แนวทางการดำเนินงาน
บริษัทมุ่งดำเนินธุรกิจที่มีรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ภายใต้นโยบายด้านการจัดหาอย่างยั่งยืน รวมถึงจริยธรรมและแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้า โดยกำหนดเกณฑ์การสรรหาและคัดเลือกคู่ค้าที่มีศักยภาพและปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมีแนวทางการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาศักยภาพของคู่ค้าภายใต้กระบวนการจัดหา และบริหารห่วงโซ่อุปทาน อย่างรับผิดชอบ เพื่อตอบสนองความต้องการและความคาดหวังที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาของลูกค้า ชุมชน และสังคม นอกจากนี้ยังส่งเสริมช่องทางการจำหน่ายผลผลิตทางเกษตรกรรมและผลิตภัณฑ์กลุ่มออร์แกนิค โดยมีการคำนึงถึงระยะทางจากพื้นที่เพาะปลูกถึงสถานที่จำหน่ายที่เหมาะสม เพื่อรักษาคุณภาพความสดใหม่ของสินค้าระหว่างการขนส่งจนถึงมือผู้บริโภค ตลอดจนการพัฒนากระบวนการทำงานที่จะช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ บริษัทมุ่งให้ความสำคัญของการตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้วัตถุดิบอย่างยั่งยืน ผ่านโครงการต่าง ๆ อาทิ
กระบวนการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนสำหรับคู่ค้า
การสรรหาและคัดเลือกคู่ค้าที่มีศักยภาพ ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบ ข้อบังคับ
– ความสามารถในการผลิต
– คุณภาพ
– ความปลอดภัยของอาหาร
– ความปลอดภัยในการตรวจสอบย้อนกลับ
– การดำเนินงานด้านความยั่งยืน
การประเมินความเสี่ยงคู่ค้า
ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของคู่ค้าในกระบวนการจัดหา และการบริหารห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ รวมถึงประเมินผลการดำเนินงาน้ดานความยั่งยืนของคู่ค้าสม่ำเสมอ
การสร้างความผูกพันและรักษาความสัมพันธ์ระยะยาวกับคู่ค้าตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน การส่งเสริมในด้านต่างๆ เพื่อตอบแทนผลการดำเนินงาน รวมถึงด้านความยั่งยืนที่ดี
ในปี 2566 มีวัตถุดิบทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานภายนอก ดังนี้
การรับรองมาตรฐานด้านการผลิตอย่างยั่งยืน คุณภาพ และความปลอดภัยอาหาร | |||
---|---|---|---|
สินค้าโภคภัณฑ์เกษตร | รายการมาตรฐาน | สินค้าที่ได้รับการรับรอง | ปริมาณการจัดซื้อเทียบกับการจัดซื้อวัตถุดิบทั้งหมด |
ปาล์ม | RSPO | ร้อยละ 42.55 | ร้อยละ 26.65 |
ถั่วเหลือง | RTRS, Proterra, CRS | ร้อยละ 77.04 | ร้อยละ 11.37 |
น้ำตาล | BONSUCRO | ร้อยละ 37.05 | ร้อยละ 11.32 |
โกโก้ | Fairtrade, Rainforest Alliance, UTZ, FSS C22000, GAP | ร้อยละ 8.16 | ร้อยละ 1.15 |
กาแฟ | IRTAC, SRP, BRC, Global GAP, GAP | ร้อยละ 35.40 | ร้อยละ 3.18 |
ธัญพืช (ข้าว, ข้าวสาลี, ข้าวบาร์เลย์, ข้าวโพด) | GAP | ร้อยละ 30.95 | ร้อยละ 23.85 |
สินค้าอื่นๆ | GAP, Q Organic | ร้อยละ 2.93 | ร้อยละ 22.47 |
ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ | |||
---|---|---|---|
ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ | รายการมาตรฐาน | สินค้าที่ได้รับการรับรอง | ปริมาณการจัดซื้อเทียบกับการจัดซื้อวัตถุดิบทั้งหมด |
ผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ | ASC, BAP, BRC, GAP | ร้อยละ 38.89 | ร้อยละ 14.01 |
ผลิตภัณฑ์จากโค | BBFAW, Livestock OK, GAP | ร้อยละ 28.54 | ร้อยละ 1.96 |
ผลิตภัณฑ์จากนม | Rainforest Alliance, Food Alliance Certificated, RAWMI, Codex Alimentarius, AAWCS, Fairtrade, GAP | ร้อยละ 41.79 | ร้อยละ 12.65 |
ผลิตภัณฑ์จากสุกร | AAWCS, BRC, BBFAW, Livestock OK | ร้อยละ 81.09 | ร้อยละ 33.10 |
ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ปีก | AAWCS, BRC, BBFAW, Livestock OK, GAP | ร้อยละ 98.09 | ร้อยละ 25.15 |
ผลิตภัณฑ์ประมง | MSC, BRC, MarinTrust, GDST, GAP | ร้อยละ 50.73 | ร้อยละ 13.13 |
การมีอาหารที่เพียงพอ และการเกษตรกรรมยั่งยืน
1. โครงการส่งเสริมลดการใช้น้ำ | |
---|---|
1.1 การเกษตรแบบไม่ไถพรวน |
โครงการปลูกกล้วย โดยใช้ต้นตอเก่า ไม่รื้อตอเก่าเพื่อลดการไถพรวนลงได้ปีละ 1 ถึง 2 ครั้ง กลุ่มเป้าหมาย : เกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผลลัพธ์ : ลดต้นทุนการผลิตเรื่องการไถพรวน ร้อยละ 13.20 ของต้นทุนการผลิต |
1.2 การจัดการและเทคโนโลยี |
โครงการพลาสติกคลุมแปลงกล้วย การใช้พลาสติกคลุมดินเพื่อเก็บกักความชื้นและลดการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชและแมลง โดยใช้บิวเวอร์เลียและเมตาไรเซียมทดแทน ซึ่งเป็นเชื้อราธรรมชาติกำจัดหนอนและแมลง กลุ่มเป้าหมาย : เกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผลลัพธ์ : ลดการใช้น้ำได้ ร้อยละ 50 ลดการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชได้ ร้อยละ 100 และลดการใช้สารเคมีลงได้ ร้อยละ 100 |
2. โครงการลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม | |
2.1 การผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ |
โครงการผักเกษตรอินทรีย์ ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์กลุ่มผักสลัด กลุ่มเป้าหมาย : สินค้ากลุ่มผักสลัดอินทรีย์ 5 รายการ (SKUs) ผักสลัดกรีนโอ๊คอินทรีย์ ตรา อีซี่เฟรช, ผักสลัดเรดโอ๊คอินทรีย์ ตรา อิซี่เฟรช, ผักสลัดกรีนคอสอินทรีย์ ตรา อิซี่เฟรช, ผักสลัดอินทรีย์รวม ตรา อิซี่เฟรช, ผักสลัดกรีนคอสอินทรีย์ พร้อมรับประทาน ตรา อิซี่เฟรส ผลลัพธ์ : ลดการใช้สารเคมี เช่น Carboryl, Difenoconazole, Abamectin เป็นต้น ร้อยละ 100 |
2.2 การใช้สารกำจัดศัตรูพืชแบบ "ฉลาด" |
โครงการติดกับดักแมลงที่แปลงปลูกพืช เพื่อหาชนิดแมลงในแปลงปลูกและเลือกใช้สารเคมีที่จำเพาะต่อชนิดแมลง กลุ่มเป้าหมาย : สินค้ากลุ่มผัก ผลลัพธ์ : ลดการใช้สารเคมีลงได้มากกว่า ร้อยละ 30 |
2.3 ระบบการผลิตแบบปิด |
โครงการฟาร์มปลาชีวภาพสู่ความยั่งยืน ส่งเสริมให้คู่ค้าเพาะเลี้ยงปลาดุกและปลานิลในระบบปิดและเบ็ดเสร็จที่สามารถควบคุมคุณภาพ ความสะอาดปลอดภัย ตลอดจน สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน นอกจากนี้ ยังเป็นการควบคุมปัจจัยในการผลิต ลดปัญหาการผลิตไม่เพียงพอจากวิกฤตทางน้ำ ลดการปล่อยน้ำเสียในน้ำสาธารณะ กลุ่มเป้าหมาย : เกษตรกรเพาะเลี้ยงปลาดุกและปลานิล |
3. โครงการรักษาคุณภาพของดิน | |
3.1 ความถี่และความเข้มของการไถพรวน |
โครงการปลูกกล้วย โดยใช้ต้นตอเก่าเพื่อลดการไถพรวนลงได้ ปีละ 1 ถึง 2 ครั้ง กลุ่มเป้าหมาย : เกษตรกรไร่กล้วย ผลลัพธ์ : ลดต้นทุนการไถพรวนลงได้ ร้อยละ 20 |
4. โครงการป้องกันการทำลายระบบนิเวศ | |
4.1 การรับรองการผลิตที่ปราศจากการตัดไม้ทำลายป่า |
ผลลัพธ์ : จำนวนสินค้าที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้กว่า 14000 รายการ ซึ่งครอบคลุม ร้อยละ 100 ของสินค้าอาหารภายใต้แบรนด์ aro ทั้งหมด |
4.2 การรับรองการผลิตที่ยั่งยืน MSC, ASC |
โครงการสินค้าที่ได้รับการรับรอง Marine Stewardship Council (MSC) และ Aquaculture Stewardship Council (ASC) เป็นการจัดหาสินค้าอาหารทะเลชั้นเลิศจากแหล่งที่ผลิตที่มีคุณภาพและมาตรฐานการทำประมง บริษัทจัดสินค้าภายใต้แบรนด์ Ocean Gems จากบริษัท Indoguna Lordly ในเครือซีพี แอ็กซ์ตร้าได้รับการรับรองมาตรฐาน ด้านการประมงอย่างยั่งยืน (MSC) และด้านการบริหารจัดการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ASC) ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางจากผู้เชี่ยวชาญระดับโลก ในฐานะเกณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับมาตรฐานด้านการประมงอย่างยั่งยืนและรับผิดชอบ บริษัทได้ตั้งเป้าขยายขอบเขตการรับรองสินค้าอาหารทะเลไปทุกประเทศที่จัดจำหน่าย ผลลัพธ์ : ในปี 2566 บริษัทมียอดซื้อสินค้าอาหารทะเลที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน MSC และ ASC 4888 ล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 72.68 ของยอดซื้อผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำทั้งหมด |
5. โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Programs to Reduce GHG Emissions) | |
5.1 การลดระยะทางการขนส่ง |
โครงการสร้างแหล่งรับซื้อสินค้าเกษตรที่แหล่งผลิตและส่งเสริมให้ปลูกพืชรอยๆ แหล่งรับซื้อ รวมทั้งส่งสินค้าที่คลังสินค้าที่ใกล้ที่สุด กลุ่มเป้าหมาย : เกษตรกรและโรงคัดบรรจุ ผลลัพธ์ : สร้างแหล่งรับซื้อในชุมชนได้ทั้งหมดมากกว่า 1700 ราย กระจายทั่วภูมิภาคของประเทศ |
5.2 การขายผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นในร้านขายปลีก |
โครงการสนับสนุนจัดจำหน่ายผลิตภัณณ์ท้องถิ่นจากชุมชนหรือสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในร้าน 7-Eleven โดยคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องหมายสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และผลิตภัณฑ์ที่มีบาร์โ้ด ผลิตภัณฑ์ที่ถูกคัดเลือกจะนำมาจัดเลียงพร้อมทั้งติดสื่อประชาสัมพันธ์ในร้าน 7-Eleven ตั้งแต่ 5-100 สาขา โดยคัดสรรสาขาที่ตรงกับกลุ่มลูกค้า เพื่อทดลองขายและติดตามยอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์กรณีผ่านเกณฑ์ที่บริษัทกำหนดจะมีการขยายผลการจำหน่ายไปยังร้าน 7-Eleven ในระดับจังหวัด ภูมิภาค และทั่วประเทศต่อไปตามลำดับ นอกจากนี้ โลตัส บริษัทในกลุ่ม ซีพี ออลล์ ร่วมสนับสนุนผลิตภัณฑ์ชุมชนและ SMEs จาก 200 ชุมชนทั่วประเทศ โดยการเป็นช่องทางกระจายสินค้าวิสาหกิจชุมชน ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นผ่านร้านสาขาของโลตัส และช่องทางแพลตฟอร์ม อีกด้วย กลุ่มเป้าหมาย : วิสาหกิจชุมชน SMEs ผลลัพธ์ : สนับสนุนผลิตภัณฑ์ชุมชนกว่า 26227 รายการ จัดจำหน่ายในร้าน 7-Eleven 1229 สาขา และศูนย์จำหน่ายโลตัส 2300 สาขา มูลค่าการรับซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน 18830 ล้านบาท |
คุณค่าทางโภชนาการและความปลอดภัย
การรับรองมาตรฐานด้านคุณภาพ และความปลอดภัยอาหาร
ซีพีแรม กำหนดแนวทางการคัดสรรวัตถุดิบตามมาตรฐานสากล เช่น มาตรฐาน BRC มาตรฐาน HACCP และมาตรฐาน GMP เป็น พร้อมทั้งการควบคุมการผลิตสินค้าอย่างเคร่งครัด และการพัฒนาระบบการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้บริโภคจะได้รับสินค้าที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และเชื่อถือได้
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์การรับรองมาตรฐานด้านคุณภาพ และความปลอดภัยอาหาร
การรับรองมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์
ซีพี ออลล์ ร่วมกับ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) คู่ค้าหลักเรื่องวัตถุดิบของบริษัท ดำเนินงานภายใต้นโยบายและแนวทางการบริหารจัดการด้านการจัดการสัวสดิภาพสัตว์ พร้อมส่งมอบวัตถุดิบที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารจากสถาบันและองค์กรชั้นนำระดับสากล เช่น การประเมินภาคธุรกิจด้านสวัสดิภาพสัตว์เลี้ยงในฟาร์ม มาตรฐานเพื่อความยั่งยืนของสัตว์น้ำทางทะเล
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์การรับรองมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์
โครงการสวัสดิภาพสัตว์
แม็คโครในฐานะผู้นำธุรกิจค้าส่งของไทย มุ่งมั่นสนับสนุนเกษตรกรผู้ผลิตไข่จากแม่ไก่ที่ไม่ขังกรง ให้ความสำคัญกับการผลิตอาหารด้วยความรับผิดชอบตามนโยบายส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ ซึ่งเป็นเทรนด์ที่ผู้บริโภคทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยร่วมมือพันธมิตรธุรกิจ King Fresh Farm ซึ่งเป็นผู้ประกอบการ SMEs ไทยที่ผลิตไข่ไก่ออร์แกนิคคุณภาพผ่านการรับรองมาตรฐานจากทั้งในทวีปยุโรป และอเมริกา ได้แก่ EU, NOP & USDA (USA) เป็นรายแรกในประเทศไทย โดยได้วางแผนผลิตไข่ไก่ออร์แกนิคที่เลี้ยงแบบปล่อยอิสระ ภายใต้แบรนด์ "Aro Gold" ทำงานอย่างใกล้ชิดกับเกษตรกรผู้ผลิตไข่ไก่พันธมิตรทางธุรกิจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรและร่วมกันพัฒนากระบวนการผลิตไข่ไก่แบบไม่ขังกรง พร้อมทั้งรณรงค์ให้ความรู้แก่ลูกค้าและประชาชนทั่วไป เป็นทางเลือกให้ลูกค้าได้ซื้อผลิตภัณฑ์คุณภาพที่ส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ ทำให้คนไทยได้บริโภคไข่ไก่จากแม่ไก่อารมณ์ดี ที่ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ สารเร่งฮอร์โมน และสารเร่งการเจริญเติบโตตลอดการเลี้ยง จึงทำให้ปลอดภัย มีคุณค่าทางอาหารสูง เพราะแม่ไก่ได้กินอาหารที่หลากหลายตามธรรมชาติ
นอกจากนี้ แม็คโครยังร่วมมือกับผู้ผลิตไข่ไก่รายใหญ่อย่าง ซีพีเอฟ (CPF) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตที่ส่งไข่ไก่จำหน่ายที่แม็คโครและได้ตั้งเป้าเพิ่มปริมาณการผลิไข่ไก่แบบไม่ขังกรงให้มากขึ้นทุกปี ซึ่งการเพิ่มจำนวนการผลิตจะช่วยทำให้สามารถจำหน่ายไข่จากแม่ไก่อารมณ์ดีให้ผู้บริโภคและผู้ประกอบการในราคาที่เอื้อมถึงได้มากขึ้น
ผลิตภัณฑ์และคุณค่าทางโภชนาการ
บริษัทกำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในการควบคุมของบริษัทกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อส่งเสริมสุขภาพและโภชนาการของผู้บริโภค พร้อมดำเนินโครงการสนับสนุนตลอดกระบวนการเพาะปลูก การผลิต การรับสินค้า การจัดและการกระจายสินค้า รวมถึงการจำหน่ายให้บริการในร้าน 7-Eleven และศูนย์กระจายสินค้า แม็คโคร และโลตัส
โครงการตรวจสอบย้อนกลับ
แม็คโครในฐานะผู้นำธุรกิจค้าส่งและแหล่งรวมวัตถุดิบอาหารสด มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับการคัดสรรวัตถุดิบที่มีคุณภาพปลอดภัย และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้จากฟาร์มจนถึงมือผู้บริโภค นอกจากนี้ ยังให้ความร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ในการเข้ามาตรวจเยี่ยมการจำหน่ายเนื้อหมูปลอดภัยในทุกสาขา รวมถึงเข้าตรวจเยี่ยมการจำหน่ายเนื้อหมูปลอดภัยที่ได้รับตราสัญลักษณ์ปศุสัตว์ OK ณ แม็คโคร สาขาศรีนครินทร์ เพื่อยืนยันถึงการส่งมอลสินค้าอาหารสด สะอาด ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ซึ่งต้องผ่านเกณฑ์ปฏิบัติ 4 ข้อ สินค้าต้องมาจากฟาร์มมาตรฐาน ผ่านโรงงานฆ่าสัตว์ที่ถูกกฎหมาย มีสถานที่จำหน่ายสะอาดและสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้
แม็คโครยังเน้นย้ำการตรวจสอบเนื้อสัตว์ปลอดภัยที่วางจำหน่ายในสาขา ผ่าน 7 มาตรการควบคุมสำคัญ ประกอบด้วย
ตัวอย่างการรับรองมาตรฐาน
Best Aquaculture Products
(BAP Certificate)
Dairy Products (GAP Certificate)
Coffee (GAP Certificate)
Palm Oil (RSPO Certificate)
นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
นโยบายด้านการจัดหาอย่างยั่งยืน | ดาวน์โหลด |