บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย (“บริษัท”) มุ่งยกระดับขีดความสามารถในการจัดการทางด้านความยั่งยืนองค์กรอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ยุทธ์ศาสตร์ความยั่งยืนที่ครอบคลุม 3 มิติ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และวิสัยทัศน์องค์กรในการมุ่งเป็นองค์กรที่อำนวยความสะดวกให้ชุมชน สังคม มีความกินดี อยู่ดี มีความสุข พร้อมทั้งคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ตามหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (United Nation Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs) สิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานขององค์กรการแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) รวมทั้งกฎหมายแรงงานของแต่ละประเทศที่บริษัทเข้าไปดำเนินธุรกิจ
พร้อมกันนี้ บริษัทได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กร 15 เป้าหมายให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) และข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติทั้ง 10 หลักการ (United Nations Global Compact: UNGC) ตลอดจนมุ่งดำเนินงานตามมาตรฐานแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคม (ISO 26000) แนวปฏิบัติสำหรับบรรษัทข้ามชาติขององค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD Guldelines for Multinational Enterprises) หลักการดูแลกำกับกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน (Corporate Governance Code: CG Code) รวมถึงมีกระบวนการติดตามสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) และจัดช่องทางรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อร้องเรียน จากผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มที่หลากหลาย พร้อมทั้งจัดลำดับความสำคัญของประเด็นที่ได้รับ เพื่อนำมาใช้พัฒนานโยายและกรอบการดำเนินงานขององค์กรให้บรรลุเป้าหมาย ควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืน
ในปี 2566 บริษัทประเมินประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญ (Materiality Assessment) โดยพิจารณาผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย (Impact Materiality) และพิจารณาความเสี่ยงและโอกาสต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท (Financial Materiality) ครอบคลุมประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนแบบ “ทวิสารัตถภาพ” (Double Materiality Assessment) ผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับกลุ่มตัวแทนผู้มีส่วนได้เสีย และหน่วยงานความเสี่ยงภายในองค์กร โดยมี 10 ประเด็นด้านความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญ ได้แก่ 1) การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2) การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและทรัพยากร 3) การจัดการบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน 4) การจัดการของเสียและอาหารส่วนเกินอย่างยั่งยืน 5) การสร้างคุณค่าทางสังคมและการสนับสนุนในระบบเศรษฐกิจ 6) การเสริมสร้างสุขภาพและสุขภาวะที่ดี 7) ธรรมาภิบาลและการต่อต้านการทุจริต 8) การใช้แรงงาน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย 9) การพัฒนาทุนมนุษย์ และ 10) การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ
บริษัทกำหนดนโยบายและแนวทางการดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบการดำเนินงานด้านความยั่งยืน 3 เสาหลัก ประกอบด้วย สิ่งแวดล้อม (Environment) เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินธุรกิจเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สังคม (Social) เพื่อส่งเสริมและสร้างคุณค่าต่อสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืน โดยไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ธรรมาภิบาลและเศรษฐกิจ (Governance and Economic) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจ ผ่านการกำกับดูแลที่โปร่งใสและเป็นธรรม พร้อมทั้งดูแลและพัฒนาศักยภาพบุคลากรในองค์กรให้ร่วมเติบโตไปพร้อมกับองค์กรอย่างยั่งยืน
ปรัชญาองค์กร
เราปรารถนารอยยิ้มจากลูกค้าด้วยทีมงานที่มีความสุข
ปณิธานองค์กร : “GIVING & SHARING”
วิสัยทัศน์ด้านความยั่งยืน “เป็นองค์กรที่อำนวยความสะดวกให้ชุมชน สังคม มีความกินดี อยู่ดี มีความสุข”
พันธกิจสู่ความยั่งยืน
- บริหารองค์กรสู่ความเป็นเลิศเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการอำนวยความสะดวกให้ชุมชน สังคม มีความกินดี อยู่ดี มีความสุข และได้รับการยอมรับทั้งในและระดับสากล
- พัฒนาห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Supply & Value Chain) ที่ทันต่อสถานการณ์ที่ปรับเปลี่ยนของโลก
- สร้างจิตสำนึกและการมีจิตสาธารณะให้อยู่ใน DNA ของบุคลากร
Sufficiency
Economy
CPG Values /
Our Way
TQM /
CP Excellence
The 10 UNGC
17 SDGs & UNGP
Domestic & International Regulations & STD
องค์ประกอบความยั่งยืน
สิ่งแวดล้อม
7 Go Green : เพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ยั่งยืน
การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ประสิทธิภาพการใช้พลังงานและทรัพยากร
การจัดการบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน
การจัดการของเสียและอาหารส่วนเกินอย่างยั่งยืน
การปกป้องฟื้นฟูระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ
สังคม
7 Go Together : เพื่อส่งเสริมและสร้างคุณค่าที่หลากหลายต่อสังคม
การสร้างคุณค่าทางสังคมและการสนับสนุนในระบบเศรษฐกิจ
สนับสนุนการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
การเสริมสร้างสุขภาพและสุขภาวะที่ดี
การเข้าถึงอาหารและน้ำที่ปลอดภัย
และสุขภาวะที่ดี
ความผูกพันกับผู้มีส่วนได้เสีย
ธรรมาภิบาลและเศรษฐกิจ
7 Go Right : บริหารงานภายใต้กรอบธรรมาภิบาลตลอดห่วงโซ่คุณค่า
ธรรมาภิบาลและการต่อต้านการทุจริต
เคารพและปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล
การพัฒนาทุนมนุษย์
นวัตกรรมและการสร้างคุณค่า
การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ
ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
วัฒนธรรมการทำงานแบบ HARMONY
5 Core Competencies
คุณสมบัติที่พนักงานทุกคนต้องมี
1.ความมุ่งมั่นทำงานให้สำเร็จ (รักงาน)
2.ความใส่ใจบริการลูกค้า (รักลูกค้า)
3.การปฏิบัติตนด้วยความสุจริตและมีคุณธรรม (รักความซื่อสัตย์)
4.การอุทิศตนต่อองค์กร (รักองค์กร)
5.การทำงานเป็นทีม และความร่วมมือในการทำงาน (รักทีมงาน)
7 Values
คุณค่าร่วมที่องค์กรปรารถนาอยากให้มี
แกร่ง / กล้า / สัจจะวาจา / สามัคคี / มีน้ำใจ / ให้ความเคารพผู้อื่น / ชื่นชมความงานแห่งชีวิต
11 Leadership
ความสมบูรณ์ของภาวะผู้นำที่จำเป็นต้องมี
ระดับต้น : มีความจริงใจ / ไม่ศักดินา / ใช้ปิยะวาจา / อย่าหลงอำนาจ
ระดับกลาง : เป็นแบบอย่างที่ดี /มีความยุติธรรม / ให้ความเมตตา / กล้าตัดสินใจ
ระดับสูง : อาทรสังคม / บ่มเพาะคนดี / มีใจเปิดกว้าง