ความยั่งยืน

การสนับสนุนองค์กรภายนอกและสมาคมต่างๆ

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ตระหนักถึงความสําคัญของหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และเล็งเห็นถึงผลกระทบที่จะเกิดจากการทุจริตในองค์กร ซึ่งจะส่งผลกับสังคมและประเทศชาติ และเพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะต่อต้านการทุจริต บริษัทจึงได้แสดงเจตนารมย์และเข้าร่วมเป็นหนึ่งในแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต บริษัทได้กำหนดนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่นและแนวปฏิบัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ แนวปฏิบัติสําหรับการต่อต้านการทุจริต แนวปฏิบัติในการบริจาคเพื่อการกุศล แนวปฏิบัติในการให้เงินสนับสนุน แนวปฏิบัติในการให้/รับ ของขวัญ ของชําร่วย และการรับรอง เพื่อให้คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และบุคลากรทุกระดับ รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องทางธุรกิจ ใช้เป็นแนวทางในการดําเนินงาน โดยบริษัทจะไม่เพิกเฉยต่อการกระทําใดๆที่อาจนําไปสู่การทุจริต แม้ว่าการกระทํานั้นจะเป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัทก็ตาม บริษัทได้จัดให้มีการประเมินระบบการบริหารความเสี่งด้านการทุจริตมีการทบทวนนโยบายและแนวปฏิบัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีการจัดทําและสร้างความตระหนักเรื่องการต่อต้านการทุจริตแก่พนักงานทุกระดับ อย่างไรก็ตามตั้งแต่ปี 2560 บริษัทไม่มีการใช้จ่ายค่ากิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับทางการเมืองแต่อย่างใด มีเพียงค่าธรรมเนียมสมาชิกสมาคมการค้าเท่านั้น

จำนวนเงินค่าสมาชิกสำหรับการเข้าร่วมสมาคมการค้า

กิจกรรม 2563 (บาท) 2564 (บาท) 2565 (บาท) 2566 (บาท)
การวิ่งเต้นเพื่อเปลี่ยนแปลงหรือโน้มน้าวความคิดของสมาชิกสภานิติบัญญัติ 0 0 0 0
การรณรงค์การหาเสียงทางการเมือง/สมาคม/ผู้สมัคร 0 0 0 0
สมาคมการค้าหรือกลุ่มที่ได้รับการยกเว้นภาษี (เช่น กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ)
1,924,037.91
2,531,880.71
4,282,157.29
5,580,115.21
อื่นๆ (เช่น ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับมาตรการการลงคะแนนเสียงหรือประชามติ) 0 0 0 0
รวมทั้งหมด
3,546,204.91
2,531,880.71
4,282,157.29
5,580,115.21

บริษัทเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับทุกภาคส่วน เพื่อร่วมให้คำปรึกษา แสดงความคิดเห็น และรับทราบแนวโน้มความต้องการโดยสนับสนุนงบประมาณรวมถึงสนับสนุนให้ผู้ทรงคุณวุฒิของบริษัทเข้าไปช่วยสมาคมต่าง ๆ ดังนี้

ลำดับ สมาคม/หน่วยงาน งบประมาณ ปี 2566 (บาท)
1 หอการค้าและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
5232017
2 สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย
2575000
3 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
204360
4 สมาคมผู้ค้าปลีกไทย
158967

โดยในปี 2565 บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ได้เข้าไปมีส่วนร่วมและให้การสนับสนุนโครงการในหน่วยงานต่าง ๆ ที่เข้าร่วม ดังนี้

ประเด็นที่บริษัทมีส่วนร่วมกับสมาคม ผลักดัน ในปี 2565 ร่วมกับหน่วยงาน รายละเอียดและการมีส่วนร่วม จำนวนเงินสนับสนุน (บาท)
การส่งเสริม พัฒนาศักยภาพ และโอกาสการประกอบธุรกิจของเอสเอ็มอี (SME) หอการค้า และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
  • หอการค้า และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นสถาบันกลางในการประสานงานทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐบาล ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล เกี่ยวกับนโยบายและมาตรการส่งเสริมพัฒนา และแก้ไขปัญหาการประกอบธุรกิจ และการพัฒนาเศรษฐกิจและการค้าของประเทศ
  • ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการยุทธศาสตร์หอการค้า และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย วาระปี 2564-2565 รวม 29 คณะ อาทิ คณะการค้าและการลงทุน กลุ่มค้าปลีกและบริการ ,คณะเกษตรและอาหาร-เพิ่มมูลค่าพืชเกษตร , คณะ Logistics & Supply Chain , คณะแรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน
  • ร่วมดำเนินโครงการเพื่อส่งเสริม พัฒนาแผนการปรับตัวทางธุรกิจของ SME หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) รวมถึงให้คำแนะนำเพื่อแก้ไขปัญหาการประกอบธุรกิจสำหรับ SME ผ่านโครงการต่าง ๆ ดังนี้
    - โครงการ Big Brother season 6 เป็นพี่เลี้ยงให้กับเอสเอ็มอี (SME) ผ่านกระบวนการ Coaching and Mentoring ให้คำปรึกษา แนะนำ อบรมให้ความรู้ด้านการทำธุรกิจเพื่อให้มีศักยภาพในการแข่งขัน ลดต้นทุน เพิ่มผลกำไร ช่วยให้ขยายออกสู่ตลาดต่างประเทศ
    - โครงการ Business Accelerator#2 จัดทำระบบประเมินตนเองผ่านระบบออนไลน์ สำหรับ SME เพื่อช่วย SME ค้นหาโอกาสในการปรับปรุง รวมถึงเข้ารับการอบรมตามหลักสูตรที่เหมาะสมเฉพาะกลุ่มตามศักยภาพของ SME นอกจากนี้ภายหลังการประเมินตนเอง สัมภาษณ์ และเรียนรู้จบหลักสูตรที่กำหนด บริษัทส่งเสริมและสนับสนุนให้ SME ได้มีการโอกาสนำเสนอ (Pitching) สินค้าหรือบริการกับผู้เชี่ยวชาญที่จะให้มุมมอง และพิจารณาโอกาสทางธุรกิจ จากพันธมิตรค้าปลีก
8,078,791
การส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยี ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  • สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เป็นองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร เป็นตัวแทนของภาคอุตสาหกรรมไทยและผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่างๆ ตราพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2530 ส.อ.ท. ดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรม บทบาทสำคัญของ ส.อ.ท. เป็นการขยายความร่วมมือ  ไปยังภาครัฐทั้งในและต่างประเทศในการดำเนินธุรกิจและการพัฒนาอุตสาหกรรม
  • โครงการประยุกต์ใช้บาร์โค้ด 2 มิติ ตามมาตรฐานสากล GSI ร่วมขับเคลื่อนนวัตกรรม ยกระดับความปลอดภัยให้ผู้บริโภค ตรวจสอบ วันหมดอายุสินค้ากลุ่มบริโภค ณ สถานที่ขาย สร้างความเชื่อมั่นอาหารปลอดภัยให้กับลูกค้า
  • ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานที่สำคัญต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ข้อกฎหมาย และการเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการเข้าสู่ Modern Trade
  • จัดงาน “เจรจาธุรกิจ (Business Matching)” เพื่อเปิดโอกาสทางการค้าให้กับผู้ประกอบการ SME รวมถึงให้คำปรึกษา และเจรจาธุรกิจกับเจ้าหน้าที่ด้านจัดซื้อของ ซีพี ออลล์โดยตรง
  • นำเสนอนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ช่วยลดการใช้พลังงาน
1,124,159
นโยบายระดับประเทศในการจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน กรมส่งเสริมคุณภาพและสิ่งแวดล้อม , กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมจัดตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดการรับรู้และการมีส่วนร่วมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กระบวนการมีส่วนร่วมและเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อมในการส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
  • กรมควบคุมมลพิษจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารจัดการ ควบคุม กำกับดูแล และปกป้องสิ่งแวดล้อมจากมลพิษ
  •  เข้าร่วมเป็นคณะทำงาน Public Private Partnership Plastic (PPP Plastic) ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากขยะพลาสติก เพื่อแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในประเทศไทยให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • ร่วมให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ในการจัดทำ Roadmap การจัดการขยะพลาสติก ระยะที่ 2
  • ร่วมลงนามความร่วมมือ (MOU) โครงการ "Green coffee shop" กับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้ความเข้าใจให้สังคม ในการมีส่วนร่วมลดปริมาณขยะและลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง และส่งเสริมขับเคลื่อนความร่วมมือ ร้าน 7-eleven ที่มีร้านกาแฟเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมี All cafe ทั่วประเทศเป็นแบบอย่างในการลดการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง ภายใต้แนวคิด "7 Go Green" ปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ และเห็นคุณค่าความสำคัญของการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
 300,000

 

หมายเหตุ : ข้อมูลงบประมาณ ครอบคลุมค่าสมาชิก และ/หรือค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ

เว็บไซต์ cpall.co.th มีการเก็บคุกกี้ซึ่งเป็นการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน้า นโยบายการใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า