอาหารสัตว์ | |
ขยะกลุ่มกากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสีย | ผลิตปุ๋ยชีวภาพและสารปรับปรุงดิน | |
ขยะพลาสติก | หลอมเป็นเม็ดพลาสติก | |
ขยะขวดแก้ว ขวดพลาสติก | ผ่านกระบวนการรีไซเคิล | |
ขยะอันตราย | ใช้เป็นวัถุดิบในโรงปูน | |
ขยะทั่วไป | เป็นเชื้อเพลิง RDF ในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ |
โครงการต่อเนื่อง "เปลี่ยนขยะ เป็นประโยชน์ (น้ำหมักชีวภาพ EM)"
แม็คโครนำขยะอาหารในศูนย์จำหน่ายสินค้า ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่สามารถจัดจำหน่ายและรับประทานได้แล้ว จำพวกผักและผลไม้ มาทำเป็นน้ำหมักชีวภาพ เพื่อใช้ทำความสะอาดคราบไขมันภายในศูนย์จำหน่ายสินค้า ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 ในปี 2566 สามารถผลิตน้ำหมักชีวภาพหรือน้ำ EM ได้ประมาณ 1 ล้านลิตร จาก 150 สาขา ทั่วประเทศ เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับผู้ประกอบการร้านค้าหรือหน่วยงานที่สนใจนำไปใช้ในการบำบัดน้ำเสียและทำความสะอาด และสนับสนุนโครงการ "กรุงเทพเมืองน่าอยู่" ซึ่งมีศูนย์จำหน่ายสินค้าจำนวน 33 สาขา ส่งมอบน้ำหมักชีวภาพที่เกิดจากขยะอาหารดังกล่าวให้กับสำนักงานเขต 20 แห่ง ในสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อให้สำนักงานเขตนำไปบำบัดน้ำเสียตามคูคลองต่างๆ รวมถึงนำไปฉีดพ่นเป็นสารบำรุงต้นไม้หรือใช้เป็นสารไล่แมลง
ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ
ขยะอาหารที่ลดลงจากการนำมาทำน้ำหมักชีวภาพ (EM) ให้ กทม.
การวัด วิเคราะห์ และจัดทำฐานข้อมูล
โครงการยกระดับการจัดการฐานข้อมูลอ้างอิงตามมาตรฐานสากล
บริษัทวัดผล และวิเคราะห์ข้อมูลส่วนประกอบของขยะอาหารจากการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ โดยแบ่งข้อมูลออกเป็น 7 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มพืช ผัก และผลไม้
กลุ่มเนื้อสัตว์และอาหารทะเล
กลุ่มผลิตภัณฑ์จากนม
กลุ่มอาหารพร้อมรับประทาน
กลุ่มเครื่องดื่ม
กลุ่มอาหารสำเร็จรูป
กลุ่มเบเกอรี่
ในปี 2566 บริษัทมีปริมาณขยะอาหารทั้งหมด 66,710.99 ตัน โดยกลุ่มขยะอาหารประเภทกลุ่มพืช ผัก และผลไม้ มีปริมาณสูงที่สุดจำนวน 22,504.43 ตัน คิดเป็นร้อยละ 33.73 ของปริมาณขยะอาหารปี 2566
สานความร่วมมือกับชุมชน และคู่ค้าในการจัดการขยะและของเสีย
โครงการต่อเนื่อง ต้นกล้าไร้ถัง
บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ โรงเรียนภายใต้มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์ อีดี (CONNEXT ED) ที่สนับสนุนโดยบริษัท ดำเนินโครงการต้นกล้าไร้ถึง ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 มุ่งเน้นการบริหารจัดการขยะเพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ด้วยการมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะ โดยวิถีของต้นกล้าไร้ถังคือ "การไม่มีถังขยะ" หรือมีขยะเหลือน้อยที่สุดผ่านการคัดแยกวัสดุย่อยสลาย วัสดุรีไซเคิล โดยความร่วมมือกับพ่อค้า แม่ค้า ในโรงเรียน ยกเลิกการขายสินค้าที่จะสร้างขยะ เช่น หลอด กระดาษ แก้วน้ำพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เป็นต้น พัฒนาและบูรณาการหลักสูตรให้เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะ โดยในปี 2566 โครงการต้นกล้าไร้ถึงได้ดำเนินการมาถึงรุ่นที่ 4 มีโรงเรียนเข้าร่วมเพิ่มเติม 21 แห่ง ส่งผลให้มีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการสะสมรวมทั้ง 4 รุ่น รวมกว่า 595 แห่ง เข้าร่วมเป็นสมาชิกภาคีในฐานะโรงเรียนไร้สังกัดกรุงเทพมหานคร รวมถึงขยายเครือข่ายไปยังชุมชนไร้ถัง 60 แห่ง ผู้ประกอบการ 89 แห่ง และอาคารสำนักงาน 2 แห่ง รวม 746 เครือข่าย โดยมีแผนขยายเครือข่าย ในปี 2567 เป็น 2,092 แห่ง ทั่วประเทศ
ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ
คัดแยกขยะเพื่อเข้าสู่กระบวนการจัดการ
ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ยืนต้น
โครงการต่อเนื่อง ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
บริษัทได้เปิดช่องการรับใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษีอย่างย่อ และใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านแอปพลิเคชัน 7-Eleven
ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ
ลดใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษีอย่างย่อไปได้ทั้งสิ้น
ลดใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้
เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ยืนต้น
โครงการต่อเนื่อง e-Waste ให้ถูกที่ ดีต่อใจ ที่โลตัส
โลตัสร่วมกับทรู คอร์ปอเรชั่น ขยายจุดรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ ณ โลตัส 20 สาขาในกรุงเทพฯ และปริมณฑ, พร้อมเป็นตัวกลางเชื่อมต่อเข้าถึงคนในชุมชน สนับสนุนให้เกิดการแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกที่ ถูกวิธี อาทิ รีไซเคิลโทรศัพท์มือถือที่ไม่ใช่แล้ว 1 เครื่อง สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 12.6 กิโลกรัม ลดการตัดต้นไม้ใหญ่ 5 ต้น เพื่อรวบรวมเข้าสู่ขั้นตอนรีไซเคิลจัดการของเสียขยะตามมาตรฐานสากล
โครงการ MeStyle Young Graphic Designer Contest Season 2
โลตัสร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศร่วมออกแบบกราฟิกเสื้อยืด ภายใต้แบรนด์โลตัสในหัวข้อ อัตลักษณ์ไทยอย่างมีสไตล์ สะท้อนอัตลักษณ์ไทย 5 ภาค โดยสนับสนุนทักษะการทำงานออกแบบผ่านประสบการณ์ทำงานจริงและส่งเสริม Soft Power ผ่านการนำเสนอในมุมมองของนักออกแบบกราฟิกรุ่นใหม่ พร้อมผลิตจากวัสดุรีไซเคิลจากผ้าฝ้าย เศษผ้า และขวดพลาสติก โดยกระบวนการทอผ้าจากโรงงานที่มาตรฐานส่งออกและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ย้อมผ้าโดยควบคุมปริมาณปลอดสารเคมีที่เป็นอันตรายกับคนและสิ่งแวดล้อม และการย้อมสีไร้สารกำมะถัน
ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ
นักศึกษาส่งผลงานเข้าร่วมประกวด
ใช้วัสดุรีไซเคิลในการผลิตเสื้อ
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้
เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ยืนต้น
สร้างการรับรู้ และรณรงค์ให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค
โครงการต่อเนื่อง สร้างความตระหนักเรื่องขยะอาหาร
บริษัท ซีพีแรม จำกัด ดำเนินโครงการสร้างความตระหนักถึงปัญหาขยะอาหารมาอย่างต่อเนื่อง ผ่านเพจเฟชบุ๊ก "สังคมไทยไร้ Food Waste" และสร้างกลุ่ม "กินหมดจนไร้ Food Waste" เพื่อเป็นช่องทางส่งเสริมความรู้ด้านการจัดการและลดปริมาณขยะอาหาร ปัจจุบันมีผู้กดติดตามเพจเฟชบุ๊กกว่า 28,813 ราย และสมาชิกกลุ่มกว่า 1,179 ราย ปี 2566 ดำเนินการจัดกิจกรรม "CPRAM FOOD STATION" มุ่งเน้นการสร้างความตระหนักในการลด Food Waste หรือลดความสูญเปล่าทางอาหาร พร้อมให้ความรู้ด้านการบริโภคน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมที่เหมาะสม เพื่อสร้างการเปลี่นแปลงเชิงพฤติกรรม ยกระดับสู่ความมั่นคงทางอาหารและความยั่งยืนทางอาหารอย่างแท้จริง
ถุงแยกขยะหลากสี สนับสนุนประชาชนแยกขยะขับเคลื่อนสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
โลตัสพัฒนาสินค้าแบรนด์โลตัส บรรจุภัณฑ์ที่สามารถรีไซเคิลได้ ได้แก่ ถุงขยะแบรนด์โลตัส เกรด A ที่มีคุณภาพ มาตรฐาน ความปลอดภัยในราคาคุ้มค่าและแยกประเภทขยะตามสี โดยออกแบบตามหลักการแยกขยะของกรุงเทพมหานคร กล่าวคือ ถุงสีเหลือสำหรับขยะรีไซเคิล ถุงสีฟ้าสำหรับขยะทั่วไป และถุงสีเขียวสำหรับขยะอินทรีย์หรือขยะอาหาร ช่วยอำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถแยกขยะได้ง่ายในครัวเรือ สำหรับส่งต่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปบริหารจัดการต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเปิดพื้นที่จุดรับขยะหลากหลายประเภท เพื่อนำไปมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำขยะบรรจุภัณฑ์กลับไปสู่กระบวนการรีไซเคิล สร้างคุณค่าและประโยชน์คืนแก่สังคมต่อไป
ตัวชี้วัดที่ใช้ในการกำหนดค่าตอบแทนของผู้บริหาร
บริษัทได้จัดลำดับ KPI ขององค์กรไปยังหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย KPI บางส่วนเป็น KPI ร่วมกันสำหรับการปฏิบัติงานที่ต้องมีการทำงานร่วมกันข้ามสายงานสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารที่เหลือ และลดขยะอาหารจากร้านค้า ผู้บริหาร ได้แก่ รองประธานฝ่ายปฏิบัติการซึ่งทำหน้าที่ในส่วนการสั่งซื้อร้านค้า ผู้จัดการทั่วไปแผนกสินค้าที่ดูแลความต้องการของลูกค้า และผู้จัดการทั่วไปอาวุโสฝ่ายพัฒนาการปฏิบัติงานของร้านค้าที่ทำหน้าที่วิเคราะห์การสั่งซื้อของร้านค้า เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ จะสะท้อนถึงน้ำหนัก 10%, 10% และ 3% ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหาร (KPI) ตามลำดับ
ข้อมูลอื่นๆ
ผลการดำเนินงานด้านการจัดการของเสียอย่างยั่งยืน
มาตรฐาน GRI | รายการ | หน่วย | 2562 | 2563 | 2564 | 2565 |
---|---|---|---|---|---|---|
306-3 (a) 2020 | ปริมาณของเสียทั้งหมด | ตัน | 174,461.64 | 182,442.19 | 219,409.69 | 207,701.67 |
306-4 (a) 2020 | ปริมาณของเสียที่นำไปใช้ประโยชน์ทั้งหมด | ตัน | 126,259.35 | 125,688.45 | 159,023.78 | 153,194.14 |
306-4 (b) 2020 | ปริมาณของเสียอันตราย | ตัน | 18.35 | 59.40 | 48.26 | 205.18 |
- นำกลับมาใช้ใหม่ | ตัน | 17.89 | 45.83 | 24.81 | 186.31 | |
- นำไปเป็นเชื้อเพลิงผสม | ตัน | 0.46 | 13.57 | 23.45 | 18.86 | |
306-4 (c) 2020 | ปริมาณของเสียไม่อันตราย | ตัน | 126,241.00 | 125,629.04 | 158,975.52 | 152,988.97 |
- ใช้ซ้ำ | ตัน | N/A | 90.28 | 82.33 | 367.64 | |
- นำกลับมาใช้ใหม่ | ตัน | 119,780.06 | 117,194.78 | 149,385.17 | 139,798.98 | |
- ปุ๋ยหมัก | ตัน | 6,460.94 | 6,613.28 | 7,254.84 | 10,058.43 | |
- นำไปเป็นเชื้อเพลิงผสม | ตัน | N/A | 1,730.71 | 1,963.33 | 2,667.67 | |
- อื่นๆ (เลี้ยงสัตว์) | ตัน | 0 | 0 | 289.86 | 96.25 | |
306-5 (a) 2020 | ปริมาณของเสียที่นำไปกำจัดทั้งหมด | ตัน | 48,202.29 | 56,753.74 | 60,385.91 | 54,507.52 |
306-5 (b) 2020 | ปริมาณของเสียอันตราย | ตัน | 25.84 | 12.74 | 83.28 | 214.04 |
- เผาทะลาย | ตัน | 20.20 | 7.29 | 74.89 | 14.25 | |
- ฝังกลบ | ตัน | 5.64 | 5.45 | 8.39 | 199.80 | |
306-5 (c) 2020 | ปริมาณของเสียไม่อันตราย | ตัน | 48,176.45 | 56,741.00 | 60,302.64 | 54,293.48 |
- เผาทำลาย | ตัน | 1,778.93 | 0 | 5.41 | 36.91 | |
- ฝังกลบ | ตัน | 46,397.52 | 56,741.00 | 60,297.23 | 54,256.57 | |
ร้อยละปริมาณของเสียที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ต่อปริมาณของเสียทั้งหมด | ร้อยละ | 72 | 68.89 | 72.47 | 73.75 | |
306-3 (c) 2020 | ปริมาณขยะอาหารทั้งหมด | ตัน | 58,864 | 65,347.90 | 66,983.07 | 64,410.08 |
- พืช ผัก และผลไม้ | ตัน | N/A | 7,764 | 19,899.06 | 21,304.13 | |
- เนื้อสัตว์และอาหารทะเล | ตัน | N/A | 6,408 | 3,766.27 | 4,534.33 | |
- ผลิตภัณฑ์จากนม | ตัน | N/A | 2,381 | 2,315.32 | 3,582.20 | |
- อาหารพร้อมรับประทาน | ตัน | N/A | 22,106 | 18,041.47 | 16,959.04 | |
- เครื่องดื่ม | ตัน | N/A | 1,794.25 | 1,265.83 | 1,503.45 | |
- อาหารสำเร็จรูป | ตัน | N/A | 1,076.70 | 655.59 | 1,962.90 | |
- เบเกอรี่ | ตัน | N/A | 15,235.46 | 12,593.43 | 14,252.95 | |
- อื่นๆ | ตัน | N/A | 8,582.51 | 8,446.11 | 311.08 | |
306-4 (a) 2020 | ปริมาณขยะอาหารที่นำไปใช้ประโยชน์ทั้งหมด | ตัน | 17,943 | 18,033.87 | 12,611.83 | 16,260.86 |
- นำไปบริโภค (Reduce) | ตัน | N/A | 0 | 0 | 0 | |
- นำไปผลิตเป็นอาหารสัตว์ (Reuse) | ตัน | N/A | 17,476.17 | 12,014.58 | 14,926.75 | |
- นำกลับไปใช้ใหม่ ทำปุ๋ย,ก๊าซชีวภาพ (Recycle) | ตัน | N/A | 59.91 | 508.76 | 1,321.16 | |
- นำไปผลิตเป็นพลังงาน (Energy Recovery) | ตัน | N/A | 497.80 | 88.49 | 12.94 | |
306-5 (a) 2020 | ปริมาณขยะอาหารที่นำไปกำจัดทั้งหมด | ตัน | 40,921 | 47,314.02 | 54,371.24 | 48,149.21 |
- ฝังกลบ | ตัน | N/A | 47,314.02 | 54,371.24 | 48,149.21 | |
การป้องกันก่อนเกิดเป็นอาหารส่วนเกิน | ตัน | N/A | N/A | 21,314.71 | 31,230.11 | |
- กำหนดมาตรฐานการสั่งและการทิ้ง | ตัน | N/A | N/A | 5,079.31 | 7,293.17 | |
- ทำผลิตภัณฑ์ใหม่ | ตัน | N/A | N/A | 1,969.00 | 9,848.36 | |
- ผลิตอาหารสัตว์ | ตัน | N/A | N/A | 14,225.00 | 13,740.13 | |
- บริโภคต่อ (Reduce) | ตัน | 0 | 0 | 41.40 | 348.45 |
การวิเคราะห์และแจกแจ้งข้อมูลปริมาณขยะอาหาร ซึ่งเป็นชุดข้อมูลย่อยที่ถูกรวมอยู่ในข้อมูลของเสียที่ปรากฎข้างต้นแล้ว
นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
นโยบายการจัดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร | ดาวน์โหลด |