การจัดการบรรจุภัณฑ์พลาสติกอย่างยั่งยืน

การจัดการบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2566


ลดปริมาณการใช้พลาสติกบริสุทธิ์จากโครงการวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหาร

ร้อยละ  1.84     (993.77 ตัน)

ใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล

ร้อยละ  4.48     (2416.60 ตัน)

ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการลดใช้พลาสติกรวม

390668.57 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ปริมาณบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เก็บกลับมารีไซเคิล

ร้อยละ  0.16     (88.82 ตัน)

บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่นำกลับมาใช้ใหม่

ร้อยละ  6.17     (3327.82 ตัน)

การดำเนินงานที่สำคัญปี 2566


โปรแกรมการวิจัย ออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมสำหรับสินค้าในการควบคุมของบริษัทร่วมกับคู่ค้า

โปรแกรมยกเลิกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ที่เป็นอุปสรรคต่อการรีไซเคิล


โปรแกรมลดการใช้พลาสติกชนิดครั้งเดียวทิ้ง



โปรแกรมการเรียกกลับบรรจุภัณฑ์หลังการอุปโภคบริโภค



โปรแกรมการนำบรรจุภัณฑ์หลังการอุปโภคบริโภคกลับมาใช้ใหม่



ผู้มีส่วนได้เสียหลักที่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ


สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน


SDG 8 ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษบกิจที่ต่อเนื่องครอบคลุมและยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่และมีผลิตภาพ และการมีงานที่สมควรสำหรับทุกคน

8.4 พัฒนาความมีประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรของโลกในการบริโภคและการผลิต และพยายามที่จะตัดความเชื่อมโยงระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและการทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม

SDG 12 สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการบริโภคและผลิตที่ยั่งยืน

12.2 บรรลุการจัดการที่ยั่งยืนและการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ
12.5 ลดการผลิตของเสียโดยการป้องกัน การลด การแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ และการนำมาใช้ซ้ำ

ผลการดำเนินงานเทียบเป้าหมาย


เป้าหมายปี 2573

ร้อยละ  100

บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่อยู่ในการควบคุมของบริษัท (Private Brand) ต้องสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ หรือนำมาใช้ใหม่ หรือสามารถสลายตัวได้ทางชีวภาพ สำหรับบริษัทที่มีการดำเนินงานในประเทศไทย ภายในปี 2568 สำหรับบริษัทที่มีการดำเนินงานในต่างประเทศ ภายในปี 2573

ความก้าวหน้าเทียบกับเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว

สรุปผลการดำเนินงาน ปี 2566

การลดปริมาณการใช้พลาสติกบริสุทธิ์ในบรรจุภัณฑ์

การลดใช้พลาสติกจากการออกแบบ พัฒนาบรรจุภัณฑ์

การลดปริมาณพลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง

การนำบรรจุภัณฑ์หลังการอุปโภคบริโภคกลับมาใช้ใหม่

รายการบรรจุภัณฑ์ที่เรียกคืน

88.82  ตัน

ขวดน้ำดื่มพลาสติก

32936.13  ตัน

ลังกระดาษ

การใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่นำมาใช้ซ้ำได้

ปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่รีไซเคิลได้

ปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล

ปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกสามารถสลายตัวได้ทางชีวภาพ

บรรจุภัณฑ์ที่ไม่พลาสติก

ปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกรวมทั้งหมด

ปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกเฉลี่ยต่อสาขา

ร้อยละของการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก จำแนกตามประเภท

ปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่ใช่พลาสติก

ประเภท ปริมาณน้ำหนักที่ใช้ทั้งหมด (ต้น) นำมาใช้ใหม่และหรือได้รับการรับรอง (ร้อยละ) เป้าหมายปี 2566 (ร้อยละ)
  ไม้ กระดาษ

6816.72

65

65

  โลหะ (เหล็ก อลูมิเนียม)

7.50

100

100

  แก้ว

227.36

100

100

ความเสี่ยงและโอกาส


บรรจุภัณฑ์ที่ห่อหุ้มสินค้าอุปโภคและบริโภคเกินความจำเป็น เพื่อรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์ ป้องกันผลิตภัณฑ์ชำรุดในกระบวนการขนส่ง ส่งเสริมทางด้านการตลาดและสร้างความสะดวกในการจัดจำหน่าย ล้วนเป็นแหล่งกำเนิดขยะจำนวนมหาศาล โดยเฉพาะขยะบรรจุภัณฑ์พลาสติก และยิ่งเพิ่มปริมาณสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการจัดจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์และบริการขนส่งในปัจจุบัน ซึ่งผลการศึกษาพบว่าขยะพลาสติกถูกทิ้งและตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อม สร้างมลภาวะทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ทำให้ความสมดุลของระบบนิเวศลดลง อีกทั้งยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาวะของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ประเด็นบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนเป็นหนึ่งเกณฑ์ของผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อหรือสนับสนุนผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นประเด็นที่สำคัญและสร้างความท้าทายให้แก่ทุกกลุ่มอุตสาหกรรมทั่วโลก โดยเฉพาะธุรกิจด้านการจำหน่ายสินค้ารูปแบบค้าปลีกและค้าส่ง ที่หน่วยงานกลุ่มวิจัยและพัฒนาของบริษัทต้องมีการพัฒนาด้านบรรจุภัณฑ์คิดค้นนวัตกรรมและวัสดุทางเลือก ตั้งแต่กระบวนการออกแบบ การผลิตและการจัดการห่วงโซ่อุปทานให้มีประสิทธิภาพ สามารถดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจที่สอดรับซึ่งกันและกันตลอดห่วงโซ่อคุณค่า และมั่นใจว่าบรรจุภัณฑ์ทางเลือกจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาในกระเด็นอื่นตามมา เช่น บรรจุภัณฑ์ทางเลือกที่รีไซเคิลได้ดีแต่มีน้ำหนักมาก ส่งผลต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการขนส่งเพิ่มขึ้นหรือบรรจุภัณฑ์ทางเลือกที่มีน้ำหนักเบาลดการใช้ทรัพยากลและต้นทุน แต่มีความยุ่งยากในกระบวนการรีไซเคิล รวมถึงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องภายใต้การบริหารต้นทุนที่เหมาะสมร่วมกับคู่ค้า เป็นต้น เพื่อส่งต่อบรรจุภัณฑ์ที่ปลอดภัย คงไว้ซึ่งคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ไม่สร้างผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงานในกระบวนการผลิต ตลอดจนลูกค้าที่มีความใกล้ชุดและสัมผัสกับบรรจุภัณฑ์โดยตรง

ดังนั้น การบริหารจัดการนวัตกรรมและกระบวนการบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ดีจึงเป็นแรงผลักดันที่สำคัญ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการจัดจำหน่ายสินค้าและผลักดันให้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก

แนวทางการดำเนินงาน


บริษัทติดตามกฎหมาย ข้อบังคับ และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ อาทิ การห้ามบรรจุภัณฑ์บางประเภทในการห่อหุ้มและขนส่งผลิตภัณฑ์ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ นอกจากนี้ บริษัทให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างครบวงจร พร้อมรับมือกับความท้าทาย มุ่งสู่การเป็นองค์กรชั้นนำผ่านการกำหนดนโยบายบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน มีแนวทางการดำเนินงานครอบคลุมด้านการออกแบบ และการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ในผลิตภัณฑ์ควบคุมของบริษัทที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การนำบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วมาใช้ซ้ำ บรรจุภัณฑ์ที่นำไปรีไซเคิลได้ การเลือกใช้วัสดุทางเลือกที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ และบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล รวมถึงเป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ เป็นต้น

บริษัทให้ความสำคัญกับกระบวนการเก็บข้อมูล ตรวจสอบการปฏิบัติงานเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์เป็นฐานข้อมูล สำหรับทบทวนนโยบาย กำหนดแผนการดำเนินงานในอนาคต เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการดำเนินงานด้านการจัดการบรรจุภัณฑ์ของบริษัทมีประสิทธิภาพ ลดการเกิดขยะบรรจุภัณฑ์ให้ได้น้อยที่สุด ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพผู้มีมีส่วนได้เสียทุกฝ่าย รวมถึงสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในตลาดสีเขียวทั้งในระดับประเทศและระดับสากล

แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน

บริษัทมีการบริหารจัดการขยะตามแนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน มุ่งลดปริมาณขยะพลาสติกและบรรจุภัณฑ์ที่ส่งเข้ากระบวนการฝังกลบให้น้อยที่สุด บรรจุภัณฑ์พลาสติกของสินค้าที่อยู่ในการควบคุมของบริษัท จึงมีการบริหารจัดการให้สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ นำมาใช้ใหม่ หรือสามารถสลายตัวตามธรรมชาติได้ โดยดำเนินการภายใต้ 3 มาตรการหลัก "Reduce-Reuse-Recycle (3R)" ดังนี้

ลดการใช้พลาสติก
ณ แหล่งกำเนิด
--------

ประกาศใช้นโยบาย "บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน" กำหนดทิศทางกรอบการดำเนินงาน กลยุทธ์แผนงานและตัววัดส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน ศึกษาบรรจุภัณฑ์ทางเลือกใหม่ รวมถึงส่งเสริมการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ลด และทดแทนการใช้พลาสติก ณ ขั้นตอนการบริโภค
--------

ริเริ่มโครงการกลยุทธ์ลดการใช้พลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง พร้อมทั้งริเริ่มแคมเปญเพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมของลูกค้า สังคม ชุมชน




จัดการขยะบรรจุภัณฑ์ ภายหลังการบริโภค
--------

ริเริ่มโครงการกลยุทธ์นำบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ ตามแนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยการสร้างความร่วมมือกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเปิดเผยข้อมูลปริมาณของชนิดของพลาสติกที่ใช้ การลดการใช้ การนำกลับมาใช้ใหม่ การใช้ซ้ำ และการกำจัดพลาสติก ผ่านรายงานความยั่งยืนอย่างสม่ำเสมอทุกปี

บริษัทมีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบตามมาตรการด้านการจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน โดยมีการตรวจวัดและจัดเก็บข้อมูลผลการดำเนินงานในทุกขั้นตอนอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ เช่น ปริมาณการลดลงของบรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง ปริมาณการลดลงของขยะบรรจุภัณฑ์แยกตามประเภท ปริมาณการลดลงของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นต้น ผ่านการดำเนินโครงการต่างๆ ในปี 2566 ดังนี้

1. การลดใช้พลาสติก ณ แหล่งกำเนิด

การออกแบบ วิจัย และพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ลดปริมาณการใช้พลาสติกบริสุทธิ์จากการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับสินค้าในการควบคุมของบริษัท

โครงการต่อเนื่อง ลดความหนาของพลาสติก

ร่วมมือกับคู่ค้าออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีความหนาที่เหมาะสมกับการใช้งาน

ถุงกล้วยหอมทอง

ลดความหนาพลาสติกจาก 30 ไมครอน เหลือ 25 ไมครอน รวม 29.85 ตัน

สินค้าแช่แข็ง ถาด 2 หลุ่ม 7-Fresh

พัฒนาเม็ดพลาสติก และลดความหนาพลาสติก จาก
0.92 มิลลิเมตร เหลือ 0.82 มิลลิเมตร รวม 34.07 ตัน

ถาดสลัดอิ่มคุ้ม

ลดความหนาพลาสติกจาก 0.5 มิลลิเมตร เหลือ
0.4 มิลลิเมตร รวม 77.40 ตัน

ถาดอาหาร

ลดความหนาพลาสติกจาก 0.6 มิลลิเมตร เหลือ
0.5 มิลลิเมตร รวม 16.54 ตัน

สติกเกอร์สำหรับสินค้าแช่แข็ง

ลดความหนาสติกเกอร์สำหรับสินค้าแช่แข็งจาก
90 ไมครอน เหลือ 80 ไมครอน รวม 5.39 ตัน

ม้วนฟิล์มสินค้าอุ่นร้อน

ลดความหนาพลาสติกจาก 60 ไมครอน เหลือ 40 ไมครอน

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

164.14 ตัน

ลดปริมาณการใช้พลาสติกบริสุทธิ์

301.96 ต้นคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

7022 ต้น

เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ยืนต้น


โครงการต่อเนื่อง ยกเลิกหรือทดแทนการใช้สติกเกอร์

อาหารไทยแช่เย็น*

พัฒนานวัตกรรมฟิล์มลามิเนต ฟิล์มปิดผนึกพิมพ์ลายที่สามารถพิมพ์ลายลงบนฟิล์มทดแทนการใช้สติกเกอร์

*ผลิตภัณฑ์ข้าวกะเพราหมูสับ ข้าวกะเพราไข่ดาว ข้าวพะแนงหมูไข่เจียว ข้าวผัดปู ผัดซีอิ๊วหมู

ถ้วยข้าวสวย

พัฒนาถ้วยข้าวสวยพิมพ์ลายด้านข้างทดแทนการใช้สติกเกอร์ รวม 33.73 ตัน

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

54.25 ตัน

ลดปริมาณการใช้พลาสติก

110 ล้านชิ้น

ลดปริมาณการใช้สติกเกอร์

100.33 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

2333 ต้น

เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ยืนต้น


โครงการต่อเนื่อง ร่วมมือกับคู่ค้าเปลี่ยนรูปแบบหรือวิธีการผลิตบรรจุภัณฑ์

กล่องครึ่งอิ่ม ถาด 1 หลุม

ใช้ฟิล์มปิดฝาถาดแทนฝาพลาสติกที่ติดสติกเกอร์ด้านบน ลดการใช้พลาสติก รวม 93.88 ตัน

ถาด 2 หลุม Top Seal

ออกแบบใหม่ ใช้ฟิล์มปิดฝาถาดแทนฝาพลาสติกที่ติดสติกเกอร์ด้านบน ลดใช้พลาสติก 5.78 กรัมต่อชิ้น
รวม 21.85 ตัน

ซองกระดาษขนมปังปิ้ง

ลดการใช้กระดาษเคลือบ PE เป็นกระดาษ Grease Proof ลดการใช้พลาสติก รวม 11.610 ตัน

ถ้วยกับข้าว 21 ออนซ์

เปลี่ยนสูตรพลาสติกในการผลิตบรรจุภัณฑ์ ลดการใช้พลาสติก 2.70 กรัมต่อชิ้น รวม 25.99 ตัน

ถ้วยขนมหวานทานเย็น

ออกแบบ Design ใหม่ ลดน้ำหนักพลาสติก
0.70 กรัมต่อชิ้น รวม 2.24 ตัน

แก้วน้ำแข็ง 22 ออนซ์

เปลี่ยนกระบวนการผลิตจาก Injection เป็น Thermoform และเปลี่ยนวัสดุจาก PP เป็น PET ลดการใช้พลาสติก
7.50 กรัมต่อชิ้น รวม 107.30 ตัน

ช้อนสั้น New Design

ออกแบบ Desigh ใหม่ ลดน้ำหนักพลาสติก
0.28 กรัมต่อชิ้น รวม 57.41 ตัน

ถาดพลาสติก

พัฒนาบรรจุภัณฑ์กระดาษคราฟท์ที่ปราศจากสารเคมีหรือสิ่งปนเปื้อมีความปลอดภัยสูง สามารถใช้เป็นภาชนะใส่อาหารได้อย่างปลอดภัย ทดแทนการใช้ถาดพลาสติก ลดดารใช้พลาสติก 7.09 กรัมต่อชิ้น

ถาดใส่เนื้อสัตว์เธอร์โมฟอร์ม

ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ใช้พลาสติกน้อยลง และใช้วัสดุที่ง่ายต่อการรีไซเคิล ลดการใช้พลาสติกกว่า 400 ตันต่อปี

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

731.36 ตัน

ลดปริมาณการใช้พลาสติกบริสุทธิ์

626.29 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

14565 ต้น

เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ยืนต้น


โครงการต่อเนื่อง ลดการใช้กระดาษ

แก้วกระดาษ

ลดแกรมกระดาษเครื่องดื่มเย็น กลุ่มสินค้า Non All Cafe ได้แก่ เครื่องดื่มกัฟ เครื่องดื่มปั่นเป็นเกล็ดสเลอปี้ และเครื่องดื่มแบบกด รวม 132.6 ตัน

ใบเสร็จสินค้า

เปลี่ยนใบเสร็จกระดาษเป็นสลิปอิเล็กทรอนิกส์

กล่องแซนด์วิชอบร้อน

เปลี่ยนจากกระดาษ Art card เป็นกระดาษ Greaseproof รวม 763.40 ตัน

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

1647.88 ตัน

ลดปริมาณการใช้กระดาษ

7006.96 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

162953 ต้น

เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ยืนต้น


โครงการต่อเนื่อง เลือกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์จากแหล่งที่มีการจัดการอย่างยั่งยืน

ซองกระดาษขนมปังปิ้ง

ใช้กระดาษ Greaseproof ที่ได้รับการรับรองจากองค์กร Program for the Endorsement for Forest Certification Scheme (PEFC) รวม 58.07 ตัน

ซองแซนด์วิชอบร้อน

ใช้กระดาษ Greaseproof ที่ได้รับการรับรองจากองค์กร Program for the Endorsement for Forest Certification Scheme (PEFC) รวม 374.62 ตัน

ซองกระดาษหุ้มหลอด

ใช้กระดาษที่ได้รับการรับรองจากองค์กร Forest Stewardship Council (FSC) รวม 326.51 ตัน

กระดาษใบเสร็จร้าน 7-Eleven

เลือกใช้กระดาษที่มาจากแหล่งป่าปลูกทดแทน ที่ได้รับการตรวจสอบและรับรองจากองค์กร Forrest Stewardship Council (FSC)

กระดาษหลังสติกเกอร์

เลือกใช้กระดาษที่มาจากแหล่งป่าปลูกทดแทน ที่ได้รับการตรวจสอบและรับรองจากองค์กร Forrest Stewardship Council (FSC)

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

2235.69 ตัน

ใช้กระดาษจากแหล่งที่มีการจัดการอย่างยั่งยืน

1050.77 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

24437 ต้น

เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ยืนต้น


โครงการต่อเนื่อง เลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่นำมาใช้ซ้ำ

ถ.ถุงทนทาน

ออกแบบให้มีความทนทาน สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้

กล่องลูกฟูกที่ใช้ในโรงงาน

นำกล่องลูกฟูกที่ใช้ในโรงงานกลับมาใช้ซ้ำ

ถุงคืนชีพ

ออกแบบถุงพลาสติกแบบใช้ซ้ำได้หลายครั้ง

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

17900.13 ตัน

ลดปริมาณการใช้พลาสติก

213.40 ตัน

ลดปริมาณการใช้กระดาษ

129955.46 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

3022220 ต้น

เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ยืนต้น


โครงการต่อเนื่อง วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายตัวได้ทางชีวภาพ

แก้วรักษ์โลก

เลือกใช้กระดาษเคลือบพอลินิวทิลีนซักซิเนตสำหรับเครื่องดื่มร้อน เย็น ในร้าน 7-Eleven สาขาพื้นที่บนเกาะ สถานศึกษา และสำนักงาน จำนวน 1,200 สาขา รวม 303.43 ตัน

ตะเกียบไม้

เลือกใช้ตะเกียบไม้สลายตัวได้ทางชีวภาพรวม 12.47 ตัน

ไม้คนกาแฟ

ทดแทนพลาสติกคนกาแฟด้วยไม้คนกาแฟสลายตัวได้ทางชีวภาพ รวม 1.48 ตัน

ไม้เสียบลูกชิ้น

เลือกใช้ไม้เสียบลูกชิ้นสลายตัวได้ทางชีวภาพ รวม 330.37 ตัน

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

647.75 ตัน

ใช้วัสดุที่สามารถสลายตัวได้ทางชีวภาพ

137.51 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

3198 ต้น

เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ยืนต้น


โครงการต่อเนื่อง บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล

ถุงหูหิ้วที่ใช้ในร้าน 7-Eleven

มีวัสดุรีไซเคิล ร้อยละ 30

ถุงขยะที่ใช้ในสำนักงานและศูนย์กระจายสินค้า

มีวัสดุรีไซเคิล ร้อยละ 100

พาเลทวางน้ำในร้าน 7-Eleven

มีวัสดุรีไซเคิล ร้อยละ 100

กล่องกระดาษลูกฟูก ซีพีแรม

มีวัสดุรีไซเคิล ร้อยละ 90-100

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

2483.48 ตัน

ลดปริมาณการใช้พลาสติกบริสุทธิ์

12747.99 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

296465 ต้น

เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ยืนต้น


โครงการยกเลิกวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ยากต่อการรีไซเคิลในสินค้าแบรนด์โลตัส (Lotus's Brand)

โลตัสกำหนดเป้าหมายในการยกเลิกวัสดุที่ยากต่อการรีไซเคิลในสินค้าแบรนด์โลตัส (Own Brand) ทั้งหมด ภายในปี 2573 เพื่อช่วยลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม

ในปี 2566 โลตัสสามารถยกเลิกบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกใหม่ได้ถึง 35.7 ตัน นอกจากนี้ โลตัสยังตระหนักถึงความสำคัญของการสนับสนุนพฤติกรรมผู้บริโภคให้คัดแยกขยะ เพื่อให้ระบบปิดของบรรจุภัณฑ์และการบริหารจัดการขยะจากบรรจุภัณฑ์นั้นเป็นไปอย่างครบวรจร รวมถึงยังมุ่งสร้างการตระหนักรู้และความเข้าใจให้แก่ชุมชน ส่งเสริมการรีไซเคิล ผ่านการขยายจุดรับขยะบรรจุภัณฑ์ สำหรับการรีไซเคิลที่สาขาทั่วประเทศ

2. ลดและทดแทนการใช้พลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง ณ ขั้นตอนการบริโภค

บริษัทส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคและพนักงาน ด้วยแนวคิด "ลดรับ ลดให้ = ลดใช้"

โครงการ "ลด และทดแทน" พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง

บริษัทเชิญชวนให้ลูกค้าที่ใช้บริการร้าน 7-Eleven ปฏิเสธการรับช้อน ส้อม หลอด แก้ว และถุงพลาสติก รวมถึงพกพาถุงผ้าส่วนตัวมาใช้บริการ เพื่อลดการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกและรณรงค์ให้ใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ในปี 2566 มียอดการลดใช้พลาสติก 3,887 ล้านใบ และพลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง ได้แก่ ช้อน ส้อม หลอด และแก้ว จำนวน 1,282 ล้านชิ้น

นอกจากนี้ บริษัทจัดแคมเปญ "แค่ไม่รับ = ปลูกต้นไม้" สนับสนุนการลดใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง เมื่อลูกค้าปฏิเสธการรับถุงพลาสติก ช้อน ส้อม และหลอด ตอนซื้อสินค้าอาหารและเครื่องดื่มจากร้าน 7-Eleven ก็จะสามารถแลกรับหยดน้ำเพื่อไปรดน้ำต้นไม้ให้เจริญเติบโตใน 7APP เมื่อลูกค้าสะสมหยดน้ำครบตามที่กำหนดสู่ขั้น "ออกผล" จะสามารถส่งต้นไม้จริงๆ เข้าร่วมโครงการ "ปลูกป่า ปลูกอนาคต" เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับประเทศไทย โดยในปี 2566 สามารถสะสมหยดน้ำจากการลดใช้พลาสติก ส่งมอบต้นไม้เข้าโครงการ "ปลูกป่า ปลูกอนาคต" ได้ 843,983 ต้น

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

24784.90 ตัน

ลดปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง

248351.90 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

5775626 ต้น

เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ยืนต้น


โครงการต่อเนื่อง บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก

ร้าน 7-Eleven รณรงค์งดแจกถุงขนาดเล็กยกเว้นของร้อน และเปลี่ยนมาใช้บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก ในสาขาที่ตั้งบนเกาะ หรือตั้งอยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ จำนวนกว่า 1,0200 สาขา


โครงการต่อเนื่อง ร้านกาแฟที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ร้านกาแฟและเบเกอรี่เฮ้าส์ ในกลุ่มบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ยังคงดำเนินการลดขยะมูลฝอยประเภทแก้วพลาสติกและหลอดพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ตามที่ได้ร่วมประกาศกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บริษัทร่วมมือกับผู้ประกอบการลดขยะพลาสติกอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนให้ร้านกาแฟคัดแยกขยะภายในร้าน และสามารถส่งขยะกลับไปสู่กระบวนการรีไซเคิล หรือนำมาใช้ซ้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากเป็นการลดปริมาณขยะยังเป็นการส่งเสริมให้ใช้บรรจุภัณฑ์อย่างสร้างสรรค์ หรือเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นผ่านกิจกรรมต่างๆ ของ 3 แบรด์ ได้แก่

ALL Cafe
(ออลล์ คาเฟ่)
----------

  • บรรจุภัณฑ์แก้ว กระดาษ ที่สามารถย่อยสลายได้ ร้อยละ 66
  • การใช้ฝายกดื่มแทนหลอดดื่มพลาสติก
  • ถุงพลาสติกรีไซเคิลที่มีความทนทานสามารถใช้ซ้ำได้

Kudsan Bakery & Coffee
(คัดสรร เบเกอรี่แอนด์คอฟฟี่)
----------

  • บรรจุภัณฑ์แก้วกระดาษที่ย่อยสลายได้
  • การใช้ซองกระดาษสำหรับใส่เบเกอรี่
  • การใช้หลอดกระดาษแทนหลอดพลาสติก
  • การใช้ที่คนกาแฟแบบไม้แทนพลาสติก

Bellinee's Bake & Brew
(เบลลินี่ เบค แอนด์ บรู)
----------

  • บริการบรรจุภัณฑ์ถุงหิ้วกระดาษ ถึงกระดาษใส่ขนม แก้วกระดาษสำหรับเครื่องดื่มร้อน สามารถย่อยสลายได้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • จำหน่ายและโปรโมชั่นกระเป๋าผ้ายีนส์เบลลินี่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้

โครงการต่อเนื่อง "แม็คโครรักษ์โลก ชวนใช้ผลิตภัณฑ์รักสิ่งแวดล้อม (Say Hi to Bio, Say No to Foam)"

แม็คโครร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจในการผลิตและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้จากวัสดุธรรมชาติ เพื่อทดแทนการใช้โฟมและพลาสติกที่ทำลายสิ่งแวดล้อมหรือ Bio Base ซึ่งผลิตจากเยื่อพืชธรรมชาติ เช่น ชานอ้อย เยื่อไผ่ เยื่อไม้บริสุทธิ์ เป็นต้น ปล่อยภัยไร้สารพิษที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และย่อยสลายสู่ธรรมชาติได้อย่างสมบูรณ์ จำนวนมากกว่า 40 รายการ อาทิ จาน ชาม ถ้วย แก้ว กล่อง ฯลฯ โดยมีเป้าหมายหยุดจำหน่ายบรรจุภัณฑ์โฟมแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งในศูนย์จำหน่ายสินค้าทุกสาขาทั่วประเทศ ทำให้ได้ชื่อว่าเป็นศูนย์รวมบรรจุภัณฑ์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ ปลุกกระแสเพื่อเป็นแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการร้านอาหารและลูกค้าทั่วไปหันมาใช้บรรจุภัณฑ์ย่อยสลาย นอกจากนี้ ยังมีบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกประเภทต่างๆ เป็นทางเลือกมากกว่า 530 รายการ

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

1542.33 ตัน หรือ ร้อยละ 14

ยอดจำหน่ายบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกเพิ่มขึ้น

ร้อยละ 5775626

สาขาทั้งหมดที่งดจำหน่ายบรรจุภัณฑ์ประเภทโฟม

5775626 ล้านชิ้น

สินค้าประเภทบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกสามารถลดขยะโฟมบรรจุอาหารแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง

3. ลดขยะบรรจุภัณฑ์ ทั้งพลาสติกและไม่ใช่พลาสติกหลังการบริโภค

บริษัทสร้างความร่วมมือกับพันธมิตร ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา คัดแยกขยะ เก็บบรรจุภัณฑ์พลาสติกกลับไปรีไซเคิลและนำกลับมาใช้ใหม่

โปรแกรมการเก็บบรรจุภัณฑ์พลาสติกกลับไปรีไซเคิล

โครงการต่อเนื่อง Recycling Station และถุงคืนชีพ

โลตัสมีบทบาทอย่างต่อเนื่องในการรณรงค์และสนับสนุนให้ลูกค้าและผู้บริโภคตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปรับเปลียนพฤติกรรมการแยกขยะเพื่อนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล สร้างระบบกลไกจัดการขยะแบบครบวงจร โดยใช้ประโยชน์จากการมีสาขาครอบคลุมในหลายพื้นที่และสามารถเข้าถึงชุมชน เป็นจุดแข็งในการสร้างช่องทางการรับกลับวัตถุดิบบรรจุภัณฑ์เพื่อการรีไซเคิล ผ่านการขยายเครือข่ายพันธมิตรรีเทลและรีไซเคิล โดยจัดตั้งจุดรับบรรจุภัณฑ์รีไซเคิลเพื่อรวบรวมให้เข้ามาอยู่ในระบบและสามารถนำไปรีไซเคิลหรือนำกลับมาใช้ซ้ำได้

  • จุดรับถุงเปล่าดาวน์นี่ ร่วมกับดาวน์นี่ตั้งจุดรับถุงเปล่าดาวน์นี่ใช้แล้วในโลตัส 62 สาขาทั่วประเทศ เพื่อนำไปอัปไซเคิลเป็นวัสดุก่อสร้างห้องน้ำในโรงเรียนจังหวัดฉะเชิงเทรา 3 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนวัดสองคลอง โรงเรียนคลองขวาง และโรงเรียนสกัด 80 โดยมีเป้าหมายนำขยะบรรจุภัณฑ์ทั้งหมด 3,633 กิโลกลัม มาใช้ในการอัปไซเคิล)
  • จุดรับขวดพลาสติก ร่วมกับการ์นิเย่ (Garnier) และ CirPlas Zero Waste Hero ตั้งจุดรับขวด Micellar ที่ใช้แล้วหรือขวดน้ำพลาสติกไปส่งคืนที่จุดรีไซเคิลที่โลตัส 10 สาขา โดยขยะที่รวบรวมมาจะถูกนำไปจัดการโดข CirPlas เพื่อรีไซเคิลและนำไปพัฒนาต่อในรูปแบบของผ้าและวัสดุในการผลิตเครื่องใช้ต่างๆ
  • จุดรับวัสดุรีไซเคิล ขวดพลาสติก PET ร่วมกับกลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่าในประเทศไทยขยายผลโครงการ "โค้กขวนแยกแลกลุ้นโชคกับ Trash Lucky" เป็นปีที่ 3 ในปี 2566 เพิ่มจุดรับวัสดุรีไซเคิลขวดพลาสติก PET 64 จุดทั่วกรุงเทพฯ และภูเก็ต 5 จุด รวมถึงมีการเพิ่มถังรีไซเคิลอัจฉริยะที่ผู้บริโภคสามารถหย่อนวัสดุรีไซเคิลได้สะดวกมากยิ่งขึ้น พร้อมรู้น้ำหนักและแต้มสะสมของตนได้ทันที โดยขวดพลาสติก PET โดยทั้งหมดจะนำไปรีไซเคิลเป็นเม็ดพลาสติกที่สามารถผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ที่สะอาดปลอดภัยอีกครั้ง ส่วนกระป๋องอะลูมิเนียมจะนำไปสนับสนุนมูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และบรรจุภัณฑ์อื่นๆ ในปี 2566 สามารถเก็บบรรจุภัณฑ์เข้าระบบได้ จำนวน 1,711 กิโลกรัม
  • จุดรับขวดแชพูพลาสติกและแชมพูถุงเติม ร่วมกับ P&G พร้อมด้วยพันธมิตรในโครงการ "Upcycling Plastic House เพื่อความยั่งยืนและเท่าเทียม" ได้แก่ พีพีพี โกลบอล เคมิคอล แสนสิริ และมูลนิธิที่อยู่อาศัยประเทศไทย โดยโลตัสเป็นศูนย์กลางระหว่างผู้ประกอบการและชุมชนเป็นจุดรับบริจาครวบรวมขวดแชมพูพลาสติกและแชมพูถุงเติมจากผลิตภัณฑ์ของ P&G รวมทั้งพลาสติกอื่นๆ ในสาขาของโลตัส 35 แห่ง เพื่อนำพลาสติกเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลผ่าน "You เทิร์น แพลตฟอร์ม" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างบ้านจากวัสดุรีไซเคิล ส่งมอบบ้านที่สร้างจากวัสดุรีไซเคิลให้สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีในพระอุปถัมภ์ ภายใต้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับกลุ่มเปราะบางในสังคม
  • จุดรับกล่องกระดาษ โลตัสติดตั้งจุดรับกล่องกระดาษจากลูกค้า ในไฮเปอร์มาร์เก็ตทุกสาขาและกล่องกระดาษจากการดำเนินงานในธุรกิจของโลตัสเอง ปัจจุบันรวมได้ทั้งสิ้นกว่า 32,936.13 ตัน
  • จุดรับพลาสติกสะอาด โดยร่วมกับพันธมิตรธุรกิจผ่านโครงการ "มือวิเศษ X วน" และโครงการส่งพลาสติกกลับบ้าน ปัจจุบันสามารถเก็บบรรจุภัณฑ์พลาสติก 2.264 ตัน กลับเข้าระบบเพื่อนำไปรีไซเคิลเป็นถุงพลาสติกแบบหนาใช้ซ้ำ เป็นต้น
  • จุดรับขวดน้ำพลาสติกใส จากเครื่อง Reverse Vending Machine ซึ่งจะเป็นการแลกเปลี่ยนจากขวดพลาสติกใสเป็นโลตัสคอยน์หรือไข่ จากโครงการ ข. ขวดแลก ข. ไข่ ซึ่งโลตัสคอยน์สามารถนำไปแลกเป็นส่วนลดและสิทธิพิเศษต่างๆ ได้ ตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการจนถึงปัจจุบันสามารถเก็บขวดพลาสติกกว่า 684,861 ใบ กลับเข้าระบบเพื่อนำไปรีไซเคิลอย่างถูกวิธีและได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมา อาทิ โครงการถุงผ้ารักษ์โลก หรือเสื้อรักษ์โลก เป็นต้น

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

3 ล้านขวด

ขวดพลาสติกและกระป๋องอะลูมิเนียมได้แล้วเกือบ

1.5 ล้านกิโลกรัม

พลาสติกยืดกว่า

157 ล้านกิโลกรัม

กล่องและลังกระดาษกว่า

นอกจากนี้ โลตัสยกเลิกการแจกถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ตามนโยบายของภาครัฐอย่างเคร่งครัด ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2563 และได้พัฒนา "ถุงคืนชีพ" ถุงพลาสติกแบบใช้ซ้ำได้หลายครั้ง ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล จำหน่ายให้สำหรับลูกค้าที่มีความจำเป็นเท่านั้น โดยลูกค้าสามารถนำมาแลกใบใหม่ได้ฟรีหากใบเก่าชำรุด ถุงคืนชีพที่ชำรุดทั้งหมดจะถูกนำไปรีไซเคิลเป็นถุงคืนชีพใบใหม่เพื่อลดการใช้พลาสติก

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

9088 ตัน

ลดปริมาณการใช้พลาสติกจากโครงการถุงคืนชีพ

363.52 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

8454 ต้น

เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ยืนต้น


โครงการต่อเนื่อง "ถังคัดแยกขยะ"

บริษัทรณรงค์ให้คนไทยช่วยกันคัดแยกขยะพลาสติก เพื่อให้ขยะบรรจุภัณฑ์พลาสติกเข้าสู่ระบบบริหารจัดการตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยมีการตั้ง "ถังคัดแยกขยะ" บริเวณด้านหน้าร้าน 7-Eleven ในปี 2566 บริษัทตั้ง "ถังคัดแยกขยะ" หน้าร้าน 7-Eleven ครบทุกสาขาทั่วประเทศ

โปรแกรมการนำบรรจุภัณฑ์หลังการอุปโภคบริโภคกลับมาใช้ใหม่

โครงการต่อเนื่อง "ถุงหูหิ้วร้าน 7-Eleven" จากฟิล์มพันพาเลทศูนย์กระจายสินค้า

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับคู่ค้าธุรกิจ นำขยะพลาสติกจากฟิล์มพันพาเลทศูนย์กระจายสินค้าทั่วประเทศ มารีไซเคิลผลิตเป็นถุงหูหิ้วสำหรับใช้ในร้าน 7-Eleven ความหนา 37 ไมครอน ซึ่งมีคุณสมบัติทนทานสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

801.64 ตัน

ลดปริมาณขยะพลาสติก

4430.74 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

103041 ต้น

เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ยืนต้น


โครงการต่อเนื่อง ตระกร้าชอปปิงในร้าน 7-Eleven จากลังเบรคเคส

บริษัทนำลังเบรกเคสที่ชำรุดจากศูนย์กระจายสินค้ามาแปรรูปผ่านกระบวนการรีไซเคิล นำมาเป็นตระกร้าชอปปิงบริการลูกค้าในร้าน 7-Eleven เพื่อเป็นการลดขยะจากการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ และเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่ามากยิ่งขึ้น

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

55.47 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

1290 ต้น

เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ยืนต้น


โครงการต่อเนื่อง "เสื้อพนักงาน" จากขวดพลาสติก

บริษัทมีการนำขวดพลาสติกมารีไซเคิลเป็นเสื้อเครื่องแบบให้พนักงานร้าน 7-Eleven เสื้อโปโลของพนักงานศูนย์กระจายสินค้าและเสื้อโปโลสำหรับพนักงานสายสำนักงาน

ในปี 2566 บริษัทสามารถผลิตเสื้อพนักงานกว่า 728,111 ตัว และสามารถลดปริมาณขวดพลาสติกเพื่อนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลไปแล้วกว่า 3,088,620 ขวด บริษัทยังได้ขยายผลการดำเนินงานไปยัง บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) ภายใต้โครงการ "Makro รักษ์โลก-ขวดเปล่าไม่ให้สูญเปล่า" ในการนำขวดพลาสติกมารีไซเคิลเป็นเสื้อพนักงานอีกด้วย

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

97.18 ตัน

ลดปริมาณขยะพลาสติกสู่การฝังกลบ

112.83 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

2624 ต้น

เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ยืนต้น


โครงการ รักษ์เกาะ 24 ชั่วโมง-อิฐรักษ์โลกจากพลาสติกกำพร้าบนเกาะ

ซีพี ออลล์ ร่วมกับภาคีเครือข่ายโรงเรียนในโครงการของมูลนิธิสานอนาคตการศึกษาคอนเน็กซ์ อีดี ภายใต้การดูแลของซีพี ออลล์ ชุมชน องค์กรไร้ถึง ทั้งภาครัฐและเอกชน ต่อยอดโครงการ "ต้นกล้าไร้ถัง" เปลี่ยนขยะพลาสติกบนเกาะสู่ "อิฐรักษ์โลก" โดยตั้งเป้าหมายลดปริมาณขยะบนเกาะเฉลี่ยร้อยละ 50 พร้อมสร้างรายได้กลับคืนสู่ชุมชนบนเกาะผ่าน 3 หลักการ คือ

  • ขยายเครือข่าย: จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้การจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม มอบองค์ความรู้ด้านการรียูส รีไซเคิล และอัปไซเคิลให้กับชุมชนบนเกาะ
  • ลด: ชุมชนลดใช้ถุงพลาสติก ลดใช้โฟมหันมาใช้ใบตองทดแทนและร้าน 7-Eleven 22 สาขาบนเกาะพงันใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น เปลี่ยนแก้วน้ำเครื่องดื่ม ALL Cafe จากแก้วพลาสติกเป็นแก้วกระดาษที่สามารถย่อยสลายตามธรรมชาติได้ เปลี่ยนไม้ชงกาแฟจากพลาสติกเป็นไม้ที่ทำจากต้นไผ่เพื่อลดการใช้วัสดุประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง ลดการใช้หลอดโดยการเปลี่ยนฝายกดื่ม และลดการใช้ถุงพลาสติกโดยใช้หูหิ้วกาแฟจากเส้นกก เสื้อพนักงานทำมาจากขวดพลาสติก PET เป็นต้น
  • แยก: เพื่อให้เกิดพฤติกรรมในการคัดแยกวัสดุรีไซเคิล วัสดุย่อยสลายแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อใช้งานเชิงพาณิชย์ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเสียน โดยได้ดำเนินการคัดแยกพลาสติกกำพร้า อาทิ ฉลากขวดน้ำ ถุงขนม เปลือลูกอม นำมาตัดเป็นชิ้นเล็กๆ และผสมกับปูนซีเมนต์และวัสดุอื่นๆ ผลิตเป็นอิฐรักษ์โลกที่มีส่วนผสมเป็นพลาสติกร้อยละ 40 และมีคุณสมบัติแข็งแรงทนทาน ยืดหยุ่นดี ราคาถูกกว่าอิฐทั่วไป นำมาใช้ปูลานกีฬาอเนกประสงค์รักษ์โลก นอกจากนี้ อิฐรักษ์โลกยังสามารถสร้างรายได้ให้กับโรงเรียนและชุมชนอีดด้วย

ปี 2566 บริษัทนำร่องดำเนินการโมเดล "Green Living" รักษ์เกาะ 24 ชั่วโมง บนพื้นที่เกาะพงันใน 3 เทศบาล ได้แก่ เทศบาลตำบลเกาะพะงัน เทศบาลตำบลเพชรพะงัน เทศบลตำบลบ้านใต้ และบนพื้นที่เกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมทั้งมีแผนขยายผลการดำเนินการไปยัง 11 เกาะ ใน 8 จังหวัด ภายในปี 2573

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

5 ตัน

ลดปริมาณขยะพลาสติก

1 ลานกีฬา

ลดปริมาณขยะพลาสติก

223828 บาท

ลดปริมาณขยะพลาสติก

5.15 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดปริมาณขยะพลาสติก

120 ต้น

ลดปริมาณขยะพลาสติก

ร้อยละ 60

ลดปริมาณขยะพลาสติก


โครงการต่อเนื่อง เพิ่มมูลค่าการจัดการขยะพลาสติกที่ปกเปื้อนในโรงงาน

บริษัท ซีพีแรม จำกัด นำขยะพลาสติกที่ปกเปื้อนจากกระบวนการผลิตภายในโรงงาน ส่งให้กับพนักงานภายนอกนำไปแปรรูปเป็นขยะเชื้อเพลง ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพที่ผลิตมาจากขยะและมีค่าความร้อนจำเพาะสูง นับว่าเป็นแหล่งพลังงานที่เป็นพลังงานสะอาดที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

1128 ตัน

ปริมาณขยะพลาสติกที่นำไปใช้ประโยชน์

14671.06 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

การปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก


โครงการต่อเนื่อง รักษ์โลก-ขวดเปล่าไม่ให้สูญเปล่า

การเริ่มต้นแยกขยะขวดเปล่าพลาสติกสามารถสร้างประโยชน์ได้หลายมิติ บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) จึงรวบรวมขวด PET เพื่อนไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวมถึงช่วยลดใช้ทรัพยากรโลก ทำนุบำรุงศาสนา สร้างอาชีพ และช่วยสนับสนุนทางสาธารณสุขอีกด้วย

โดยร่วมกับพนักงานแม็คโครรับบริจากขวดพลาสติก PET จากพนักงาน มาหย่อนในจุดรับขวดที่สำนักงานใหญ่หรือศูนย์จำหน่ายสินค้าแม็คโคร

ผลลัพธ์

2.4 ล้านขวด

ขวดน้ำพลาสติกใสที่รวบรวมได้กว่า

120000 ตัว

สามารถแปรรูปเป็นเสื้อพนักงาน

73.92 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

เทียบเท่ากับการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ร่วมกับบริษัทอินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) นำขวด PET ขนาด 600 มิลลิลิตร รีไซเคิลเป็นเส้นใยผลิตชุด PPE คุณภาพสูง (18 ขวด ผลิตชุด PPE ได้ 1 ชุด) รวมถึงนำไปสนับสนุนการจัดทำเสื้อกีฬาจากเส้นใยรีไซเคิลมอบให้เด็กในชุมชนโดยรอบสาขาโดยเปิดจุดรับบริจาคขวดพลาสติกจากลูกค้าและประชาชนที่ศูนย์จำหน่ายสินค้าแม็คโคร 5 สาขา ประกอบด้วย สาขานครปฐม สาขาศาลายา สาขาเพชรเกษม สาขาบางบอน และสาขาจรัญสนิทวงศ์

ผลลัพธ์

285659 ขวด

ขวดน้ำพลาสติกใสที่รวบรวมได้กว่า

4.86 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

เทียบเท่ากับการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ร่วมมือกับวัดจากแดง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุปราการรวบรวมขวด PET ที่ใช้งานแล้ว จากศูนย์จำหน่ายสินค้าบริเวณใกล้เคียงกับวัดจากแดง เพื่อนำไปแปรรูปเป็นจีวรพระ ในขณะที่สาขาที่อยู่ห่างไกลจะรวมขวดน้ำ PET ขายและนำเงินที่ได้บริจาคให้กับวัดจากแดง

ผลลัพธ์

2.32 ล้านขวด  ( 38.76 ตัน)

ขวดน้ำดื่ม PET ที่รับบริจาคให้วัดจากแดง

126636 บาท

จำนวนเงินที่บริจาคให้วัดจากแดง

111.82 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

เทียบเท่ากับการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ตัวอย่างโครงการวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์นวัตกรรม

บริษัทพัฒนาบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่สำหรับซองใส่สินค้าแซนด์วิชอบร้อนเพื่อลดการใช้ถุงพลาสติกหูหิว โดยโครงการมีการกำหนดแผนและระยะเวลาในการดำเนินการทั้งหมด 4 เฟส ปัจจุบันโครงการดำเนินการอยู่ในเฟสที่ 4 ได้เริ่มใช้งานและขยายทั่วประเทศ โดยแนวคิดในการพัฒนาจำเป็นต้องครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน ได้แก่

ด้านสินค้า ต้องมีคุณลักษณะและคุณภาพเหมือนเดิม




ด้านลูกค้าทั้งลูกค้าภายใน และลูกค้าภายนอกต้องยอมรับการใช้งาน




ด้านสิ่งแวดล้อม บรรจุภัณฑ์ที่พัฒนาใหม่ต้องสามารถ Recycle ได้ และเป็นวัสดุที่ได้รับการรับรองว่ามาจากแหล่งป่าปลูกทดแทน


ด้านเศรษฐศาสตร์ ต้องไม่กระทบกับต้นทุนโดยรวมของสินค้า ทำให้บริษัทยังคงจำหน่ายสินค้าในราคาเดิมที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้ และไม่ส่งผลกระทบต่อต้นทุน-ผลกำไรของบริษัท

โดยได้ดำเนินการทดลองภายใต้โจทย์สำคัญ คือ คงคุณภาพของสินค้า ปลอดภัย ลูกค้าสะดวกใช้ และไม่กระทบต่อต้นทุนโดยรวมของสินค้า ริเริ่มพัฒนาซองกระดาษกันไขมันที่มีคุณภาพและ รูปแบบที่เหมาะสมในการใช้งานลูกค้าสามารถถือกลับได้โดยไม่ต้องใส่ในถุงอุ่นร้อน เพื่อทดแทนการใช้กล่องที่ใช้กระดาษหนา และมีช่องเจาะระบายความชื้นส่งผลให้ต้องใส่กล่องบรรจุแซนด์วิชอบร้อนในถุงอุ่นร้อนอีกชั้นก่อนส่งมอบให้ลูกค้า

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

คุณภาพของสินค้าหลังการส่งมอบดีกว่าหรือเทียบเท่าการใช้บรรจุภัณฑ์แบบเดิม

สามารถป้องกันสินค้าจากการปนเปื้อนจาสภาวะภายนอก

ใช้กระดาษที่ได้รับการรับรองว่ามาจากแหล่งป่าปลูกทดแทน และสามารถเข้าสู่กระบวนการ Recycle ได้

ไม่กระทบต่อต้นทุนโดยรวมของสินค้า

50370  บาท

งบประมาณที่ใช้ในการวิจัยและพัฒนา

408.96  ตันต่อปี

ลดปริมาณการใช้พลาสติกจากถุงหูหิ้วชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง

763.40  ตันต่อปี

ลดการใช้กระดาษจากการเปลี่ยนชนิดของกระดาษประมาณ

นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง

นโยบายด้านบรรจุภัณฑ์ ดาวน์โหลด

เว็บไซต์ cpall.co.th มีการเก็บคุกกี้ซึ่งเป็นการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน้า นโยบายการใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า