เคารพและปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน
ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2566
ซีพีแรม ได้รับรางวัลในฐานะองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2566 ระดับดีเด่น ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ประเภทองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่จากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพกระทรวงยุติธรรม
ซีพี แอ็กซ์ตร้า ผู้นำธุรกิจค้าส่ง “แม็คโคร” ได้รับรางวัลระดับสากล “HR Asia Best Companies to Work for in Asia 2566” บริษัทที่น่าทำงานด้วยที่สุดในเอเชียต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 และบริษัทย่อยค้าปลีก “โลตัส” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 จากนิตยสาร HR Asia สื่อชั้นนำด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลที่ได้รับการยอมรับในภูมิภาคเอเชีย
ของพนักงานในระดับบริหารขึ้นไปของกลุ่ม
ซีพี ออลล์ ได้รับการให้ความรู้และสอบผ่านการวัดผลความรู้ ความเข้าใจ หลักสูตร "สิทธิมนุษยชนกับภาคธุรกิจ"
ของพนักงานทุกระดับกลุ่ม ซีพี ออลล์ ได้รับการให้ความรู้และสอบผ่านการวัดผลความรู้ ความเข้าใจ หลักสูตร "สิทธิมนุษยชน"
ของคู่ค้าที่สำคัญลำดับที่ 1 ได้รับการให้ความรู้และประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
ของสโตร์พาร์ทเนอร์รายใหม่ ได้รับการให้ความรู้และประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน
ของพื้นที่เป้าหมายได้รับการตรวจรับรองมาตรฐานสากล เพื่อการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ISO 45001: 2018
การดำเนินงานที่สำคัญปี 2566
บริษัท ซีพีแรม จำกัด เข้าร่วมประกวดองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ปี 2566
ติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานตามแผนของมาตรการควบคุมความเสี่ยงที่มีอยู่ขององค์กรด้านสิทธิมนุษยชน
ประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน จากกระบวนการตรวจอสบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน
จัดกิจกรรมส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชนสากลแก่พนักงานทุกระดับของกลุ่ม ซีพี ออลล์
จัดกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานต่อเนื่องแก่พนักงานทุกระดับของกลุ่ม ซีพี ออลล์
ขยายขอบเขตการสร้างความตระหนักรู้ด้านสิทธิมนุษยชนไปย้งสโตร์พาร์ทเนอร์และคู่ค้าที่สำคัญลำดับที่ 1
ผู้มีส่วนได้เสียหลักที่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ
สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
SDG 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย
3.4 ลดการตายก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อ ผ่านทางการป้องกัน การรักษา สนับสนุนสุขภาพจิต และความเป็นอยู่ที่ดี
3.6 ลดจำนวนการตายและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน
SDG 5 บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศและให้อำนาจของผู้หญิงและเด็กหญิงทุกคน
5.1 ยุติการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบที่มีต่อผู้หญิงและเด็กหญิงในทุกที่
SDG 8 ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องและยั่งยืน การจ้างงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน
8.5 บรรลุการจ้างงานเต็มที่และมีผลิตภาพและการมีงานที่สมควรสำหรับหญิงและชายทุกคน รวมถึงเยาวชนและผู้มีภาวะทุพพลภาพ และให้มีการจ่ายที่เท่าเทียมสำหรับงานที่มีคุณภาพเท่าเทียมกัน
8.8 ปกป้องสิทธิแรงงานและส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและมั่นคงสำหรับผู้ทำงานทุกคน รวมถึงผู้ทำงานต่างด้าว โดยเฉพาะผู้หญิงต่างด้าว และผู้ที่ทำงานเสี่ยงอันตราย
SDG 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ
10.3 สร้างหลักประกันว่าจะมีโอกาสที่เท่าเทียมและลดความไม่เสมอภาคของผลลัพธ์ รวมถึงโดยการขจัดกฎหมายนโยบาย และแนวปฏิบัติที่เลือกปฏิบัติ และส่งเสริมการออกกฎหมาย นโยบาย
และการกระทำที่เหมาะสม
SDG 16 ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรม และสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผล รับผิดชอบและครอบคลุมในทุกระดับ
16.3 ส่งเสริมนิติธรรมทั้งในระดับชาติและระหว่างประเทศ และสร้างหลักประกันว่าจะมีการเข้าถึงความยุติธรรมอย่างเท่าเทียมแก่ทุกคน
ผลการดำเนินงานเทียบเป้าหมาย
เป้าหมายปี 2573
100ดำเนินการให้เกิด "การประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน" อย่างต่อเนื่องตามแนวทางขององค์การสหประชาชาติ ทั้งในขอบเขตการดำเนินงานของบริษัท และคู่ค้าความเสี่ยงสูงด้านความยั่งยืน
ความก้าวหน้าเทียบกับเป้าหมาย
สรุปผลการดำเนินงาน ปี 2566
การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
พื้นที่ดำเนินการและกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัท
ของ FTEs ได้รับการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน
ของ FTEs มีความเสี่ยงสูงที่สำคัญด้านสิทธิมนุษยชน
ของ FTEs ที่ถูกระบุว่ามีความเสี่ยงมีมาตรการบรรเทา
ผลกระทบและดำเนินการแก้ไข
ประเด็นความเสี่ยงสูงที่สำคัญ
ความปลอดภัยและสุขภาพของพนักงาน ร้าน 7-Eleven และ 24Shopping
ประเด็นอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติงาน ได้แก่ อุบัติเหตุจากการจัดส่งสินค้า ลื่นหรือตกจากบันได สิ่งของหรือสินค้าตกจากที่สูง อุบัติเหตุจากรถยกพุ่งชน มีดบาด
ประเด็นอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล (PPE) ไม่เหมาะสม เช่น รองเท้านิรภัย
ชุดคลุมปฏิบัติงาน ห้องควบคุมอุณหภูมิ เป็นต้น
คู่ค้าลำดับที่ 1 ของบริษัท
ได้รับการประเมินความเสี่ยง
ถูกระบุว่ามีความเสี่ยง
ที่ถูกระบุว่ามีความเสี่ยงมีมาตรการบรรเทาผลกระทบ
การเสริมสร้างความตระหนักรู้ด้านการเคารพและการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล
การฝึกอบรม
พนักงานได้รับการฝึกอบรม
สโตร์พาร์ตเนอร์ (พันธมิตรทางธุรกิจ) ได้รับการฝึกอบรม
คู่ค้าลำดับที่ 1 ของบริษัทได้รับการฝึกอบรม
ข้อร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชน
การละเมิดสิทธิมนุษยชน
การเลือกปฏิบัติ
การล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเทศ
การละเมิดสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง
มาตรการบรรเทาผลกระทบและการดำเนินการแก้ไข
บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) รับรองว่าจะมีการดำเนินการแก้ไขอย่างเหมาะสม ในกรณีที่เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน ผ่านการติดตาม ตรวจสอบ วางแผนมาตรการป้องกัน บรรเทา และรายงานผลอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งดำเนินการพิจารณรการชดเชยและเยียวยาทุกรูปแบบ เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ถือครองสิทธิ์ที่ได้รับผลกระทบจากกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้รับการเยียวยาอย่างเหมาะสม และเพื่อบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมหรือดีขึ้น อาทิ การแสดงความขอโทษ การชดใช้ความเสียหาย การฟื้นฟูสมรรถภาพ การชดเชยในรูปแบบของตัวเงินหรือไม่ใช่ตัวเงิน การลงโทษ และการป้องกันอันตราย เช่น คำสั่งห้าม หรือการรับประกันไม่ให้เกิดกรณีซ้ำ เป็นต้น
การส่งเสริมโอกาสที่เท่าเทียม และความหลากหลายของบุคลากร
ความหลากหลายทางเพศ
จำนวน (คน) | จำนวนเทียบ FTEs | |
---|---|---|
ชาย | ||
หญิง | ||
หมายเหตุ : FTEs การทำงานเต็มเวลาของพนักงาน |
ความหลากหลายทางอายุ
จำนวน (คน) | จำนวนเทียบ FTEs | |
---|---|---|
อายุน้อยกว่า 30 ปี | ||
อายุ 30-50 ปี | ||
อายุมากกว่า 50 ปี |
ความหลากหลายทางสัญชาติ
พนักงานทั้งหมด (ร้อยละ) | ผู้บริหารทั้งหมด (ร้อยละ) | |
---|---|---|
ไทย |
|
|
กัมพูชา |
|
|
พม่า |
|
|
เกาหลี |
|
|
อินเดีย |
|
|
ออสเตรเลีย |
|
|
อื่นๆ |
|
|
การส่งเสริมขีดความสามารถของพนักงานหญิงในองค์กร
การจ้างงานผู้พิการในองค์กร
ร้อยละเทียบ FTEs 0.70
เสรีภาพในการสมาคม
การดำเนินงานของคณะกรรมการสวัสดิการของบริษัทครอบคลุมพนักงาน
ความเสี่ยงและโอกาส
ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ถือเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสนใจอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากแรงงานคือฟันเฟืองที่สำคัญในการพัฒนาขีดความสามารถในการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจอย่างยั่งยืนของทุกองค์กรในภาคธุรกิจ โดยในแต่ละกิจกรรมทางธุรกิจ อาทิ จัดซื้อวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การขนส่ง และการบริการ มีความเสี่ยงที่จะเกิดประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้งข้อบังคับและกฎหมายเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติด้านแรงงาน ทำให้องค์กรทั่วโลกดำเนินงานทางธุรกิจภายใต้หลักการชี้แนะแห่งสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนที่ออกในปี 2554 เพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสิทธิมนุษยชน พร้อมทั้งส่งเสริมการปฏิบัติที่เท่าเทียมตามหลักสิทธิมนุษยชน ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมที่ดีในสถานที่ทำงาน ตลอดจนจัดโครงการส่งเสริมด้านสุขภาพที่ดีสำหรับพนักงาน และลูกค้า
ดังนั้น บริษัทกำหนดให้มีการทบทวนและประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน และกระบวนการติดตามสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงกำหนดกรอบการดำเนินงานขององค์กรให้สอดคล้องกับหลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนสากล และกฎหมายของประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการดำเนินธุรกิจขององค์กรกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มตลอดห่วงโซ่คุณค่า
แนวทางการดำเนินงาน
บริษัทกำหนดการดำเนินงานตามนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงาน ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของการดำเนินธุรกิจ รวมถึงคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งสอดคลองตามหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ และสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ รวมทั้งกฎหมายแรงงานของแต่ละประเทศที่บริษัทเข้าไปดำเนินธุรกิจ ซึ่งครอบคลุมประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ เช่น การเลือกปฏิบัติและการคุกคามทางเพศการใช้แรงงานเด็ก การใช้แรงงานบังคับ เป็นต้น
ทั้งนี้ บริษัทมีกระบวนการประเมินประเด็นสำคัญ ผลกระทบ และความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนเป็นประจำทุก 3 ปี ในทุกพื้นที่ดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจขององค์กร และครอบคลุมการวิเคราะห์กระบวนการทำงาน โดยเฉพาะในหน่วยงานที่มีความเสี่ยงพร้อมกำหนดมาตรการป้องกันและลดผลกระทบของประเด็นที่เสี่ยงสูงแบบบูรณาการ ผ่านกระบวนการด้านสิทธิมนุษยชน ดังนี้
การประเมินสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน
การประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน
การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนขององค์กร
นอกจากนี้ บริษัทมุ่งสร้างความตระหนักรู้ในด้านการเคารพและการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนสากลแก่พนักงานทุกระดับ พันธมิตรทางธุรกิจ และคู่ค้าที่สำคัญลำดับที่ 1 ผ่านโครงการที่หลากหลาย พร้อมทั้งผลักดันความเท่าเทียมค่าครองชีพและปัจจัยการจ้างงานให้สอดคล้องกับนโยบายและหลักการการกำหนดค่าตอบแทนและผลประโยชน์ โดยการประเมินค่าครองชีพของพนักงานและคู่ค้าที่สำคัญลำดับที่ 1 เพื่อให้ได้รับค่าตอบแทนอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม พร้อมทั้งกำหนดเป้าหมายครอบคลุมพนักงานทั้งหมดร้อยละ 100 ภายในปี 2568 และบริษัทมีแผนที่จะขยายการประเมินให้ครอบครัวคู่ค้าและผู้รับเหมาในอนาคต
พร้อมกันนี้ บริษัทได้ประเมินประเด็นความเสี่ยงด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ครอบคลุมทุกพื้นที่การดำเนินการของบริษัท รวมทั้งจัดทำโครงการสนับสนุน ตลอดจนส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ พนักงานและครอบครัวผ่านโครงการต่างๆ เช่น การสนับสนุนการศึกษาของบุตรหลานพนักงาน การช่วยเหลือพนักงานด้านการรักษาสุขภาพ การใช้พนักงานมีสิทธิเลือกการใช้ค่ารักษาพยาบาลสำหรับบิดา-มารดา หรือคู่สมรส/บุตร การทำงานแบบยืดหยุ่น เป็นต้น
กระบวนการตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน
บริษัทดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านอย่างเป็นระบบเป็นประจำทุก 3 ปี เพื่อระบุประเด็นสำคัญและกลุ่มผู้ถือครองสิทธิ์ที่ได้รับผลกระทบครอบคลุมทุกพื้นที่ดำเนินการ และทุกกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัท รวมถึงคู่ค้า ผู้จัดหา ผู้รับเหมา กิจการร่วมค้า และกิจการควบรวมและกิจการเข้าซื้อ โดยบริษัทพิจารณาประเด็นสิทธิมนุษยชนสำคัญที่เกี่ยวของกับการดำเนินธุรกิจขององค์กร ได้แก่ การใช้แรงงานบังคับ การค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเด็ก สิทธิและเสรีสาภาพในการสมาคม สิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรอง การให้ค่าตอบแทนที่เท่าเทียม การเลือกปฏิบัติ และการคุกคามทั้งที่เกี่ยวข้องกับทางเพศและรูปแบบอื่นๆ รวมถึงความมั่นคง ปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และสิทธิลูกค้า ครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสียที่เสี่ยงต่อการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ได้แก่ พนักงาน ชุมชนและคนในท้องถิ่น คู่ค้า ผู้จัดหา ผู้รับเหมา ลูกค้าและผู้บริโภค รวมถึงกลุ่มเปราะบางที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้หญิง เด็ก ชนพื้นเมือง แรงงานต่างด้าว แรงงานที่ว่าจ้างผ่านบุคคลที่สาม ผู้พิการ ผู้สูงอายุ เพศทางเลือก ผ่านการรับฟังประเด็นจากผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินธุรกิจของบริษัทไม่ก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษชน
ความมุ่งมั่น
1
ปลูกฝังในองค์กร
2
นโยบายสิทธิมนุษยชน
ประเมินผลกระทบ
3
การบูรณาการ
4
ติดตามประสิทธิผล
5
การสื่อสาร
6
มีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย
7
มีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก เช่น พนักงาน ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาคประชาสังคม เพื่อสื่อสารผลลัพธ์การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท
การเยียวยาและรับข้อร้องเรียน
8
การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
บริษัทจัดทำการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนเป็นประจำทุก 3 ปี โดยการระบุประเด็นสำคัญและกลุ่มผู้ถือครองสิทธิ์ที่ได้รับผลกระทบตลอดห่วงโซ่คุณค่า ภายใต้กระบวนการตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านครอบคลุม 8 หน่วยงานธุรกิจหลัก โดยคิดเป็นร้อยละ 100 ของพื้นที่ดำเนินธุรกิจ และคิดเป็นร้อยละ 100 ของกิจกรรมทางธุรกิจ ซึ่งประกอบไปด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ Employees Practice, Community Rights, Custoner Rights, Supplier & Contractor Rights
จากการทบทวนและประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนครั้งล่าสุดปี 2565 เพื่อพิจารณาประเด็นความเสี่ยงเดิม ประเด็นความเสี่ยงในปัจจุบัน และความเสี่ยงที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในอนาคต ครอบคลุมสิทธิของพนักงาน คู่ค้าและผู้รับเหมา สิทธิมนุษยชน และสิทธิลูกค้าหรือผู้บริโภค ตลอดจนครอบคลุมประเด็นด้านสภาพการทำงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ด้านการเลือกปฏิบัติและการคุกคาม ด้านการใช้แรงงานผิดกฎหมาย ด้านมาตรฐานการครองชีพ และด้านข้อมูลและความเป็นส่วนตัว พบประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญในกลุ่มธุรกิจบริการร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven และ 24Shopping ได้แก่ 1) ประเด็นอุบัติเหตุระหว่างการปฏิบัติงาน 2) ประเด็นอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลไม่เหมาะสม นอกจากนี้ บริษัทมีการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในคู่ค้าลำดับที่ 1 ทั้งหมด ครอบคลุมคู่ค้าจำนวน 2,242 ราย โดยมีประเด็นสำคัญ เช่น ประเด็นการจัดอบรมด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ประเด็นการตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ในการทำงานและอุปกรณ์เกี่ยวกับการระงับเหตุ การซ้อมหนีไฟ เป็นต้น ทั้งนี้ บริษัทส่งเสริมให้คู่ค้าจัดทำแนวทางการป้องกันและแก้ไขสำหรับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นอย่างครบถ้วนครอบคลุมคู่ค้าลำดับที่ 1 ทั้งหมด
ในกรณีที่เกิดประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน บริษัทจะดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ และรายงานอย่างต่อเนื่องตามมาตรการป้องกันและลดผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนของประเด็นที่เสี่ยงสูงแบบบูรณาการเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ถือครองสิทธิ์ที่ได้รับผลกระทบจากกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนจะได้รับการชดเชยและเยียวยาอย่างเหมาะสมหรือดีขึ้น อาทิ การแสดงความขอโทษ การชดใช้ความเสียหาย การฟื้นฟูสมรรถภาพ การชดเชยในรูปแบบของตัวเงินหรือไม่ใช่ตัวเงิน การลงโทษและการป้องกันอันตราย เช่น คำสั่งห้าม หรือการรับประกันไม่ให้เกิดกรณีซ้ำ เป็นต้น
การปฏิบัติของพนักงาน | แนวทางปฏิบัติของชุมชน | แนวทางปฏิบัติของลูกค้า | แนวปฏิบัติของคู่ค้าและผู้รับเหมา |
---|---|---|---|
|
|
|
|
การประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน
หลังจากจบกระบวนการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน บริษัทกำหนดให้มีการประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนกับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจในประเด็นความเสี่ยงที่ต้องบริหารจัดการก่อนผ่านการเก็บข้อมูล การสำรวจความคิดเห็นของผู้ถือครองสิทธิ์ครอบคลุมจำนวนพนักงานทั้งหมดในทุกพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสำคัญ และมีความเสี่ยงสูงที่ต้องบริหารจัดการก่อน โดยแบ่งการประเมินออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1.สายปฏิบัติการร้าน 2.ศูนย์กระจายสินค้า ซีพี ออลล์ 3.ศูนย์กระจายสินค้า 24Shopping 4.สายงานการผลิตและโลจิสติกส์ ซีพีแรม เมื่อผลกระทบบริษัทดำเนินการยกระดับมาตรการบรรเทาผลกระทบ รวมทั้งมุ่งสื่อสารการปฏิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียมตามหลักการด้านสิทธิมนุษยชนภายในองค์กร ผ่านการสื่อสารในรูปแบบ Infographic การเดินรณรงค์ รวมถึงผู้บริหารระดับสูงมีการส่งสารผ่านการจัดทำตัวบันทึกถึงพนักงานทั้งองค์กร
มาตรการป้องกันและลดผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนของประเด็นที่เสี่ยงสูงแบบบูรณาการภายใต้ขอบเขตความรับผิดชอบของบริษัท สโตร์พาร์ทเนอร์ (พันธมิตรทางธุรกิจ)
ผู้ถือครองสิทธิ | ประเด็นที่มีความเสี่ยงสูง | มาตรการป้องกันและลดผลกระทบ | การบูรณาการมาตรการ |
---|---|---|---|
พนักงานร้าน 7-Eleven และ 24Shopping | ความปลอดภัยและสุขภาพ
|
|
|
กลไกรับข้อร้องเรียนและการแก้ไขเยียวยา
การสร้างความตระหนักด้านสิทธิมนุษยชน
การอบรมหลักสูตร "สิทธิมนุษยชนกับภาคธุรกิจ"
บริษัทจัดอบรมหลักสูตร "สิทธิมนุษยชนกับภาคธุรกิจ" สำหรับพนักงานระดับบริหารขึ้นไปของ ซีพี ออลล์ และบริษัทย่อย เพื่อสร้างความตระหนักและส่งเสริมการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนอย่างเหมาะสม รวมถึงป้องกันการละเมิดด้านสิทธิมนุษยชนภายใน และภายนอกองค์กร โดยหลักสูตรมีเนื้อหาครอบคลุมด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ ได้แก่
มาตรฐานสากลในเรื่องการเคารพสิทธิมนุษยชน
การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน
วัฒนาธรรมองค์กรกับการเคารพสิทธิมนุษยชน
ในปี 2566 มีผู้เข้าร่วมการอบรม จำนวน 181,1081 ราย และมีแผนขยายขอบเขตการสร้างความตระหนัก ตลอดจนมุ่งสร้างความเข้าใจให้แก่พนักงานทุกระดับ ทุกพื้นที่ รวมถึง คู่ค้า และสโตร์พาร์ทเนอร์ (พันธมิตรทางธุรกิจ) ผ่านระบบออนไลน์ ครบร้อยละ 100 ภายในปี 2568
การสื่อสาร "เรื่อง สิทธิมนุษยชนภายในบริษัทและบริษัทย่อย
บริษัทมีการสื่อสารแนวปฏิบัติของนโยบาย ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน จริยธรรมธุรกิจและข้อพึงปฏิบัติในการทำงานให้พนักงานทุกระดับรับทราบ เพื่อให้พนักงานปฏิบัติตามนโยบาย และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานรวมถึงเพื่อป้องกันการละเมิดด้านสิทธิมนุษยชนภายในองค์กรโดยมีการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ได้แก่
- จัดทำบันทึกขอความร่วมมือให้มีการปฏิบัติต่อกันที่ดีและไม่เลือกปฏิบัติ
- สื่อสารแนวปฏิบัติและบทลงโทษในรูปแบบ Infographic
- กิจกรรมเดินรณรงค์ สื่อสารให้มีการปฏิบัติต่อกันด้วยความเคารพ
การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม
บริษัทยึดมั่นในการเคารพสิทธิแรงงานของพนักงาน และการปฏิบัติงานอย่างเป็นธรรม ให้เป็นไปตามกฎหมายและนโยบายต่างๆ ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานไทยและสากล ผ่านการสร้างความเหมาะสมด้านการจ้างงาน ค่าจ้าง ชั่วโมงการทำงาน วันหยุด และสวัสดิการ รวมถึงสถานที่ทำงานที่มีความปลอดภัย และมีสภาพแวดล้อมที่ดี ทั้งนี้ บริษัทกำหนดสวัสดิการสำหรับพนักงาน อาทิ
สวัสดิการ | สิทธิตามกฎหมายกำหนด | สิทธิที่บริษัทมอบให้พนักงาน |
---|---|---|
จำนวนวันเพื่อเลี้ยงดูบุตรสำหรับพนักงานหญิง |
|
|
วันหยุดตามประเพณี | ไม่น้อยกว่าปีละ
|
|
วันหยุดพักผ่อนประจำปี | ไม่น้อยกว่าปีละ
|
|
วันลากิจ |
|
|
วันลาเพื่อดูแลบุตรที่คลอดใหม่สำหรับพนักงานชาย โดยได้รับค่าจ้าง | 0 |
|
วันลากิจธุระส่วนตัว เพื่อสร้างสมดุลในชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว อาทิ บำเพ็ญประโยชน์ให้กับชุมชนหรือสังคมตามความสนใจของพนักงาน ดูแลบุคคลในครอบครัวที่เจ็บป่วย หรือมีภาวะทางด้านร่างกายและจิตใจ ลาเนื่องในวันคล้ายวันเกิดของตัวเอง | - |
|
ทางเลือกการทำงานแบบพาร์ตไทม์ (Part-time working options) สำหรับพนักงานประจำ สายสำนักงานระดับเจ้าหน้าที่ และบังคับบัญชา | - | เฉพาะวันหยุดของพนักงาน (ขั้นต่ำวันละ 4 ชม) |
นอกจากนี้ บริษัทจัดสรรสวัสดิการที่หลากหลายให้กับพนักงาน เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีระหว่างการทำงานร่วมกับบริษัท เช่น สวัสดิการเงินกู้ฉุกเฉินจากสถาบันการเงินด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ เงินช่วยเหลือบ้านเช่าบ้านพัก เงินช่วยเหลือกรณีปฏิบัติงานประจำสำนักงานต่างจังหวัด (เบี้ยกันดาร) เป็นต้น ตลอดจนสวัสดิการด้านความมั่นคงของชีวิต อาทิ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันชีวิตจากโรคและอุบัติเหตุ และประกันสุขภาพกลุ่มภาคสมัครใจที่ให้ความคุ้มครองพนักงานรวมถึงครอบครัวพนักงาน สวัสดิการเงินยืมฉุกเฉินสำหรับพนักงานและครอบครัว และเงินช่วยเหลือกรณีประสบภัยพิบัติต่างๆ รวมถึงบริการศูนย์สุขภาพ (CPALL Health Care Center) และศูนย์ออกกำลังกายสำหรับพนักงาน (The Tara Fitness Club) ฝึกสอนโดยผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายสาขา พร้อมทั้งมีโครงการ Exercise My Way บริการตรวจวัดสุขภาพ โดยเภสัชกรด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย เพื่อส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีของพนักงาน
หมายเหตุ: พื้นที่สำคัญในการดำเนินการให้การสนับสนุน ครอบคลุมพนักงานที่ปฏิบิัติงานในพื้นที่สำนักงาน พื้นที่ศูนย์กระจายสินค้า และพื้นที่ปฏิบัติการร้าน 7-Eleven
เสรีภาพในการสมาคม
บริษัทสนับสนุนเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นและข้อกังวลผ่านการจัดช่องทางการรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ศูนย์แจ้งข้อมูล สื่อออนไลน์ของบริษัท เคาะระฆัง ระบบ Voice of Employee เป็นต้น รวมทั้งผ่านคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการ (คสส.) ที่ถูกจัดตั้งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ปัจจุบันมีพนักงานตัวแทนคณะกรรมการสวัสดิการ จำนวน 2,397 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 ของพนักงานทั้งหมด โดยกำหนดให้มีการประชุมหารือร่วมกันทุกไตรมาส ในปี 2566 มีประเด็นข้อเสนอแนะที่ได้รับการอนุมัติดำเนินการเพิ่มเติม ดังนี้
1. โครงการสวัสดิการเงินยืมเพื่อการศึกษาสำหรับบุตรพนักงาน
2. โครงการค่ารักษาพยาบาลสำหรับบิดา-มารดาของพนักงานกรณีคนไข้ใน (IPD)
3. เพิ่มรถรับส่งสายรังสิตและสายบางใหญ่สำหรับพนักงาน
การส่งเสริมโอกาสที่เท่าเทียมและความหลากหลายของบุคลากร
บริษัทปฏิบัติกับพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียม เคารพในความหลากหลายและความแตกต่างของบุคลากรบนพื้นฐานที่ไม่แบ่งแยกทางเชื้อชาติ ศาสนา เพศ สีผิว ภาษา อายุ รวมถึงผู้พิการ ตลอดจนส่งเสริมและพิจารณาให้พนักงานทุกคนได้รับการจ้างงาน โอกาสในการพัฒนาศักยภาพ และเติบโตก้าวหน้าในสายอาชีพอย่างเท่าเทียม รวมทั้งสนับสนุนการสร้างอาชีพ โดยจัดจ้างบุคคลทุพพลภาพให้เป็นพนักงานอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ บริษัทร่วมจัดกิจกรรมเพื่อผลักดันสิทธิของพนักงานอย่างต่อเนื่อง ในปี 2566 มีการให้ความรู้ และจัดกิจกรรมสัมมนาในหัวข้อที่สอดคล้องกับกระแสสังคมโลก "ความหลากหลาย ความเสมอภาค และการไม่แบ่งแยก" ในช่วงเดือนไพรด์ของกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ เพื่อร่วมสนับสนุนความหลากหลายและเท่าเทียมทางเพศ ตลอดจนสนับสนุนให้หน่วยงานทุกภาคส่วนลดความเหลื่อมล้ำ และส่งเสริมให้บุคคลากรทุกกลุ่มแสดงศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ทั้งภายใน ภายนอกองค์กร เพื่อนำไปสู่การพัฒนาสินค้าและบริการที่มีประสิทธิภาพ ผ่านการรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายของกลุ่มคนในสังคม เพื่อไม่ก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติและการคุกคามทุกรูปแบบในการดำเนินงานทางภาคธุรกิจ
ค่าครองชีพ
เนื่องจากบุคลากรเป็นเสาหลักสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ บริษัทจึงให้ความสำคัญกับพนักงานเป็นอันดับแรก โดยดำเนินงานเพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานจะได้รับการดูแลที่เหมาะสม มีสวัสดิการบรรยากาศในการทำงานที่ดี และสถานที่ทำงานที่ปลอดภัย พร้อมทั้งได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม ผ่านการกำหนดนโยบายและวางแนวทางการจัดการค่าตอบแทนและผลประโยชน์ รวมทั้งพิจารณาเงินเดือนและสวัสดิการสำหรับพนักงานและพันธมิตรทางธุรกิจ (สโตร์พาร์ตเนอร์) ในแต่ละพื้นที่อย่างเป็นธรรม เท่าเทียม และสอดคล้องตามกฎหมายอย่างสม่ำเสมอ โดยเป็นค่าตอบแทนที่สามารถเทียบเคียงในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวได้ นอกจากนี้ บริษัทให้เงินสนับสนุนและค่าตอบแทนที่เหมาะสมและสูงกว่าค่าจ้าง ขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด พร้อมทั้งให้เงินสำหรับค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม อาทิ ค่าทำงานนอกเวลา ค่าเดินทาง เบี้ยพิเศษ ค่าเช่าบ้าน ค่าอาหาร เบี้ยขยัน เพื่อให้พนักงานได้รับค่าจ้างที่เหมาะสมที่สุดในการดำรงชีพ ทั้งนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทจ่ายค่าตอบแทนและผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมและแข่งขันได้ บริษัทกำหนดให้มีการประเมินค่าตอบแทนและสวัสดิการกับ 2 บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลก ได้แก่ Korn Ferry Hay Group และ Mercer ตลอดจนกำหนดให้มีการประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของค่าครองชีพและปัจจัยการจ้างงานในแต่ละด้านของการดำเนินธุรกิจ โดยบริษัท มีเป้าหมายครอบคลุมพนักงานทั้งหมดร้อยละ 100 ภายในปี 2568 พร้อมวางแผนขยายเป้าหมายการประเมินไปยังคู่ค้าและผู้รับเหมาในอนาคต