พลิกการตลาดแบบเดิมๆ สู่การใช้ Influencer เปิด 5 ข้อที่ SME ต้องรู้ ก่อนลุยตลาดแบบใหม่ให้ปัง

การทำการตลาดผ่านอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) หรือที่เรียกว่า Influencer Marketing ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับการเติบโตของจำนวนประชากรที่สามารถเข้าถึงโซเซียลมีเดีย ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 3.4 พันล้านคนทั่วโลก หรือประมาณ 45% ของประชากรโลก ปัจจัยสนับสนุนสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ Influencer Marketing เติบโตอย่างรวดเร็ว คือเป็นช่องทางการตลาดที่สื่อสารได้ตรงกลุ่มเป้าหมายในเวลาอันรวดเร็ว ยิ่งผู้บริโภคเข้าถึงโซเซียลมีเดียได้ง่ายเท่าไหร่ การทำการตลาดผ่านอินฟลูเอนเซอร์ ก็ได้ผลลัพธ์เร็วขึ้นเท่านั้น บางแบรนด์ใหญ่ถึงกับตั้งงบการตลาดผ่านอินฟลูเอนเซอร์ไว้สูงถึง 75%  

เมื่อการทำ Influencer Marketing ทวีความสำคัญและมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น SME เองก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะทำการตลาดผ่านช่องทางนี้ หากต้องการให้สินค้าและแบรนด์เป็นที่รู้จักในวงกว้างในเวลาอันรวดเร็ว “ศูนย์ 7 สนับสนุน SME” หรือ 7 SME Support Center ภายใต้การขับเคลื่อนของ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่นและเซเว่น เดลิเวอรี่ หนึ่งในหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการ SME มาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้นโยบาย “3 ให้” จึงได้รวบรวม “HOW TO : SME ลงทุนกับ Influencer อย่างไรให้ปัง?” เพื่อเป็นข้อมูลให้กับผู้ประกอบการก่อนตัดสินใจเลือกใช้อินฟลูเอนเซอร์   

1.รู้ความต้องการของแบรนด์ ผู้ประกอบการต้องรู้วัตถุประสงค์ของแบรนด์ว่า ต้องการสื่อสารอะไรเกี่ยวกับสินค้าหรือแบรนด์ของตนเอง เช่น ต้องการสร้างความน่าเชื่อถือ ต้องการเป็นที่รู้จักในกลุ่มเป้าหมาย หรือต้องการเป็นที่รู้จักในวงกว้าง หากต้องการสร้างความน่าเชื่อถือ ก็ต้องเลือกใช้อินฟลูเอนเซอร์ ที่มีผู้ติดตามมากกว่า 1 ล้านคนขึ้นไป หรือที่เรียกว่า Mega-influencer   

2.สินค้าต้องเหมาะกับอินฟลูเอนเซอร์ เลือกอินฟลูเอนเซอร์ให้เหมาะสมกับสินค้าและแบรนด์ ตลอดจนกลุ่มเป้าหมาย เช่น ถ้าสินค้าประเภทสบู่มีราคาไม่สูงมาก แต่เลือกใช้ Mega-influencer ที่มีภาพจำชอบใช้สินค้าราคาแพง ก็ดูจะเป็นการสร้างการรับรู้ที่ดูขัดกับอินฟลูเอนเซอร์นั้นๆ ทำให้รู้สึกว่าอินฟลูเอนเซอร์ไม่ได้ใช้จริงๆ ผู้บริโภคก็จะรู้สึกไม่อินกับคอนเทนต์นั้น หากเป็นสินค้าเพื่อสุขภาพ ก็อาจจะเลือกอินฟลูเอนเซอร์ที่ดูแลสุขภาพ ชอบออกกำลังกาย มีไลฟ์สไตล์ตรงกับสินค้า หรือมีความรู้ด้านสุขภาพ เป็นต้น

3. สืบค้น Background อินฟลูเอนเซอร์ แม้อินฟลูเอนเซอร์ที่สนใจจะตอบโจทย์สิ่งที่ต้องการ แต่ผู้ประกอบการต้องไม่ลืมดูประวัติของอินฟลูเอนเซอร์เพิ่มเติมด้วยว่าเป็นอย่างไร จะกระทบกับภาพลักษณ์สินค้าในอนาคตหรือไม่ รวมทั้งต้องนำเรื่องของตัวตนที่แท้จริงของอินฟลูเอนเซอร์มาพิจารณาร่วมด้วย เพราะสินค้าที่ขัดต่อตัวตนของอินฟลูเอนเซอร์ กลุ่มคนที่ติดตามอินฟลูเอนเซอร์เหล่านี้ ซึ่งติดตามความเป็นตัวตนจริงๆ ของ Influencer คนนั้นๆ จะรับรู้ได้ทันทีว่าไม่ใช่ และอาจก่อให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในสินค้า

4.ศึกษาแพลตฟอร์มอินฟลูเอนเซอร์ ผู้ประกอบการต้องดูว่าอินฟลูเอนเซอร์ที่เราสนใจมีช่องทางสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มใดบ้าง เช่น Blog, Instagram, Facebook, YouTube, TikTok  ซึ่งแต่ละแพลตฟอร์มสามารถสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายของเราจริงๆ ได้ไหม เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบันเลือกที่จะบริโภคสื่อผ่านแพลตฟอร์มที่ตัวเองสนใจ ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องเลือกอินฟลูเอนเซอร์ที่มีแพลตฟอร์มตรงกับพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย  

5.มองนอกกรอบ การทำ Influencer Marketing ผู้ประกอบการจะต้องมองให้แปลกและแตกต่างจากเดิม เช่น สินค้าของเราเป็นผ้าปูที่นอน แต่เลือกใช้อินฟลูเอนเซอร์ที่เป็นสัตว์เลี้ยง เพื่อสื่อสารให้เห็นว่า ผ้าปูที่นอนของเราดีอย่างไร ขนาดสัตว์เลี้ยงยังหลับสบาย หรือกรณีเป็นสินค้าเพื่อสุขภาพ เลือกทำการตลาดผ่านกลุ่มเกมเมอร์ เนื่องจากเป็นที่มีกลุ่มผู้ติดตามจำนวนมาก นำสินค้ามาให้เหล่าเกมเมอร์ทานโชว์ จนเกิดการซึมซับและอยากหามาลองทาน จนเกิดกระแสแห่ซื้อสินค้าจนของขาดตลาดก็มีมาแล้ว     

หัวใจสำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งในการทำการตลาดแบบ Influencer Marketing ที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้ามคือ เรื่องของ Relationship ระหว่างอินฟลูเอนเซอร์และแฟนคลับ หากอินฟลูเอนเซอร์ไม่มีปฏิสัมพันธ์ เข้าไปตอบโต้กับทางแฟนคลับก็จะไม่เกิดการต่อยอดมายังสินค้าหรือแบรนด์ของเราได้เต็มที่ อย่าดูแค่เพียงยอดผู้ติดตามเท่านั้น เพราะอินฟลูเอนเซอร์บางคนที่มียอดผู้ติดตามไม่มาก กลับให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าก็มีจำนวนมาก เพราะมี Relationship ที่ดี การลงทุนกับอินฟลูเอนเซอร์ เพื่อให้สินค้าหรือแบรนด์เป็นที่รู้จักไม่ใช่เรื่องยาก ขอเพียงแค่ให้ผู้ประกอบการมีความรู้และความเข้าใจในอินฟลูเอนเซอร์ หรือหากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีต้องการหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำการตลาดหรือความรู้ด้านการประกอบธุรกิจแบบครอบคลุมในทุกด้าน สามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่ “ศูนย์ 7 สนับสนุน SME” โทร. 02-826-7750 หรือค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมผ่านทาง https://www.facebook.com/7smesupport  

เว็บไซต์ cpall.co.th มีการเก็บคุกกี้ซึ่งเป็นการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน้า นโยบายการใช้คุกกี้

Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save