การปกป้องฟื้นฟูระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ
ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2566
จัดการความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่เสี่ยง
ร้อยละ 100ปลูกต้นไม้สะสม
722024 ต้นปล่อยลูกพันธุ์ปูม้าระยะ Yong Crab สะสมกว่า
1.2 ล้านตัวการดำเนินงานที่สำคัญปี 2566
โครงการต่อเนื่อง ปลูกป่า ปลูกอนาคต
โครงการตามแนวทางการบรรเทาผลกระทบอย่างมีลำดับชั้น
โครงการ CPRAM Green Life #ปลูกเพื่อโลกยั่งยืน
โครงการต่อเนื่อง ปูม้ายั่งยืนเพื่อทะเลไทย
โครงการต่อเนื่อง ประเมินความเสี่ยงสภาวะขาดแคลนน้ำของพื้นที่ดำเนินการของบริษัท
ผู้มีส่วนได้เสียหลักที่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ
สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
SDG 6 สร้างหลักประกันว่าจะมีการจัดให้มีน้ำและสุขอนามัยสำหรับทุกคน และมีการบริหารจัดการที่ยั่งยืน
6.6 ยกระดับคุณภาพน้ำ โดยลดมลพิษ ขจัดการทิ้งขยะและลดการปล่อยสารเคมีและวัสดุอันตราย ลดสัดส่วนน้ำเสียที่ไม่ผ่านกระบวนการลงครึ่งหนึ่ง และเพิ่มการนำกลับมาใช้ใหม่
SDG 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
14.1 ป้องกันและลดมลพิษทางทะเลทุกประเภท โดยเฉพาะจากกิจกรรมบนแผ่นดิน
SDG 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นสภาพกลับมาใหม่ และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
15.1 สร้างหลักประกันว่าจะมีการอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ระบบนิเวศบนบกและในน้ำจืดในแผ่นดิน รวมทั้งบริการทางระบบนิเวศอย่างยั่งยืนโดยเฉพาะอย่างยั่ง ป่าไม้ พื้นที่ชุ่มน้ำ ภูเขา และเขตแห้งแล้ง
ผลการดำเนินงานเทียบเป้าหมาย
เป้าหมายปี 2573
ร้อยละ 100ทุกพื้นที่การดำเนินการของธุรกิจมีโครงการวามร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ หรืองค์กรอิสระภายนอกเพื่อช่วยสนับสนุนการลดผลกระทบเชิงลบต่อระบบนิเวศหรือความหลากหลายทางชีวิตภาพ
ความคืบหน้าเทียบกับเป้าหมาย
สรุปผลการดำเนินงาน ปี 2566
จำนวนต้นไม้ที่ปลูก เพื่อลดผลกระทบต่อระบบนิเวศ
ประเภทชนิดพันธุ์ไม้ที่ปลูก
ร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสีย จำแนกตามประเภทโครงการ
ประเภทโครงการ | พื้นที่ (ไร่สะสม) | จำนวนต้นไม้ (ต้นไม้สะสม) |
คาดการณ์ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า) (กรณีต้นไม้โตเต็มวัย*) |
---|---|---|---|
ร่วมกับภาคส่วนอื่นๆ อาทิ ภาครัฐ วัด โรงเรียน | 7301 | 662533 | 28488.92 |
ร่วมกับเครือข่ายเอกชน ชุมชนใกล้เคียงปลูกป่า ส่งเสริมอาชีพ | 272 | 14135 | 307.81 |
สนับสนุนกล้าไม้ให้พนักงานปลูก | 137 | 26874 | 1155.58 |
ปลูกต้นไม้ในพื้นที่บริษัท | 903 | 18482 | 794.73 |
* คำนวณจากจำนวนต้นไม้ โดย GHG 1 tCO2e เทียบเท่าต้นไม้สักอายุ 5 ปี 23.26 ตัน/ 1 tCO2e
ความเสี่ยงและโอกาส
กิจกรรมและพฤติกรรมที่สร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน สามารถคิดเป็นค่าใช้จ่ายของทุกรัฐบาลทั่วโลกประมาณ 74.4 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 2.6 ล้านล้านบาท จากการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพสมัยที่้ 15 มีการวางเป้าหมายที่จะอนุรักษ์คุ้มครองและฟื้นฟูพื้นที่ทางบก ลุ่มน้ำ และทางทะเล อย่างไรก็ตาม ข้อกฎหมายและข้อบังคับที่เคร่งครัดในการป้องกันความสูญเสียด้านความหลากหลายทางชีวภาพยังไม่ถูกทบทวนและพัฒนาให้มีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพมากพอ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการอนุรักษ์ของกรอบความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลกร่วมกัน นโยบายที่เข้มงวดในการกำกับดูแลของทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ นอกจากเพื่อลดความเสียหายต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม แหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติ พื้นที่เกษตรกรรม ยังนับเป็นการปกป้องสิทธิมนุษยชนในการถือครองที่ดิน การประกอบอาชีพ แหล่งรายได้ และคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรและชุมชนอีกด้วย
บริษัทตระหนักดีว่าระบบนิเวศที่ไม่มั่นคง สามารถส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังการดำเนินธุรกิจ อาทิ จำนวนและคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตรลดลง การขาดแคลนวัตถุดิบที่มีคุณภาพ อาจทำให้การผลิตและส่งมอบสินค้าในระบบห่วงโซ่อุปทานชะลอตัวลงหรือหยุดชะงัก ดังนั้น บริษัทจึงมุ่งสร้างความตระหนักรู้และดำเนินงานอย่างมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศตลอดห่วงโซ่คุณค่า ผ่านมาตรการนโยบายของบริษัท รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจ และภาคส่วนอื่นๆ ในการร่วมปกป้องและฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศทางบกและทางน้ำ
แนวทางการดำเนินงาน
บริษัทดำเนินงานร่วมกับ คู่ค้าทางธุรกิจลำดับที่ 1 ลำดับถัดไป และ พันธมิตรธุรกิจ ในห่วงโซ่คุณค่า ภายใต้นโยบายด้านความหลากหลายทางชีวภาพและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อประเมินความเสี่ยง ผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ครอบคลุมพื้นที่และการดำเนินงานของบริษัท หลีกเลี่ยงการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจที่จะส่งผลกระทบต่อพื้นที่อนุรักษ์ พื้นที่คุ้มครอง ตามนิยามและข้อกำหนดขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ และพื้นที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกตามประกาศของ UNESCO บริษัทกำหนดแนวทางการบรรเทาผลกระทบอย่างมีลำดับขั้น เพื่อบริหารจัดการผลกระทบเชิงลบจากการดำเนินธุรกิจ ที่อาจก่อให้เกิดความสูญเสียต่อความหลากหลายทางชีวภาพ พร้อมกันนี้ บริษัทมุ่งมั่นในการร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรและทุกกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ดำเนินโครงการฟื้นฟู อนุรักษ์ และสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในระบบนิเวศทั้งทางบกและทางน้ำ เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกสุทธิ คืนสมดุลและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับระบบนิเวศ
การประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
นอกจากเคารพและปฏิบัติตามข้อกำหนด และปฏิบัติตามกฎหมายท้องถิ่นด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ บริษัทมีนโยบายด้านความหลากหลายทางชีวภาพและทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงมีการดำเนินงานด้านการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศทางบกและทางน้ำ รวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพในขอบเขตพื้นที่ดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ ครอบคลุมพื้นที่โรงงานผลิต พื้นที่ศูนย์กระจายสินค้า และพื้นที่การจำหน่ายสินค้า ร้อยละ 100 รวมไปถึงพื้นที่การดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจของคู่ค้าสำคัญลำดับที่ 1 ร้อยละ 100
การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศรวมกับฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ ได้ถูกนำมาใช้ในการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อความหลากหลายทางชีวภาพ สามารถต่อยอดเพื่อจัดทำแผนการดำเนินการป้องกันหรือลดผลกระทบต่อระบบนิเวศ พร้อมกับขยายแนวทางการพัฒนาร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียอย่างต่อเนื่อง ไม่ให้พื้นที่การดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทและคู่ค้าตั้งอยู่ในพื้นที่เขตคุ้มครองใดๆ และไม่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อความหลากหลายทางชีวภาพทั้งทางบกและทางน้ำ
ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบความหลากหลายทางชีวภาพ
กำหนดขอบเขตการประเมินและพื้นที่ศึกษา
คัดกรองและประเมินขั้นต้น
คัดเลือกพื้นที่อ่อนไหวเพื่อทำการดำเนินการประเมินเชิงลึกครอบคลุม 3 ด้าน
จัดทำแผนป้องกันผลกระทบและดำเนินการตามแผน
สร้างการมีส่วนร่วมและแนวทางพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ผลการประเมินความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
บริษัทพิจารณาความเฉพาะเจาะจงของพื้นที่ตามกิจกรรมการดำเนินธุรกิจ ทั้งภายในพื้นที่ปฏิบัติงานของบริษัทพื้นที่โดยรอบในรัศมี 0 ถึง 5 กิโลเมตร กิจกรรมต้นน้ำของโรงงานผลิตสินค้า และกิจกรรมปลายน้ำของศูนย์กระจายสินค้าในการส่งมอบสินค้าไปยังร้านค้าและผู้บริโภค ได้แก่ โรงงานผลิต ศูนย์จำหน่ายสินค้าแม็คโคร โลตัส และศูนย์กระจายสินค้าที่ตั้งอยู่นอกพื้นที่ชุมชน รวม 616 แห่ง ควบคู่ไปกับการพิจารณาพื้นที่อนุรักษ์ พื้นที่คุ้มครอง พื้นที่ความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญ พื้นที่สำคัญทางธรรมชาติ อาทิ ป่าไม้ แหล่งน้ำขนาดใหญ่ ลุ่มน้ำ ที่ระบุตามกระบวนการวิเคราะห์ของเครื่องมือประเมินความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (IBAT/BestCat)
การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ปี 2566
พื้นที่ดำเนินการ | จำนวนพื้นที่ดำเนินการ | พื้นที่ (ไร่) |
---|---|---|
พื้นที่ดำเนินการทั้งหมด | 616 | 8645.20 |
พื้นที่ดำเนินการที่มีการประเมินผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (ภายใน 5 ปีที่ผ่านมา) |
616 | 8645.20 |
พื้นที่ดำเนินการที่มีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ (ภายใน 5 ปีที่ผ่านมา |
52 | 669.45 |
พื้นที่ดำเนินการที่ส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพและได้พัฒนาระบบการบริหารจัดการและติดตามผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ (ภายใน 5 ปีที่ผ่านมา) |
52 | 669.45 |
การระบุประเด็นความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
บริษัทคัดกรองและประเมินประเด็นความเสี่ยงขั้นต้นในอุตสาหกรรมค้าปลีกอาหาร โดยอ้างอิงแนวทางขององค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล และความเฉพาะเจาะจงของพื้นที่ตามกิจกรรมการดำเนินธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งพิจารณาทั้งปัจจัยที่บริษัทมีความเสี่ยงจะส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และปัจจัยทางธรรมชาติที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจหรือการผลิต ทั้งนี้ บริษัทจัดลำดับปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญที่มีอยู่และมีแนวโน้มจะส่งผลกระทบในอนาคต แบ่งออกเป็น 3 ปัจจัย ดังนี้
ผลกระทบต่อความอุดมสมบูรณ์ของสายพันธุ์ทั่วโลก
ผลกระทบต่อสายพันธุ์ที่ถูกคุกคาม
การพึ่งพาดินและน้ำ
บริษัททบทวนประเด็นความเสี่ยงตามบริบทและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้มาซึ่งประเด็นความเสี่ยงที่สำคัญ เพื่อจัดทำแผนบริหารจัดการความเสี่ยงและมาตรการการดำเนินงานตามแนวทางการบรรเทาผลกระทบอย่างมีลำดับขั้น ซึ่งครอบคลุมร้อยละ 100 จาก 52 พื้นที่ดำเนินการที่พบประเด็นความเสี่ยงที่สำคัญ
แนวทางการบรรเทาผลกระทบอย่างมีลำดับขั้น
จากกระบวนการประเมินประเด็นความเสี่ยงทั้งทางตรงและทางอ้อมรวมถึงผลกระทบที่สำคัญทั้งเชิงลบและเชิงบวกในด้านความหลากหลาย การรุกรานของศัตรูพืช การลดลงของสายพันธุ์พืชและสัตว์ การย้ายถิ่นฐาน และการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศวิทยา
ทั้งนี้ บริษัทเคารพและติดตามข้อกำหนดและกฎหมายท้องถิ่นทางด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ท้องถิ่น เพื่อทบทวนมาตรการในการปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด พร้อมกำหนดแนวทางการบรรเทาผลกระทบอย่างมีลำดับขั้น จากการหลีกเลี่ยงไปจนถึงการชดเชย พร้อมกับการศึกษาสายพันธุ์พืชและสัตว์ในพื้นที่ที่ถูกคัดเลือกว่ามีความอ่อนไหว เพื่อติดตามและทบทวนผลการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพของบริษัท ให้สามารถลดความเสี่ยงทั้งทางตรงและทางอ้อม บรรเทาผลกระทบเชิงลบจากการดำเนินธุรกิจที่มีต่อระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพในระยะยาว
ความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อลดผลกระทบต่อระบบนิเวศ
บริษัทร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งคู่ค้า พันธมิตรธุรกิจ หน่วยงานภาครัฐ ชุมชนท้องถิ่น ตลอดจนภาคีเรือข่ายของบริษัท เพื่อดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพในชุมชนรอบข้างพื้นที่ดำเนินการและเพื่อรักษาระบบนิเวศให้มีความสมบูรณ์
บริษัทได้ตั้งเป้าหมายในการปลูกต้นไม้ จำนวน 1,000,000 ต้น ภายในปี 2568 และดำเนินโครงการสนับสนุนต้นไม้เพื่อชุมชน โดยมีคณะทำงานปลูกไม้ยืนต้นเพื่อชุมชนที่ยั่งยืนดำเนินงานทั้งด้านอนุรักษ์ ด้านฟื้นฟูป่าไม้ ด้านการส่งเสริมการปลูกเพื่ออาชีพ และติดตามโครงการภายใต้กรอบการดำเนินการทั้ง 4 ด้าน ดังนี้
กรอบการดำเนินงานร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อลดผลกระทบต่อระบบนิเวศ
โครงการที่สำคัญ ปี 2566
1. ฟื้นฟูระบบนิเวศในชุมชนรอบพื้นที่ปฏิบัติการ
บริษัทส่งเสริมให้พนักงานมีจิตอาสา ตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมพื้นที่โดยรอบพื้นที่ปฏิบัติงานทั้งร้าน 7-Eleven ศูนย์จำหน่ายสินค้าแม็คโคร โลตัส พื้นที่สถาบันการศึกษา ศูนย์กระจายสินค้า และอาคารสำนักงานทั่วประเทศ โดยสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน หน่วยงานภาครัฐ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ผ่านกิจกรรมปลูกต้นไม้ ขยายพันธุ์ไม้สู่ชุมชนเป็นประจำทุกปีอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีและฟื้นฟูระบบนิเวศให้ดียิ่งขึ้น ปัจจุบันมีการปลูกต้นไม้สะสมมากกว่า 18,482 ต้น
พื้นที่ดำเนินการ
พื้นที่ร้าน 7-Eleven ศูนย์กระจายสินค้าและสำนักงาน
พื้นที่สถาบันการศึกษาในกลุ่ม ซีพี ออลล์
พื้นที่ศูนย์จำหน่ายสินค้าแม็คโคร และ โลตัส และอาคารสำนักงานทั่วประเทศ
พื้นที่ภายในความรับผิดชอบซีพีแรม
2. ร่วมมือกับพันธมิตร เพื่อลดผลกระทบต่อระบบนิเวศทางบกและทางน้ำ
ลดผลกระทบต่อระบบนิเวศทางบก
โครงการต่อเนื่อง "WE GROW for ALL เราปลูกเพื่อทุกคน"
ซีพี ออลล์ ดำเนินโครงการต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 ในการจัดสรรพันธุ์กล้าไม้และสนับสนุนกิจกรรม "อวดต้นไม้ของเรา" ให้พนักงานร่วมปลูกไม้ยืนต้นและบันทึกการปลูกต้นไม้ผ่านแอปพลิเคชัน We Grow
ผลการดำเนินงาน ปี 2566
แจกจ่ายพันธุ์กล้าไม้
ให้กับพนักงาน
โครงการ "เรารักกัน เรารักโลก" คืนกำไรให้สังคม สนับสนุนกิจกรรมปลูกป่าลดโลกร้อน
โลตัส ร่วมสนับสนุน แคมเปญ "เรารักกัน เรารักโลก" ร่วมลดโลกร้อนและสร้างอากาศที่ดี โดยนำเงินรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ล้างจานไลปอนเอฟในสาขาของโลตัสทั่วประเทศ ที่มีฉลากลดโลกร้อนหรือฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ โดยทุกการจำหน่าย 1 ถุง เท่ากับ 1 บาท จะนำมาสมทบทุนบริจาคให้มูลนิธิโลตัสดำเนินโครงการปลูกป่าใน "โครงการปลูกป่า โลตัส" เพื่อช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจก ซึ่งโลตัสได้ดำเนินโครงการปลูกป่าต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 17 ปี ผ่านการร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้ นำเพื่อพนักงานโลตัสร่วมกิจกรรม "โลตัส ปลูก ลดร้อน" ปลูกต้นกล้ารวม 500 ต้น พร้อมเชิญชวนประชาชนและเยาวชนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม เพื่อแบ่งปันความรู้และสร้างจิตสำนึกในการเป็นแนวร่วมดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้และสัตว์ สนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งยั่งยืน
ผลการดำเนินงาน ปี 2566
จำนวนต้นไม้
มูลค่าบริจาค
โครงการต่อเนื่อง CPRAM Green Life #ปลูกเพื่อโลกยั่งยืน
ซีพีแรม ดำเนินโครงการต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ส่งมอบกล้าไม้ยืนต้นให้กับพนักงาน ชุมชน และผู้ที่สนใจทั่วประเทศ นำกล้าไม้ไปปลูกยังพื้นที่อาศัยและพื้นที่สาธารณะในชุมชนตามภูมิลำเนา เพื่อช่วยกระจายพื้นที่สีเขียว ฟื้นฟู และรักษาสมดุลของระบบนิเวศ และเพิ่มปริมาณต้นไม้ในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ
ผลการดำเนินงาน ปี 2566
ปลูกต้นไม้
บนพื้นที่กว่า
โครงการต่อเนื่อง Next Gen New World
โลตัสร่วมกับมูลนิธิพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ดำเนินโครงการต่อเนื่องเป็นปีที่ 17 จัดกิจกรรมเยาวชนจิตอาสา อบรมเยาวชนปลูกจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม และสร้างนักอนุรักษ์ธรรมชาติที่ดีเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยปี 2566 จัดกิจกรรมรักษาผืนป่า ดังนี้
ผลการดำเนินงาน ปี 2566
เยาวชนเข้าร่วมอบรม
ปลูกต้นไม้
ครอบคลุมพื้นที่
ลดผลกระทบต่อระบบนิเวศทางน้ำ
โครงการต่อเนื่อง ปูม้ายั่งยืน คู่ทะเลไทย
บริษัท ซีพีแรม จำกัด ดำเนินโครงการปูม้ายั่งยืน คู่ทะเลไทย ต่อเนื่องเป็นปีที่ 12 ซึ่งเป็นการจัดการห่วงโซอุปทานที่เกิดผลตามแนวทาง FOOD 3S ของซีพีแรม โดยผู้เกี่ยวข้องตั้งแต่ ต้นน้ำสู่ปลายน้ำ อันได้แก่ ชาวประมง แพสิริมาระยอง (ผู้ส่งมอบวัตถุดิบเนื้อปู) บริษัท ซีพีแรม จำกัด (ผู้ผลิตอาหาร) และผู้บริโภครวมถึงสำนักงานประมงจังหวัดระนอง ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลระนอง และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เขต 3 เป็นผู้สนับสนุนความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อให้การจัดการอนุรักษ์ คุ้มครอง และการพัฒนาการประมงปูม้าในทะเลไทยบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีผลเสียต่อระบบนิเวศวิทยา ทรัพยากร และคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อการเพิ่มมูลค่าปูม้าจากการแปรสภาพที่สอดคล้องกับมาตรฐานทางสุขอนามัยให้ได้ผลิตภัณฑ์ปูม้าที่มีคุณภาพสำหรับการบริโภค ประกันคุณภาพรักษามาตรฐานที่ต้องการ รวมถึงเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและความยั่งยืนอาหาร ทั้งนี้ การดำเนินการโครงการดังกล่าวมีความคาดหวังในระยะยาว ถือกำหนดมาจากแนวคิดในการอนุรักษ์พันธุ์ปูม้าในพื้นที่ทะเลอ่าวไทย ต่อยอด ขยายผลไปยังพื้นที่อันดามัน เพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติไว้ให้คงความสมบูรณ์และสมดุลระบบนิเวศในท้องทะเลไทย
ผลการดำเนินงาน ปี 2566
ร่วมปล่อยลูกพันธุ์ปูม้าระยะ Young Crab คืนสู่ท้องทะเลไทยกว่า
สะสม
โครงการปลูกป่าชายเลน
บริษัทร่วมกับศูนย์กระจายสินค้ามหาชัย ศูนย์กระจายสินค้าสุราษฎร์ธานี และชุมชน อนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่ง ในบริเวษพื้นที่ป่าชายเลน ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์อนุบาลและที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเล เป็นประจำทุกปี
ผลการดำเนินงาน ปี 2566
ปลูกป่า
โลตัสร่วมมือกับภาคีเครือข่ายปลูกป่าชายเลน คลองบ้านอำเภอ
โลตัสร่วมกับสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 2 โดยส่วนส่งเสริมและประสานงานเครือข่ายทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เข้าร่วมกิจกรรมปลูกป่าชายเลน คลองบ้านอำเภอ ณ บ้านแพน รีสอร์ท ตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี มีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน นักเรียน ชุมชนชายฝั่ง และอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล (อสทล.) ในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 50 ราย ร่วมกับปลูกป่าชายเลนบริเวณพื้นที่คลองบ้านอำเภอ เพื่อเป็นการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนพื้นที่บ้านอำเภอให้มีความอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และรักษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศบริเวณคลองบ้านอำเภอให้มีความอุดมสมบูรณ์
3. ปลูกต้นไม้ ปลูกอาชีพ
โครงการต่อเนื่อง "แม็คโคร ปลูกป่า"
บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) ร่วมกับจังหวัดชลบุรีดำเนิน "โครงการป่าสิริเจริญวรรษอันเนื่องมาจากพระราชดำริ" ปลูกต้นไม้ภายในพื้นที่ป่าสิริเจริญวรรษ ซึ่งเป็นแหล่งเรรียนรู้ระบบนิเวศที่สำคัญครอบคลุมพื้นที่ 3,900 ไร่ พร้อมกันนี้ โครงการได้สนับสนุนการดูแลกล้าไม้ โดยชุมชนและเกษตรกรในพื้นที่ เป็นการสร้างรายได้ให้เกษตรกรและชาวชุมชนชนบท และการเพิ่มผลกระทบเชิงบวก ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
โครงการต่อเนื่อง "ไผ่พอเพียง...สู่อนาคตที่ยั่งยืน (Bamboo Project)"
ไผ่เป็นพืชท้องถิ่น เป็นที่ต้องการของตลาด เกิดภาวะขาดแคลน และต้องนำเข้าจากต่างประเทศ บริษัทร่วมกับโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ "สานอนาคตการศึกษา CONNEXT ED" ของบริษัท ภายใต้ภาคีไผ่ยั่งยืน ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 สร้างรายได้ให้แก่โรงเรียน โดยการให้ความรู้เรื่องประโยชน์ของไผ่การเพาะพันธุ์ การปลูก การดูแลรักษา การใช้ประโยชน์ และการแปรรูปไผ่ ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม จัดสรรทรัพยากรน้ำและดิน ผ่านรูปการสัมมนาออนไลน์ ตลอดจนสนับสนุนพันธุ์กล้าไผ่ให้แก่โรงเรียนภาคีเครือข่าย รวมถึงช่วยหาโอกาสและช่องทางการตลาด
ผลการดำเนินงาน ปี 2566
โรงเรียนและชุมชนเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการ
ผู้เข้าร่วมโครงการ (นักเรียน 135 ราย ครู 11 ราย และคนในชุมชน 14,685 ราย)
สนับสนุนพันธุ์กล้าไผ่
มูลค่าการสนับสนุน
ช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจก
4. ปลูกป่า ปลูกอนาคต
ดำเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ศูนย์เพาะพันธุ์ อนุบาลกล้าไม้ และสนับสนุนพันธุ์กล้าไม้เพื่อบ้าน วัด และชุมชนทั่วประเทศ พร้อมกับจัดงานสัมมนาสร้างเครือข่ายปลูกป่า ปลูกอนาคต ปี 2566 ส่งมอบกล้าไม้ให้กับพนักงานและประชาชน จำนวน 176,635 ต้น 179 ชุมชน 28 จังหวัด ครอบคลุมพื้นที่ 883 ไร่ โดยมีตัวอย่างโครงการ ดังนี้
โครงการชุมชนต้นน้ำปลูกป่า
บริษัทร่วมกับกลุ่มชุมชน 9 แห่ง และภาคีต้นน้ำ ส่งเสริมการปลูกฝังการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้กับนักเรียน นักศึกษา และชุมชน ผ่านการสนับสนุนแหล่งเพาะกล้าไม้ งบประมาณสร้างโรงเรียนเพาะพันธุ์ โรงเรือนอนุบาลกล้าไม้ และการดูแลรักษา ทั้งนี้ กล้าไม้จากแหล่งเพาะภายในโครงการ "ปลูกป่า" จะถูกส่งต่อผ่านโครงการป่าล้อมวัด เพื่อไปปลูกที่บ้าน วัด โรงเรียน ชุมชน รวมถึงโครงการ "WE GROW for ALL เราปลูกเพื่อนทุกคน" ให้พนักงานร่วมปลูกไม้ยืนต้นต่อไป
ผลการดำเนินงาน ปี 2566
เพาะพันธุ์กล้าไม้
ครอบคลุมพื้นที่
คนในชุมชนเข้าร่วมโครงการ
ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
โครงการต่อเนื่อง ป่าล้อมวัด
ซีพี ออลล์ นำพันธุ์กล้าไม้จากโครงการชุมชนต้นน้ำปลูกป่า ส่งมอบให้กับวัดและชุมชน เพื่อฟื้นฟูและคืนความสมบูรณ์ให้กับระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ มุ่งส่งเสริมการปลูกป่าทดแทน เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับชุมชน และสร้างจิตสำนักรักษืสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน รวมถึงบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีคุณค่า
ผลการดำเนินงาน ปี 2566
ส่งมอบพันธุ์กล้าไม้
ครอบคลุมพื้นที่
คนในชุมชนเข้าร่วมโครงการ
มูลค่าการสนับสนุน
ช่วยดูซับก๊าซเรือนกระจกได้
โครงการต่อเนื่อง โรงเรียนป่าไม้
ภายใต้เป้าหมายของบริษัทในการส่งเสริมการปลูกต้นไม้ให้ได้ 60,000 ต้นต่อปี บริษัทต่อยอดโครงการ "ไผ่พอเพียง...สู่อนาคตที่ยั่งยืน" สู่โครงการ "ปลูกป่า ปลูกอนาคต" ส่งต่อองค์ความรู้ให้กับโรงเรียน โดยบรูณาการความรู้ด้านการปลูกต้นไม้ ในเนื้อหากลุ่มสาระต่างๆ ตามหลักสูตรแกนกลาง ประกอบไปด้วย
ผลการดำเนินงาน ปี 2566
โรงเรียนและสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ
ผู้เข้าร่วมโครงการ (นักเรียน 2,499 ราย ครู 173 ราย และคนในชุมชน 8,189 ราย)
ช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจก
5. โครงการตามแนวทางการบรรเทาผลกระทบอย่างมีลำดับขั้น
การชดเชย คืนความสมดุลหรือเกิดการเปลี่ยนแปลง |
|
การฟื้นฟู ฟื้นฟูระบบนิเวศในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ |
|
การลดผลกระทบ บรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นหรือที่อาจเกิดขึ้นให้น้อยที่สุด |
|
การหลีกเลี่ยง ป้องกันและหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจส่งผลกระทบรุนแรง |
|
นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
นโยบายด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และทรัพยากรธรรมชาติ | ดาวน์โหลด |