สถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิตในใจทั้งคนไทยและชาวต่างชาติคงไม่พ้นทะเลอย่างแน่นอน เพราะมีทั้งบรรยากาศสวยๆ และกิจกรรมที่หลากหลายที่เหมาะทั้งเด็กและผู้ใหญ่จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกที่ทะเลจะเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจอันดับต้นๆ อีกทั้งการเดินทางที่ไม่ค่อยลำบาก ไม่ไกลจากตัวเมืองเท่าไหร่นัก แต่ว่ารู้กันหรือไม่? ว่าพฤติกรรมหลายอย่างที่เราเห็นคนอื่นทำเวลาไปทะเลจนชินตา นั่นกลายเป็นภัยคุกคามของทะเลโดยที่เราไม่รู้ตัว วันนี้เรามาดู 5 พฤติกรรมทำร้ายทะเลไม่รู้ตัวกัน บอกเลยว่า ใกล้ตัวเราม๊ากกกก ไม่ว่าจะเป็น
1.การขับรถ
เพราะการขับรถไปทะเลแม้ว่าระยะทางไม่ไกล แต่ก็ทำให้เกิดการปล่อย ก๊าสคาร์บอนไดออกไซด์ โดยทะเลเป็นตัวกลางที่ดูดซับก๊าสคาร์บอนไดออกไซด์ ไปถึง 1 ใน 4ของทั้งหมด ผลกระทบที่ตามมาหลังจากที่มีก๊าสคาร์บอนไดออกไซด์ในทะเลที่เพิ่มมากขึ้น คือ ปริมาณความเป็นกรดจะมีมากขึ้น เลยทำให้สัตว์ที่อยู่ในทะเลจำพวก หอย ปะการัง และ แพลงก์ตอน ที่เปรียบเหมือน กระดูกสันหลังของทะเล มีความลำบากในการดำรงชีวิตมากขึ้น โดยเฉพาะปะการัง เนื่องจาก ปะการังเป็นที่อยู่ของสัตว์น้ำหลายสายพันธุ์ ซึ่งในอนาคต มีการคาดการว่า ในศตวรรษที่ 21 ก๊าสคาร์บอนไดออกไซด์ในทะเลจะเพิ่มขึ้นอีกถึง 150%
2.การใช้ครีมกันแดด
เป็นเรื่องปกติที่คนไปทะเลแล้วต้องทาครีมกันแดดก่อนลงเล่นน้ำ แต่มีงานวิจัยพบว่าครีมกันแดดกว่า 3,500 แบรนด์มีสารที่ทำลายตัวอ่อนปะการังขัดขวางระบบสืบพันธุ์ และทำให้เกิดปะการังฟอกขาว หลายคนคงคิดว่าทะเลตั้งกว้าง ทาไปแล้วลงน้ำ มวลของน้ำจะมากพอทำให้สารเคมีต่างๆละลายหายไปได้แต่สิ่งที่งานวิจัยค้นพบก็คือ สารเคมีแม้ปริมาณเพียงแค่ 1 หยดต่อสระน้ำมาตรฐาน 6 สระ แล้วคิดดูว่า 1 คนใช้ปริมาณมากขนาดไหน ดังนั้นควรเลือกครีมกันแดดที่ระบุในผลิตภัณฑ์ว่าไม่ทำร้ายปะการัง
3.การนำของที่อยู่ในทะเลออกไป
ยกตัวอย่างง่ายๆการที่เห็นคนเก็บเปลือกหอยตามชายหาด เพื่อนำไปติดกับกรอบรูปภาพ หรือ ทำสร้อยคอ แต่ ถ้ามีคนสักล้านคนทำเช่นนี้ ระบบนิเวศคงถูกทำลายไปมาก เพราะไม่ว่าเปลือกหอยที่เก็บไปมันจะมีหรือไม่มีชีวิตก็ตาม แต่นั่นคือสิ่งที่ ปู ปลา หรือสัตว์น้ำตัวเล็ก ต้องใช้พึ่งพาในการดำรงชีวิต เพราะฉะนั้นการกระทำดังกล่าวถือเป็นการทำลาย ระบบนิเวศและความหลายหลายทางชีวะภาพในทะเลแบบหนึ่ง
4.เลือกกินเลือกซื้อ
การจับปลาที่มากเกินจำเป็น เกิดการทำธุรกิจประมงที่ไม่ยั่งยืน พร้อมๆกับการทำลายปะการัง ซึ่งนั่นอาจจะนำไปสู่ การหมดไปของแหล่งจับปลา ภายในปี 2048 อีกทั้งสัตว์ทะเลบางชนิดก็ไม่ควรกิน เพราะใกล้สูญพันธุ์แล้ว เช่น หูฉลาม เพราะเมื่อตัดครีบฉลามออกก็ไม่สามารถว่ายน้ำได้เหมือนเดิมแล้วก็จะตายไปท้ายที่สุด ,ปลานกแก้ว ซึ่งมีหน้าที่ช่วยควบคุมสาหร่ายในแนวปะการังได้ดี
5.การใช้พลาสติกและโฟม
ถึงแม้ว่าตอนนี้จะมีการรณรงค์ให้ลดและเลิกการใช้ถุงพลาสติกแต่ พลาสติกหรือโฟมก็ยังเป็นปัญหาใหญ่ต่อสิ่งมีชีวิตในทะเลอยู่ดี เพราะถุงพลาสติกต้องใช้เวลาถึง 10-20 ปี ในทะเลที่จะสลายหายไป พร้อมทั้งปล่อยสารเคมี Bisphenol A ลงไปในทะเลอีกด้วยมีข่าวมากมายว่าพบ เต่า,โลมา,ปลาวาฬ บาดเจ็บล้มตายปีละหลายร้อยตัว เมื่อผ่าศพชันสูตรพบว่าขยะทะเลเป็นปัญหาแทบทั้งนั้น ทั้งขยะที่อุดตันในทางเดินอาหาร ขยะที่ติดตามตัวสัตว์จนว่ายน้ำไม่ไหว หากินไม่สะดวกการทิ้งขยะหรือถุงพลาสติกลงบนชายฝั่งหรือในทะเล คือการฆ่าสัตว์โดยตรง เพราะแม้ว่าจะใส่ลงถัง แต่ลมและระบบกำจัดขยะอาจไม่ดีมากมายจนสามารถกำจัดได้ทั้งหมด
5 พฤติกรรมทำร้ายทะเลไม่รู้ตัว หากเราทุกคนปรับพฤติกรรมคนละนิดละหน่อย ช่วยกันลดผลกระทบที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ทุกรูปแบบนอกจากจะเป็นการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวแล้ว ยังเป็นเหมือนการต่อลมหายใจให้กับท้องทะเลรวมถึงอีกหลายล้านชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเลอีกด้วย