การจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2566


ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ จากการดำเนินโครงการกลยุทธ์

311724.35   ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ดูดกลับจากการปลูกต้นไม้

31047.04   ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

หรือเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ยืนต้นจากการดำเนินโครงการกลยุทธ์

722024  ต้น

ได้รับการจัดอันดับระดับ A- หรือเทียบเท่า Leadershp Level จาก CDP ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การดำเนินงานที่สำคัญปี 2566


จัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนที่นำทางรองรับการมุ่งสู่ Carbon Neutral ปี 2573




พิจารณาเข้าร่วมตั้งเป้าหมายการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ขององค์กร ให้ผ่านกระบวนการตรวจสอบตามแนวทางของเป้าหมายที่อิงหลักวิทยาศาสตร์

เข้าร่วมโครงการ CDP ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5




ปริเมินความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามกรอบการรายงานของคณะทำงานด้านการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ

สร้างการมีส่วนร่วมกับคู่ค้าและลูกค้าในการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ พัฒนาผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ



ผู้มีส่วนได้เสียหลักที่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ


สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน


SDG 12 สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการบริโภค และผลิตที่ยั่งยืน

12.2 บรรลุการจัดการที่ยั่งยืนและการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ

SDG 13 ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น

13.1 เสริมภูมิต้านทานและขีดความสามารถในการปรับตัวต่ออันตรายและภัยภิบัติทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศในทุกประเทศ

ผลการดำเนินงานเทียบเป้าหมาย


เป้าหมายปี 2573

Carbon Neutral

มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2573 และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2593

ความก้าวหน้าเทียบกับเป้าหมาย

สรุปผลการดำเนินงาน ปี 2566

ประมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จำแนกตามของเขต

กลุ่ม ซีพี ออลล์

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง (Scope 1)

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (Scope 2)

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (Scope 3)

เฉพาะ ซีพี ออลล์

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง (Scope 1)

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (Scope 2)

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (Scope 3)

ประมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จำแนกตามแหล่งกำเนิด

กลุ่ม ซีพี ออลล์

พลังงานไฟฟ้าที่ซื้อจากภายนอก

น้ำมันดีเซล

น้ำมันเบนซิน

ก๊าซธรรมชาติและก๊าซปิโตรเลียมเหลว

การเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวภาพ

สารทำความเย็น

ก๊าซมีเทนจากระบบบำบัดน้ำเสีย

เฉพาะ ซีพี ออลล์

พลังงานไฟฟ้าที่ซื้อจากภายนอก

น้ำมันดีเซล

น้ำมันเบนซิน

ก๊าซธรรมชาติและก๊าซปิโตรเลียมเหลว

การเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวภาพ

สารทำความเย็น

ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จำแนกตามการซื้อพลังงาน การปล่อยก๊าซเรือนกระจก

การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Scope 2)

Location-Based

Data Coverage (as % of Denominator)

Market-Based

Data Coverage (as % of Denominator)

ความเข้มข้นการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Scope 1 และ Scope 2) ต่อหน่วยรายได้

ปริมาณลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน

การใช้พลังงานหมุนเวียน

ระบบทำความเย็นและการใช้สารทำความเย็นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

การใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในระบบการขนส่ง

หมายเหตุ : การใช้พลังงานหมุนเวียน ประกอบด้วย การใช้พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ การใช้พลังงานความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ และการใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพ

ปริมาณการดูดกลับ ลด และชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่อุปทาน

การดูดกลับจากการปลูกต้นไม้

การลดใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดครั้งเดียวทิ้ง

การลดจากการบริจาคอาหารส่วนเกิน

ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ (ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า) จำแนกตามหมวดหมู่

กิจกรรมต้นน้ำ

ซื้อสินค้าและบริการ


13964445.28
ร้อยละ  91.95

สินค้าทุน


36591.80
ร้อยละ  0.24

การขนส่งสินค้าและกระจายสินค้าต้นน้ำ


205168.47
ร้อยละ  1.35

กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงและพลังงาน


345694.47
ร้อยละ  2.28

การจัดการของเสียที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ


99349.12
ร้อยละ  0.65

การเดินทางเพื่อธุรกิจ


1355.88
ร้อยละ  0.01

การเดินทางของพนักงาน


400005.84
ร้อยละ  2.63

กิจกรรมปลายน้ำ

การขนส่งสินค้าและกระจายสินค้าปลายน้ำ

การบริหารจัดการร้านที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


81390.99
ร้อยละ  0.54

การใช้งานของผลิตภัณฑ์ที่จำหน่าย

การบริหารจัดการร้านที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


41060.17
ร้อยละ  0.27

การจัดการซากผลิตภัณฑ์ที่จำหน่าย

การบริหารจัดการร้านที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


11141.53
ร้อยละ  0.07

ความเสี่ยงและโอกาส


การประชุมสหประชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 27 ปี 2565 ได้เน้นย้ำเป้าหมายสำคัญเพื่อควบคุมหรือลดอุณหภูมิของโลกไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียส อีกทั้งในที่ประชุมยังมีข้อกับวลว่าแม้แต่อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ก็เพียงพอที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของมนุษย์ในระยะยาว ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อการเข้าถึงอาหาร น้ำสะอาด และอากาศบริสุทธิ์ ตลอดจนความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ อีกทั้งความเสี่ยงเชิงการเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงเชิงกายภาพ เช่น กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นต้น ซึ่งส่งผลต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม บริษัทตระหนักถึงผลกระทบจากการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจที่เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น การใช้พลังงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต และการกระจายสินค้า เป็นต้น โดยบริษัทได้ดำเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สนับสนุนการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เตรียมความพร้อมรับมือความเสี่ยงและพัฒนานโยบายด้านความยั่งยืน

แนวทางการดำเนินงาน


บริษัทมอบหมายให้คณะอนุกรรมการพัฒนาความยั่งยืนกำกับดูแลด้านการจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และทีมปฏิบัติงานเฉพาะด้าน เช่น ทีมเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการอนุรักษ์พลังงาน ทีมติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ ทีมพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ทำหน้าที่บริหารงานที่เกี่ยวข้องกับการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายใต้กลยุทธ์ "เซเว่น โก กรีน" ซึ่งมุ่งเน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินธุรกิจให้เป็นไปตามเป้าหมาย มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2573 และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสิทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2593

การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ การปล่อยก๊าซเรือนกตะจกทางตรง (Scope 1) การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (Scope 2) การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ (Scope 3) อีกทั้งบริษัทได้พิจารณาตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ขององค์กร ให้ผ่านกระบวนการตรวจสอบตามแนวทางของเป้าหมายที่อิงหลักวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ บริษัทกำหนดกรอบการดำเนินงานและแนวทางในการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตลอดห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของคณะทำงานเปิดเผยข้อมูลการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศอีกด้วย

บริษัทมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ร่วมสนับสนุนการควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ผ่านกิจกรรม เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนหรือพลังงานหมุนเวียน การใช้สารทำความเย็นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการใช้บรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ปรับเปลี่ยนวัสดุบรรจุภัณฑ์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่คุณค่า เป็นต้น ตลอดจนสนับสนุนให้ผู้มีส่วนได้เสียและทุกภาคส่วนในการผลักดันการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

กรอบการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

01

การแสดงเจตจำนง

ในการลดผลกระทบทั้งปฏิบัติตามกฎหมายข้อบังคับ และสอดคล้องเป้าหมายสากล SDGs

02

การประเมินความเสี่ยงและโอกาส

โดยผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กรในระดับ Top-down และ Bottom-up Management โดยใช้กรอบการประเมิน TCFD

03

การกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และกลยุทธ์

ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมีมาตรการบรรเทาห่วงโซ่คุณค่าของการดำเนินธุรกิจ

04

การดำเนินการ

ผ่านโครงการต่างๆ ภายใต้กลยุทธ์ "เซเว่น โก กรีน (7 Go Green)" ทั้ง 4 ด้าน

05

การประเมินและติดตามวัดผล

ติดตามความคืบหน้าเทียบเป้าหมาย รวมถึงวิเคราะห์แนวทางปรับปรุงผลดำเนินการโดยคณะอนุกรรมการพัฒนาความยั่งยืนทุกไตรมาส

06

สื่อสารผู้มีส่วนได้เสีย

ถึงกลยุทธ์การดำเนินการความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียและความคืบหน้า

ระบบการจัดการสำหรับกิจกรรมการล็อบบี้และการเข้าร่วมสมาชิกสมาคมการค้าและการมีส่วนร่วมในนโยบายสาธารณะ ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เพื่อให้เป็นไปตามกรอบการดำเนินงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศขององค์กร บริษัทเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย เพื่อขับเคลื่อนและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนระหว่าง ภาคเอกชน ภาครัฐและส่วนท้องถิ่น ก่อตั้งโดยองค์กรการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน) ซึ่งมีพันธกิจในการส่งเสริมโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อขับเคลื่อนสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์สอดคล้องกับเป้าหมายความตกลงปารีสหรือ Paris Agreement โดยมีเป้าหมายการพัฒนาดังนี้

  • ส่งเสริมและสนับสนุนองค์กรต่างๆ ด้านแนวทางการศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินและการประกาศเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในระดับองค์กร
  • ส่งเสริมกิจกรรมและโครงการการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สร้างคุณค่าจากคาร์บอนเครดิตในระดับประเทศ
  • สนับสนุนนโยบายเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เงินทุน และประโยชน์ต่างๆ

ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาให้ความร่วมมือและคำแนะนำด้านการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศขององค์กรได้ โดยเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 เครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย ได้จัดการประชุมสมาชิกและอนุกรรมการครั้งแรก เพื่อหารือกลยุทธ์และแผนการดำเนินงานของเครือข่าย รวมถึงการสนับสนุนนโยบายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขอการสนับสนุนจากภาครัฐ ซึ่งในการประชุมครั้งนี้บริษัทได้เข้าร่วมเสนอข้อคิดเห็นและให้ความสนใจในหัวข้อต่างๆ อีกทั้งสนับสนุนกิจกรรมจากสมาคมอย่างต่อเนื่อง

บริษัทและผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลนโยบายความยั่งยืนของบริษัทจะติดตามการขับเคลื่อนตามพันธกิจของเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้บริษัทรับทราบความเคลื่อนไหวรวมถึงมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และขับเคลื่อนวาระด้านการจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับประเทศ รวมถึงปรับเปลี่ยนนโยบายขององค์กรให้สอดคล้องกับนโยบายระดับประเทศ

นอกจากนี้ บริษัทยังเข้าร่วมเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (GCNT) มุ่งบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน รวมถึงเป้าหมายการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ โดยบริษัทร่วมกับสมาคมผลักดันความมุ่งมั่นของภาคเอกชนและภาคประชาสังคม รวมถึงร่วมแลกเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติที่ดีในการมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์อีกด้วย

การประเมินความเสี่ยงและโอกาสด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

บริษัทมุ่งมั่นในการรับมือความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจเกิดขึ้น โดยกำหนดให้มีคณะประเมินความเสี่ยงองค์กรทำหน้าที่ประเมินปัจจัยความเสี่ยงและผลกระทบ รวมถึงโอกาสที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ผลประเมินจะได้รับการอนุมัติโดยคณะกรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล ทั้งนี้ บริษัทได้เปิดเผยข้อมูลการบริษัทจัดการความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับทราบ ตามกรอบการรายงานของคณะทำงานเปิดเผยข้อมูลการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ (Task Force on Climate-related Financial Disclosure: TCFD) ตลอดจนจัดทำแผนด้านความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ

กรอบการรายงานของคณะทำงานเปิดเผยข้อมูลการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ

ในปี 2566 บริษัทได้ระบุความเสี่ยงและโอกาส ทั้งในเชิงกายภาพและเชิงการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สำคัญ รวมถึงมาตรการรับมือโดยสังเขป ดังนี้

ความเสี่ยงเชิงกายภาพ

ความเสี่ยง ผลกระทบต่อห่วงโซ่คุณค่า


น้ำท่วม

ผลกระทบต่อธุรกิจ ผลกระทบต่อห่วงโซ่คุณค่า
  • การหยุดชะงักของกระบวนการผลิตและการให้บริการลูกค้าร้าน 7-Eleven
  • พนักงานที่ร้าน 7-Eleven ประสบภัยน้ำท่วม
  • รายได้ลดลง เนื่องจากจำหน่ายสินค้าในร้าน 7-Eleven ได้น้อยลง 2177 ล้านบาท
  • สูญเสียโอกาสในการขาย เนื่องจากสินค้าขาดส่งจากศูนย์กระจายสินค้า
  • ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 30 จากการป้องกันน้ำท่วม
  • การหยุดชะงักของการขนส่งสินค้าจากคู่ค้ามายังร้าน 7-Eleven
  • ลูกค้าไม่สามารถเข้ามาเลือกซื้อสินค้าที่ร้าน 7-Eleven
  • ชุมชนโดยรอบร้าน 7-Eleven ประสบน้ำท่วม
มาตรการรองรับ

บริษัทออกแบบสร้างร้าน 7-Eleven ที่สามารถป้องกันความเสียหายจากน้ำท่วมภายใต้แนวคิด "ร้านสู้น้ำ" โดยพิจารณาออกแบบ เช่น การกั้นกำแพงสูบน้ำ ออกแบบพื้น และประตูปัองกันแรงดันน้ำ ระบบท่อการติดตั้งปั้มสูบน้ำ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หากเกิดน้ำท่วม บริษัทกำหนดแผนการดำเนินการจัดการ แบ่งออกเป็น 3 เหตุการณ์ ประกอบด้วย

  • ก่อนเกิดเหตุ (การป้องกันและเตรียมความพร้อม) ติดตามสถานการณ์สภาพภูมิอากาศจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งประเมินความเสี่ยงของสถานการณ์ เพื่อให้พนักงานร้านสาขาเตรียมความพร้อมเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ และสินค้าไปยังที่ปลอดภัย พร้อมทั้งเตรียมอุปกรณ์สำหรับการกั้นน้ำเข้ามาภายในร้าน 7-Eleven ตลอดจนจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกแก่พนักงานร้าน หากเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมฉับพลัน
  • ขณะเกิดเหตุ (การตอบสนองต่อเหตุการณ์)
    - หากเกิดน้ำท่วมบริเวณรอบร้าน 7-Eleven จะต้องดำเนินการเฝ้าระวังน้ำเข้าร้าน พร้อมทั้งขนย้ายอุปกรณ์และสินค้าไปยังพื้นที่ปลอดภัย ตลอดจนรายงานสถานการณ์ต่อศูนย์อำนวยการเผชิญเหตุน้ำท่วม
    - หากเกิดเหตุน้ำท่วมเข้ามาภายในร้าน 7-Eleven จะต้องดำเนินการเปิดเครื่องสูบน้ำเพื่อระบายน้ำออกนอกร้านและเตรียมอพยพพนักงานไปยังจุดอพยพที่จัดหาอย่างปลอดภัย
    - หากเกิดน้ำท่วมสูงเกิน 30 เซนติเมตร หรือน้ำท่วมฉับพลันภายในร้าน 7-Eleven จะต้องอพยพพนักงานไปยังจุดรวมพลที่กำหนด และจัดการปฐมพยาบาลสำหรับพนักงานที่ได้รับบอดเจ็บ ตลอดจนสนับสนุนอาหาร เครื่องดื่ม และจุดพักพิงชั่วคราวสำหรับพนักงานที่ได้รับผลกระทบ
  • หลังเกิดเหตุ (แผนฟื้นฟูและเยียวยา) บริษัทดำเนินการตรวจเช็คอุปกรณ์ และปรับปรุง ฟื้นฟูร้าน 7-Eleven ที่ได้รับความเสียหาย พร้อมทั้งเยียวยาพนักงานผู้ได้รับผลกระทบ ตลอดจนสนับสนุนถุงยังชีพให้แก่ผู้ประสบภัยและให้การช่วยเหลือชุมชน


ภัยแล้ง/น้ำกร่อย

ผลกระทบต่อธุรกิจ ผลกระทบต่อห่วงโซ่คุณค่า
  • การผลิตและคุณภาพของสินค้าลดลง
  • ผลผลิตทางการเกษตรและวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์ขาดแคลน
  • ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการซ่อมบำรุงอุปกรณ์ที่เกิดจากตะกรันเกาะ 13 ล้านบาท
  • ผลผลิตทางการเกษตรและวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์ของคู่ค้าลดลง
  • สินค้าจากคู่ค้าไม่ได้คุณภาพและมาตรฐาน
  • ผู้บริโภคอาจเกิดโรคเกี่ยวกับลำไส้จากการบริโภคสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน
มาตรการรองรับ
  • สั่งซื้อถังน้ำสำรอง เพื่อใช้เก็บน้ำสำรองสำหรับใช้ในกระบวนการผลิตน้ำดื่มและน้ำใช้ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ หรือขาดแคลนน้ำมากกว่า 1 สัปดาห์
  • สั่งซื้อน้ำใช้ เพื่อสำรองน้ำที่ใช้ในการผลิตเฉพาะเครื่องดื่ม ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบการขาดแคลนน้ำ หรือพบปัญหาคุณภาพน้ำ
  • ติดตั้งระบบ Reverse Osmosis (RO) ในพื้นที่ที่มีน้ำเค็ม เช่น ชายทะเลหรือพื้นที่ที่ใช้น้ำบาดาลที่มีความกระด้างของน้ำสูง เพื่อปรับสภาพน้ำที่ไม่ได้คุณภาพ อาทิต ความเค็ม ความกระด้าง ให้กลับมามีคุณภาพดี
  • ติดตั้งระบบ Air Water เพื่อดึงน้ำในอากาศมาพัฒนาเป็นน้ำที่ได้คุณภาพใช้ในร้าน 7-Eleven ในพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำดิบ หรือพื้นที่ที่มีความชื้นสัมพัทธ์สูง
  • ให้ความรู้เกษตรกร เพื่อป้องกันการขาดแคลนวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิต โดยให้เจ้าหน้าที่ที่เชี่ยวชาญลงมาให้คำแนะนำตั้งแต่การปรับปรุงผืนดินให้เหมาะกับการเพาะปลูก กระบวนการปลูก การตัดแต่ง การคัดแยก การวางโรงเรือนที่เหมาะสม ตลอดจนสอนการใช้ระบบเทคโนโลยีเข้ามาช่วยวางระบบเซนเซอร์ (Sensor) ควบคุมการใช้น้ำอัตโนมัติ การบันทึกข้อมูลออนไลน์ (Online) และการติดตามควบคุมผลผลิต
  • จัดสรรน้ำที่ผ่านการบำบัดและมีคุณภาพน้ำตามกฎหมายกำหนด จากบ่อเก็บน้ำธรรมชาติของโรงงานให้กับเกษตรกรที่ทำการเกษตรรอบโรงงาน เพื่อป้องกันการขาดแคลนวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิต

ความเสี่ยงเชิงการเปลี่ยนแปลง

ความเสี่ยง ผลกระทบต่อห่วงโซ่คุณค่า


กฎระเบียบเรื่องพลาสติก

ผลกระทบต่อธุรกิจ ผลกระทบต่อห่วงโซ่คุณค่า
  • ความเสี่ยง : ค่าใช้จ่ายในการหาวัสดุทดแทนสูงขึ้นประมาณ 538 ล้านบาทต่อปี
  • โอกาส : ส่งเสริมชื่อเสียงด้านการจัดการขยะพลางติกและบริการที่ส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • โอกาส : ผู้มีส่วนได้เสียให้ความเชื่อมั่นด้านการจัดการขยะพลาสติกของบริษัท
  • โอกาส : ส่งเสริมคู่ค้า ผู้บริโภค และชุมชนในการนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ใหม่
มาตรการรองรับ

บริษัทเตรียมความพร้อม และต่อยอดการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ (Roadmap) ด้านการจัดการขยะพลาสติกเริ่มตั้งแต่ปี 2561-2573 โดยประยุกต์ใช้กรอบการดำเนินงานของ Extended Producer Responsibility (ERP) เพื่อขับเคลื่อนการลดมลพิษที่เกิดจากพลาสติก ตลอดจนมุ่งสู่การเป็นผู้นำในการลดใช้ถุงพลาสติก พลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-Use Plastic) ผ่านการดำเนินโครงการกลยุทธ์การบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์และขยะพลาสติกอย่างยั่งยืนตลอดวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ อาทิ ส่งเสริมการนำกลับมาใช้ใหม่ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน โครงการเรียกคืนบรรจุภัณฑ์ (Take-back) โครงการส่งเสริมผู้บริโภค ลด เลิกใช้พลาสติก และโครงการรีไซเคิล


การตลาด

ผลกระทบต่อธุรกิจ ผลกระทบต่อห่วงโซ่คุณค่า
  • ความเสี่ยง : ค่าใช้จ่ายในการลงทุนเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • โอกาส : เกิดนวัตกรรมใหม่ที่เป็นผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ
  • เจาะตลาดลูกค้ากลุ่มใหม่
  • โอกาส : ช่วยเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดของธุรกิจ สร้างรายได้และกำไรที่ส่งผลต่อการเติบโตของธุรกิจในระยะยาว
  • โอกาส : ส่งเสริมชื่อเสียงด้านบริการที่ส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • โอกาส : ผู้มีส่วนได้เสียรับรู้ภาพลักษณ์ของแบรนด์บริษัทในเชิงบวก
  • โอกาส : ส่งเสริมผู้บริโภคเลือกใช้ผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
มาตรการรองรับ
  • พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญต่อการลดก๊าซเรือนกระจกของกระบวนการผลิตสินค้า ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบจนเข้าสู่กระบวนการผลิต การขนส่ง การนำไปใช้ และการกำจัดซาก
  • ขอการรับรองขึ้นทะเบียนคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) [Thailand Greenhouse Gas Management Organization (Public Organization) : TGO] เพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่ผู้บริโภค


ชื่อเสียง

ผลกระทบต่อธุรกิจ ผลกระทบต่อห่วงโซ่คุณค่า
  • ความเสี่ยง : ความต้องการสินค้าและบริการลดลงจากการรับรู้ภาพลักษณ์ของบริษัทในแง่ลบ
  • ความเสี่ยง : ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียต่อผลิตภัณฑ์ บริการและแนวทางการดำเนินธุรกิจ อาจส่งผลต่อชื่อเสียงและมูลค่าของแบรนด์
  • โอกาส : ผู้มีส่วนได้เสียรับรู้ภาพลักษณ์ของแบรนด์บริษัทในเชิงบวก
  • โอกาส : ส่งเสริมผู้บริโภคเลือกใช้ผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้แก่ผู้บริโภค
มาตรการรองรับ
  • กำหนดนโยบาย และเป้าหมายการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • กำหนดกลยุทธ์ "เซเว่น โก กรีน (7 Go Green)" และโครงการเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม
  • นำกลยุทธ์การตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมหรือ Green Marketing มาปรับใช้กับธุรกิจ
  • จัดกิจกรรมการตลาดหรือสร้างแคมเปญเพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง อาทิ แคมเปญ "แค่ไม่รับ = ปลูกต้นไม้"

กลยุทธ์เซเว่น โก กรีน

กลยุทธ เซเว่น โก กรีน มีเป้าหมายเพื่อให้ชุมชน สังคม และประเทศชาติ มีความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ผ่านการดำเนินงานต่างๆ เช่น การลดการใช้พลังงาน เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน ปรับเปลี่ยนการขนส่ง การกระจายสินค้า และการใช้บรรจุภัณฑ์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น รวมถึงการร่วมมือกับผู้บริโภคและชุมชน สร้างจิตสำนึกการอุปโภคบริโภคอย่างยั่งยืน ผ่านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลด เลิกการใช้ และคัดแยกบรรจุภัณฑ์พลาสติก ส่งผลให้เกิดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ชุมชนมีความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ดัวกล่าวครอบคลุมร้าน 7-Eleven ศูนย์กระจายสินค้า ศูนย์จำหน่ายแม็คโคร โลตัส และโรงงานผลิต อีกทั้งสื่อสารผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมด้วยความโปร่งใสไปยังผู้มีส่วนได้เสียอย่างต่อเนื่อง และสามารถตรวจสอบผลการดำเนินงานได้ ผ่านโครงการเปิดเผยข้อมูลด้านการจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่าน CDP โดยกลยุทธ์ เซเว่น โก กรีน มี 4 แนวทางริเริ่มที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดังนี้

1. Green Store

การบริหารจัดการร้านที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

2. Green Logistic

การขนส่งและการกระจายสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

3. Green Packaging

การจัดการบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

4. Green Living

การปลูกจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม

การบริหารจัดการร้านที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

บริษัทมุ่งเป้าบรรลุความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน รวมถึงบูรณาการการใช้พลังงานหมุนเวียนในการออกแบบ การก่อสร้างอาคาร ปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ครอบคลุมพื้นที่ดำเนินการร้าน 7-Eleven ศูนย์จำหน่ายสินค้าแม็คโคร โลตัส และโรงงานผลิต ผ่านการดำเนินงาน 4 รูปแบบ ดังนี้

1. การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพลังงาน

2. เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน

3. ปรับปรุงระบบทำความเย็นและการใช้สารทำความเย็นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

4. ปลูกจิตสำนึก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของพนักงาน

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

204193.82 เมกะวัตต์-ชั่วโมง

ลดการใช้พลังงาน

202668.31 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

4713217 ต้น

เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ยืนต้น

การดำเนินงานด้านการขนส่งและการกระจายสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

บริษัทมุ่งพัฒนาศูนย์กระจายสินค้าสีเขียว ทั้งในด้านการออกแบบการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ในอาคารศูนย์กระจายสินค้า การขนส่งและกระจายสินค้าไปยังร้าน 7-Eleven และผู้บริโภค โดยผ่านการดำเนินงาน 3 รูปแบบ ดังนี้

1. การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพลังงาน

2. เพิ่มสัดส่วนรถไฟฟ้าในระบบการขนส่งและส่งมอบสินค้า 7Delivery

3. ส่งเสริมระบบการขนส่งสีเขียว

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

15530.89 เมกะวัตต์-ชั่วโมง

ลดการใช้พลังงาน

109443.67 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดปริมาณการการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

2545202 ต้น

เทียบเท่าการปลูกต้นไม่ยืนต้น

การจัดการบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

แผนการจัดการบรรจุภัณฑ์ของบริษัทครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบการใช้งาน และการจำหน่ายไปยังผู้บริโภค รวมไปถึงการกำจัดหรือหมุนเวียนนำมาใช้ใหม่ ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้ลูกค้า และสร้างการมีส่วนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยใช้แนวทางการดำเนินงาน 3 รูปแบบ ดังนี้

1. ลดการใช้พลาสติก ณ แหล่งกำเนิด


2. ลดและทดแทนการใช้พลาสติก ชนิดครั้งเดียวทิ้ง ณ ขั้นตอนการบริโภค

3. ลดขยะบรรจุภัณฑ์ทั้งพลาสติกและไม่ใช่พลาสติก สู่การฝังกลบหลังการอุปโภคบริโภค

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

ร้อยละ 1.84  (993.77 ตัน)

ลดปริมาณการใช้พลาสติกบริสุทธิ์จากโครงการวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหาร

ร้อยละ 4.48  (2416.60 ตัน)

ใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล

ร้อยละ 45.93  (24784.90 ตัน)

ลดปริมาณการใช้พลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง

390668.57  ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการลดใช้พลาสติกรวม

ร้อยละ 0.16  (88.82 ตัน)

บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เก็บกลับไปรีไซเคิล

ร้อยละ 6.17  (3327.82 ตัน)

บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่นำกลับไปใช้ใหม่

การสร้างจิตสำนึก รักษ์สิ่งแวดล้อม

สร้างความร่วมมือกับลูกค้า ชุมชน NGOs หน่วยงานภาครัฐ องค์กรระดับสากลและท้องถิ่น ดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อสร้างการรับรู้ และจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมให้กับชุมชน ส่งผลให้ชุมชนได้รับความเป็นอยู่ที่ดีและยั่งยืน โดยมีรูปแบบโครงการ 4 รูปแบบ ดังนี้

1. สร้างจิตสำนึกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค

2. ลดอาหารส่วนเกิน อาหารสร้างบุญ

3. ลดขยะ เพิ่มประโยชน์ คัดแยกขยะ รวบรวมส่งต่อไปรีไซเคิล

4. เพิ่มพื้นที่สีเขียว ปกป้อง ฟื้นฟูระบบนิเวศ

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

511.84 ตันต่อปี

ลดขยะอาหารสู่การฝังกลบ

2149712 มื้ออาหาร ให้กับ520 ชุมชน

ส่งมอบอาหารส่วนเกิน

1294.95 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

722024  ต้น

ปลูกต้นไม้สะสมจากโครงการลดผลกระทบต่อระบบนิเวศทั้งทางบกและทางน้ำ

โครงการต่อเนื่อง พัฒนาและสรรหาผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ

บริษัท ซีพีแรม จำกัด และ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญต่อการลดก๊าซเรือนกระจกตลอดกระบวนการผลิตสินค้า โดยดำเนินการประเมินการปล่อยและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากการผลิตผลิตภัณฑ์นั้นๆ ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การได้มาของวัตถุดิบ จนเข้าสู่กระบวนการผลิต การขนส่ง การนำไปใช้ และการกำจัดซาก พร้อมทั้งดำเนินการขอรับรองการขึ้นทะเบียนคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

โดยในปี 2566 บริษัทดำเนินการขึ้นทะเบียนรับรองฉลากสินค้าคาร์บอน จำนวน 6 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ขนมจีบกุ้ง ขนมจีบปู ข้าวผัดคะน้าปลาเค็ม ข้าวผัดเผ็ดหน่อไม้ไก่ ข้าวกะเพราหมู และข้าวกะเพรามังสวิรัติ และดำเนินการขึ้นทะเบียนฉลากลดการปล่อยคาร์บอน จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ขนมจีบปู และข้าวกะเพราหมู สร้างยอดขายกว่า 304 ล้านบาท

การสื่อสาร ให้ความรู้ และสร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม

บริษัทดำเนินการสื่อสารและสร้างความตระหนักในเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน สิ่งแวดล้อม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ให้แก่ผู้บริหารและพนักงานทั้งสายสำนักงาน สายปฏิบัติการ และสายกระจายสินค้า รวมถึงบริษัทในกลุ่ม ซีพี ออลล์ เพื่อสร้างจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมและส่งมอบความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนให้กับชุมชน โดยสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เชิงรุกแก่กลุ่มเป้าหมายผ่านช่องทางที่หลากหลาย ทั้งช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ อาทิ

  • การทบทวนความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและสอบประเมินผลการเรียนรู้ CG Quiz ให้กับพนักงานทุกระดับ
  • ให้ความรู้หัวข้อความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้กับ Risk Champion
  • ให้ความรู้ วิธีการประหยัดพลังงานในสำนักงานและร้าน 7-Eleven ผ่านสื่อโปสเตอร์
  • ผนวกประเด็นความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมผ่านกระบวนการบริหารความเสี่ยงขององค์กร
  • ข้อมูลประชาสัมพันธ์ทางอีเมล และแอปพลิเคชัน LINE
  • สร้างการมีส่วนร่วมให้กับพนักงานในกิจกรรมปลูกต้นไม้ภายในบริษัท และร่วมกับภาคส่วนอื่นๆ

โดยในปี 2565 มีการจัดอบรมให้ความรู้แก่พนักงานจำนวน 118,190 คน ทั่วประเทศ นอกจากนี้ บริษัทได้มีการประเมินการรับรู้และความเข้าใจด้านความยั่งยืนของพนักงานทุกระดับ ของกลุ่มธุรกิจ ซีพี ออลล์ พบว่าร้อยละ 100  ของพนักงานรับรู้และเข้าใจ

ข้อมูลอื่นๆ


ผลการดำเนินงานด้านการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

มาตรฐาน GRI รายการ หน่วย 2562 2563 2564 2565
305-2 (a) ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 1,431,181.28 1,808,509.72 1,778,726.26 1,936,757.61
305-1 (a) ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง (Scope 1) ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 214,860.15 236,045.11 324,357.53 435,377.38
  - ก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากการรั่วไหลและอื่นๆ (Fugitive Emissions) ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 176,066.41 194,989.93 277,558.52 384,212.73
  - ก๊าซมีเทนจากระบบบำบัดน้ำเสีย ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 3,742.42 819.66 1,230.88 556.81
  - การเผาไหม้เชื้อเพลิงอยู่กับที่ ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 25,468.24 30,428.86 29,598.88 30,645.31
  - การเผาไหม้เชื้อเพลิงที่มีการเคลื่อนที่ ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 9,021.92 9,253.95 14,834.57 18,575.28
305-1 (c) - การเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวภาพ (Biogenic) ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 579.15 552.71 1,134.68 1,387.26
305-2 (a) ปริมาณก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (Scope 2) ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 1,216,421.13 1,572,464.61 1,454,368.73 1,501,380.23
  - พลังงานไฟฟ้าที่ซื้อจากภายนอก ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 1,216,421.13 1,572,464.61 1,454,368.73 1,501,380.23
  ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จากการใช้พลังงานทดแทน ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 2,491.45 11,851.72 31,149.16 53,982.19
305-4 (a) ความเข้มข้นการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Scope 1 และ Scope 2) ต่อหน่วยรายได้ ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อล้านบาท 2.51 3.31 3.03 2.27
305-3 (a) ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ (Scope 3) ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 208,627.65 243,095.87 13,131,498.28 13,191,694.60
  - การซื้อสินค้าและบริการ ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า N/A N/A 12,824,060.79 12,525,820.40
  - สินค้าทุน ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า N/A N/A N/A 47,305.39
  - การขนส่งสินค้าและการกระจายสินค้า ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 90,128.25 141,122.76 197,321.23 268,798.35
  - การจัดการของเสียที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 192,510.20 90,956.37 99,866.65 90,303.47
  - การเดินทางเพื่อธุรกิจ ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 2,588.75 793.62 141.14 2,077.74
  - การเดินทางของพนักงาน ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า N/A N/A N/A 153,865.70
  - การขนส่งสินค้าและการกระจายสินค้าปลายน้ำ ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า N/A N/A N/A 94,192.64
  - การจัดการซากผลิตภัณฑ์ที่จำหน่าย (กล้วยหอมทอง) ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 13,528.70 10,226.12 10,108.25 9,330.91
  ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จากการลดใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 33,222.39 85,212.55 265,268.48 250,615.62
  สัดส่วนของร้านในพื้นที่ตั้งเสี่ยงต่ออุทกภัยที่ได้รับการออกแบบและปรับปรุงให้สามารถรองรับความเสี่ยง ร้อยละ N/A N/A 52 52

เว็บไซต์ cpall.co.th มีการเก็บคุกกี้ซึ่งเป็นการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน้า นโยบายการใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า