การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ
ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2566
คู่ค้าลำดับที่ 1 และคู่ค้าที่สำคัญลำดับถัดไป ผ่านการคัดกรองความเสี่ยง
คู่ค้าลำดับที่ 1 ที่มีนัยสำคัญได้รับการตรวจประเมิน
คู่ค้าที่มีนัยสำคัญ ซึ่งตรวจพบว่ามีผลกระทบด้านลบต่อ ESG มีแผนดำเนินการแก้ไข
คู่ค้าที่มีนัยสำคัญ ซึ่งตรวจพบว่ามีผลกระทบด้านลบต่อ ESG ได้รับการพัฒนาศักยภาพ เพื่อปรับปรุงแนวปฏิบัติและผลดำเนินการ ESG
การดำเนินงานที่สำคัญปี 2566
ปรับปรุงรูปแบบการตรวจประเมินคู่ค้าด้านความยั่งยืนแบบเชิงรุกให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล อุตสาหกรรม ขนาดธุรกิจ และผลิตภัณฑ์
ส่งเสริมความรู้และสนับสนุน SMEs ให้เข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต CAC
จัดโครงการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพ (Capacity Building) ของคู่ค้ากลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้างและผู้รับเหมาขนส่ง เพื่อปรับปรุงแนวปฏิบัติและผลดำเนินการ ESG
จัดอบรมหลักสูตร Buyer Development Training on Sustainability Procurement ให้แก่ ผู้บริหาร พนักงาน และผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
ผู้มีส่วนได้เสียหลักที่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ
สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
SDG 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
4.4 เพิ่มจำนวนเยาวชนและผู้ใหญ่ที่มีทักษะที่จำเป็นรวมถึงทักษะทางเทคนิคและอาชีพสำหรับการจ้างงาน การมีงานที่ดีและการเป็นผู้ประกอบการ
SDG 8 ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องและยั่งยืน การจ้างงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน
8.3 ส่งเสริมนโยบายที่มุ่งการพัฒนาที่สนับสนุนกิจกรรมที่มีผลิตภาพ การสร้างงานที่สมควร ความเป็นผู้ประกอบการ ความสร้างสรรค์และนวัตกรรม และส่งเสริมการเกิดและการเติบโตของวิสาหกิจรายย่อยขนาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่งรวมถึงผ่านทางการเข้าถึงบริการทางการเงิน
SDG 12 สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการบริโภคและผลิตที่ยั่งยืน
12.7 ส่งเสริมแนวปฏิบัติด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาคสาธารณะที่ยั่งยืน ตามนโยบายและการให้ลำดับความสำคัญของประเทศ
ผลการดำเนินงานเทียบเป้าหมาย
เป้าหมายปี 2573
ร้อยละ 100คู่ค้าลำดับที่ 1 (Tier 1 Suppliers) ที่มีความเสี่ยงสูง (Significant Suppliers) ด้านความยั่งยืนจะต้องถูกตรวจประเมินแบบเชิงรุก (Comprehensive Assessment) และเกิดการพัฒนาปรับปรุง
ความคืบหน้าเทียบกับเป้าหมาย
สรุปผลการดำเนินงาน ปี 2566
หลักเกณฑ์การระบุคู่ค้าสำคัญที่ทำธุรกิจกับบริษัทโดยตรง และคู่ค้าสำคัญที่ไม่ได้ทำธุรกิจกับบริษัทโดยตรง
คู่ค้าลำดับที่ 1
คู่ค้าที่สำคัญลำดับที่ 1*
คู่ค้าที่สำคัญลำดับถัดไป*
*หลักเกณฑ์และการระบุประเภทของคู่ค้า
1.คู่ค้าที่สำคัญลำดับที่ 1 : คู่ค้าที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่สำคัญกับบริษัท ซึ่งหมายถึง คู่ค้าที่มีความเสี่ยงจากการพึงพาของบริษัท ได้แก่ คู่ค้าที่มีมูลค่ายอดซื้อสูงๆ (>=80%) และ/หรือ คู่ค้าที่สามารถส่งผลกระทบต่อความได้เปรียบในการแข่งขันความสำเร็จของตลาด และ/หรือคู่ค้าที่ไม่สามารถทดแทนได้
2.คู่ค้าที่สำคัญลำดับถัดไป : ผู้จัดหาวัตถุดิบผลิตภัณฑ์และบริการให้กับคู่ค้าที่สำคัญลำดับที่ 1 ของบริษัทซึ่งวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์และบริการที่ส่งมอบนั้นๆ มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อความได้เปรียบในการแข่งขัน ความสำเร็จของตลาดหรือการอยู่รอดของบริษัท มีจำนวนน้อยรายหรือไม่สามารถทดแทนได้
การระบุคู่ค้าที่สำคัญลำดับที่ 1 และวิเคราะห์มูลค่าการซื้อ
สัดส่วนและมูลค่าการซื้อ
มูลค่าการซื้อจากคู่ค้าภายในประเทศ
มูลค่าการซื้อจากคู่ค้าที่สำคัญลำดับที่ 1
มูลค่าการซื้อจาก SMEs*
*มูลค่าการซื้อจาก SMEs คลอบคลุมผลิตภัณฑ์เกษตร ผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน หรือผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น (OTOP)
การมีส่วนร่วมของคู่ค้าลำดับที่ 1
ได้รับการสื่อสารจริยธรรมและแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า
ลงนามรับทราบจริยธรรมและแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า
ได้รับการอบรมให้ความรู้ด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ
การมีส่วนร่วมของคู่ค้าที่สำคัญลำดับที่ 1
ได้รับการสื่อสารจริยธรรมและแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า*
ลงนามรับทราบจริยธรรมและแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า*
คู่ค้าที่มีผลกระทบด้าน ESG เข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพคู่ค้า*
*หมายเหตุ: เป้าหมาย ปี 2566 ร้อยละ 100
การบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG)
*หมายเหตุ: เป้าหมาย ปี 2566 ร้อยละ 100
คู่ค้าที่สำคัญลำดับที่ 1 (Critical Tier 1) และ คู่ค้าที่มีความเสี่ยงสูง (High Risk) จากกระบวนการประเมินความเสี่ยงผ่านการวิเคราะห์เอกสารหรือการตรวจประเมินแบบลงพื้นที่
*หมายเหตุ: ร้อยละเทียบกับจำนวนคู่ค้าที่ได้รับการประเมินความเสี่ยง
คู่ค้าที่ได้รับการประเมินแล้วพบว่ามีผลกระทบเชิงลบที่เกิดจริง
หรือที่อาจเกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
คู่ค้าที่มีผลกระทบเชิงลบที่เกิดขึ้นจริงหรืออาจเกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และถูกยกเลิกสัญญา
*หมายเหตุ: เป้าหมาย ปี 2566 ร้อยละ 100
คู่ค้าที่มีผลกระทบเชิงลบที่เกิดขึ้นจริงหรืออาจเกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ที่มีการจัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไขหรือมีแผนปรับปรุงตามข้อตกลง
*หมายเหตุ: เป้าหมาย ปี 2566 ร้อยละ 100
คู่ค้าที่ได้รับการสนับสนุนในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการแก้ไข
ความเสี่ยงและโอกาส
บริษัททั่วไปบริหารห่วงโซ่อุปทานโดยคำนึงถึงประสิทธิภาพด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก ซึ่งอาจจะนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น การใช้แรงงานเด็ก การบังคับทำงานเกินเวลา การทำงานในสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของบริษัท ทำให้เกิดการหยุดชะงักของการดำเนินธุรกิจ รวมถึงส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ดังนั้น การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างมีความรับผิดชอบจะช่วยยกระดับคุณภาพของกระบวนการผลิตสินค้าและพัฒนากระบวนการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการไปสู่ผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพโดยมีเสาหลักสำคัญ คือ คู่ค้า ซึ่งการคัดเลือกคู่ค้าที่มีประสิทธิภาพและส่งเสริมศักยภาพของคู่ค้าไปจนถึงการสร้างความผูกพันกับคู่ค้า โดยการบูรณาการความยั่งยืนกับการบริหารห่วงโซ่อุปทาน สามารถช่วยลดความเสี่ยงด้านต้นทุน ความเสี่ยงด้านการขาดแคลนวัตถุดิบและสินค้าคงคลัง และความเสี่ยงในการเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน บริษัทจึงมุ่งส่งเสริมศักยภาพคู่ค้าทุกกลุ่มให้เติบโตไปพร้อมกัน โดยคำนึงถึงประเด็นด้านสังคม สิ่งแวดล้อม บรรษัทภิบาล และสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ลดความเสี่ยงในการดำเนินงาน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนสร้างการเปลี่ยนแปลงเสริมสร้างความแข็งแกร่งของคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อการเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน
แนวทางการดำเนินงาน
บริษัทกำหนดนโยบายด้านการจัดหาอย่างยั่งยืน คู่มือจริยธรรม และแนวทางปฏิบัติของคู่ค้าที่คำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมุ่งบริหารห่วงโซ่อุปทานให้เกิดประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม คำนึงถึงสิทธิมนุษยชนครอบคลุมประเด็นสำคัญ อาทิ สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน แรงงานเด็ก สภาพการทำงาน การจ่ายค่าตอบแทน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย จริยธรรมธุรกิจ มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์และบริการของคู่ค้า สนับสนุนให้คู่ค้ากำหนดนโยบายการจัดหาอย่างยั่งยืน และมีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ตลอดจนสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานร่วมกับคู่ค้าลำดับที่ 1 รวมไปถึงคู่ค้าลำดับถัดไป
พร้อมกันนี้ บริษัทกำหนดให้มีการคัดกรองความเสี่ยงคู่ค้าลำดับที่ 1 ครอบคลุมคู่ค้ากลุ่มต่างๆ ได้แก่ คู่ค้าที่มีมูลค่ายอดซื้อสูง คู่ค้าที่มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์ คุ่ค้าที่มีจำนวนน้อยราย คู่ค้าที่ไม่สามารถทดแทนได้ คู่ค้าที่มีมูลค่ายอดซื้อปานกลาง และคู่ค้าที่มีมูลค่ายอดซื้อน้อย รวมถึง คู่ค้าที่อาจสร้างผลกระทบด้าน ESG เพื่อระบุคู่ค้าที่มีนัยสำคัญ (Significant Suppliers) และตรวจประเมิน (Assessment) คู่ค้ากลุ่มที่ถูกระบุว่ามีนัยสำคัญเพื่อลดความเสี่ยงด้านการบริหารห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงมุ่งสนับสนุนการสร้างคุณภาพชีวิตและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนและสังคม ตลอดจนมีส่วนร่วมบรรเทาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ภายใต้นโยบายและเป้าหมายการดำเนินงานด้านการบริหารห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน
กลยุทธ์การจัดการห่วงโซ่อุปทาน
การจัดหา การจัดซื้อ การทำสัญญา การจัดการจัดซื้อจัดจ้างอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ บริการ และการก่อสร้างตามข้อกำหนดที่ทันเวลาในระดับบริหารสูงสุด (คุณภาพสินค้า ต้นทุน บริการหลังการขาย จัดส่ง)
การจัดการอุปสงค์และห่วงโซ่อุปทานแบบบูรณาการ (บนการสร้างสมดุลของปริมาณการใช้ข้อมูลและสะท้อนถึงการจัดการต้นทุนและอุปทาน)
พัฒนาร่วมสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ บริการ และนวัตกรรมใหม่ร่วมกับพันธมิตร/คู่ค้า เพิ่มความหลากหลายและประสิทธิภาพการดำเนินงาน
เสริมสร้างพันธมิตรเชิงกลยุทธ์และการจัดการหุ้นส่วนทางธุรกิจที่ยั่งยืน
จริยธรรมและแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้า
ในปี 2565 บริษัทได้ปรับปรุงคู่มือจริยธรรมและแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า (Suppliers' Code of Conduct and Guideline) ครอบคลุมคู่ค้าลำดับที่ 1 (Tier-1 Suppliers) และลำดับถัดไป (Non Tier-1 Suppliers) ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ผ่านแนวปฏิบัติ 16 แนวปฏิบัติ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 พร้อมทั้งจัดอบรมหลักสูตรการพัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน (Buyer Development Training on Sustainability Procurement) เพื่อสื่อสารให้พนักงานทุกระดับมีความเข้าใจเกี่ยวกับคู่ค้าจริยธรรมและแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้าฉบับปรับปรุงนี้ เพื่อยึดเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนของบริษัท
ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา บริษัทได้สื่อสารคู่มือจริยธรรมและแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้าไปยังคู่ค้าลำดับที่ 1 (Tier-1 Suppliers) ทั้งหมด 2,242 ราย และในปี 2566 บริษัทสื่อสารคู่มือจริยธรรมและแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้าไปยังคู่ค้าลำดับที่ 1 (Tier-1 Suppliers) รายใหม่ จำนวน 121 ราย คิดเป็นร้อยละ 100
กระบวนการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน
กระบวนการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน | |||
---|---|---|---|
บูรณาการแนวคิดด้านความยั่งยืน ลดความเสี่ยง ตลอดห่วงโซ่อุปทาน | สร้างคุณค่าร่วม พัฒนา ส่งเสริมศักยภาพ | ||
01 สื่อสารความคาดหวัง สรรหาและคัดเลือก คู่ค้าที่มีศักยภาพ โดยผนวกหลักเกณฑ์ด้านความยั่งยืน |
02 บริหารความเสี่ยงด้านความยั่งยืน สำหรับคู่ค้า (คัดกรองและประเมิน) |
03 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพ |
04 สร้างความผูกพันและรักษาความสัมพันธ์ระยะยาว |
1. การสื่อสารความคาดหวัง สรรหา และคัดเลือกคู่ค้าที่มีศักยภาพ
บริษัทกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างมีความรับผิดชอบ มีประสิทธิภาพไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ผ่านการบูรณาการประเด็นด้านความยั่งยืนในการสรรหาและคัดเลือกคู่ค้ารายใหม่ทุกขั้นตอน พร้อมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินศักยภาพและคุณสมบัติในการคัดเลือกคู่ค้ารายใหม่ ครอบคลุมประเด็นสำคัญ ดังนี้ 1.คุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ 2.ความสามารถในการผลิตและการบริหารต้นทุนที่เหมาะสม 3.คู่ค้าที่ดำเนินธุรกิจอย่างเหมาะสมภายใต้ข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 4.ความสามารถในการส่งมอบและผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (ESG) ซึ่งพิจารณาจากผลคะแนนการคัดเลือกคู่ค้าที่มีหลักเกณฑ์ด้านความยั่งยืน (ESG) ที่บริษัทเป็นผู้กำหนด หากคู่ค้ารายใดที่ไม่ผ่านเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำจากการคัดเลือกคู่ค้าที่มีหลักเกณฑ์ด้านความยั่งยืนภายใต้กรอบเวลาที่บริษัทกำหนด จะไม่ได้รับการพิจารณาต่อสัญญา
นอกจากนี้ คู่ค้าจะได้รับการสื่อสารเกี่ยวกับความคาดหวังขององค์กรตามหลักคู่มือจริยธรรมและแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า พร้อมกันนี้ บริษัทยังมีการทบททวนแนวปฏิบัติในการจัดซื้ออย่างต่อเนื่องเพื่อให้มั่นใจว่าสอดคล้องตามประเด็นความขัดแย้งกับข้อกำหนดด้าน ESG รวมทั้งสร้างความตระหนักรู้ด้านการจัดซื้ออย่างยั่งยืน ผ่านการจัดอบรมให้ผู้บริหารและพนักงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคัดเลือกและจัดซื้อสินค้า ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ภายนอกองค์กร อาทิ ผู้รับเหมา และพันธมิตรธุรกิจที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้บริษัทบรรลุเป้าหมายการดำเนินงานด้าน ESG ตลอดห่วงโซ่อุปทาน
ในปี 2566 มีคู่ค้ารายใหม่ 121 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 ได้รับการพิจารณาคัดเลือกโดยหลักเกณฑ์ที่บูรณาการประเด็นด้านความยั่งยืนครอบคลุมมิติสิ่งแวดล้อม สังคมและสิทธิมนุษยชน รวมถึงธรรมาภิบาลและเศรษฐกิจ
2. บริหารความเสี่ยงด้านความยั่งยืนสำหรับคู่ค้า
บริษัทกำหนดให้มีการคัดกรองความเสี่ยงคู่ค้า (Supplier Screening) ครอบคลุมคู่ค้าลำดับที่ 1 (Tier-1 Suppliers) ทั้งหมดทั้งคู่ค้ารายเดิม (Existing Suppliers) และคู่ค้ารายใหม่ (New Suppliers) โดยความรับผิดชอบของหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างและหน่วยงานประเมินความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทาน เพื่อค้นหาความเสี่ยงเบื้องต้นของคู่ค้าด้วยเครื่องมือ Risk-Based Due Diligence อย่างต่อเนื่อง
โดยพิจารณาระดับของความเสี่ยงในแต่ละหัวข้อการประเมินจาก 1.ความเสี่ยงตามบริบทประเทศ (Country-Specific Risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากความผันผวนของสภาวะทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมไปถึงปัจจัยภายนอกอื่นๆ อาทิ ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่คู่ค้าดำเนินงานอยู่ 2.ความเสี่ยงตามบริบทอุตสาหกรรม (Sector-Specific Risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากลักษณะเฉพาะของอุตสาหกรรมที่คู่ค้าดำเนินอยู่ 3.ความเสี่ยงตามบริบทของสินค้า (Commodity-Specific Risk) เป็นความเสี่ยงจากสินค้าที่คู่ค้าผลิตหรือมีไว้จำหน่าย ภายใต้หัวข้อการประเมินจากประเด็นความเสี่ยงด้านความยั่งยืนที่สำคัญ ดังนี้
สิ่งแวดล้อม
สังคม
การกำกับดูแลกิจการ
ความเกี่ยวข้องทางธุรกิจ
ในปี 2566 บริษัทได้คัดกรองความเสี่ยง (Risk Screening) สำหรับคู่ค้าลำดับที่ 1 (Tier- Suppliers) จำนวน 2,242 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 และตรวจประเมิน (Assessment) สำหรับคู่ค้าที่สำคัญลำดับที่ 1 (Critical Tier1) และคู่ค้าที่มีความเสี่ยงสูง (High Risk) จำนวน 68 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 และคู่ค้าที่ได้รับการตรวจประเมินมีผลกระทบเชิงลบที่เกิดขึ้นจริงหรือที่อาจเกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จำนวน 19 ราย คิดเป็นร้อยละ 27.94 ของคู่ค้าที่มีนัยสำคัญลำดับที่ 1 ผลสรุปจากการตรวจประเมินพบประเด็นความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญ 46 ประเด็นหลัก
นอกจากนี้ บริษัทสนับสนุนให้คู่ค้าจัดทำมาตรฐานการจัดการความเสี่ยงด้านความยั่งยืนภายในหน่วยงานของตนเอง พร้อมทั้งดำเนินการติดตามความคืบหน้าในการปรับปรุงแก้ไขความเสี่ยงของคู่ค้าอย่างต่อเนื่อง รวมถึง สนับสนุนการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของคู่ค้าในการดำเนินธุรกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างการเติบโตของคู่ค้าพร้อมกับองค์กรอย่างยั่งยืน
ประเด็นที่พบจากการตรวจประเมินด้านความยั่งยืน
มิติด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental : E) | |
---|---|
ประเด็นความเสี่ยง | มาตรการจัดการความเสี่ยง |
การจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management) - การจัดการสิ่งปฏิกูลตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม - การประเมินผลกระทบ และตรวจประเมินคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายกำหนด |
- แจ้งขึ้นทะเบียนต่อกระทรวงอุตสาหกรรม และจัดทำใบขออนุญาตต่างๆ ตามประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรม (สก 1, 2, 3) - จัดทำแบบประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและกำหนดมาตรการการแก้ไข |
มิติด้านสังคม (Social : S) | |
ประเด็นความเสี่ยง | มาตรการจัดการความเสี่ยง |
ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (Safety, Hygiene and Environment in the Workplace) - จัดอบรม "อบรมดับเพลิง ซ้อมหนีไฟ และสารเคมีรั่วไหล" ให้กับพนักงาน - คู่มือความปลอดภัย และจัดอบรม "ด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน" ให้กับพนักงาน - การตรวจสอบสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน - การตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ในการทำงาน และอุปกรณ์เกี่ยวกับการระงับเหตุรวมถึงการทำป้ายบ่งชี้ต่างๆ |
- จัดทำแผนการอบรมประจำปี และทำสรุปรายงานการจัดอบรม - จัดทำคู่มือความปลอดภัย และจัดทำแผนการอบรมให้กับพนักงาน - จัดทำแผนการตรวจสอบสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานประจำปี โดยหน่วยงานที่ได้รับการรับรอง - วิเคราะห์การตรวจสอบ และปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามข้อกฎหมาย - จัดทำแผนการตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ทั้งอุปกรณ์การทำงานและระงับเหตุ พร้อมทำป้ายบ่งชี้ |
การจัดการแรงงาน และสิทธิมนุษยชน (Labor Management and Human Rights) - การตรวจสุขภาพพนักงานตามปัจจัยเสี่ยง - คู่มือ Code of Conduct |
- จัดทำคู่มือการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง และดำเนินการตรวจสุขภาพพนักงาน - จัดทำคู่มือ Code of Conduct และสื่อสารให้พนักงานทราบ |
มิติด้านการกำกับดูแลกิจการ (Governance : G) | |
ประเด็นความเสี่ยง | มาตรการจัดการความเสี่ยง |
การปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบ (Compliance with Laws and Regulations) - ติดตามการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการ - คู่มือแรงงาน - สัญญาจ้างงาน - การติดตั้งถังดับเพลิง - การขึ้นทะเบียน บุคลากร หรือหน่วยงานด้านความปลอดภัยในระดับบริหาร หัวหน้างาน เป็นต้น |
- แต่งตั้งผู้รับผิดชอบ - จัดทำทะเบียนกฎหมาย และติดตามการเปลี่ยนแปลงข้อกฎหมายต่างๆ - จัดทำคู่มือแรงงาน และสื่อสารให้พนักงานทราบ - จัดทำสัญญาจ้างงาน ให้เป็นลายลักษณ์อักษร ด้วยภาษาที่พนักงานเข้าใจ - จัดทำบัญชีรายชื่อสารเคมีอันตรายและรายละเอียดข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีอันตราย (สอ.1) แจ้งต่อหน่วยงานราชการ - ติดตั้งถังดับเพลิงตามกฎหมายกำหนด - แต่งตั้งบุคลากรในระดับต่างๆ และส่งไปอบรม พร้อมทั้งแจ้งขึ้นทะเบียนต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน |
ทั้งนี้ บริษัทได้ดำเนินการติดตามความคืบหน้าในการปรับปรุงแก้ไขความเสี่ยงของคู่ค้าอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งมุ่งส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของคู่ค้าในการดำเนินธุรกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างการเติบโตของคู่ค้าไปพร้อมกับองค์กรอย่างยั่งยืน
3. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพ
บริษัทดำเนินโครงการที่หลากหลายเพื่อสร้างองค์ความรู้และยกระดับศักยภาพด้านความยั่งยืนของคู่ค้า ให้กับบุคลากรทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยจัดโครงการฝึกอบรมให้ความรู้ผ่านสื่อและช่องทางต่างๆ เช่น การฝึกอบรมออนไลน์และออฟไลน์ การจัดทำคู่มือครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับภาพรวมของการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบและยั่งยืนตามหลัก ESG การประเมินคู่ค้าและกระบวนการพัฒนาจริยธรรมทางธุรกิจและแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้า ตัวอย่างแนวทางปฏิบัติที่ดีสำหรับคู่ค้าในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น
โครงการอบรมหลักสูตรการพัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน
บริษัทจัดอบรมหลักสูตรการพัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน สำหรับพนักงานผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภายในองค์กร ตลอดจนสร้างการรับรู้แก่ผู้บริหาร พนักงานทุกระดับ ให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับคู่มือจริยธรรมและแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า ฉบับปรับปรุง ปี 2565 เพื่อยึดเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนของบริษัท โดยมีผู้เข้าร่วมรับการอบรม 566 ราย
บริษัทสนับสนุนให้คู่ค้าสามารถเข้าถึงผลการประเมินงานด้าน ESG ของตนเองพร้อมคู่เทียบผ่านรายงานแสดงผลการประเมินความเสี่ยงด้าน ESG ของคู่ค้า
ตัวอย่างรายงานแสดงผลการประเมินความเสี่ยงด้าน ESG ของคู่ค้า
นอกจากนี้ บริษัทยังกำหนดแนวทางให้คู่ค้าได้ดำเนินการแก้ไขหากไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินของบริษัทเกี่ยวกับประเด็นด้านความยั่งยืนผ่านการให้คำปรึกษาแบบลงพื้นที่และออนไลน์ เพื่อให้คู่ค้าสามารถแก้ไขประเด็นต่างๆ รวมทั้งแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานด้าน ESG ภายในระยะเวลาที่ตกลงร่วมกัน
ตัวอย่างการให้คำปรึกษาแบบลงพื้นที่และแบบประชุมออนไลน์แก่คู่ค้า
บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างขีดความสามารถของคู่ค้า เพื่อยกระดับการปฏิบัติงานอย่างยั่งยืนและเป็นไปตามมาตรฐานด้าน ESG ที่บริษัทกำหนด จึงได้จัดโครงการอบรมเพื่อยกระดับขีดความสามารถให้คู่ค้า พร้อมกำหนดให้มีการประเมินผลการดำเนินงานเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นตัวชี้วัดความคืบหน้าของโครงการ โดยมีโครงการที่น่าสนใจ ดังนี้
โปรแกรมสนับสนุนด้านเทคนิคเชิงลึกเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยสำหรับผู้รับเหมาด้านการขนส่ง
จากการวิเคราะห์ผลการประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนของคู่ค้าตามกฎหมายพบว่า ในปี 2566 ประเด็นความเสี่ยงที่พบบ่อย ได้แก่ ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
บริษัทจึงได้พัฒนาโครงการ โปรแกรมสนับสนุนด้านเทคนิคเชิงลึกเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยสำหรับผู้รับเหมาด้านการขนส่ง เพื่อพัฒนาศักยภาพการจัดการความปลอดภัยเชิงลึกแก่ผู้รับเหมาขนส่ง ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของรถขนส่งสินค้าที่ให้บริการขนส่งแก่บริษัท พร้อมกันนี้ บริษัทกำหนดให้มีการวัดความก้าวหน้าอย่างสม่ำเสมอโดยมีระยะเวลาการดำเนินงานต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2565-2566 ดังนี้
ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ
ผู้รับเหมาขนส่งมีความรู้ความเข้าใจเรื่องความปลอดภัยในการขนส่งมากขึ้น
จำนวนอุบัติเหตุที่เกิดจากการขนส่งน้อยลง
ร้อยละ 39 | |
(คิดเป็นร้อยละ 60.98 ของปี 2565) |
บริษัทมุ่งพัฒนาศักยภาพของคู่ค้าอย่างต่อเนื่องผ่าน 3 แนวทาง การพัฒนาศักยภาพคู่ค้า ดังนี้
ในปี 2566 บริษัทดำเนินโครงการที่หลากหลาย เพื่อสร้างองค์ความรู้และยกระดับศักยภาพด้านความยั่งยืนของคู่ค้า โดยมีโครงการที่โดดเด่น ดังนี้
โครงการต่อเนื่อง พัฒนาศักยภาพสำหรับคู่ค้ากลุ่มผู้รับเหมา
บริษัทดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพสำหรับคู่ค้ากลุ่มผู้รับเหมาต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับคู่ค้าก่อนเริ่มปฏิบัติงาน และสร้างความตระหนักเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งจัดอบรมหลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานสำหรับผู้รับเหมา กลุ่มผู้รับเหมางานก่อสร้าง งานไฟฟ้า งานซ่อม งานเฉพาะทาง ในปี 2566 มีผู้รับเหมาที่เข้าร่วมการอบรม 106 ราย
นอกจากนี้ บริษัทจัดอบรมโครงการแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC) ประจำปี 2566 ให้กับคู่ค้า ผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 58 ราย ในรูปแบบออนไลน์เพื่อสร้างค่านิยมในการดำเนินงานด้วยหลัก สุจริต โปร่งใส ปราศจากการคอร์รัปชัน
พร้อมทั้งจัดอบรมให้ความรู้กับคู่ค้ารายใหม่ จำนวน 121 ราย เกี่ยวกับจรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้าในรูปแบบออนไลน์ โดยมีเนื้อหาครอบคลุมด้านสิ่งแวดล้อม การจัดการพลังงาน การจัดการของเสีย ด้านสังคม แนวปฏิบัติด้านแรงงาน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย และด้านการกำกับดูแลกิจการ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
โครงการ "Vendor Conference 2023"
บริษัท ซีพีแรม จำกัด มีความมุ่งมั่นในการสานความสัมพันธ์ที่ดีกับหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ ตลอดจนสื่อสารนโยบาย แนวทาง และทิศทางขององค์กร พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้ ได้แก่ การจัดการกระบวนการผลิตทั้งห่วงโซ่อุปทาน และการจัดการด้านประกันคุณภาพในยุคไร้พรมแดนจึงได้จัดงาน "Vendor Conference 2023" ภายใต้แนวคิด ALL ONE, ONE FOR ALL โดยมีการบรรยายในหัวข้อ Sustainable Development Goals-ESG โดยมีคู่ค้าในฐานหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญขององค์กรกว่า 200 ราย เข้าร่วมงาน
โครงการ ALL Delica Alliance (ADA)
บริษัท ซีพีแรม จำกัด เดินหน้าสนับสนุนและให้ความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า โดยจัดตั้งโครงการ ALL Delica Alliance (ADA) พันธมิตรทางอาหารเพื่อความยั่งยืน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อความสำเร็จ โดยได้นำแนวคิด FOOD 3S (Food Safety, Food Security, Food Sustainability) มาบริหารจัดการตลอดห่วงโซ่อุปทานอาหารของผู้ส่งมอบในเชิงลึกและกว้างยิ่งขึ้น เพื่อสร้างความแข็งแกร่งรวมกับสมาชิกในโครงการ ADA ด้วยการถ่ายทอด และเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการธุรกิจ เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด การปรับปรุงกระบวนการผลิต การประกันคุณภาพ และการบริหารต้นทุน ที่เอื้อต่อธุรกิจของพันธมิตร นำไปสู่ความแข็งแกร่งทางธุรกิจและก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน เพื่อเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน และความเจริญก้าวหน้าของประเทศต่อไป
โครงการต่อเนื่อง 7-Eleven เคียงข้างเกษตรกรไทย
บริษัทดำเนินโครงการ 7-Eleven เคียงข้างเกษตรกรไทยต่อเนื่องเป็นปีที่ 10 เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร รวมทั้งสนับสนุนให้ลูกค้าเข้าถึงสินค้าเกษตรได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยนำนวัตกรรมด้านวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวมาใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มมูลค่าให้สินค้ากล้วยหอมทอง และขยายผลการดำเนินงานไปสู่กลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ผักสด ผลไม้สดตามฤดูกาล ผักสลัด ผลไม้ตัดแต่ง และผักพร้อมปรุง พร้อมทั้งส่งเสริมให้โรงงานผลิตได้มาตรฐานการผลิตที่ดี รวมถึงส่งเสริมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า
ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ
เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ
4. สร้างความผูกพันและรักษาความสัมพันธ์กับคู่ค้า
บริษัทให้ความสำคัญกับการบริหารห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ สร้างความเข้มแข็งให้คู่ค้า "เก่งและดี" พร้อมเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน จึงดำเนินการเพื่อสานสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้าอย่างต่อเนื่อง ผ่านการประชุมสัมมนาและการแถลงทิศทางนโยบายของบริษัท การร่วมกับคู่ค้ากลยุทธ์กำหนดแนวทางพัฒนาการเติบโตของธุรกิจ การเยี่ยมเยียนคู่ค้าเป็นประจำทุกปี เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะต่างๆ ระหว่างคู่ค้ากับบริษัท การแลกเปลี่ยนข้อมูลและองค์ความรู้ที่จำเป็น การดำเนินโครงการความร่วมมือต่างๆ อาทิ ด้านการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการจัดการบรรจุภัณฑ์ภายหลังการบริโภค รวมถึงการพัฒนาศักยภาพ ร่วมสร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ของ SMEs ให้ตอบโจทย์กับสถานการณ์ของตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภค ควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานให้กับคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานอีกด้วย
กรณีศึกษา บริษัท ทริปเปิ้ล เฟรช จำกัด
7-Eleven ร่วมมือกับผู้ประกอบการ SMEs ที่เห็นช่องทางการเติบโตของตลาดผลไม้ในประเทศ และทีมผู้เชี่ยวชาญของที 7-Eleven ได้ให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาคุณภาพสินค้า การตลาด ตลอดจนการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ทำให้สามารถลดขั้นตอนและช่วงเวลาในการส่งมอบผลไม้สด ช่วยให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าที่สดใหม่และมีคุณภาพ จำหน่ายผ่านร้าน 7-Eleven กว่า 8,000 สาขา ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลมากกว่า 10,000 แพ็กต่อวัน
การบูรณาการความยั่งยืน (ESG) ในกลยุทธ์การจัดการห่วงโซ่อุปทาน
บริษัทบูรณาการความยั่งยืน (ESG) เข้าในกลยุทธ์การจัดการห่วงโซ่อุปทาน ดังนี้
วัตถุประสงค์หลัก | วัตถุประสงค์การจัดการห่วงโซ่อุปทานที่เชื่อมโยงกับ ESG | กลยุทธ์การจัดการห่วงโซ่อุปทานที่เชื่อมโยงกับ ESG |
---|---|---|
เพิ่มขีดความสามารถของ SMEs |
การเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับ การพัฒนาศักยภาพการบริหารห่วงโซ่อุปทาน อาทิ การพัฒนา ผลิตภัณฑ์ การเงินการขนส่ง ตลอดจนด้านความยั่งยืน ฯลฯ ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก (SDG) ข้อที่ 8.2 และสอดคล้องกับกลยุทธ์การบริหารห่วงโซ่อุปทานของ ซีพี |
สร้างคุณค่าร่วม “พัฒนาส่งเสริม SMEs” ซีพี ออลล์ มุ่งมั่นในการยกระดับศักยภาพ คู่ค้าโดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ด้วยการให้การอบรม การให้คำปรึกษา และคำแนะนำ การตรวจสอบมาตรฐาน การบริหารต้นทุน รวมถึงการร่วมคิดค้นนวัตกรรม เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพการดำเนินงาน การรักษาสิ่งแวดล้อม และการเป็นมิตรต่อสังคม ชุมชน |
ลดปริมาณขยะพลาสติกจากการใช้บรรจุภัณฑ์ |
ลดปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์จากคู่ค้าในกระบวนการจัดการขยะ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายเศรษฐกิจหมุนเวียนของ ซีพี ออลล์ โดยแนวคิดนี้เพื่อตอบรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก ข้อที่ 12.6 และกรอบการทำงานด้านความยั่งยืนของ ซีพี |
7 Go Green “บรรจุภัณฑ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” จากกระแสทั่วโลกที่รณรงค์ลดการใช้พลาสติกในบรรจุภัณฑ์ ซีพี ออลล์ คือการสนับสนุนคู่ค้า ได้บูรณาการแนวคิดด้านความยั่งยืนในการดำเนินงานต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และการเลือกใช้วัสดุ โดยได้มีโครงการร่วมกันระหว่างคู่ค้าด้านบรรจุภัณฑ์ เช่น การพัฒนา กระบวนการที่ลดปริมาณการใช้วัสดุ เป็นต้น |
นอกจากนี้ บริษัทนำเกณฑ์ด้านความยั่งยืนมาประยุกต์ใช้ในการประเมินความเสี่ยงของคู่ค้ารายเดิมและรายใหม่ที่เป็นผู้ผลิตสินค้าที่อยู่ในการควบคุมของบริษัท โดยคู่ค้าต้องทำการประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนผ่านระบบการประเมินตนเองสำหรับคู่ค้า คู่ค้าที่ผ่านการคัดเลือกจะต้องมีผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนผ่านเกณฑ์ที่บริษัทกำหนดไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ซึ่งบริษัทมีการกำหนดเกณฑ์การดำเนินงานด้านความยั่งยืน ได้แก่ ด้านมาตรฐานสินค้าและการผลิต การจ้างแรงงานและสวัสดิการ และการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
ดัชนีวัดความสำเร็จการจัดการห่วงโซ่อุปทาน
บริษัทกำหนดดัชนีวัดความสำเร็จการจัดการห่วงโซ่อุปทาน โดยในปี 2566 มีดัชนีชี้วัดความสำเร็จ เป้าหมาย และมีผลการดำเนินงาน ดังนี้
ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ (KPI) | เป้าหมาย | ผลการดำเนินงานย้อนหลัง 3 ปี |
---|---|---|
คู่ค้าลำดับที่ 1 ที่มีนัยสำคัญด้านความยั่งยืนจะต้องถูกตรวจประเมินแบบเชิงรุกและเกิดการพัฒนาปรับปรุง | ร้อยละ 100 คู่ค้าลำดับที่ 1 ที่มีนัยสำคัญด้านความยั่งยืนจะต้องถูกตรวจประเมินแบบเชิงรุกและการพัฒนาปรับปรุง ภายในปี 2573 | |
การเติบโตของยอดซื้อ SME | ยอดซื้อสินค้า SMEs เติบโต ร้อยละ 10 ภายในปี 2568 (เทียบปีฐาน 2563) |
|
ระดับความผูกพันของคู่ค้า | ร้อยละ 80 ระดับความผูกพันของคู่ค้า ภายในปี 2573 | |
บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่อยู่ในการควบคุมของบริษัท ต้องสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ หรือนำมาใช้ใหม่ หรือสามารถสลายตัวได้ทางชีวภาพ | ร้อยละ 100 ของบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่อยู่ในการควบคุมของบริษัท ต้องสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ หรือนำมาใช้ใหม่ หรือสามารถสลายตัวได้ทางชีวภาพ สำหรับบริษัทที่มีการดำเนินงานในประเทศไทย ภายในปี 2568 สำหรับบริษัทที่มีการดำเนินงานในต่างประเทศ ภายในปี 2573 |
การมีส่วนร่วมช่วยเหลือและยกระดับความตระหนักการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนให้แก่เจ้าหนี้ทางการค้า
บริษัทฯ มีนโยบายในการปฏิบัติต่อเจ้าหนี้ทุกรายด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และโปร่งใส โดยยึดมั่นในการปฏิบัติ ตามเงื่อนไขและสัญญาต่างๆ อย่างเคร่งครัด นอกจากนี้เพื่อรักษาความเชื่อมั่นต่อเจ้าหนี้บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการ เงินทุนให้มีโครงสร้างทางการเงินที่เหมาะสม มีการสื่อสารกับเจ้าหนี้ถึงสถานะของธุรกิจอย่างสม่ำเสมอ และมุ่งมั่นในการรักษา สัมพันธภาพที่ยั่งยืนกับเจ้าหนี้ นโยบายและแนวทางปฏิบัติต่อเจ้าหนี้ของบริษัทฯ มีดังนี้
ระยะเวลาการชำระเงิน
ค่าเฉลี่ยที่เกิดขึ้นจริงในปี 2566
นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว | ไปยังลิงก์ |
นโยบายการจัดหาอย่างยั่งยืน | ดาวน์โหลด |
คู่มือจริยธรรม และแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า | ดาวน์โหลด |