หากเอ่ยถึงคำว่า “Sensory Test” หลายๆ คนคงไม่คุ้นเคยกับคำนี้ แต่หากถามคนในวงการอุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่ม คงรู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะ Sensory Test เป็นการทดสอบคุณภาพอาหารโดยใช้ ประสาทสัมผัสของมนุษย์เป็นเครื่องมือแปลผลทางความรู้สึก ไม่ว่าจะเป็นจากการมองเห็น การดมกลิ่น การรับรส การ สัมผัส หรือแม้กระทั่งการได้ยิน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงและควบคุมคุณภาพ ซึ่งปัจจุบันอาชีพนี้เริ่ม เป็นที่สนใจสนใจมากยิ่งขึ้น
ล่าสุดเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา สถาบัน SOCOF หรือ School of Coffee Flavorist สถาบันสอนกาแฟเพื่อเพิ่มทักษะความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์การสอนด้านกาแฟให้กับผู้ที่สนใจที่มีมาตรฐานในระดับสากล SCA, SCENTONE, GCS จากประเทศเกาหลี ได้จัดการแข่งขันนักดมกลิ่นกาแฟโลกหรือ World Aromaster Championship 2023 ขึ้น ณ จ.เชียงใหม่ เพื่อค้นหาบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญและมีทักษะด้านประสาทสัมผัสและด้านการอธิบายรสชาติจาก Scentone และในเวทีนี้เองที่ พชรวรรณ คงเจริญ หรือ “ปอย” สาวไทย 1 ใน 3 ตัวแทน Aromaster ของประเทศไทย ได้แสดงให้เห็นถึงทักษะด้าน Sensory Test ที่สั่งสมมานานกว่า 10 ปี ฝ่าด่านคู่แข่งจากทั่วโลก คว้าแชมป์ World Aromaster Championship 2023 ไปครอง
ปอย-พชรวรรณ คงเจริญ เล่าว่า “ปีนี้ถือว่าเป็นปีที่แรกที่ตนเองสมัครเข้าแข่งขัน รู้สึกมีความภูมิใจและดีใจที่เรา สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศที่สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศมาได้”
สำหรับเส้นทางการเป็นนัก Aromaster ของ “ปอย-พชรวรรณ” นั้น เริ่มจากการที่เป็นคนที่หลงรักเสน่ห์และรสชาติที่ เป็นเอกลักษณ์ของกาแฟ อีกทั้งการได้มีโอกาสทำงานที่สำนักพัฒนาและประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญพัฒนาผลิตภัณฑ์ รับผิดชอบงานในส่วนของการควบคุมคุณภาพเมล็ดกาแฟ การคิดค้นและพัฒนาสูตรเมล็ดกาแฟ มีส่วนร่วมในการออกผลิตภัณฑ์ สินค้าใหม่ๆ ในกลุ่มของกาแฟที่จำหน่ายผ่าน All CAFÉ ในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ซึ่งเป็นงานที่ตรงกับสิ่งที่ตนเองสนใจ และจากการที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานด้านนี้ทำ ให้ต้องเรียนรู้และพัฒนาตนเองตลอดเวลา รวมทั้งการได้รับการสนับสนุนจากบริษัทฯส่งตนให้ไปเรียนรู้เพิ่มเติมทำให้ ปัจจุบันนี้นอกจาก ปอย-พชรวรรณ จะเป็นนัก Aromaster หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการดมและชิมกาแฟแล้ว ยังได้รับหน้าที่เป็นผู้ตัดสินคุณภาพของเมล็ดกาแฟ หรือเรียกว่า “Q Grader” ซึ่งต้องมีการทดสอบเพื่อรับรองความถูกต้องที่ได้มาตรฐานทุกๆ 3 ปี อีกด้วย
“การรักษามาตราฐาน ความมีวินัย เป็นหัวใจสำคัญของ Aromaster”
ปอย-พชรวรรณ บอกเล่าถึงคุณสมบัติของนักดมกลิ่น หรือ Aromaster ว่า “คุณสมบัติของ Aromaster ทางด้านกาแฟจะคล้ายๆ กับคุณสมบัติผู้ทดสอบชิมอาหาร คือ ควรมีประสาทสัมผัสที่ดี สามารถเรียนรู้ จดจำ และบรรยายคุณลักษณะของตัวอย่างกาแฟได้ มีประสบการณ์และมีคลังคำศัพท์ที่เกี่ยวกับ กลิ่นรส กาแฟเป็นอย่างดี เพราะฉะนั้น Aromaster ทางด้านกาแฟ จะต้องเป็นคนที่ชิมกาแฟบ่อยๆ ฝึกฝนการดมกลิ่นที่อยู่ในการแฟบ่อยๆ จนเกิดการสั่งสมเป็นประสบการณ์และมีคลังคำศัพท์ที่สามารถนำมาใช้ได้และต้องมีความขยัน อดทน ในการฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ”
และหลังจากที่ได้รับความรู้ ได้รับโอกาสในการทำงานและได้พัฒนาสินค้าที่มีคุณภาพเพื่อส่งต่อ ให้กับลูกค้าแล้ว การนำความรู้และความเชี่ยวชาญที่ตนเองมี ยังได้นำไปส่งต่อให้กับผู้อื่นอีกด้วย
“จากการเป็นผู้ที่ได้รับโอกาส ได้รับความรู้ ฝึกฝนตนเองจนมีความสามารถด้านการเป็น Aromaster ทำให้ตนเอง อยากจะแบ่งปันความรู้ที่มีส่งต่อให้กับผู้อื่น โดยการทำหน้าที่เป็นวิทยากรให้ความรู้ให้กับกลุ่มเกษตรกร ในการทดสอบ รสชาติกาแฟ รวมถึงร่วมพัฒนารสชาติกาแฟตั้งแต่ต้นน้ำจนสู่ปลายน้ำให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกกาแฟบ้านกองกาย จังหวัดเชียงใหม่ และได้นำทักษะในการตัดสินกาแฟพัฒนากระบวนการผลิตและการแปรรูปเมล็ดกาแฟ ให้มีกลิ่น และรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำให้เมล็ดกาแฟจากบ้านกองกายมีคะแนนสูงขึ้นและได้รับรางวัลประกวด กาแฟ อันดับ 4 ประเภทนวัตกรรม เหรียญทองแดง ในรายการประกวด Thailand coffee excellence 2023 ที่ผ่านมา”
ติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวได้อีก 1 ช่องทางได้เลยที่ www.facebook.com/cpall7