การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ

การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2566


ร้อยละ  100

คู่ค้าลำดับที่ 1 และคู่ค้าที่สำคัญลำดับถัดไป ผ่านการคัดกรองความเสี่ยง

ร้อยละ  100

คู่ค้าลำดับที่ 1 ที่มีนัยสำคัญได้รับการตรวจประเมิน

ร้อยละ  100

คู่ค้าที่มีนัยสำคัญ ซึ่งตรวจพบว่ามีผลกระทบด้านลบต่อ ESG มีแผนดำเนินการแก้ไข

ร้อยละ  100

คู่ค้าที่มีนัยสำคัญ ซึ่งตรวจพบว่ามีผลกระทบด้านลบต่อ ESG ได้รับการพัฒนาศักยภาพ เพื่อปรับปรุงแนวปฏิบัติและผลดำเนินการ ESG

การดำเนินงานที่สำคัญปี 2566


ปรับปรุงรูปแบบการตรวจประเมินคู่ค้าด้านความยั่งยืนแบบเชิงรุกให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล อุตสาหกรรม ขนาดธุรกิจ และผลิตภัณฑ์

ส่งเสริมความรู้และสนับสนุน SMEs ให้เข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต CAC

จัดโครงการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพ (Capacity Building) ของคู่ค้ากลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้างและผู้รับเหมาขนส่ง เพื่อปรับปรุงแนวปฏิบัติและผลดำเนินการ ESG

จัดอบรมหลักสูตร Buyer Development Training on Sustainability Procurement ให้แก่ ผู้บริหาร พนักงาน และผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง

ผู้มีส่วนได้เสียหลักที่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ


สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน


SDG 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

4.4 เพิ่มจำนวนเยาวชนและผู้ใหญ่ที่มีทักษะที่จำเป็นรวมถึงทักษะทางเทคนิคและอาชีพสำหรับการจ้างงาน การมีงานที่ดีและการเป็นผู้ประกอบการ

SDG 8 ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องและยั่งยืน การจ้างงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน

8.3 ส่งเสริมนโยบายที่มุ่งการพัฒนาที่สนับสนุนกิจกรรมที่มีผลิตภาพ การสร้างงานที่สมควร ความเป็นผู้ประกอบการ ความสร้างสรรค์และนวัตกรรม และส่งเสริมการเกิดและการเติบโตของวิสาหกิจรายย่อยขนาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่งรวมถึงผ่านทางการเข้าถึงบริการทางการเงิน

SDG 12 สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการบริโภคและผลิตที่ยั่งยืน

12.7 ส่งเสริมแนวปฏิบัติด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาคสาธารณะที่ยั่งยืน ตามนโยบายและการให้ลำดับความสำคัญของประเทศ

ผลการดำเนินงานเทียบเป้าหมาย


เป้าหมายปี 2573

ร้อยละ  100

คู่ค้าลำดับที่ 1 (Tier 1 Suppliers) ที่มีความเสี่ยงสูง (Significant Suppliers) ด้านความยั่งยืนจะต้องถูกตรวจประเมินแบบเชิงรุก (Comprehensive Assessment) และเกิดการพัฒนาปรับปรุง

ความคืบหน้าเทียบกับเป้าหมาย

สรุปผลการดำเนินงาน ปี 2566

หลักเกณฑ์การระบุคู่ค้าสำคัญที่ทำธุรกิจกับบริษัทโดยตรง และคู่ค้าสำคัญที่ไม่ได้ทำธุรกิจกับบริษัทโดยตรง

2242  ราย

คู่ค้าลำดับที่ 1

115  ราย

คู่ค้าที่สำคัญลำดับที่ 1*

17  ราย

คู่ค้าที่สำคัญลำดับถัดไป*

*หลักเกณฑ์และการระบุประเภทของคู่ค้า
1.คู่ค้าที่สำคัญลำดับที่ 1 : คู่ค้าที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่สำคัญกับบริษัท ซึ่งหมายถึง คู่ค้าที่มีความเสี่ยงจากการพึงพาของบริษัท ได้แก่ คู่ค้าที่มีมูลค่ายอดซื้อสูงๆ (>=80%) และ/หรือ คู่ค้าที่สามารถส่งผลกระทบต่อความได้เปรียบในการแข่งขันความสำเร็จของตลาด และ/หรือคู่ค้าที่ไม่สามารถทดแทนได้
2.คู่ค้าที่สำคัญลำดับถัดไป : ผู้จัดหาวัตถุดิบผลิตภัณฑ์และบริการให้กับคู่ค้าที่สำคัญลำดับที่ 1 ของบริษัทซึ่งวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์และบริการที่ส่งมอบนั้นๆ มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อความได้เปรียบในการแข่งขัน ความสำเร็จของตลาดหรือการอยู่รอดของบริษัท มีจำนวนน้อยรายหรือไม่สามารถทดแทนได้
การระบุคู่ค้าที่สำคัญลำดับที่ 1 และวิเคราะห์มูลค่าการซื้อ

สัดส่วนและมูลค่าการซื้อ

มูลค่าการซื้อจากคู่ค้าภายในประเทศ

มูลค่าการซื้อจากคู่ค้าที่สำคัญลำดับที่ 1

74911  ล้านบาท

มูลค่าการซื้อจาก SMEs*

*มูลค่าการซื้อจาก SMEs คลอบคลุมผลิตภัณฑ์เกษตร ผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน หรือผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น (OTOP)

การมีส่วนร่วมของคู่ค้าลำดับที่ 1

2242  ราย

ได้รับการสื่อสารจริยธรรมและแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า

2242  ราย

ลงนามรับทราบจริยธรรมและแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า

2242  ราย

ได้รับการอบรมให้ความรู้ด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ

การมีส่วนร่วมของคู่ค้าที่สำคัญลำดับที่ 1

115  ราย

ได้รับการสื่อสารจริยธรรมและแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า*

115  ราย

ลงนามรับทราบจริยธรรมและแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า*

19  ราย

คู่ค้าที่มีผลกระทบด้าน ESG เข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพคู่ค้า*

*หมายเหตุ: เป้าหมาย ปี 2566 ร้อยละ 100

การบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG)

68  ราย

*หมายเหตุ: เป้าหมาย ปี 2566 ร้อยละ 100

คู่ค้าที่สำคัญลำดับที่ 1 (Critical Tier 1) และ คู่ค้าที่มีความเสี่ยงสูง (High Risk) จากกระบวนการประเมินความเสี่ยงผ่านการวิเคราะห์เอกสารหรือการตรวจประเมินแบบลงพื้นที่

19  ราย

*หมายเหตุ: ร้อยละเทียบกับจำนวนคู่ค้าที่ได้รับการประเมินความเสี่ยง

คู่ค้าที่ได้รับการประเมินแล้วพบว่ามีผลกระทบเชิงลบที่เกิดจริง
หรือที่อาจเกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ


0  ราย

คู่ค้าที่มีผลกระทบเชิงลบที่เกิดขึ้นจริงหรืออาจเกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และถูกยกเลิกสัญญา


19  ราย

*หมายเหตุ: เป้าหมาย ปี 2566 ร้อยละ 100

คู่ค้าที่มีผลกระทบเชิงลบที่เกิดขึ้นจริงหรืออาจเกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ที่มีการจัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไขหรือมีแผนปรับปรุงตามข้อตกลง

19  ราย

*หมายเหตุ: เป้าหมาย ปี 2566 ร้อยละ 100

คู่ค้าที่ได้รับการสนับสนุนในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการแก้ไข

ความเสี่ยงและโอกาส


บริษัททั่วไปบริหารห่วงโซ่อุปทานโดยคำนึงถึงประสิทธิภาพด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก ซึ่งอาจจะนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น การใช้แรงงานเด็ก การบังคับทำงานเกินเวลา การทำงานในสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของบริษัท ทำให้เกิดการหยุดชะงักของการดำเนินธุรกิจ รวมถึงส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ดังนั้น การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างมีความรับผิดชอบจะช่วยยกระดับคุณภาพของกระบวนการผลิตสินค้าและพัฒนากระบวนการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการไปสู่ผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพโดยมีเสาหลักสำคัญ คือ คู่ค้า ซึ่งการคัดเลือกคู่ค้าที่มีประสิทธิภาพและส่งเสริมศักยภาพของคู่ค้าไปจนถึงการสร้างความผูกพันกับคู่ค้า โดยการบูรณาการความยั่งยืนกับการบริหารห่วงโซ่อุปทาน สามารถช่วยลดความเสี่ยงด้านต้นทุน ความเสี่ยงด้านการขาดแคลนวัตถุดิบและสินค้าคงคลัง และความเสี่ยงในการเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน บริษัทจึงมุ่งส่งเสริมศักยภาพคู่ค้าทุกกลุ่มให้เติบโตไปพร้อมกัน โดยคำนึงถึงประเด็นด้านสังคม สิ่งแวดล้อม บรรษัทภิบาล และสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ลดความเสี่ยงในการดำเนินงาน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนสร้างการเปลี่ยนแปลงเสริมสร้างความแข็งแกร่งของคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อการเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน

แนวทางการดำเนินงาน


บริษัทกำหนดนโยบายด้านการจัดหาอย่างยั่งยืน คู่มือจริยธรรม และแนวทางปฏิบัติของคู่ค้าที่คำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมุ่งบริหารห่วงโซ่อุปทานให้เกิดประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม คำนึงถึงสิทธิมนุษยชนครอบคลุมประเด็นสำคัญ อาทิ สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน แรงงานเด็ก สภาพการทำงาน การจ่ายค่าตอบแทน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย จริยธรรมธุรกิจ มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์และบริการของคู่ค้า สนับสนุนให้คู่ค้ากำหนดนโยบายการจัดหาอย่างยั่งยืน และมีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ตลอดจนสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานร่วมกับคู่ค้าลำดับที่ 1 รวมไปถึงคู่ค้าลำดับถัดไป

พร้อมกันนี้ บริษัทกำหนดให้มีการคัดกรองความเสี่ยงคู่ค้าลำดับที่ 1 ครอบคลุมคู่ค้ากลุ่มต่างๆ ได้แก่ คู่ค้าที่มีมูลค่ายอดซื้อสูง คู่ค้าที่มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์ คุ่ค้าที่มีจำนวนน้อยราย คู่ค้าที่ไม่สามารถทดแทนได้ คู่ค้าที่มีมูลค่ายอดซื้อปานกลาง และคู่ค้าที่มีมูลค่ายอดซื้อน้อย รวมถึง คู่ค้าที่อาจสร้างผลกระทบด้าน ESG เพื่อระบุคู่ค้าที่มีนัยสำคัญ (Significant Suppliers) และตรวจประเมิน (Assessment) คู่ค้ากลุ่มที่ถูกระบุว่ามีนัยสำคัญเพื่อลดความเสี่ยงด้านการบริหารห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงมุ่งสนับสนุนการสร้างคุณภาพชีวิตและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนและสังคม ตลอดจนมีส่วนร่วมบรรเทาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ภายใต้นโยบายและเป้าหมายการดำเนินงานด้านการบริหารห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน

กลยุทธ์การจัดการห่วงโซ่อุปทาน

01

การจัดหา การจัดซื้อ การทำสัญญา การจัดการจัดซื้อจัดจ้างอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ บริการ และการก่อสร้างตามข้อกำหนดที่ทันเวลาในระดับบริหารสูงสุด (คุณภาพสินค้า ต้นทุน บริการหลังการขาย จัดส่ง)

02

การจัดการอุปสงค์และห่วงโซ่อุปทานแบบบูรณาการ (บนการสร้างสมดุลของปริมาณการใช้ข้อมูลและสะท้อนถึงการจัดการต้นทุนและอุปทาน)

03

พัฒนาร่วมสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ บริการ และนวัตกรรมใหม่ร่วมกับพันธมิตร/คู่ค้า เพิ่มความหลากหลายและประสิทธิภาพการดำเนินงาน

04

เสริมสร้างพันธมิตรเชิงกลยุทธ์และการจัดการหุ้นส่วนทางธุรกิจที่ยั่งยืน

จริยธรรมและแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้า

ในปี 2565 บริษัทได้ปรับปรุงคู่มือจริยธรรมและแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า (Suppliers' Code of Conduct and Guideline) ครอบคลุมคู่ค้าลำดับที่ 1 (Tier-1 Suppliers) และลำดับถัดไป (Non Tier-1 Suppliers) ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ผ่านแนวปฏิบัติ 16 แนวปฏิบัติ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 พร้อมทั้งจัดอบรมหลักสูตรการพัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน (Buyer Development Training on Sustainability Procurement) เพื่อสื่อสารให้พนักงานทุกระดับมีความเข้าใจเกี่ยวกับคู่ค้าจริยธรรมและแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้าฉบับปรับปรุงนี้ เพื่อยึดเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนของบริษัท

ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา บริษัทได้สื่อสารคู่มือจริยธรรมและแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้าไปยังคู่ค้าลำดับที่ 1 (Tier-1 Suppliers) ทั้งหมด 2,242 ราย และในปี 2566 บริษัทสื่อสารคู่มือจริยธรรมและแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้าไปยังคู่ค้าลำดับที่ 1 (Tier-1 Suppliers) รายใหม่ จำนวน 121 ราย คิดเป็นร้อยละ 100

กระบวนการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน

กระบวนการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน
บูรณาการแนวคิดด้านความยั่งยืน ลดความเสี่ยง ตลอดห่วงโซ่อุปทาน สร้างคุณค่าร่วม พัฒนา ส่งเสริมศักยภาพ
01
สื่อสารความคาดหวัง สรรหาและคัดเลือก
คู่ค้าที่มีศักยภาพ โดยผนวกหลักเกณฑ์ด้านความยั่งยืน
02
บริหารความเสี่ยงด้านความยั่งยืน
สำหรับคู่ค้า (คัดกรองและประเมิน)
03
ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพ
04
สร้างความผูกพันและรักษาความสัมพันธ์ระยะยาว

1. การสื่อสารความคาดหวัง สรรหา และคัดเลือกคู่ค้าที่มีศักยภาพ

บริษัทกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างมีความรับผิดชอบ มีประสิทธิภาพไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ผ่านการบูรณาการประเด็นด้านความยั่งยืนในการสรรหาและคัดเลือกคู่ค้ารายใหม่ทุกขั้นตอน พร้อมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินศักยภาพและคุณสมบัติในการคัดเลือกคู่ค้ารายใหม่ ครอบคลุมประเด็นสำคัญ ดังนี้ 1.คุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ 2.ความสามารถในการผลิตและการบริหารต้นทุนที่เหมาะสม 3.คู่ค้าที่ดำเนินธุรกิจอย่างเหมาะสมภายใต้ข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 4.ความสามารถในการส่งมอบและผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (ESG) ซึ่งพิจารณาจากผลคะแนนการคัดเลือกคู่ค้าที่มีหลักเกณฑ์ด้านความยั่งยืน (ESG) ที่บริษัทเป็นผู้กำหนด หากคู่ค้ารายใดที่ไม่ผ่านเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำจากการคัดเลือกคู่ค้าที่มีหลักเกณฑ์ด้านความยั่งยืนภายใต้กรอบเวลาที่บริษัทกำหนด จะไม่ได้รับการพิจารณาต่อสัญญา

นอกจากนี้ คู่ค้าจะได้รับการสื่อสารเกี่ยวกับความคาดหวังขององค์กรตามหลักคู่มือจริยธรรมและแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า พร้อมกันนี้ บริษัทยังมีการทบททวนแนวปฏิบัติในการจัดซื้ออย่างต่อเนื่องเพื่อให้มั่นใจว่าสอดคล้องตามประเด็นความขัดแย้งกับข้อกำหนดด้าน ESG รวมทั้งสร้างความตระหนักรู้ด้านการจัดซื้ออย่างยั่งยืน ผ่านการจัดอบรมให้ผู้บริหารและพนักงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคัดเลือกและจัดซื้อสินค้า ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ภายนอกองค์กร อาทิ ผู้รับเหมา และพันธมิตรธุรกิจที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้บริษัทบรรลุเป้าหมายการดำเนินงานด้าน ESG ตลอดห่วงโซ่อุปทาน

ในปี 2566 มีคู่ค้ารายใหม่ 121 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 ได้รับการพิจารณาคัดเลือกโดยหลักเกณฑ์ที่บูรณาการประเด็นด้านความยั่งยืนครอบคลุมมิติสิ่งแวดล้อม สังคมและสิทธิมนุษยชน รวมถึงธรรมาภิบาลและเศรษฐกิจ

2. บริหารความเสี่ยงด้านความยั่งยืนสำหรับคู่ค้า

บริษัทกำหนดให้มีการคัดกรองความเสี่ยงคู่ค้า (Supplier Screening) ครอบคลุมคู่ค้าลำดับที่ 1 (Tier-1 Suppliers) ทั้งหมดทั้งคู่ค้ารายเดิม (Existing Suppliers) และคู่ค้ารายใหม่ (New Suppliers) โดยความรับผิดชอบของหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างและหน่วยงานประเมินความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทาน เพื่อค้นหาความเสี่ยงเบื้องต้นของคู่ค้าด้วยเครื่องมือ Risk-Based Due Diligence อย่างต่อเนื่อง

โดยพิจารณาระดับของความเสี่ยงในแต่ละหัวข้อการประเมินจาก 1.ความเสี่ยงตามบริบทประเทศ (Country-Specific Risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากความผันผวนของสภาวะทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมไปถึงปัจจัยภายนอกอื่นๆ อาทิ ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่คู่ค้าดำเนินงานอยู่ 2.ความเสี่ยงตามบริบทอุตสาหกรรม (Sector-Specific Risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากลักษณะเฉพาะของอุตสาหกรรมที่คู่ค้าดำเนินอยู่ 3.ความเสี่ยงตามบริบทของสินค้า (Commodity-Specific Risk) เป็นความเสี่ยงจากสินค้าที่คู่ค้าผลิตหรือมีไว้จำหน่าย ภายใต้หัวข้อการประเมินจากประเด็นความเสี่ยงด้านความยั่งยืนที่สำคัญ ดังนี้

สิ่งแวดล้อม

  • การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • การจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน
  • การจัดการขยะอย่างยั่งยืน
  • การจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืน
  • การปกป้องฟื้นฟูระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ

สังคม

  • สิทธิมนุษยชนและการใช้แรงงาน
  • อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

การกำกับดูแลกิจการ

  • การเสริมสร้างสุขภาพและสุขภาวะที่ดี (คุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์)

ความเกี่ยวข้องทางธุรกิจ

  • ความสามารถในการผลิตและการจัดการต้นทุนที่เหมาะสม
  • ความสามารถและประสิทธิภาพในการส่งมอบและการจัดส่งผลิตภัณฑ์

ในปี 2566 บริษัทได้คัดกรองความเสี่ยง (Risk Screening) สำหรับคู่ค้าลำดับที่ 1 (Tier- Suppliers) จำนวน 2,242 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 และตรวจประเมิน (Assessment) สำหรับคู่ค้าที่สำคัญลำดับที่ 1 (Critical Tier1) และคู่ค้าที่มีความเสี่ยงสูง (High Risk) จำนวน 68 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 และคู่ค้าที่ได้รับการตรวจประเมินมีผลกระทบเชิงลบที่เกิดขึ้นจริงหรือที่อาจเกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จำนวน 19 ราย คิดเป็นร้อยละ 27.94 ของคู่ค้าที่มีนัยสำคัญลำดับที่ 1 ผลสรุปจากการตรวจประเมินพบประเด็นความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญ 46 ประเด็นหลัก

นอกจากนี้ บริษัทสนับสนุนให้คู่ค้าจัดทำมาตรฐานการจัดการความเสี่ยงด้านความยั่งยืนภายในหน่วยงานของตนเอง พร้อมทั้งดำเนินการติดตามความคืบหน้าในการปรับปรุงแก้ไขความเสี่ยงของคู่ค้าอย่างต่อเนื่อง รวมถึง สนับสนุนการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของคู่ค้าในการดำเนินธุรกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างการเติบโตของคู่ค้าพร้อมกับองค์กรอย่างยั่งยืน

ประเด็นที่พบจากการตรวจประเมินด้านความยั่งยืน

มิติด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental : E)
ประเด็นความเสี่ยง มาตรการจัดการความเสี่ยง
การจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management)
- การจัดการสิ่งปฏิกูลตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
- การประเมินผลกระทบ และตรวจประเมินคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายกำหนด
- แจ้งขึ้นทะเบียนต่อกระทรวงอุตสาหกรรม และจัดทำใบขออนุญาตต่างๆ ตามประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรม (สก 1, 2, 3)
- จัดทำแบบประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและกำหนดมาตรการการแก้ไข
มิติด้านสังคม (Social : S)
ประเด็นความเสี่ยง มาตรการจัดการความเสี่ยง
ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (Safety, Hygiene and Environment in the Workplace)
- จัดอบรม "อบรมดับเพลิง ซ้อมหนีไฟ และสารเคมีรั่วไหล" ให้กับพนักงาน
- คู่มือความปลอดภัย และจัดอบรม "ด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน" ให้กับพนักงาน
- การตรวจสอบสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน
- การตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ในการทำงาน และอุปกรณ์เกี่ยวกับการระงับเหตุรวมถึงการทำป้ายบ่งชี้ต่างๆ
- จัดทำแผนการอบรมประจำปี และทำสรุปรายงานการจัดอบรม
- จัดทำคู่มือความปลอดภัย และจัดทำแผนการอบรมให้กับพนักงาน
- จัดทำแผนการตรวจสอบสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานประจำปี โดยหน่วยงานที่ได้รับการรับรอง
- วิเคราะห์การตรวจสอบ และปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามข้อกฎหมาย
- จัดทำแผนการตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ทั้งอุปกรณ์การทำงานและระงับเหตุ พร้อมทำป้ายบ่งชี้
การจัดการแรงงาน และสิทธิมนุษยชน (Labor Management and Human Rights)
- การตรวจสุขภาพพนักงานตามปัจจัยเสี่ยง
- คู่มือ Code of Conduct
- จัดทำคู่มือการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง และดำเนินการตรวจสุขภาพพนักงาน
- จัดทำคู่มือ Code of Conduct และสื่อสารให้พนักงานทราบ
มิติด้านการกำกับดูแลกิจการ (Governance : G)
ประเด็นความเสี่ยง มาตรการจัดการความเสี่ยง
การปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบ (Compliance with Laws and Regulations)
- ติดตามการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการ
- คู่มือแรงงาน
- สัญญาจ้างงาน
- การติดตั้งถังดับเพลิง
- การขึ้นทะเบียน บุคลากร หรือหน่วยงานด้านความปลอดภัยในระดับบริหาร หัวหน้างาน เป็นต้น
- แต่งตั้งผู้รับผิดชอบ
- จัดทำทะเบียนกฎหมาย และติดตามการเปลี่ยนแปลงข้อกฎหมายต่างๆ 
- จัดทำคู่มือแรงงาน และสื่อสารให้พนักงานทราบ
- จัดทำสัญญาจ้างงาน ให้เป็นลายลักษณ์อักษร ด้วยภาษาที่พนักงานเข้าใจ
- จัดทำบัญชีรายชื่อสารเคมีอันตรายและรายละเอียดข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีอันตราย (สอ.1) แจ้งต่อหน่วยงานราชการ
- ติดตั้งถังดับเพลิงตามกฎหมายกำหนด
- แต่งตั้งบุคลากรในระดับต่างๆ และส่งไปอบรม พร้อมทั้งแจ้งขึ้นทะเบียนต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

ทั้งนี้ บริษัทได้ดำเนินการติดตามความคืบหน้าในการปรับปรุงแก้ไขความเสี่ยงของคู่ค้าอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งมุ่งส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของคู่ค้าในการดำเนินธุรกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างการเติบโตของคู่ค้าไปพร้อมกับองค์กรอย่างยั่งยืน

3. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพ

บริษัทดำเนินโครงการที่หลากหลายเพื่อสร้างองค์ความรู้และยกระดับศักยภาพด้านความยั่งยืนของคู่ค้า ให้กับบุคลากรทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยจัดโครงการฝึกอบรมให้ความรู้ผ่านสื่อและช่องทางต่างๆ เช่น การฝึกอบรมออนไลน์และออฟไลน์ การจัดทำคู่มือครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับภาพรวมของการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบและยั่งยืนตามหลัก ESG การประเมินคู่ค้าและกระบวนการพัฒนาจริยธรรมทางธุรกิจและแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้า ตัวอย่างแนวทางปฏิบัติที่ดีสำหรับคู่ค้าในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น

โครงการอบรมหลักสูตรการพัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน

บริษัทจัดอบรมหลักสูตรการพัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน สำหรับพนักงานผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภายในองค์กร ตลอดจนสร้างการรับรู้แก่ผู้บริหาร พนักงานทุกระดับ ให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับคู่มือจริยธรรมและแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า ฉบับปรับปรุง ปี 2565 เพื่อยึดเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนของบริษัท โดยมีผู้เข้าร่วมรับการอบรม 566 ราย

บริษัทสนับสนุนให้คู่ค้าสามารถเข้าถึงผลการประเมินงานด้าน ESG ของตนเองพร้อมคู่เทียบผ่านรายงานแสดงผลการประเมินความเสี่ยงด้าน ESG ของคู่ค้า

ตัวอย่างรายงานแสดงผลการประเมินความเสี่ยงด้าน ESG ของคู่ค้า

นอกจากนี้ บริษัทยังกำหนดแนวทางให้คู่ค้าได้ดำเนินการแก้ไขหากไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินของบริษัทเกี่ยวกับประเด็นด้านความยั่งยืนผ่านการให้คำปรึกษาแบบลงพื้นที่และออนไลน์ เพื่อให้คู่ค้าสามารถแก้ไขประเด็นต่างๆ รวมทั้งแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานด้าน ESG ภายในระยะเวลาที่ตกลงร่วมกัน

ตัวอย่างการให้คำปรึกษาแบบลงพื้นที่และแบบประชุมออนไลน์แก่คู่ค้า

บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างขีดความสามารถของคู่ค้า เพื่อยกระดับการปฏิบัติงานอย่างยั่งยืนและเป็นไปตามมาตรฐานด้าน ESG ที่บริษัทกำหนด จึงได้จัดโครงการอบรมเพื่อยกระดับขีดความสามารถให้คู่ค้า พร้อมกำหนดให้มีการประเมินผลการดำเนินงานเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นตัวชี้วัดความคืบหน้าของโครงการ โดยมีโครงการที่น่าสนใจ ดังนี้


โปรแกรมสนับสนุนด้านเทคนิคเชิงลึกเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยสำหรับผู้รับเหมาด้านการขนส่ง

จากการวิเคราะห์ผลการประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนของคู่ค้าตามกฎหมายพบว่า ในปี 2566 ประเด็นความเสี่ยงที่พบบ่อย ได้แก่ ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

บริษัทจึงได้พัฒนาโครงการ โปรแกรมสนับสนุนด้านเทคนิคเชิงลึกเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยสำหรับผู้รับเหมาด้านการขนส่ง เพื่อพัฒนาศักยภาพการจัดการความปลอดภัยเชิงลึกแก่ผู้รับเหมาขนส่ง ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของรถขนส่งสินค้าที่ให้บริการขนส่งแก่บริษัท พร้อมกันนี้ บริษัทกำหนดให้มีการวัดความก้าวหน้าอย่างสม่ำเสมอโดยมีระยะเวลาการดำเนินงานต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2565-2566 ดังนี้

  • แต่งตั้งคณะทำงานด้านความปลอดภัยด้านการขนส่งและมาตรฐานคุณภาพสินค้า มีหน้าที่กำหนดมาตรการลดความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุทั้งในและนอกเวลาทำงาน กำหนดมาตรฐานการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ระหว่างการจัดส่ง เพื่อให้ผู้รับเหมาขนาส่งสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานความปลอดภัย โดยมีตัวแทนผู้บริหารของ ซีพี ออลล์ และผู้รับเหมาขนส่ง เข้าร่วมเป็นคณะทำงาน ประชุมเดือนละ 2 ครั้ง
  • จัดโครงการฝึกอบรม สื่อสาร สร้างความตระหนักด้านความปลอดภัยของยานพาหนะขนส่งแก่ผู้เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง
  • กำหนดมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับยานพาหนะขนส่ง ตรวจสอบสภาพของยานพาหนะก่อนการเดินทาง
  • กำหนดจุดแวะพักบนเส้นทางขนส่งทางไกลที่มีระยะทางมากกว่า 250 กินโลเมตร หรือการเดินทางมากกว่า 4 ชั่วโมงขึ้นไป
  • ติดตั้ง GPS ให้กับรถขนส่งทุกคันได้ ร้อยละ 100
  • จัดทำระบบรายงานสภาพถนนและสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมถึงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุในแต่ละพื้นที่ ที่เป็นเส้นทางน้ำท่วมและทางเลี่ยง
  • จัดกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย "TELETEC DRIVING CONTEST PROJECT" ระยะเวลาการแข่งขัน 1 เดือนต่อพื้นที่ต่อเนื่องตลอดปี 2565-2566
  • จัดทำรายงานประจำวันและติดตามอุบัติเหตุจากการขนส่ง

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

ผู้รับเหมาขนส่งมีความรู้ความเข้าใจเรื่องความปลอดภัยในการขนส่งมากขึ้น

จำนวนอุบัติเหตุที่เกิดจากการขนส่งน้อยลง

ปี 2565 สะสมรวม : 164 ครั้ง
 ร้อยละ  39
ปี 2566 สะสมรวม : 101 ครั้ง
(คิดเป็นร้อยละ 60.98 ของปี 2565)

บริษัทมุ่งพัฒนาศักยภาพของคู่ค้าอย่างต่อเนื่องผ่าน 3 แนวทาง การพัฒนาศักยภาพคู่ค้า ดังนี้

  • Joint Business Plan : จัดทำแผนธุรกิจร่วมกับคู่ค้าเชิงกลยุทธ์
  • Project & Initiatives : การมอบองค์ความรู้ให้แก่คู่ค้าผ่านกิจกรรมต่างๆ
  • Implementation & Evaluation : จัดฝึกอบรมหลักสูตรด้านความยั่งยืน

ในปี 2566 บริษัทดำเนินโครงการที่หลากหลาย เพื่อสร้างองค์ความรู้และยกระดับศักยภาพด้านความยั่งยืนของคู่ค้า โดยมีโครงการที่โดดเด่น ดังนี้


โครงการต่อเนื่อง พัฒนาศักยภาพสำหรับคู่ค้ากลุ่มผู้รับเหมา

บริษัทดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพสำหรับคู่ค้ากลุ่มผู้รับเหมาต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับคู่ค้าก่อนเริ่มปฏิบัติงาน และสร้างความตระหนักเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งจัดอบรมหลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานสำหรับผู้รับเหมา กลุ่มผู้รับเหมางานก่อสร้าง งานไฟฟ้า งานซ่อม งานเฉพาะทาง ในปี 2566 มีผู้รับเหมาที่เข้าร่วมการอบรม 106 ราย

นอกจากนี้ บริษัทจัดอบรมโครงการแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC) ประจำปี 2566 ให้กับคู่ค้า ผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 58 ราย ในรูปแบบออนไลน์เพื่อสร้างค่านิยมในการดำเนินงานด้วยหลัก สุจริต โปร่งใส ปราศจากการคอร์รัปชัน

พร้อมทั้งจัดอบรมให้ความรู้กับคู่ค้ารายใหม่ จำนวน 121 ราย เกี่ยวกับจรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้าในรูปแบบออนไลน์ โดยมีเนื้อหาครอบคลุมด้านสิ่งแวดล้อม การจัดการพลังงาน การจัดการของเสีย ด้านสังคม แนวปฏิบัติด้านแรงงาน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย และด้านการกำกับดูแลกิจการ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน


โครงการ "Vendor Conference 2023"

บริษัท ซีพีแรม จำกัด มีความมุ่งมั่นในการสานความสัมพันธ์ที่ดีกับหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ ตลอดจนสื่อสารนโยบาย แนวทาง และทิศทางขององค์กร พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้ ได้แก่ การจัดการกระบวนการผลิตทั้งห่วงโซ่อุปทาน และการจัดการด้านประกันคุณภาพในยุคไร้พรมแดนจึงได้จัดงาน "Vendor Conference 2023" ภายใต้แนวคิด ALL ONE, ONE FOR ALL โดยมีการบรรยายในหัวข้อ Sustainable Development Goals-ESG โดยมีคู่ค้าในฐานหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญขององค์กรกว่า 200 ราย เข้าร่วมงาน


โครงการ ALL Delica Alliance (ADA)

บริษัท ซีพีแรม จำกัด เดินหน้าสนับสนุนและให้ความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า โดยจัดตั้งโครงการ ALL Delica Alliance (ADA) พันธมิตรทางอาหารเพื่อความยั่งยืน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อความสำเร็จ โดยได้นำแนวคิด FOOD 3S (Food Safety, Food Security, Food Sustainability) มาบริหารจัดการตลอดห่วงโซ่อุปทานอาหารของผู้ส่งมอบในเชิงลึกและกว้างยิ่งขึ้น เพื่อสร้างความแข็งแกร่งรวมกับสมาชิกในโครงการ ADA ด้วยการถ่ายทอด และเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการธุรกิจ เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด การปรับปรุงกระบวนการผลิต การประกันคุณภาพ และการบริหารต้นทุน ที่เอื้อต่อธุรกิจของพันธมิตร นำไปสู่ความแข็งแกร่งทางธุรกิจและก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน เพื่อเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน และความเจริญก้าวหน้าของประเทศต่อไป


โครงการต่อเนื่อง 7-Eleven เคียงข้างเกษตรกรไทย

บริษัทดำเนินโครงการ 7-Eleven เคียงข้างเกษตรกรไทยต่อเนื่องเป็นปีที่ 10 เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร รวมทั้งสนับสนุนให้ลูกค้าเข้าถึงสินค้าเกษตรได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยนำนวัตกรรมด้านวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวมาใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มมูลค่าให้สินค้ากล้วยหอมทอง และขยายผลการดำเนินงานไปสู่กลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ผักสด ผลไม้สดตามฤดูกาล ผักสลัด ผลไม้ตัดแต่ง และผักพร้อมปรุง พร้อมทั้งส่งเสริมให้โรงงานผลิตได้มาตรฐานการผลิตที่ดี รวมถึงส่งเสริมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

2954  ราย

เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ

4. สร้างความผูกพันและรักษาความสัมพันธ์กับคู่ค้า

บริษัทให้ความสำคัญกับการบริหารห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ สร้างความเข้มแข็งให้คู่ค้า "เก่งและดี" พร้อมเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน จึงดำเนินการเพื่อสานสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้าอย่างต่อเนื่อง ผ่านการประชุมสัมมนาและการแถลงทิศทางนโยบายของบริษัท การร่วมกับคู่ค้ากลยุทธ์กำหนดแนวทางพัฒนาการเติบโตของธุรกิจ การเยี่ยมเยียนคู่ค้าเป็นประจำทุกปี เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะต่างๆ ระหว่างคู่ค้ากับบริษัท การแลกเปลี่ยนข้อมูลและองค์ความรู้ที่จำเป็น การดำเนินโครงการความร่วมมือต่างๆ อาทิ ด้านการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการจัดการบรรจุภัณฑ์ภายหลังการบริโภค รวมถึงการพัฒนาศักยภาพ ร่วมสร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ของ SMEs ให้ตอบโจทย์กับสถานการณ์ของตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภค ควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานให้กับคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานอีกด้วย

กรณีศึกษา บริษัท ทริปเปิ้ล เฟรช จำกัด

7-Eleven ร่วมมือกับผู้ประกอบการ SMEs ที่เห็นช่องทางการเติบโตของตลาดผลไม้ในประเทศ และทีมผู้เชี่ยวชาญของที 7-Eleven ได้ให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาคุณภาพสินค้า การตลาด ตลอดจนการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ทำให้สามารถลดขั้นตอนและช่วงเวลาในการส่งมอบผลไม้สด ช่วยให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าที่สดใหม่และมีคุณภาพ จำหน่ายผ่านร้าน 7-Eleven กว่า 8,000 สาขา ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลมากกว่า 10,000 แพ็กต่อวัน

การบูรณาการความยั่งยืน (ESG) ในกลยุทธ์การจัดการห่วงโซ่อุปทาน

บริษัทบูรณาการความยั่งยืน (ESG) เข้าในกลยุทธ์การจัดการห่วงโซ่อุปทาน ดังนี้

วัตถุประสงค์หลัก วัตถุประสงค์การจัดการห่วงโซ่อุปทานที่เชื่อมโยงกับ ESG กลยุทธ์การจัดการห่วงโซ่อุปทานที่เชื่อมโยงกับ ESG

เพิ่มขีดความสามารถของ SMEs

การเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับ การพัฒนาศักยภาพการบริหารห่วงโซ่อุปทาน อาทิ การพัฒนา ผลิตภัณฑ์ การเงินการขนส่ง ตลอดจนด้านความยั่งยืน ฯลฯ ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก (SDG) ข้อที่ 8.2 และสอดคล้องกับกลยุทธ์การบริหารห่วงโซ่อุปทานของ ซีพี
ออลล์ ที่มุ่งสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ๆ และให้ความช่วยเหลือคู่ค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยมุ่งหวังผลลัพธ์คือการสร้างผลกระทบเชิงบวกทางด้านเศรษฐกิจ ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสังคม ชุมชน

สร้างคุณค่าร่วม “พัฒนาส่งเสริม SMEs” ซีพี ออลล์ มุ่งมั่นในการยกระดับศักยภาพ คู่ค้าโดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ด้วยการให้การอบรม การให้คำปรึกษา และคำแนะนำ การตรวจสอบมาตรฐาน การบริหารต้นทุน รวมถึงการร่วมคิดค้นนวัตกรรม เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพการดำเนินงาน การรักษาสิ่งแวดล้อม และการเป็นมิตรต่อสังคม ชุมชน


ลดปริมาณขยะพลาสติกจากการใช้บรรจุภัณฑ์

ลดปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์จากคู่ค้าในกระบวนการจัดการขยะ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายเศรษฐกิจหมุนเวียนของ ซีพี ออลล์ โดยแนวคิดนี้เพื่อตอบรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก ข้อที่ 12.6 และกรอบการทำงานด้านความยั่งยืนของ ซีพี
ออลล์ ในการ “ปกป้องระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ” ผ่านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ การเลือกใช้วัสดุ โดยมุ่งลดจำนวนขยะพลาสติก โครงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้เป็นมิตรต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม

7 Go Green “บรรจุภัณฑ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” จากกระแสทั่วโลกที่รณรงค์ลดการใช้พลาสติกในบรรจุภัณฑ์ ซีพี ออลล์ คือการสนับสนุนคู่ค้า ได้บูรณาการแนวคิดด้านความยั่งยืนในการดำเนินงานต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และการเลือกใช้วัสดุ โดยได้มีโครงการร่วมกันระหว่างคู่ค้าด้านบรรจุภัณฑ์ เช่น การพัฒนา กระบวนการที่ลดปริมาณการใช้วัสดุ เป็นต้น

นอกจากนี้ บริษัทนำเกณฑ์ด้านความยั่งยืนมาประยุกต์ใช้ในการประเมินความเสี่ยงของคู่ค้ารายเดิมและรายใหม่ที่เป็นผู้ผลิตสินค้าที่อยู่ในการควบคุมของบริษัท โดยคู่ค้าต้องทำการประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนผ่านระบบการประเมินตนเองสำหรับคู่ค้า คู่ค้าที่ผ่านการคัดเลือกจะต้องมีผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนผ่านเกณฑ์ที่บริษัทกำหนดไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ซึ่งบริษัทมีการกำหนดเกณฑ์การดำเนินงานด้านความยั่งยืน ได้แก่ ด้านมาตรฐานสินค้าและการผลิต การจ้างแรงงานและสวัสดิการ และการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม

ดัชนีวัดความสำเร็จการจัดการห่วงโซ่อุปทาน

บริษัทกำหนดดัชนีวัดความสำเร็จการจัดการห่วงโซ่อุปทาน โดยในปี 2566 มีดัชนีชี้วัดความสำเร็จ เป้าหมาย และมีผลการดำเนินงาน ดังนี้

ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ (KPI) เป้าหมาย ผลการดำเนินงานย้อนหลัง 3 ปี
คู่ค้าลำดับที่ 1 ที่มีนัยสำคัญด้านความยั่งยืนจะต้องถูกตรวจประเมินแบบเชิงรุกและเกิดการพัฒนาปรับปรุง ร้อยละ  100 คู่ค้าลำดับที่ 1 ที่มีนัยสำคัญด้านความยั่งยืนจะต้องถูกตรวจประเมินแบบเชิงรุกและการพัฒนาปรับปรุง ภายในปี 2573
การเติบโตของยอดซื้อ SME ยอดซื้อสินค้า SMEs เติบโต
ร้อยละ  10 ภายในปี 2568 (เทียบปีฐาน 2563)
ระดับความผูกพันของคู่ค้า ร้อยละ  80 ระดับความผูกพันของคู่ค้า ภายในปี 2573
บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่อยู่ในการควบคุมของบริษัท ต้องสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ หรือนำมาใช้ใหม่ หรือสามารถสลายตัวได้ทางชีวภาพ ร้อยละ  100 ของบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่อยู่ในการควบคุมของบริษัท ต้องสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ หรือนำมาใช้ใหม่ หรือสามารถสลายตัวได้ทางชีวภาพ สำหรับบริษัทที่มีการดำเนินงานในประเทศไทย ภายในปี 2568 สำหรับบริษัทที่มีการดำเนินงานในต่างประเทศ ภายในปี 2573

การมีส่วนร่วมช่วยเหลือและยกระดับความตระหนักการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนให้แก่เจ้าหนี้ทางการค้า

บริษัทฯ มีนโยบายในการปฏิบัติต่อเจ้าหนี้ทุกรายด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และโปร่งใส โดยยึดมั่นในการปฏิบัติ ตามเงื่อนไขและสัญญาต่างๆ อย่างเคร่งครัด นอกจากนี้เพื่อรักษาความเชื่อมั่นต่อเจ้าหนี้บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการ เงินทุนให้มีโครงสร้างทางการเงินที่เหมาะสม มีการสื่อสารกับเจ้าหนี้ถึงสถานะของธุรกิจอย่างสม่ำเสมอ และมุ่งมั่นในการรักษา สัมพันธภาพที่ยั่งยืนกับเจ้าหนี้ นโยบายและแนวทางปฏิบัติต่อเจ้าหนี้ของบริษัทฯ มีดังนี้

  • จัดทำสัญญากับเจ้าหนี้ทุกประเภทอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เสมอภาค เป็นธรรม และโปร่งใส โดยไม่เอาเปรียบคู่สัญญา
  • ไม่ใช้วิธีการทุจริต หรือปกปิดข้อมูล หรือข้อเท็จจริงสำคัญใดๆ ที่อาจทำให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหาย
  • ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อตกลงของสัญญาต่างๆ ที่ได้ทำไว้กับเจ้าหนี้ทุกประเภทอย่างเคร่งครัด ถูกต้อง ตรงไปตรงมา
  • วางระบบการทำจ่ายเงินให้เจ้าหนี้โดยมีขั้นตอนการทำงานอย่างรัดกุม มีกระบวนการสอบทานและควบคุมขั้นตอน การปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด มีระบบการควบคุมภายในที่ดี สามารถตรวจสอบได้อย่างโปร่งใส ซึ่งทำให้เกิดความมั่นใจว่า มีการจ่ายเงินอย่างถูกต้องและทันตามกำหนดเวลา โดยระบุไว้ที่ 30-60 วัน ภายหลังจากมีการส่งสินค้าหรือบริการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงที่ทำกับแต่ละคู่ค้า (อาจมากกว่า หรือน้อยกว่า 30 วัน)
30-60  วัน

ระยะเวลาการชำระเงิน

55  วัน

ค่าเฉลี่ยที่เกิดขึ้นจริงในปี 2566

  • ชำระคืนเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยให้เจ้าหนี้ทุกประเภทอย่างครบถ้วนและตรงตามกำหนดเวลาที่ได้ตกลงไว้

นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง

ข่าวสารและความเคลื่อนไหวไปยังลิงก์
นโยบายการจัดหาอย่างยั่งยืนดาวน์โหลด
คู่มือจริยธรรม และแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้าดาวน์โหลด

เว็บไซต์ cpall.co.th มีการเก็บคุกกี้ซึ่งเป็นการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน้า นโยบายการใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า