ยกระดับอาชีวอนามัย สร้างความปลอดภัยน่าทำงาน
บริษัทตระหนักถึงสิทธิด้านความมั่นคงปลอดภัยของ โดยมุ่งเป็นองค์กรที่ปราศจากอุบัติเหตุ ภายในปี 2573 รวมถึงมอบความสุข และคุณภาพชีวิตที่ดีแก่พนักงาน บริษัทจึงดำเนินการจัดสภาพแวดล้อม และพื้นที่การทำงานให้ปลอดภัยตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยกำหนดคณะกรรมการตรวจประเมินประสิทธิผลการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย แนวทางการดำเนินงาน และแผนการพัฒนาระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัย พร้อมทั้งดำเนินตลอดจนยกระดับการจัดการให้เทียบเคียงระดับสากล เพื่อดูแลพนักงานให้มีสภาพการทำงานที่ปลอดภัย และไม่ส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายใน และภายนอกองค์กร
นโยบายและเป้าหมายความปลอดภัย กลุ่มธุรกิจการตลาดและการจัดจำหน่าย
บริษัทกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายการบริหารด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยมีความมุ่งมั่นสู่การดำเนินธุรกิจที่ไม่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ และโรคจากการทำงาน อ่านรายละเอียดนโยบายและเป้าหมายเพิ่มเติมได้ที่ ==>ดาวน์โหลด
ปัจจัย | ตัวชี้วัด | หน่วยวัด | เป้าหมาย ปี พ.ศ. 2565-2573 |
---|---|---|---|
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย | จำนวนและอัตราผู้เสียชีวิตอันเนื่องมาจากการทำงานของพนักงานและผู้รับเหมา | (หน่วย : ราย / 1 ล้านชั่วโมงทำงาน) | 0 ราย |
จำนวนและอัตราการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานจากการทำงานของพนักงานและผู้รับเหมา (Lost Time Injury Rate: LTIFR) | (หน่วย : ราย / 1 ล้านชั่วโมงทำงาน) | มีแนวโน้มลดลง 40% และเป็น 0 ในปี 2573 |
รวมทั้งสนับสนุนทรัพยากรในการจัดการ สร้างบรรยากาศ จัดสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย จัดสรรเครื่องมือ และอุปกรณ์ป้องกันภัยที่เพียงพอและเหมาะสมให้กับผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง มุ่งมั่นจัดเตรียมสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย เพื่อลด ควบคุมและป้องกันอุบัติเหตุใด ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างเต็มกำลังความสามารถ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายด้านความปลอดภัยที่วางไว้ ผ่านการดำเนินการ ดังนี้
การประเมินความเสี่ยง โดยการระบุสิ่งที่อาจก่อให้เกิดอันตรายในสถานที่ทำงาน
ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยง
คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) มอบหมายให้ผู้บริหารระดับแผนกหรือเทียบเท่าของแต่ละพื้นที่ประเมินความเสี่ยงระบุกิจกรรม/พื้นที่/ลักษณะงาน อาทิ การขับขี่ยานยนต์/มอเตอร์ไซต์ สารเคมี แสง เสียง โดยพิจารณาจากงานที่ทำ งานจากพื้นที่ภายนอกที่มีความเสี่ยง รวมถึงงานที่เกี่ยวกับผู้รับเหมา รวมถึงทบทวนความเสี่ยงกรณีเกิดการเปลี่ยนแปลงการควบคุม วัตถุดิบ / กิจกรรม / กระบวนการ / ผลิตภัณฑ์ใหม่ /ผังของกระบวนการทำงาน รวมถึงกรณีมีกฎหมายใหม่ / พบข้อร้องเรียน / การเกิดอุบัติเหตุ และการพิจารณาลดระดับความเสี่ยง ปีละครั้ง โดยการประเมินความเสี่ยงครอบคลุมทั้งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำปกติ และสถานการณ์ไม่ปกติของการทำงานที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว ควบคู่ไปกับการประเมินความเสี่ยงของพฤติกรรมที่มีผลต่อกิจกรรมการทำงาน พร้อมทั้ง ชี้บ่งอันตรายและประเมินหานัยสำคัญของลักษณะปัญหาความปลอดภัย ภายใต้กรอบการพิจารณาทั้ง 7 หมวด ประกอบด้วย 1) สภาพแวดล้อม (Environmental) 2) เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ (Equipment) 3) วัสดุ / วัตถุดิบ (materials) 4) การกระทำหรือพฤติกรรม (Human behavior) 5) สภาพการทำงาน (Condition) 6) ตัวพนักงาน 7) ปัจจัยทางสังคม จากนั้นร่วมกันประเมินความเสี่ยงโดยใช้หลักเกณฑ์การพิจารณา 1) พิจารณาถึงโอกาสที่จะเกิดความสูญเสียของอันตราย 2) พิจารณาถึงความรุนแรงจากความสูญเสียของอันตราย จากนั้นจัดทำทะเบียนความเสี่ยงเพื่อนำไปพิจารณาจัดลำดับความสำคัญ และพิจารณามาตรการควบคุมความเสี่ยง
การจัดลำดับความสำคัญและบูรณาการแผนปฏิบัติการกับเป้าหมายเชิงปริมาณเพื่อจัดการความเสี่ยง
ผู้รับผิดชอบของแต่ละพื้นที่พิจารณาจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยง เพื่อพิจารณากำหนดมาตรการการจัดการ ความเสี่ยง และเสนอขอการอนุมัติจากคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ระดับความเสี่ยง | การดำเนินการ |
---|---|
ยอมรับไม่ได้ (5) | หยุดการทำงานในกิจกรรมงานทันที แล้วแก้ไขให้ระดับความเสี่ยงลดลงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ โดยต้องมีการตรวจสอบการแก้ไขดังกล่าวก่อนอนุญาตให้ปฏิบัติงาน พร้อมจัดทำเป็นมาตรการควบคุม ทั้งนี้ต้องมีหลักฐานพร้อมให้ตรวจสอบตลอดระยะเวลาดำเนินการ |
สูง (4) | ลดระดับความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ โดยทบทวนมาตรการควบคุมที่มีอยู่/ยกเลิก/จัดทำมาตรการใหม่/จัดทำวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และโครงการ ทั้งนี้ต้องมีหลักฐานพร้อมให้ตรวจสอบตลอดระยะเวลาดำเนินการ |
ปานกลาง และยอมรับได้ (2,3) | ทบทวนความเหมาะสมของมาตรการควบคุมที่มีอยู่ เพื่อควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้อย่างต่อเนื่องและตรวจสอบการปฏิบัติการโดยหัวหน้างานอย่างเข้มงวด |
เล็กน้อย (1) | ตรวจสอบการทำงานเป็นประจำโดยหัวหน้างาน,จป.,คปอ. |
และมอบหมายไปยังผู้เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำโครงการ แผนปฏิบัติการ พร้อมกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายเชิงปริมาณและผู้รับผิดชอบ เสนอคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานพิจารณาอนุมัติโครงการและแผนงาน อ่านรายละเอียดโครงการเพิ่มเติมได้ที่ ==> ดาวน์โหลด
ตัวอย่างโครงการวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
ลำดับ | ที่มาของโครงการ | ชื่อโครงการ | วัตถุประสงค์ | เป้าหมาย ตัวชี้วัด/หน่วย | ผู้รับผิดชอบ | ผลการดำเนินงาน |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | – นโยบายด้านความปลอดภัย – สถิติอุบัติเหตุในงาน |
1. หน่วยงานดีเด่นด้านความปลอดภัย | – ลดสถิติการเกิดอุบัติเหตุ | – อุบัติเหตุในแต่ละหน่วยงานลดลง – เข้าร่วมกิจกรรมทุกหน่วยงานครบ 12ครั้งปี |
1. อนุกรรมการด้านไต่สวน 2. จป.วิชาชีพ |
มีการร่วมกิจกรรม 6 ครั้ง 6 เดือน |
2 | – นโยบายด้านความปลอดภัยฯ – สถิติอุบัติเหตุในงาน |
2. วารสาร SHE DC ขอนแก่น ปี 2564 | – ลดสถิติการเกิดอุบัติเหตุ | – จัดทำวารสารเดือนละ 1 เล่ม – พนักงานมีส่วนร่วมตอบคำถามท้ายวารสารทุกเดือน |
1. อนุกรรมการด้านไต่สวน 2. จป. วิชาชีพ |
มีการร่วมกิจกรรม 6 ครั้ง 6 เดือน |
3 | – นโยบายด้านอาชีวอนามัยฯและป้องกันโรคจากการทำงาน | 3. เฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อร้ายแรงโควิด-19ซ 2564 | – ป้องกันการเกิดและการระยาดของโรคติดต่อโควิด-19 ภายในศูนย์กระจายสินค้า | – ไม่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ภายในศูนย์กระจายสินค้า RDC ขอนแก่น | 1. อนุกรรมการด้านอาชีวอนามัย 2. จป. วิชาชีพ |
ยังไม่พบผู้ติดเชื้อ |
4 | – นโยบายด้านความปลอดภัย | 4. Safety Start at School :(รร.ราชประชานุเคราะห์ 50) | – เพื่อเป็นการขยายเครือข่ายความปลอดภัยสู่ชุมชนและสังคม ครอบคลุมบริบทองค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย | – จัดกิจกรรมเซฟตี้ เริ่มที่โรงเรียนของหนู อย่างน้อย 1 โรงเรียน/ปี | 1. อนุกรรมการด้านกิจกรรมและฝึกอบรม 2. จป. วิชาชีพ |
รร.ราชประชานุเคราะห์ 50 สำเร็จตามเป้าหมาย |
5 | – นโยบายด้านความปลอดภัย | 5. รณรงค์สร้างวินัย ขับขี่ปลอดภัยในวันสงกรานต์ 2564:DC ขอนแก่น | – เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกความปลอดภัยของพนักงานในการขับขี่ยานยนต์ทุกประเภท ทั้งในและนอกพื้นที่ DC ขอนแก่น | – พนักงานมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม ระดับดีมาก ขึ้นไปมากกว่า 70% | 1. คณะอนุกรรมการด้านจราจรและยานยนต์ 2. จป. วิชาชีพ |
พนักงานมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม 82.5% สำเร็จตามเป้าหมาย |
ตัวอย่างแผนงานอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
แผนงานและกิจกรรม | เป้าหมาย | งบประมาณ | ผู้รับผิดชอบ | P/A | ไตรมาสที่ 1 | ไตรมาสที่ 2 | ไตรมาสที่ 3 | ไตรมาสที่ 4 | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | |||||
1. รายงานการสอบสวนอุบัติเหตุในงาน-นอกงาน | ทุกเดือน | – | จป | P | X | X | X | X | X | X | X | X | X | X | X | X |
A | ||||||||||||||||
2. วิเคราะห์อุบัติเหตุ กรณีเกิดอุบัติเหตุในงานและนอกงาน | ทุกเดือน | – | จป/หัวหน้างาน | P | X | X | X | X | X | X | X | X | X | X | X | X |
A | ||||||||||||||||
3. จัดทำสถติอุบัติเหตุ และแสดงแนวโน้มการเกิดอุบัติเหตุรายงานข้อมุลสถิติต่อหัวหน้างาน ลูกจ้าง และผู้บริหาร | ทุกเดือน | – | จป | P | X | X | X | X | X | X | X | X | X | X | X | X |
A | ||||||||||||||||
4. ทบทวนการประเมินความเสี่ยงครอบคลุมลักษณะงานที่มีความเสี่ยง | 1 ครั้ง/ปี | – | จป/หัวหน้างาน | P | X | X | X | X | X | X | X | X | X | X | X | X |
A | ||||||||||||||||
5. โครงการอุบัติการณ์/Near Miss/BBST | ทุกเดือน | – | จป/หัวหน้างาน | P | X | X | X | X | X | X | X | X | X | X | X | X |
A |
นอกจากนี้ บริษัทเปิดโอกาสให้พนักงานรายงานอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น และกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูงผ่านช่องทางต่างๆ พร้อมทั้ง กำหนดขั้นตอนการสืบสวนอุบัติเหตุ และแนวทางการแก้ไขที่เหมาะสม จากการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของพนักงานและผู้รับเหมาในปี 2564 พบว่ามีกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูงทั้งหมด 4 กิจกรรม ดังนี้
กิจกรรมความเสี่ยงสูง | ขั้นตอนการสอบสวน | แนวทางแก้ไข |
---|---|---|
การทำงานเครื่องจักรในการทำงาน (รถ RT & PT) |
|
|
การทำงานในที่อับอากาศ |
|
|
การทำงานบนที่สูง |
|
|
การทำงานที่มีความร้อนและประกายไฟ |
|
|
ในปี 2564 บริษัทดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวมถึงส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่พนักงานในองค์กร ผ่าน 3 โปรแกรมหลัก ดังนี้
1) โปรแกรมความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานและครอบครัวพนักงาน
นอกจากนี้ บริษัทยังมีนโยบาย และแนวทางให้พนักงานสามารถเลือกทำงาน ณ สถานที่ใดก็ได้ (Work Anywhere) รวมไปถึงให้พนักงานสามารถทำงานที่บ้านได้ (Work from Home) จำนวนสูงสุด 3 วันต่อสัปดาห์ โดยต้องปฏิบัติตามหลัก D M H T T อย่างเคร่งครัด เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 พร้อมกันนี้ บริษัทสนับสนุนระบบการทำงานต่างๆ เพื่อรองรับการทำงานแบบ Work Anywhere ให้พนักงานสามารถติดต่อสื่อสารและเข้าระบบในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ระบบประชุม Online (Webex, BlueJeans, Microsoft Team, Zoom) ระบบการสื่อสารผ่าน CP ALL Connect และ True Virual Connect รวมถึงสนับสนุนให้พนักงานใช้ Notebook ที่มีโปรแกรมของบริษัทแทน Desktop Computer เป็นต้น
2) โปรแกรมลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัย
3) โปรแกรมลดความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ และการจัดการความเครียด
การบูรณาการการดำเนินการเพื่อเตรียมพร้อมและตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน
บริษัท มีการจัดทำและคงไว้ซึ่งแผนป้องกันและตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อควบคุม ป้องกัน และลดผลกระทบด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย ครอบคลุมถึงการระงับเหตุฉุกเฉินในความเสี่ยงแต่ละประเภทที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงคำนึงถึงผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินนั้น และสื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมแผนการตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินให้ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ผู้รับเหมา ชุมชนใกล้เคียงตามความเหมาะสม โดยมีการทบทวนและซ้อมแผนฉุกเฉินอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ตัวอย่างการดำเนินการ
ตัวอย่างตารางฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินประจำปี
แผนฉุกเฉิน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | รวม | ร้อยละ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1. ป้องกันและระงับอัคคีภัย | 5 | 3 | 2 | 6 | 3 | 3 | 5 | 24 | 100 | |||||
2. สารเคมี กากของเสีย หรือน้ำมันรั่วไหล | 1 | 1 | 5 | 10 | 1 | 1 | 2 | 1 | 22 | 100 | ||||
3. ก่อวินาศกรรม | 1 | 2 | 1 | 2 | 1 | 1 | 1 | 9 | 100 | |||||
4. น้ำท่วม | 1 | 8 | 5 | 2 | 1 | 17 | 100 | |||||||
5. ไฟฟ้าดับ | 1 | 3 | 5 | 2 | 1 | 1 | 5 | 1 | 19 | 100 | ||||
6. เครื่องทำความเย็นขัดข้อง | 1 | 1 | 2 | 2 | 3 | 2 | 11 | 100 | ||||||
7. บ่อบำบัดไม่ทำงาน | 1 | 1 | 1 | 1 | 4 | 100 | ||||||||
8. โรคระบาด Covid-19 | 1 | 1 | 1 | 1 | 1 | 2 | 7 | 100 | ||||||
9. แก๊ซ LPG รั่วไหล | 1 | 2 | 3 | 3 | 2 | 11 | 100 | |||||||
10. แผนฉุกเฉินเกิดอันตรายจากงานเชื่อม | 1 | 1 | 1 | 1 | 1 | 5 | 100 | |||||||
11. แผนฉุกเฉินเกิดอันตรายจากงานเชื่อม | 1 | 1 | 100 | |||||||||||
12. แผนฉุกเฉินอันตรายจากไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าช็อต | 1 | 1 | 100 | |||||||||||
13. แผนฉุกเฉินกรณีติดอยู่ในห้อง SERVER/ติดในห้องบัตร (ขาดอากาศหายใจ) | 1 | 1 | 100 | |||||||||||
14. แผนสปริงเกอร์แตก | 1 | 1 | 1 | 5 | 100 | |||||||||
รวม | 1 | 2 | 4 | 4 | 17 | 24 | 18 | 23 | 19 | 14 | 9 | 4 | 140 | 100 |
โปรแกรมการประเมินความก้าวหน้าในการลด/ป้องกันปัญหาสุขภาพ/ความเสี่ยงต่อเป้าหมาย
คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ประเมินและติดตามความคืบหน้าของโครงการและแผนงานทุกเดือน ทั้งในเชิงคุณภาพ (Qualitative) เชิงปริมาณ (Quantitative) เชิงรุก (Proactive) อาทิ การตรวจสภาพแวดล้อมในการทำงาน การตรวจความปลอดภัยตามแผนการตรวจสอบเครื่องจักร อุปกรณ์ การบำรุงรักษาเครื่องจักร อุปกรณ์ การตรวจสุขภาพ พร้อมทั้งมีการทบทวนวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการปีละครั้ง
ตัวอย่างการติดตามเชิงปริมาณเพื่อวัดความก้าวหน้าของวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย ปี 2564
เป้าหมาย ตัวชี้วัด/หน่วย | การประเมินผล | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1. อุบัติเหตุและการเจ็บป่วยจากการทำงาน | |||||||||||||
1.1อุบัติเหตุและการเจ็บป่วยจากการทำงาน (Injury Rate:IR) ลดลง | การประเมินผลรายเดือนโดยตรวจข้อมูลสถิติอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยประจำเดือนจากการทำงาน | ✓ | X | X | X | ✓ | X | ✓ | X | X | X | X | X |
หน่วยวัด:(รายx200,000)/ชั่วโมงการทำงาน | |||||||||||||
1.2อัตราการสูญเสียวันทำงาน (Lost Day Rate:LDR) ลดลง | ประเมินผลรายเดือนโดยตตรวจข้อมูลสถิติอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยประจำเดือนจากการทำงาน | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
หน่วยวัด:(วันx200,000)/ชั่วโมงการทำงาน | |||||||||||||
1.3อัตราการเกิดโรคจากการทำงาน (Occupational Diseases Rate:ODR) ลดลง | ประเมินผลรายเดือนโดยตรวจข้อมูลสถิติการเจ็บป่วยประจำเดือนจากการทำงาน | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
หน่วยวัด:(วันx200,000)/ชั่วโมงการทำงาน | |||||||||||||
1.4ไม่มีอุบัติเหตุในงานถึงขั้นหยุดงานเกิน 3 วัน | ประเมินผลรายเดือนโดยตรวจข้อมูลสถิติอุบัติเหตุจากการทำงาน | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
หน่วยวัด: จำนวนกรณี | |||||||||||||
1.5 ชั่วโมงการทำงานสะสมต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 1,000,000 ชั่วโมง | ประเมินผลรายเดือนโดยตรวจข้อมูลสถิติอุบัติเหตุจากการทำงาน | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
หน่วยวัด: จำนวนกรณี | |||||||||||||
1.6จำนวนกรณีเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต (Work-releated fatalities:WF) เป็น 0 | ประเมินผลรายเดือนโดยตรวจข้อมุลสถิติอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยประจำเดือนจากการทำงาน | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
หน่วยวัด: จำนวนกรณี |
ตัวอย่างการติดตามเชิงรุกความปลอดภัยของสายปฏิบัติการร้าน 7-Eleven โดยหน่วยงานตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานร้าน (Quality Store Standard Inspector) เดือนละครั้ง
ตัวอย่างการติดตามเชิงรุกตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง
โปรแกรมการตรวจประเมินภายใน
บริษัทกำหนดให้มีกระบวนการตรวจประเมินภายในอย่างเป็นระบบ เพื่อให้มั่นใจว่าระบบการจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัยขององค์กรได้มีการนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิผล โดยร่วมกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ จัดทำโครงการตรวจประเมินประสิทธิผลการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (SHE) เพื่อป้องกันอุบัติเหตุร้ายแรงและลดผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยคณะกรรมการกลางปีละ 1 ครั้ง ภายใต้เกณฑ์การตรวจประเมินประสิทธิผลด้าน SHE ดังนี้
การตรวจสอบอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมการทำงานจากภายนอกโดยหน่วยงานอิสระ
บริษัทให้ความสำคัญกับการจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานซึ่งถือเป็นทรัพยากร อันมีค่าของบริษัทครอบคลุมไปยังผู้รับเหมาที่อยู่ภายใต้การดูแลของบริษํท ให้มีมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล บริษัทยกระดับแนวทางการจัดการระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational Health and Safety : OHS) อย่างต่อเนื่องเพื่อมุ่งสู่การรับรอง ISO 45001 : 2018 ในพื้นที่เป้าหมายศูนย์กระจายสินค้าของ ซีพี ออลล์ โดยดำเนินการจัดอบรมให้ความรู้ ประเมินช่องว่าง (Gap) ของระบบปัจจุบันเทียบกับ ISO 45001 : 2018 จัดทำแผนยกระดับ พิจารณาคัดเลือกพื้นที่ที่มีความพร้อมยื่นขอรับการรับรอง ตรวจประเมินโดย Third Party เพื่อเตรียมพร้อมก่อนรับการตรวจจริง รวมถึงตรวจประเมินประจำปี (Surveillance Audit) เพื่อรักษาระบบ โดยในปี 2564 บริษัทได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 45001 : 2018 เพิ่ม 3 พื้นที่ คือศูนย์กระจายสินค้าภูมิภาค (RDC) ศูนย์กระจายสินค้าควบคุมอุณหภูมิ (CDC) ศูนย์กระจายสินค้าอาหารแช่แข็ง (FDC) จังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่งผลให้พื้นที่เป้าหมายของบริษัท (ระยะที่ 1) ได้รับการรับรองมาตรฐานการ ISO 45001 : 2018 ครอบคลุมร้อยละ 100 และมีแผนขยายการดำเนินการไปยังพื้นที่เป้าหมาย (ระยะที่ 2) พร้อมทั้งยื่นขอการรับรองเพิ่มอีก 4 พื้นที่ ในปี 2565