มารู้จักอาคาร “THE TARA” อาคารประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของซีพี ออลล์

ใครผ่านไปผ่านมาแถวถนนแจ้งวัฒนะ น่าจะเคยสังเกตุเห็นตึกขนาดใหญ่ตั้งสูงตระหง่านอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ โดยตึกสูงแห่งนี้คือ อาคาร THE TARA อาคารสำนักงานแห่งใหม่ของซีพี ออลล์ โดยตั้งอยู่เลขที่ 58/28  หมู่ 2 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 บนพื้นที่ 4 ไร่ 3 งาน และอยู่ภายในโครงการธาราพาร์ค ซึ่งมีพื้นที่รวมกว่า 54 ไร่ อาคาร THE TARA มีแนวคิดด้านการออกแบบภายนอก Ecological และ Biophilic Design เป็นการผสมผสานระหว่างธรรมชาติและการใช้งานของผู้คนให้เกิดความความลงตัว

อาคาร THE TARA เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 22 ชั้น และชั้นใต้ดิน 1 ชั้น มีพื้นที่รวม 45,394 ตร.ม. รูปทรงอาคารเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสปลายสอบ บิดมุม 45 องศา คล้ายทรงปิระมิด มีคลีบอาคารเหมือนสายน้ำไหลจากยอดอาคารลงสู่ด้านล่างตลอดเวลาที่เคลื่อนตัวผ่าน สะท้อนความรู้สึกสงบนิ่ง สง่างาม ไร้กาลเวลา กรอบอาคารเป็นระบบผนัง Curtain wall ห่อหุ้มตัวอาคารโดยรอบป้องกันการซึมผ่านของอากาศและน้ำ ช่วยดูดซับแรงกระแทกจากแรงดันลมบนที่สูง มีความทนทาน ให้ความสวยงามทันสมัย เมื่อมองจากภายในออกไปสู่ภายนอกอาคารจะเห็นทัศนียภาพภายนอกได้ชัดเจน

อาคาร THE TARA เป็นอาคารอัจฉริยะ (Smart Building) สอดคล้องกับยุควิถีใหม่ (New Normal) ด้วยนวัตกรรมการบริหารและควบคุมการทำงานในอาคาร เพื่อความสะดวกสบาย ปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานทุกคน พร้อมฟังก์ชั่นการใช้งานที่ทันสมัย ตอบไลฟ์สต์ผู้ใช้งานทุกกลุ่ม อำนวยความสะดวกครบครัน

โดยอาคารแห่งนี้ถูกออกแบบโดยคำนึงถึงสุขภาวะของผู้ใช้งานอาคารและด้านการอนุรักษ์พลังงานเป็นหลัก โดยภาพรวมของการออกแบบอาคารได้มีการใช้กรอบอาคารเป็นกระจกฉนวนประสิทธิภาพสูงในการป้องกันความร้อนจากรังสีดวงอาทิตย์เพื่อลดภาระการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ (กระจกสองชั้น) และห่อหุ้มอาคารทั้งหมดไว้ด้วยแผงบังแดดอลูมิเนียมอีกชั้นหนึ่ง เพิ่มเพิ่มประสิทธิภาพในการปกป้องความร้อน ในขณะเดียวกันก็สามารถทำให้พื้นที่ใช้งานได้รับแสงธรรมชาติในตอนกลางวันและมองเห็นทัศนียภาพที่ดีของภายนอกอาคารเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตให้กับผู้ใช้งานอาคาร ส่วนบริเวณชั้น 1 ของอาคารได้รับการออกแบบให้มีน้ำล้อมรอบ และมีช่องแสงที่สามารถให้แสงส่องผ่านน้ำเพื่อให้ความสว่างแก่ทางเดินในชั้นใต้ดิน (ชั้น B1)

โดยจากการคำนวณพบว่าพื้นที่ใช้งานมีค่า Daylight factor มากกว่า 2% ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สามารถใช้งานได้โดยไม่ใช้ไฟประดิษฐ์เสริมเฉลี่ยถึง 81% ของพื้นที่ใช้งานประจำ ผนวกกับการเลือกใช้ไฟฟ้าส่องสว่างที่มีกำลังไฟต่อพื้นที่ลดจากเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำของระบบไฟฟ้าแสงสว่างของเภทอาคาร สถานศึกษาและสำนักงาน จาก 14 วัตต์/ตารางเมตร เป็น 7.5 วัตต์ต่อตารางเมตร จึงทำให้อาคาร THE TARA เป็นอาคารที่สามารถใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในด้านการสร้างสุขภาวะ สภาพแวดล้อมและการอนุรักษ์พลังงาน

อาคาร THE TARA มีการจัดการสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมภายนอก มีการสร้างสรรค์พื้นที่โดยรอบอาคารให้มีลักษณะเป็น Biophilic design โดยการผสานธรรมชาติเข้ากับบริบทของสถาปัตยกรรมโดยมีการออกแบบให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่เปิดโล่งเชิงนิเวศสามารถให้ผู้ใช้งานอาคารทำกิจกรรมต่างๆ ได้ ซึ่งพื้นที่โดยรอบนั้นจัดถือเป็น Green buffer zone ในการสร้าง Outdoor thermal comfort และ Thermal transition space สำหรับผู้ใช้งานอาคารได้ปรับอุณหภูมิร่างกายก่อนเข้าพื้นที่ปรับอากาศของอาคาร ทำให้ลดการเกิดอาการไม่สบายเชิงอุณหภูมิ (Thermal discomfort) จากการที่อุณหภูมิเปลี่ยนอย่างเฉียบพลันได้

อาคาร THE TARA ก่อสร้างตามเกณฑ์ “การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย”  TREES (Thai’s Rating of Energy and Environmental) หรือ เกณฑ์อาคารเขียว ของสถาบันอาคารเขียวไทย (Thai Green Building Institute :  TGBI)  ซึ่งมีมาตรฐานของเกณฑ์เทียบเท่าระดับสากล มาใช้ในการก่อสร้างอาคาร THE TARA โดยบริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะได้รับรองจากสถาบันอาคารเขียวไทย (TREES-NC/CS) ในระดับ Platinum โดยเกณฑ์อาคารเขียวประกอบด้วย

หมวดที่ 1 การบริหารจัดการอาคาร

หมวดที่ 2 ผังบริเวณและภูมิทัศน์

หมวดที่ 3 การประหยัดน้ำ

หมวดที่ 4 พลังงานและบรรยกาศ

หมวดที่ 5 วัสดุและทรัพยากรในการก่อสร้าง

หมวดที่ 6 คุณภาพของสภาพแวดล้อมภายในอาคาร

หมวดที่ 7 การป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

หมวดที่ 8 นวัตกรรม

จุดเด่นด้านประหยัดพลังงานและสิ่งแวดล้อม อาคารเดอะธารา

หมวดทำเลและที่ตั้ง

อยู่ใกล้ระบบสาธารณูปโภคอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้อาคารในระยะเดิน 500 เมตร โดย ไม่จำเป็นต้องใช้รถยนต์

โครงการตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีทั้งรถเมล์ รถตู้ ที่เป็นรถยนต์โดยสารประจำทางอีกทั้งยังอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพูที่สามารถเชื่อมต่อเป็นโครงข่ายกับรถไฟฟ้าสายอื่นได้ ซึ่งทำให้การเข้าถึงเป็นไปได้อย่างสะดวกและลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวได้

หมวดการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ

โครงการเลือกใช้สุขภัณฑ์ประหยัดน้ำตามเกณฑ์อาคารเขียว 100% ซึ่งทำให้มีการประหยัดน้ำกว่าอาคารทั่วไปจึงทำให้เป็นการลดการใช้ทรัพยากรน้ำและลดภาระค่าใช้จ่ายในระยะยาว

หมวดคุณภาพอากาศและสภาวะแวดล้อมภายในอาคาร

โครงการมีการเติมอากาศบริสุทธิ์ในพื้นที่ใช้งานเพื่อลดความเข้มข้นของก๊าซาร์บอนไดออกไซด์ ที่ออกมาจากการหายใจระหว่างวัน ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานอาคารได้รับอากาศบริสุทธิ์ตลอดเวลาในการทำงาน ทำให้ไม่ปวดหัวหรือรู้สึกมึนหัวส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น

อาคารมีการใช้แสงธรรมชาติเข้ามาในพื้นที่ เพื่อลดการใช้ไฟฟ้าส่องสว่างภายในอาคาร อีกทั้ง แสงธรรมชาติยังส่งผลให้ลดความเครียดและช่วยฟื้นฟูสุขภาพจิตใจให้ดีขึ้น

หมวดการอนุรักษ์พลังงาน

อาคารได้เลือกใช้กระจกประสิทธิภาพสูงซึ่งมีการถ่ายเทความร้อนจากพลังงานดวงอาทิตย์เพียง 18% ผนวกกับการออกแบบแผงบังแดด แนวตั้งทำให้ลดการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ไป 21% จึงทำให้ความร้อนที่เข้ามายังพื้นที่ มีปริมาณน้อย ส่งผลต่อภาระการทำความเย็นที่ลดลงทำให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น

เนื่องจากอาคารเดอะธารา ได้ตั้งอยู่ในโครงการธาราพาร์ค และเลือกใช้ระบบ District cooling ซึ่งเป็นระบบปรับอากาศแบบรวมศูนย์ ซึ่งทำให้ประหยัดพลังงานและลดภาระการทำความเย็นไปได้ประมาณ 30% เมื่อเทียบกับการติดระบบปรับอากาศแยกแต่ละอาคาร

หมวดการใช้วัสดุเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

โครงการได้เลือกใช้วัสดุที่มีสัดส่วนของวัตถุดิบที่รีไซเคิลถึง 45% และเป็นวัสดุที่ผลิตภายในประเทศถึง 32% ซึ่งมีส่วนช่วยโลกในการลด ขยะโดยการนำกลับไปใช้และลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงที่ใช้ในการขนส่งระยะทางไกล

โครงการได้เลือกใช้วัสดุสารพิษต่ำ Low VOC ในวัสดุประเภท สี สารเคลือบผิว กาวและยาแนว ซึ่งเป็นวัสดุที่จำเป็นในงานก่อสร้าง ทั้งนี้ วัสดุที่สารพิษต่ำาจะลดโอกาสการก่อเกิดโรคและลดสาเหตุของการเกิดมะเร็งในระบบทางเดินหายใจของผู้ใช้งานอาคารได้ในระยะยาว

หมวดการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

โครงการมีการจัดทำแผน เพื่อลดผลกระทบจากการก่อสร้างอาคารเพื่อลดปัญหาเรื่องฝุ่นและสารพิษที่อาจกระทบต่อพื้นที่บริเวณข้างเคียงได้

โครงการมีการให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมของพื้นที่ข้างเคียงโดยคำนึงถึงตำแหน่งที่ตั้งหอระบายความร้อนไม่ให้สร้างผลกระทบต่อเพื่อนบ้าน และการเลือกใช้กระจกกรอบอาคารที่มีค่าการสะท้อนไม่เกิน 15% เพื่อไม่ให้แสงสะท้อนจากดวงอาทิตย์สร้างแสง บาดตา (Discomfort glare) ให้กับอาคารข้างเคียงโดยรอบ

หมวดนวัตกรรม

โครงการติดตั้งมิเตอร์วัดน้ำย่อยที่สามารถวัดการใช้น้ำได้ตามการใช้น้ำแต่ละประเภททั้งหมด 6 จุด เพื่อประสิทธิภาพในการจัดการน้ำในโครงการ

โครงการมีการใช้ระบบ Building Automation System (BAS) ในการจัดการด้านพลังงานทั้งระบบปรับอากาศและระบบไฟฟ้าส่องสว่าง

เว็บไซต์ cpall.co.th มีการเก็บคุกกี้ซึ่งเป็นการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน้า นโยบายการใช้คุกกี้

Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save