ประเด็นความยั่งยืนที่สําคัญ

ใส่ใจทุกสาระสำคัญเพื่อความยั่งยืน

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย (“บริษัท”) จัดทำรายงานความยั่งยืนต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารข้อมูลการดำเนินงาน ภายใต้นโยบายและกรอบยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กร ให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มได้รับทราบ ครอบคลุมมิติสิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมาภิบาลและเศรษฐกิจ

โดยเป็นข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2566 ครอบคลุม 3 กลุ่มธุรกิจหลัก ในปี 2566 บริษัทมีรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ 921,187 ล้านบาท ทั้งนี้ สามารถดูรายละเอียดรายได้จากธุรกิจในกลุ่มบริษัท ซึ่งได้มีการเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปี 2566 หน้า 2

เนื้อหาของรายงานฉบับนี้นำเสนอพื้นฐานการดำเนินงานขององค์กรในภาพรวมและประเด็นสำคัญที่มีผลกระทบต่อความยั่งยืนทั้ง 3 มิติ ภายใต้มุมมองและการประเมินผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ซึ่งกรอบในการจัดทำรายงานสอดคล้องกับแนวทางการจัดทำรายงานความยั่งยืนในระดับสากล ฉบับปี 2565 (GRI Sustainability Reporting Standards 2021: GRI Standards 2021) และแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมของกลุ่มธุรกิจอาหาร (The Food Processing Sector Supplement) พร้อมกันนี้ บริษัทมอบหมายให้หน่วยงานรับรองอิสระที่มีความน่าเชื่อถือ ได้แก่ บริษัท แอลอาร์คิวเอ (ประเทศไทย) จำกัด (LRQA (Thailand) Limited) เป็นผู้ให้ความเชื่อมั่นสำหรับการเปิดเผยข้อมูลของรายงานฉบับนี้

สำหรับปี 2566 ชุดข้อมูลที่ได้รับการทวนสอบประกอบด้วย GRI 2-26, GRI 2-27, GRI 3-1, GRI 3O2-1, GRI 3O2-3, GRI 3O3-3, GRI 3O3-4, GRI 3O3-5, GRI 3O5-1, GRI 3O5-2, GRI 3O5-3 Other indirect (scope 3) GHG emissions (Purchased goods and services, Capital goods, Fuel and energy related activities, Upstream transport & distributions, Waste generated in operations, Business travel, Downstream transport & distributions, Use of sold products and End-of-life treatment of sold product only), GRI 3O5-4, GRI 3O6-3, GRI 3O6-4, GRI 3O6-5, GRI 3O8-1, GRI 3O8-2, GRI 4O3-9, GRI 4O3-1O, FPSS FP6, FP7, GRI 4O5-2, GRI 414-1, GRI 414-2

กลุ่มธุรกิจค้าปลีกร้านสะดวกซื้อ

บริการร้านสะดวกซื้อ

กลุ่มธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค

บริการด้านค้าส่ง

บริการด้านค้าปลีก

กลุ่มธุรกิจอื่นๆ

บริการด้านการเงิน

บริการด้านสารสนเทศ

บริการผลิตและจำหน่ายเบเกอรี่
อาหารพร้อมรับประทาน อาหารแช่แข็ง

บริการด้านสื่อสารการตลาด

บริการด้านการศึกษา

บริการด้านการบริหารโลจิสติกส์

กระบวนการกำหนดเนื้อหาในรายงาน

บริษัทจัดทำรายงาน โดยพิจารณาจากผลการประเมินผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มขององค์กร ครอบคลุมผลกระทบเชิงบวกและผลกระทบเชิงลบ รวมถึงประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญจากการวิเคราะห์ปัจจัยภายในจากกิจกรรมการดำเนินธุรกิจ และปัจจัยภายนอกจากแนวโน้มโลกในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน รวมทั้งดัชนีด้านความยั่งยืนชั้นนำของโลกต่างๆ อาทิ การประเมินดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices: DJSI) คณะกรรมการว่าด้วยมาตรฐานทางบัญชีความยั่งยืน (Sustainability Accounting Standards Board: SASB) การปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ (The Securities and Exchange Commission: SEC) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เพื่อให้การเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนขององค์กรเป็นไปตามแนวทางการรายงานข้อมูล (Reporting Principles) 8 แนวทาง ดังนี้

Global Reporting Initiative Standards (GRI)
1. Accuracy ความถูกต้องของข้อมูลที่เปิดเผย
2. Balance ความสมดุลของผลการดำเนินงานทั้งเชิงบวกและเชิงลบ
3. Clarity ความชัดเจนเข้าใจง่ายต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม
4. Comparability ข้อมูลที่สามารถเปรียบเทียบได้เพื่อแสดงถึงแนวโน้มของการดำเนินงาน
5. Completeness ความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูล
6. Sustainability context ความสมดุลของผลการดำเนินงานทั้งเชิงบวกและเชิงลบ
7. Timeliness ขอบเขตของเวลาในการรายงาน
8. Verifiability ความสามารถพิสูจน์ยืนยันได้

ประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญ

บริษัทมีกระบวนการและขั้นตอนการประเมินประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญ (Materiality Assessment) ที่พิจารณาผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย (Impact Materiality) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก ดังนี้

การระบุและประเมินผลกระทบประเด็นความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง
1. การเชื่อมโยงประเด็นความยั่งยืนกิจกรรมทางธุรกิจ พิจารณากิจกรรมการดำเนินธุรกิจ เพื่อกำหนดกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่คุณค่า พร้อมทั้งเชื่อมโยงประเด็นด้านความยั่งยืน ซึ่งครอบคลุมมิติสิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมาภิบาลและเศรษฐกิจ รวมทั้งประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนกับกิจกรรมการดำเนินธุรกิจ ผ่านการพิจารณาผลกระทบต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่ม
2. การระบุผลกระทบจากประเด็นความยั่งยืนที่เกิดขึ้นและแนวโน้มที่จะเกิด ระบุบริบทและผลกระทบจากประเด็นด้านความยั่งยืน (Sustainablility Context and Impact) ทั้งประเด็นที่เกิดขึ้นแล้วและมีแนวโน้มที่จะเกิด (Actual & Potential Impact) ผ่านการวิเคราะห์ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย (Impact Materiality) ที่ครอบคลุมประเด็นทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อหาผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบ (Positive & Negative Impact) พร้อมพิจารณาผละกระทบระยะสั้นและระยะยาว (Short Term & Long Term Impact) รวมทั้งประเมินความสามารถในการฟื้นฟูและเยียวยา (Irreversible & Reversible Impact) โดยประเด็นด้านความยั่งยืนถูกพิจารณาจากลักษณะการดำเนินธุรกิจและบริบทขององค์กร
3. การประเมินผลกระทบประเด็นความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญ บริษัทนำประเด็นด้านความยั่งยืนที่ได้รับการระบุผลกระทบต่างๆ พิจารณาร่วมกับลักษณะการดำเนินธุรกิจและบริบทขององค์กร เข้าสู่กระบวนการประเมินผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย (Impact Materiality) ผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับกลุ่มตัวแทนผู้มีส่วนได้เสียทั้ง 8 กลุ่ม โดยใช้เกณฑ์การประเมินระดับความรุนแรง (Scale) ขอบเขต (Scope) และความสามารถในการเยียวยาหรือฟื้นฟู (Reversibility) รวมทั้งระดับโอกาสที่จะเกิดผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย (Likelihood) เพื่อจัดลำดับความสำคัญของประเด็นด้านความยั่งยืน
การพิจารณาประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญสำหรับจัดทำรายงานความยั่งยืน
4. การจัดลำดับประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญและการตรวจสอบความถูกต้องเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

บริษัทนำผลการประเมินผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย (Impact Materiality) จากการประชุมเชิงปฏิบัติการมาวิเคราะห์เพื่อหาประเด็นด้านความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญตามลำดับ พร้อมทั้งนำประเด็นความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญดังกล่าวมาพิจารณา ทบทวน เพื่อหาความเชื่อมโยงและความเหมาะสมต่อบริบทและลักษณะการดำเนินธุรกิจขององค์กร ผ่านกระบวนการทดสอบประเด็นความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญ (Material Testing) โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และความสามารถเฉพาะกลุ่มธุรกิจค้าปลีกร้านสะดวกซื้อ (Retail) กลุ่มธุรกิจค้าส่งแบบชำระเงินสดและบริการตนเอง (Wholesale) และกลุ่มธุรกิจอื่นๆ (Related Business) โดยพิจารณาจากความเชื่อมโยงและแนวโน้มโลก ตลอดจนดัชนีความยั่งยืนชั้นนำของโลก เช่น ดัชนีความยั่งยืน ESG จาก Margan Stanley Capital International (MSCI) ดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices: DJSI) แนวโน้มของโลก (Global Trend) และคณะกรรมการว่าด้วยมาตรฐานทางบัญชีความยั่งยืน (Sustainability Accounting Standards Board: SASB) เป็นต้น

ผลจากกระบวนการทดสอบประเด็นความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญ จะถูกนำเสนอต่อตัวแทนผู้บริหารระดับสูงและคณะกรรมการบริษัท (Board of Directors) เพื่อรับรองการจัดลำดับความสำคัญ ภายใต้การคำนึงระดับอิทธิพลต่อการประเมินและการตัดสินใจของผู้มีส่วนได้เสียควบคู่ไปกับระดับความสำคัญที่มีนัยต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงสิทธิมนุษยชน

ผลลัพธ์จากการประเมินประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญ

ประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญ ผลกระทบต่อสังคม/สิ่งแวดล้อม และการขับเคลื่อนคุณค่าทางธุรกิจ
การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการสนับสนุนเทคโนโลยีควบคู่ไปกับกลยุทธ์เศรษฐกิจหมุนเวียนของบริษัท สามารถลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ตอบสนองความคาดหวังของสังคมที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้เพิ่มโอกาสทางธุรกิจกับพันธมิตรที่ดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน และสร้างความร่วมมือกับภาครัฐ

การไม่รับรู้ถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทอาจทำให้ต้นทุนการดำเนินงานสูงขึ้นจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในความผันผวนของราคาวัตถุดิบซึ่งนำไปสู่การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงต้นทุนการดำเนินการที่สูงขึ้นจากการที่ธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาทิ ค่าธรรมเนียม ภาษีคาร์บอน ค่าดำเนินการจากการป้องกันเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินการต่อไปได้

นอกจากนี้ การดำเนินธุรกิจโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก อาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิต สุขภาพ และความปลอดภัยของผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่คุณค่า อาทิ ผลกระทบจากมลพิษทางอากาศต่อสุขภาพและความปลอดภัยของแรงงาน และชุมชนรอบข้างในระยะยาว รวมถึงผลกระทบจากภัยแล้งและน้ำท่วมต่อคู่ค้าในการจัดหารวมถึงส่งมอบสินค้าและวัตถุดิบ

ประสิทธิภาพการใช้พลังงานและทรัพยากร

การบริหารจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียน ช่วยลดความรุนแรงจากผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพิ่มโอกาสทางธุรกิจและสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน

ทั้งนี้ การบริหารจัดการพลังงานที่ไม่มีประสิทธิภาพอาจส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น ทำให้สามารถในการผลิตและการทำกำไรลดลง รวมถึงเป็นสาเหตุให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนในการกระจายหรือเข้าถึงทรัพยากรน้ำที่สะอาดบนพื้นที่โดยรอบการดำเนินธุรกิจของบริษัท

การจัดการบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน

การดำเนินธุรกิจด้านการจำหน่ายสินค้าทั้งในรูปแบบค้าปลีกและค้าส่งที่คำนึงถึงการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การลดการใช้ การนำกลับคืน (Take-back Systems) และการนำไปรีไซเคิลอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดการจัดการขยะพลาสติกได้อย่างเหมาะสมในองค์กร สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม ช่วยลดต้นทุนการผลิต รวมถึงสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและนอกองค์กร

ทั้งนี้ การไม่คำถึงถึงคุณสมบัติของบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ การย่อยสลายของวัสดุที่นำมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์นำไปสู่ปัญหาขยะพลาสติกถูกทิ้งและตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ ตลอดจนส่งผลต่อความปลอดภัยด้านโภชนาการของมนุษย์ และก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ รวมถึงส่งผลต่อต้นทุนในการดำเนินการ ชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร

การจัดการของเสียและอาหารส่วนเกินอย่างยั่งยืน

การบริหารจัดการด้านการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์และการจัดการขยะอาหารที่มีประสิทธิภาพ ช่วยลดปัญหาขยะอาหารที่เกิดขึ้นจากการผลิตอาหารที่มากเกินความจำเป็น รวมถึงการสูญเสียอาหารในขั้นตอนขนส่ง การจัดจำหน่าย และการจัดเก็บอาหารรวมถึงการบริหารจัดการที่สามารถนำของเสียมาใช้เป็นวัตถุดิบทางเลือกอื่นๆ เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ช่วยบรรเทาปัญหาขยะอาหาร รวมถึงลดต้นทุนการดำเนินงานของบริษัท

ทั้งนี้ การบริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพส่งผลให้จำนวนขยะอาหารเพิ่มขึ้น เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งกระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของชุมชนรอบข้าง นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบต่อต้นทุนการดำเนินงานของบริษัทในการจัดการขยะสูงขึ้น

การเสริมสร้างสุขภาพและสุขภาวะที่ดี

การบริหารจัดการตลอดกระบวนการสรรหาวัตถุดิบ การผลิต การจัดจำหน่าย การตระหนักถึงความเสี่ยงในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ปลอดภัย และได้มาตรฐาน ส่งผลการเพิ่มโอาสทางธุรกิจในการส่งมอบภัณฑ์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ปลอดภัยและได้มาตรฐาน รวมถึงการส่งมอบบริการที่เข้าถึงสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีให้กับชุมชนสังคม

ทั้งนี้ การไม่ตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค อาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ส่งผลกระทบเชิงลบต่อผู้บริโภคระยะยาวจากโรคที่เกิดจากพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต (Non-communicable Diseases: NCDs) นอกจากนี้ ยังอาจส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายมูลค่าความเสียหาจากการถูกฟ้องร้อง รวมถึงชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรอีกด้วย

การสร้างคุณค่าทางสังคมและการสนับสนุนในระบบเศรษฐกิจ

การดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม สนับสนุนการสร้างงาน มอบความเป็นอยู่ที่ดีให้กับชุมชน ส่งผลให้เกิดการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน ได้รับการยอมรับจากชุมชนที่บริษัทเข้าไปดำเนินกิจกรรม นอกจากนี้ ภาครัฐและเอกชนให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการสนับสนุนให้ประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการได้อย่างเท่าเทียม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สนับสนุนการยกระดับคุณภาพชีวิตและมอบความเป็นอยู่ที่ดีให้กับภาคประชาสังคม

หากบริษัทดำเนินกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน อาจนำไปสู่การละเมิดคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชนโดยรอบ รวมถึงเกิดความขัดแย้งระหว่างชุมชนและองค์กร อาจส่งผลต่อฉันทานุมัติในการดำเนินธุรกิจ (License to Operate) และภาคลักษณ์ที่ดีของบริษัท

ธรรมาภิบาลและการต่อต้านการทุจริต

การกำกับดูแลกิจการที่ดีจะช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจขององค์กร เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจและสร้างความเชื่อมั่น ดึงดูความสนใจของนักลงทุน ตลอดจนเป็นแนวทางสำคัญที่ช่วยสร้างคุณค่าให้กิจการ

บริษัทมีการกำกับดูแลกิจการที่ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่โปร่งใส และไม่คำนึงถึงคุณธรรม จริยธรรม และสิทธิมนุษยชน ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ ลดความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสียที่มีต่อองค์กร และลดความสนใจของนักลงทุนตลอดจนเพิ่มความเสี่ยงเกี่ยวกับประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและกฎหมาย

แนวปฏิบัติการใช้แรงงาน และอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

การจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยที่มีประสิทธิภาพอาจลดจำนวนอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เพิ่มขีดความสามารถของบริษัท และเพิ่มความมั่นใจของพนักงานและคู่ค้าทางธุรกิจในการดำเนินงานของบริษัท

ในขณะที่การจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย ที่ไม่ดีอาจทำให้สูญเสียชีวิตและทรัพย์สินซึ่งนำไปสู่การหยุดชะงักในกระบวนการผลิต ส่งผลต่อต้นทุนแรงงานเนื่องจากผลผลิตที่ลดลง นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อขวัญกำลังใจของพนักงาน เพิ่มค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจากค่าปรับ รวมถึงส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือและชื่อเสียงของบริษัท

นอกจากนี้ ยังอาจส่งผลกระทบต่อความไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการในร้าน 7-Eleven

การพัฒนาทุนมนุษย์

การพัฒนาผู้นำและทรัพยากรบุคคล สร้างทักษะที่สำคัญ สร้างความเข้าใจในเทคโนโลยีและดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงาน รวมถึงการมีส่วนร่วมของพนักงานในองค์กร สามารถเพิ่มทักษะที่สำคัญ เพิ่มขีดความสามารถของบุคคลในทุกตำแหน่ง ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ และความสามารถของธุรกิจในการตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงของตลาด

กระบวนการพัฒนาบุคลากรที่ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่เท่าเทียม และเลือกปฏิบัติ ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการละเมิดสิทธิมนุษยชนของพนักงาน เช่น การที่พนักงานผู้หญิงได้รับค่าจ้างต่ำกว่าผู้ชาย เป็นต้น ซึ่งส่งผลกระทบเชิงลบต่อการเติบโตขององค์กรรวมถึงความเชื่อมั่นของพนักงานและพันธมิตรธุรกิจที่มีต่อองค์กรลดลง

การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ

การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน สามารถลดความเสี่ยงด้านต้นทุน ความเสี่ยงด้านการขาดแคลนวัตถุดิบและสินค้าคงคลัง ความเสี่ยงในการละเมิดสิทธิมนุษยชน สร้างความเชื่อมั่นต่อคู่ค้าทางธุรกิจในการดำเนินงานของบริษัท เพิ่มขีดความสามารถในการทำกำไร

การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ไม่มีประสิทธิภาพและไม่คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน เกิดความเสี่ยงในการหยุดชะงักของธุรกิจทำให้การผลิตสินค้าไม่ได้คุณภาพ การส่งมอบสินค้าไปยังผู้บริโภคเกิดความล่าช้า ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของต้นทุนในการผลิตและการขนส่ง รวมถึงส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดีของบริษัท อาจทำให้เกิดต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่สูงขึ้นจากความคาดหวังของสังคมและนักลงทุน

ผลการประเมินประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญปี 2566

สิ่งแวดล้อม

เซเว่น โก กรีน

การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ประสิทธิภาพการใช้พลังงานและทรัพยากร
การจัดการบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน
การจัดการของเสียและอาหารส่วนเกินอย่างยั่งยืน

สังคม

เซเว่น โก ทูเก็ตเตอร์

การสร้างคุณค่าทางสังคม และการสนับสนุนในระบบเศรษฐกิจ
การเสริมสร้างสุขภาพและสุขภาวะที่ดี


ธรรมาภิบาลและเศรษฐกิจ

เซเว่น โก ไรท์

ธรรมาภิบาลและการต่อต้านทุจริต
แนวปฏิบัติการใช้แรงงาน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
– การพัฒนาทุนมนุษย์
การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ

การประเมินประเด็นความยั่งยืนแบบ “ทวิสารัตถภาพ”

นอกจากกระบวนการประเมินผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย (Impact Materiality) ที่ทำให้ได้มาซึ่งประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญ (Material Topics) ปี 2566 แล้ว บริษัทได้มีการประเมินประเด็นความยั่งยืนแบบ “ทวิสารัตถภาพ” (Double Materiality Assessment) ร่วมกับหน่วยงานบริหารความเสี่ยง โดยมีการประเมินผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย (Impact Materiality) และการประเมินความเสี่ยงและโอกาสในการดำเนินธุรกิจ (Financial Materiality) ควบคู่กันเพื่อพิจารณาที่ผลกระทบจากการดำเนินงานของบริษัทที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการคำนึงถึงปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่กระทบต่อผลประกอบการของบริษัท เพื่อนำผลการประเมินดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ พัฒนากลยุทธ์และการดำเนินงานของบริษัทต่อไป

ผลการประเมินประเด็นความยั่งยืนแบบ “ทวิสารัตถภาพ”

มิติด้านความยั่งยืน

  • มิติด้านสิ่งแวดล้อม
  • มิติด้านสังคม
  • มิติด้านธรรมาภิบาลและเศรษฐกิจ

ระดับผลกระทบเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ

Lower Impact

พิจาณาการปฏิบัติงาน (Areas to monitor): ประเด็นด้านความยั่งยืนที่บริษัทจำเป็นต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางธุรกิจและข้อพึงปฏิบัติของบริษัท โดยไม่มีการปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจ

Medium Impact

ประเมินกระบวนการปฏิบัติงานและการจัดการ (Enablers): ประเด็นด้านความยั่งยืนที่บริษัทควรประเมินกระบวนการปฏิบัติงานและการจัดการ เพื่อการพัฒนาและปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจในอนาคต

Higher Impact

สร้างความแตกต่างเชิงกลยุทธ์ (Differentiators): ประเด็นด้านความยั่งยืนที่บริษัทควรมุ่งเน้นและเร่งการดำเนินงานให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด โดยสอดคล้องกับเป้าประสงค์ขององค์กรและกลยุทธ์ทางธุรกิจ

ข้อมูลติดต่อ

หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงานฉบับนี้ กรุณาติดต่อ สำนักบริหารความยั่งยืนองค์กร สายงานพัฒนาความยั่งยืน


บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)

สำนักงานใหญ่: 313 อาคารซีพีทาวเวอร์ ชั้น 24 ถ.สีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

  • โทรศัพท์: 0 2071 9764, 0 2071 9771, 0 2071 2913 โทรสาร: 0 2679 0580
  • อีเมล: SDstrategyoffice@cpall.co.th
  • เว็บไซต์: www.cpall.co.th

เว็บไซต์ cpall.co.th มีการเก็บคุกกี้ซึ่งเป็นการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน้า นโยบายการใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า