นวัตกรรมและการสร้างคุณค่า
ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2566
นวัตกรรมที่ส่งเข้าประกวด
ผลงานนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ บริการ และการปรับปรุงกระบวนการที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ
ผลงานนวัตกรรมพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์
การดำเนินงานที่สำคัญปี 2566
โครงการผักสวนครัว 24 ชั่วโมง ใกล้ๆ คุณ
โครงการพัฒนาและขยายแพลตฟอร์มธรุกิจจากออนไลน์สู่ออฟไลน์ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
การพัฒนาแอปพลิเคชัน "ALL Phama See" สำหรับคนรักสุขภาพ
โครงการความร่วมือภาครัฐ ภาคเอชน ภาคการศึกษา พัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ผู้มีส่วนได้เสียหลักที่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ
สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
SDG 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่
1.2 ลดสัดส่วนชาย หญิง และเด็กในทุกช่วงวัย ที่อยู่ภายใต้ความยากจนในทุกมิติ ตามนิยามของแต่ละประเทศให้ลดลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง
SDG 3 สร้างหลักประกันว่าทุกมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย
3.3 บรรลุการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมถึงการปกป้องความเสี่ยงทางการเงิน การเข้าถึงการบริการ สาธารณสุขจำเป็นที่มีคุณภาพและเข้าถึงยาและวัคซีนจำเป็นที่ปลอดภัย มีประสิทธิผล มีคุณภาพ และมีราคาที่สามารถซื้อหาได้
SDG 8 ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องและยั่งยืน การจ้างงานที่เหมาะสำหรับทุกคน
8.2 บรรลุการมีผลิตภาพทางเศรษฐกิจในะดับที่สูงขึ้นผ่านการทำให้หลากหลาย การยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงการมุ่งเน้นในภาคส่วนที่มีมูลค่าเพิ่มสูงและใช้แรงงานเข้มข้น
8.3 ส่งเสริมนโยบายที่มุ่งการพัฒนาที่สนับสนุนกิจกรรมที่มีผลิตภาพ การสร้างงานที่สมควร ความเป็นผู้ประกอบการ ความสร้างสรรค์และนวัตกรรม และส่งเสิรมการเกิดและการเติบโตของวิสาหกิจรายย่อย ขนาดเล็ก และขนาดกลาง ซึ่งรวมถึงผ่านทางการเข้าถึงบริการทางการเงิน
8.5 บรรลุการจ้างงานเต็มที่และมีผลิตภาพ และการมีงานที่สมควรสำหรับหญิงและชายทุกคน รวมถึงเยาวชนและผู้มีภาวะทุพพลภาพ และให้มีการจ่ายที่เท่าเทียมสำหรับงานที่มีคุณค่าเท่าเทียมกัน
ผลการดำเนินงานเทียบเป้าหมาย
เป้าหมายปี 2573
ร้อยละ 20รายได้ที่มาจากนวัตกรรมด้านสินค้า บริการ และธุรกิจใหม่ ตลอดจนนวัตกรรมด้านกระบวนการ
ความก้าวหน้าเทียบกับเป้าหมาย
สรุปผลการดำเนินงาน ปี 2566
มูลค่านวัตกรรม
ผลงานวิจัยและพัฒนา
ผลงานที่ส่งเข้าประกวด
ผลงานที่ได้รับรางวัล
2564 | 2565 | 2566 | ||
---|---|---|---|---|
จำนวนนวัตกร (รายสะสม) |
|
|
|
|
จำนวนสิทธิบัตรสะสม |
|
|
|
|
จำนวนอนุสิทธิบัตรสะสม |
|
|
|
บุคลากรด้านวิจัยและพัฒนา
งบประมาณด้านวิจัยและพัฒนา
ความเสี่ยงและโอกาส
ในยุคที่การแข่งขันด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้แนวทางการดำเนินชีวิตและความต้องการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในสังคมเปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นการเข้าถึงสินค้าและบริการที่รวดเร็ว สะดวกสบาย ทำให้ผู้บริโภคหันไปเลือกซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ดังนั้นการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงถือเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางการค้าและการดำเนินธุรกิจของภาคอุตสาหกรรมค้าปลีก อย่างไรก็ตาม การดำเนินธุรกิจแบบออนไลน์ยังส่งผลกระทบต่อมูลค่าของสินค้าหรือบริการของธุรกิจรูปแบบเดิมที่มีอยู่จนนำไปสู่ "การหยุดชะงักเนื่องจากนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ (Digital Disruption)" ซึ่งอาจก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการลดจำนวนพนักงานเนื่องจากการปิดตัวลงของบางภาคธุรกิจ ดังนั้นภาคอุตสาหกรรมค้าปลีกจำเป็นต้องยกระดับความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจของผู้บริโภค รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจในตลอดการค้าออนไลน์ ทั้งนี้ บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนานวัตกรรมซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยยกระดับคุณภาพและเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าและบริการ เพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้บริโภค ตลอดจนสิทธิในการเข้าถึงมาตรฐานการครอบชีพที่เหมาะสม เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และการบริการสาธารณะ รวมทั้งเป็นการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับองค์กรอย่างยั่งยืน โดยการพัฒนาและส่งเสริมนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์และนวัตกรรทมด้านกระบวนการผลิต
แนวทางการดำเนินงาน
บริษัทมุ่งพัฒนาและคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพิ่มส่งเสริมให้ธุรกิจสามารถแข่งขันได้อยู่เสมอ รวมทั้งพัฒนาศักยภาพ ขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจ และความคล่องตัว เตรียมความพร้อมในการรับมือการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเลือกซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคผ่านช่องทางออนไลน์ ผ่านการส่งเสริมงานวิจัยและเทคโนโลยีที่หลากหลายเพื่อยกระดับการดำเนินงานด้านนวัตกรรมขององค์กรไปสู่การเป็นผู้นำในด้านการบริหารจัดการนวัตกรรมแห่งอนาคต โดยกำหนดกรอบและแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
กรอบแนวคิดการจัดการนวัตกรรมของ ซีพี ออลล์
ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม (Innovation Research and Development)
บริษัทส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมด้านอาหารที่ช่วยสร้างสุขภาพที่ดีให้กับลูกค้า ตลอดจนเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางการตลาดและขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโต พร้อมทั้งสร้างประโยชน์แก่สังคมและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันบริษัทมีศูนย์เทคโนโลยีและนวัตกรรมทั้งหมด 2 แห่ง ได้แก่
สำนักพัฒนาและประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
ดำเนินงานด้านการศึกษาและผลิตนวัตกรรมการจัดการทางด้านอาหารรวมทั้งการจัดการความปลอดภัยของอาหารให้มีคุณภาพ ถูกหลักสุขอนามัยและสุขภาวะที่ดี ภายใต้กรอบความสมดุลของห่วงโว่อาหารที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งรับให้คำปรึกษาด้านวิชาการในเรื่องการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์แก่ผู้ประกอบการ โดยมีหน้าที่หลักดังนี้
ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ
บุคลากรด้านวิจัยและพัฒนา
ผลงานวิจัยและพัฒนา
งบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนา
ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านอาหาร บริษัท ซีพี ฟู้ดแล็บ จำกัด
บริษัท ซีพี ฟู้ดแล็บ จำกัด ดำเนินงานวิจัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีอาหาร เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้นในปัจจุบัน ผ่านการทำงานวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยประยุกต์เพื่อตอบโจทย์ประเด็นปัญหา รวมถึงความท้าทาย นอกจากนี้ ยังเป็น หน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลด้านการวิจัยและพัฒนา และเป็นศูนย์กลางการทดสอบ เพื่อรองรับการวิจัย พัฒนาผลิตภัณฑ์และออกแบบทางวิศวกรรมอาหารให้กับ ซีพี ออลล์ และเครือเจริญโภคภัณฑ์ รวมถึงบริษัทอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ อาทิ
ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ
บุคลากรด้านวิจัยและพัฒนา
ผลงานวิจัยและพัฒนา (SKU)
งบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนา
ต่อยอดสินค้านวัตกรรม เพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ
บริษัทมุ่งส่งเสริมและยกระดับความสามารถของ SMEs ในการพัฒนานวัตกรรมและสรรหาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคที่มีความหลากหลาย พร้อมทั้งเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจ ในปี 2566 มีผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่โดดเด่น ดังนี้
โครงการขยายผลสลัดโรล อร่อยครบจบในกล่องเดียว
ทีมนักวิจัยพัฒนากระบวนการผลิตสลัดโรล ซึ่งเป็นสินค้าสุขภาพที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน ให้มีอายุสินค้านานขึ้น ผ่านนวัตกรรมเทคโนโลยีหลัการเก็บเกี่ยว (Postharvest) ที่ช่วยคงความสดของผักสลัด ร่วมกับการคิดค้นสารสุตรเฉพาะสำหรับแช่แป้ง (Only at 7-Eleven) ช่วยคงความนุ่มของแป้ง รวมทั้งการใช้วัตถุดิบที่ปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค ทำให้สินค้ามีอายุวางนำหน่ายได้นานถึง 5 วัน และผู้บริโภคได้รับสินค้าที่สะอาด สะดวก ปลอดภัยในการบริโภค ตลอดจนช่วยสร้างรายได้ให้เกษตรกรและยกระดับมาตรฐานการผลิตให้กับ SMEs
วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
ลูกค้า
เพิ่มความหลากหลายของสินค้า เพิ่มทางเลือกผู้บริโภค
บริษัท
เพิ่มยอดขายกลุ่มสินค้า Ready to Eat
เกษตรกร
ส่งเสริม สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ยกระดับเกษตรกรรมของประเทศ
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ
เพิ่มโอกาสการขายสินค้า โดยการยืดอายุสินค้าเพิ่ม
เพิ่มสาขาวางจำหน่าย
มูลค่าเพิ่มที่ได้จากโครงการในปี 2566
แนวคิดนวัตกรรม
ค้นหา คัดเลือก ควบคุม
ค้นหาพื้นที่ปลูกที่เหมาะสม/คัดเลือกวัตถุดิบที่ดี มีคุณภาพ/ควบคุมการดูแลให้เป็นไปตามกำหนด
เพื่อวัตถุดิบที่ได้มาตรฐาน
เทคโนโลยี
Pre-Cooling/เทคนิคการตัดแต่ง/Hydro-Cooling/ลดเชื้อจุลินทรีย์/เพิ่มความแข็งแรงของเซลล์/ลดการเกิดอาหารสีน้ำตาล/Modify Atmosphere
เพื่อคงความสดของผัก
นวัตกรรม
ชนิดของแผ่นแป้ง/ส่วนประกอบของแผ่นแป้ง/สารแช่แผ่นแป้ง
เพื่อคงความนุ่มชุ่มชื่นของแผ่นแป้ง
ทักษะ และเทคนิค
การตัดแต่ง/การวางวัตถุดิบ/การแช่แป้ง/การม้วน/การควบคุมอุณหภูมิ
เพื่อคงคุณภาพของสินค้า
ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ
ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ
ผลกระทบด้านสังคม
ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
คุณค่าทางเศรษฐกิจ
คุณค่าทางสังคม
คุณค่าทางสิ่งแวดล้อม
โครงการผักสวนครัว 24 ชั่วโมง ใกล้ๆ คุณ (คัดด้วยใจ ใส่ใจทุกขั้นตอน)
ซีพี ออลล์ ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการขับเคลื่อน สร้างโอกาสทางธุรกิจ ยกตลาดผักสดสวนครัวมาวางจำหน่ายในร้าน 7-Eleven ตั้งแต่การคัดสรรผักจากแหล่งปลูกที่ดี ผ่านกระบวนการคัดและตัดแต่งให้ได้ขนาดที่เหมาะสม ความท้าทายคือการนำผักแต่ละชนิดที่ต้องการอุณภูมิแตกต่างกันมาไว้ในตู้เดียวกัน และวางร่วมกับสินค้าอื่นๆ ได้ เพื่อลดต้นทุนในการจัดการตู้แช่ผัก ทีมงานได้ใช้ความรู้ทางด้านสรีรวิทยา ผสานความรู้ทางเทคโนโลยีหลักการเก็บเกี่ยว (Postharvest) และนวัตกรรมด้านบรรจุภัณฑ์แบบแอคทีฟที่ช่วยคงความสดใหม่ของพืชผักได้นานขึ้นโดยชะลอการหายใจและการคายน้ำให้ช้าลง สามารถกับเก็บความสดของผักไว้ได้ตลอดอายุสินค้า เพื่อส่งมอบผักที่สด สะอาด สะดวก ปลอดภัย ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ตลอด 24 ชั่วโมง อีกทั้งยังช่วยลดขยะอาหารสู่การฝังกลบได้กว่าร้อยละ 30 ปัจจุบันมีผักสดวางจำหน่ายในร้าน 7-Eleven ทุกสาขาทั่วประเทศ สร้างยอดขายมากกว่า 287 ล้านบาทต่อปี
สร้างนวัติกรรมบริการ เพื่อส่งมอบประสบการณ์ความสะดวกแก่ผู้บริโภคด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
เนื่องจากการเปลี่นแปลงพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์และบริการของผู้บริโภคในปัจจุบันที่ใช้ช่องทางออนไลน์มากยิ่งขึ้น บริษัทจึงได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยี พร้อมทั้งสนัุบสนุนการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจค้าปลีก เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น เพิ่มศักยภาพการดำเนินธุรกิจให้มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจของผู้บริโภค โดยในปี 2566 มีโครงการที่โดดเด่น ดังนี้
การพัฒนาแพลตฟอร์มธุรกิจ Online to Offline (O2O)
ซีพี ออลล์ พัฒนาและปรับปรุงแพลตฟอร์ม "ออลล์ ออนไลน์ (ALL Online)" และแอปพลิเคชัน 7-Eleven บนโทรศัพท์มือถืออย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับการเข้าถึงรายการสินค้าและโปรโมชั่นที่หลากหลายของลูกค้าทุกระดับภายใต้แนวคิด
พร้อมกันนี้ บริษัทยังได้พัฒนาระบบสมาชิก "ออลล์ เมเเบอร์ (ALL Member)" ผ่านแอปพลิเคชัน เพื่อใช้เป็นช่องทางสื่อสารและประเมินความพอใจของลูกค้า รวมทั้งให้สิทธิประโยชน์พิเศษแก่สมาชิก ปัจจุบันมีสมาชิกในระบบกว่า 18.35 ล้านคน โดยผลการประเมินความพอใจของลูกค้าสามารถนำมาใช้งานแผนและพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการสำหรับลูกค้าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โลตัสพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ชอปปิงและเปิดตัวแอปพลิเคชัน Lotus's SMART App แอปพลิเคชันที่ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้งานของลูกค้าที่รวมออลไน์ชอปปิงและรีวอร์ดไว้ที่เดียวและนำปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์และประมวลผล Big Data เพื่อสร้างคูปอง ส่วนลด โปรโมชัน สิทธิพิเศษ เสนอแนะสินค้าที่ตรงใจลูกค้าแต่ละคนตามความต้องการที่แตกต่างกัน เชื่อมต่อการซื้อสินค้าแบบ Omni-Channel ทั้งออฟไลน์และออกไลน์เข้าด้วยกันเสริมความแข็งแกร่งในกับธุรกิจ O2O ของโลตัส โดยใช้สาขาที่มีมากกว่า 2,400 แห่งทั่วประเทศ เป็น Fulfillment Center สำหรับจัดส่งสินค้า นอกจากนี้ ยังมีรีวอร์ดโปรแกรมใหม่ My Lotus's (มายโลตัส) พัฒนาการออกแบบให้ลูกค้ามีประสบการณ์การใช้งานทั้งการสะสมและการแลกง่ายขึ้น ทันใจขึ้น คุ้มขึ้น และตรงใจขึ้นกว่าเดิม โดยไม่มีการส่ง
สเตตเมนต์และคูปองไปยังบ้านของลูกค้า ช่วยลดการใช้ทรัพยากรกระดาษได้ร้อยละ 100 รวมถึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
การพัฒนาต่อเนื่องแอพลิเคชัน "ALL PharmaSee" สำหรับคนรักสุขภาพ
ร้านยา เอ็ดซ์ต้า พลัส ในกลุ่มธุรกิจ ซีพี ออลล์ พัฒนาแอปพลิเคชัน "ALL PharmaSee" อย่างต่อเนื่อง โดยให้บริการคำปรึกษาเรื่องสุขภาพและการใช้ยาจากเภสัชกรกว่า 400 ราย โดยไม่มีค่าใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์ แชท วิดีโอคอล ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้คนรักสุขภาพสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ "ง่ายและสะดวก" พร้อมบริการให้ความรู้ด้านสุขภาพ ค้นหาร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ในบริเวณใกล้เคียง และแอปพลิเคชัน ALL PharmaSee ยังได้รับการรับรองแพลทฟอร์มสำหรับให้บริการเภสัชกรรมทางไกลจากสภาเภสัชกรรม
นวัตกรรมการบริการทางการเงินใกล้ชุมชน
บริษัท เคาน์เตอร์ เซอร์วิส จำกัด ในกลุ่มธุรกิจ ซีพี ออลล์ พัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีให้บริการที่หลากหลายและครบวงจรเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงให้กับประชาชน ยกระดับระบบธุรกิจกรรมทางการเงิน ทั้งฝาก-ถอนเงินสด อาทิ บริการ "โอนปุ๊บ รับปั๊บ" ซึ่งเป็นบริการโอนเงินภายในประเทศทั่วไทยที่ไม่ต้องใช้บัญชีธนาคาร ใช้เพียงบัตรประชาชนตัวจริงในการส่งเงินและรับเงินเท่านั้น โดยฝั่งผู้รับเงินสามารถเข้าไปรับเงินสดที่ร้าน 7-Eleven กว่า 14,545 สาขา ทั่วประเทศได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงระบบการพิสูจน์การยืนยันตัวตนเพื่อเปิดบัญชีผ่านระบบออนไลน์และเข้าถึงบริการของหน่วยงานภาครัฐผ่านช่องทางดิจิทัลได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
*หมายเหตุ: เคาน์เตอร์เซอร์วิสเป็นเพียงช่องทางเพื่ออำนวยความสะดวกในการยืนยันตัวตนการใช้งานแอปพลิเคชันทางรัฐเท่านั้น ข้อมูลที่ผู้ใช้งานให้แก่เคาน์เตอร์เซอร์วิสเพื่อยืนยันตัวตน จะถูกเข้ารัหสแล้วส่งให้สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA โดยตรงด้วยวิธีการที่มีความมั่นคงปลอดภัยสูง ไม่มีการจัดเก็บข้อมูลไว้ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส
ใช้นวัตกรรมเพื่อปรับปรุง เปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน
บริษัทประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามายกระดับกระบวนการทำงานให้มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการปฏิบัติงานของพนักงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในปี 2566 มีโครงการที่โดดเด่น ดังนี้
โครงการต่อเนื่อง ตรวจนับสินค้าที่ร้าน 7-Eleven รูปแบบ Sampling Count
บริษัทดำเนินงานพัฒนาระบบวิเคราะห์ข้อมูลสินค้าที่มีผลมูลค่าสินค้าขาดสูงของแต่ละสาขา โดยใช้หลักการพาเรโตอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีสินค้าเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า และไม่สูญเสียโอกาสในการขายจากสินค้าขาด รวมทั้งระบบสามารถช่วยระบุกลุ่มสินค้าที่ต้องตรวจนับ ปัจจุบันเทคโนโลยีดังกล่าวได้ถูกนำไปใช้ในร้าน 7-Eleven ทุกสาขาทั่วประเทศ
ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ
ลดเวลาการตรวจนับสินค้าที่ร้าน
ลดต้นทุนในการตรวจนับ
เพิ่มยอดขาย
โครงการนำเทคโนโลยีสร้างประสิทธิภาพด้านการวางแผนผังออกแบบพื้นที่สาขาและระบบจัดวางสินค้า
ซีพี แอ็กซ์ตร้า ร่วมมือกับ รีเล็กซ์ โซลูชั่น (RELEX Solutions) นำเทคโนโลยีในการสร้างประสิทธิภาพด้านการวางแผนผังออกแบบพื้นที่สาขาให้เกิดประโยชน์สูงสูงจากการใช้ AI และระบบจัดวางสินค้าให้สอดคล้องกับปริมาณการขาย วางแผนการจัดวางสินค้าให้เหมาะสมและยังเพิ่มประสิทธิภาพในระบบห่วงโซ่อุปทานได้แบบครบวงจรมากขึ้น
โครงการ Smart Ice Maker
ทีมงานได้ออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์เครื่องผลิตน้ำแข็งอัจฉริยะที่สามารถลำเลียงน้ำแข็งไปยังเครื่องจ่ายน้ำแข็งหน้าร้าน 7-Elelven ผ่านระบบอัตโนมัติและพัฒนาออกแบบถังเก็บน้ำแข็งให้สามารถเป็นรถเข็นสำหรับส่งน้ำแข็งไปยังจุดบริการเครื่องดื่ม All Cafe เพื่อลดแรง ลดขั้นตอนการทำงาน ลดการสัมผัสน้ำแข็ง และลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานของพนักงาน อีกทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับปัญหาขาดแคลนแรงงานของสังคมสูงวัยที่จะเกิดในอนาคต
ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ
ลดแรงและขั้นตอนการลำเลียงน้ำแข็งไปยังเครื่องจ่ายน้ำแข็ง
ลดการสัมผัสสินค้า
โครงการ Smart Coffee Machine Service by IOT system
ธุรกิจ All Cafe ในร้าน 7-Eleven ออกแบบและพัฒนาระบบ IOT เพื่อช่วยบริหารจัดการกระบวนการเข้าซ่อมเครื่องชงกาแฟแบบอัตโนมัติรู้สถานะเครื่องเสียก่อนหน้าร้าน สามารถแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ทันที เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้แม่นยำและรวดเร็วยิ่งขึ้น ส่งมอบงานบริการที่ดีมีคุณภาพ ลดการสูญเสียโอกาสในการขายและค่าใช้จ่ายในการแจ้งซ่อมได้ 823,500 บาทต่อปี
สร้างนวัตกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
บริษัทร่วมกับสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) และออลล์ เวลเนส ธุรกิจใจกลุ่มบริษัทพัฒนาหุ่นยนต์ส่งของ (Outdoor Delivery Robot) ผลิตหุ่นยนต์ที่ใช้พลังงานแบตเตอรี่ไฟฟ้าร้อยละ 100 และนำระบบนำทางอัตโนมัติปัญญาประดิษฐ์ (AI: Artificial Intelligence) ไร้คนขับเข้ามาช่วยให้เกิดการขนส่งที่ไม่ก่อมลภาวะเพื่อสร้างขนส่งพลังงานสะอาด รวมทั้งแบ่งเบาภาระการทำงานของพนักงานร้าน 7-Elelven ในช่วยที่มีปริมาณการสั่งสินค้าเข้ามาพร้อมกันจำนวนมากและช่วงเวลากลางคืน ซึ่งตอบโจทย์การเป็นร้านที่เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง ปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการพัฒนาในเฟสที่ 2 ซึ่งมีแผนพัฒนาหุ่นยนต์ให้มีหลายขนาดมาขึ้น มีเป้าหมายเพื่อขยายผลสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ (New S-Curve) โดยนำหุ่นยนต์ส่งของ (Outdoor Delivery Robot) เข้าไปช่วยตอบโจทย์การส่งของไปยังผู้บริโภคให้แก่บริษัทหรือร้านค้าอื่นๆ ใกล้ร้าน 7-Eleven
บริษัทร่วมกับองค์กรภายนอกทั้งภาครัฐและภาคเอกชน 11 องค์กรระดับประเทศ เพื่อส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม ภายใต้ "โครงการความร่วมมือขับเคลื่อนนวัตกรรมสำหรับประเทศ Thailand Synergy เพื่อเอสเอ็มอี (SMEs) ไทย" ผ่านการสนับสนุนผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ของแต่ละองค์กร รวมทั้งของผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อแลกเปลี่ยนงานวิจัยนวัตกรรมรูปแบบใหม่ที่สร้างคุณค่าแก่องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม ในปี 2566 มีโครงการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่โดดเด่น ดังนี้
โมเดลธุรกิจแปรรูปกล้วยน้ำว้าเพื่อชุมชน
โมเดลธุรกิจแปรรูปกล้วยน้ำว้าเพื่อชุมชน เป็นรูปแบบของการส่งเสริมการแปรรูปกล้วยน้ำว้าหนึบพร้อมรับประทาน มีกลิ่นหอม รสหวานตามธรรมชาติ ผลิตจากกล้วยน้ำว้าสายพันธุ์มะลิอ่องของวิสาหกิจชุมชนบ้านแคว อำเภอสารมี จังหวัดเชียงใหม่ และได้รับการสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการแปรรูปสินค้าจาก บริษัท ซันสวีท จำกัด(มหาชน) ทำให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายเกษตรกรและสร้างรายได้ให้กับชุมชน
ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ
สร้างยอดขายได้กว่า
เพิ่มมูลค่าการแปรรูปกล้วยน้ำว้าหนึบ
สร้างอาชีพให้วิสาหกิจชุมชนบ้านแคว จังหวัดเชียงใหม่กว่า
เกิดการพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ
โครงการ Vulcan แพลตฟอร์มยกระดับอาชีพผู้พิการเป็นผู้ฝึกสอน AI
บริษัท วัลแคน โคอิลิชั่น จำกัด พัฒนาแพลตฟอร์มให้บริการจัดทำข้อมูลสำหรับป้อน AI ที่เปิดโอกาสให้ผู้พิการได้ใช้ทักษะและความสามารถพิเศษในการทำหน้าที่เป็น AI Trainer ช่วยจัดเตรียมข้อมูลในการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artficial Intelligence) หรือ AI ให้มีความคิดและเข้าใจภาษามนุษย์ ตลอดจนได้พัฒนาโมเดลและแอปพลิเคชันต่างๆ ภายใต้การจ้างงานและเป็นธรรมและเคารพในศักยภาพของผู้พิการทุกคน
ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ
สร้างยอดขายได้กว่า
เกิดการจ้างงานและสร้างรายได้ให้ผู้พิการ
ช่วยขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชนของผู้พิการผ่านการจ้างงานอย่างเป็นธรรม
พัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับผู้พิการ และสร้างความภูมิใจจากการทำงานที่มีคุณค่าและมีความหมาย
โครงการ Recycle Day แพลตฟอร์มจัดการขยะแบบครบวรจร
บริษัท รีไซเคิลเดย์ จำกัด พัฒนาแพลตฟอร์มจัดการขยะแบบครบวงจรโดยการพัฒนาแอปพลิเคชันเป็นเครื่องมือในการทำงานต่างๆ ได้ง่ายขึ้น มีรถไปรับขยะที่คัดแยกแล้วจากที่ต่างๆ ทั้งในที่อยู่อาศัย อาคาร สำนักงาน ไปจนถึงกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม และ Drop Point ต่างๆ มีการกำหนดราคาซื้อขายอย่างเป็นธรรม มีระบบเก็บบันทึกปริมาณขะที่ขายได้ ซึ่งจะแปลงมาเป็นพอยต์เพื่อแลกของรางวัล ส่งเสริมให้เกิดความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ
กลุ่มสมาชิกที่ช่วยจัดการคัดแยกขยะในแพลตฟอร์มมากกว่า
สร้างรายได้มากกว่า
ลดจำนวนขยะสู่การฝังกลบได้มากกว่า
ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า
โครงการเยื่อฟางข้าวและบรรจุภัณฑ์ขึ้นรูป)จากเยื่อฟางข้าวอินทรีย์
บริษัท ฟางไทย แฟคทอรี่ จำกัด นำฟางข้าวที่มักจะถูกทิ้งหรือเผาหลังจากการเก็บเกี่ยวมาผนวกเข้ากับเทคโนโลยีการผลิตเยื่อฟางข้าวบริสุทธิ์แบบ Mechanical process ทำให้ได้เยื่อกระดาษจากฟางข้าวที่แข็งแรง สามารถใช้ทดแทนเยื่อไม้ได้หลากหลายมาผลิตบรรจุภัณฑ์จากเยื่อฟางข้าวอินทรีย์ ช่วยลดการตัดต้นไม้และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มของทรัพยากรท้องถิ่นเกิดการกระจายรายได้ในชุมชน
ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ
สร้างยอดขายกว่า
เกิดการกระจายรายได้ในชุมชนกว่า
ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกว่า
ลดต้นทุนพลังงาน
ยกระดับผลิตภัณฑ์จากเยื่อฟางข้าวอินทรีย์ของคนไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
สร้างวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรม
บริษัทจัดอบรมให้ความรู้ด้านการพัฒนานวัตกรรม เพื่อสร้างความเข้าใจและส่งเสริมให้พนักงานเสนอแนวคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีคุณค่าให้แก่บริษัท พร้อมทั้งสนับสนุนให้เกิดนวัตกรภายในองค์กร ผ่านการจัดประกวดโครงการนวัตกรรมภายในของกลุ่มธุรกิจ ซีพี ออลล์ เพื่อเชิดชูเกียรติโครงการที่มีผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดี รวมทั้งสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และแนวปฏิบัติด้านนวัตกรรมใหม่ เพื่อนำไปปรับปรุงกระบวนการทำงาน ช่วยลดภาระงานที่ไม่จำเป็น ทำให้องค์กรเกิดความคล่องตัวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดโลกทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตลอดจนเพื่อให้เกิดวัฒนธรรมนวัตกรรมที่ผู้บริหารและพนักงานได้มีส่วนร่วมในการส่งมอบคุณค่าแก่ประเทศชาติ ประชาชน และองค์กร
นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
นโยบายนวัตกรรมและการสร้างคุณค่า | ดาวน์โหลด |